รัฐบาล โจ ไบเดน ออกคำสั่งบริหารลุยโครงการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากลม ติดตั้งกังหันลมนอกขายฝั่ง ตั้งเป้าสร้างพลังงานไฟฟ้าให้ได้ 30,000 เมกะวัตต์ทั่วประเทศภายในปี 2030 คาดว่าจะสามารถสร้างพลังงานเพียงพอที่จะจ่ายไฟให้บ้าน 10 ล้านหลัง หลีกเลี่ยงการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 78 ล้านเมตริกตันสู่ชั้นบรรยากาศ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังประเมินว่าจะช่วยสร้างงาน 44,000 ตำแหน่งในฟาร์มกังหันลมและอีก 33,000 ตำแหน่งในชุมชนที่ร่วมสนับสนุนโครงการ
พื้นที่ติดตั้งกังหันลมเริ่มที่ New York Bight พื้นที่น้ำลึกตรงชายฝั่ง Long Island และ New Jersey โดยผลการศึกษาจาก Wood Mackenzie ระบุว่าโครงการที่ New York Bight จะเพิ่มด้านการพัฒนาและการก่อสร้างได้ถึง 25,000 ตำแหน่งตั้งแต่ปี 2022-2030 ทางทำเนียบขาวระบุด้วยว่าจะเร่งพัฒนาและติดตั้ง และจะลงทุน 230 ล้านดอลลาร์สำหรับท่าเรือใดๆ ที่จะสนับสนุนโครงการเหล่านี้ พร้อมทั้งระดมทุน 3 พันล้านดอลลาร์ผ่านโครงการค้ำประกันเงินกู้พลังงานนวัตกรรม (Innovative Energy Loan Guarantee Program)
จากรายงานของ Goldman School of Public Policy ระบุว่า สหรัฐฯจำเป็นต้องสร้างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมใหม่อีกประมาณ 70,000 เมกะวัตต์ทุกปีเพื่อให้ได้โครงข่ายไฟฟ้าที่สะอาด 90%
ที่มา - Engadget, ทำเนียบขาว
Comments
โครงการต่อไปหาเรื่องกีดกันทางการค้าในประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิล และขายเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
ปัญหาคือค่าก่อสร้างจะสูงมาก โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าแบบทางเลือก แล้วผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอและคุ้มค่าพอๆ กับการผลิตไฟฟ้าแบบเดิมอยู่หรือเปล่า
ต่อให้ผลิตไฟฟ้าได้สะอาดกว่าแบบเดิม แต่ยังต้องใช้พื้นที่เยอะ งบประมาณสูง งบซ่อมบำรุงบาน และผลิตได้ด้อยกว่ารูปแบบเดิม ก็ยากที่จะให้เกิดเร็วๆ กลายเป็นเกิดอย่างช้าๆ ควบคู่กับการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีขึ้น พร้อมกับกดราคาลงจนถึงระดับที่คุ้มพอที่จะลงทุน
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
การให้รัฐยอมจ่ายแพงก่อนเพื่อให้เอกชนมีไลน์ผลิตที่ใหญ่พอสุดท้ายแล้วโดยรวมราคาจะถูกลงครับ เหมือน Tesla ที่ตอนแรกทำรถแพงให้มีเงินมาวิจัยให้ราคาการผลิตกับต้นทุนถูกลง แต่อันนี้รัฐนำให้ก่อนเพื่อเร่งกระบวนการ
ผมว่ามันออกแนว Federal-Aid Highway Act ของ Eisenhower มากกว่าครับ ต้นทุนมันแพงจริง (รัฐบาลกลางเลยต้องออกตังค์ให้) แต่ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้มันคุ้มค่ามั้งนะในมุมรัฐ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เดี๋ยวนี้กังหันลม offshore ราคาในการผลิตไฟฟ้าถูกลงเยอะจนแพงกว่าโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาตินิดเดียวแล้วครับ [1]
แล้วพอมองเรื่อง CO2 ที่ปล่อยตั้งแต่การผลิตเครื่องจนถึงการเอาไปทิ้ง พบว่ากังหันลม offshore ปล่อย CO2 ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลลิตแทบจะต่ำสุด [2]
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Cost_of_electricity_by_source
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Life-cycle_greenhouse_gas_emissions_of_energy_sources
เข้าใจนะว่าไม่มี CO2 ในการผลิตไฟฟ้า แต่การผลิตและติดตั้งกังหันแบบนอกชายฝั่งเหมือนที่อังกฤษกับเนเทอร์แลนด์มีใช้งานอยู่ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่
แต่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก เพราะความยากในการติดตั้ง และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตรงชายฝั่งที่ต้องมีเสาเข็มสำหรับติดตั้งกังหัน และต้องเลือกพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ลมสม่ำเสมอและมีความเสี่ยงเกิดภัยธรรมชาติต่ำ และสร้างที่ต้องติดหลายต้นถึงจะผลิตไฟได้เท่ากับโรงไฟฟ้าแบบปกติ กินพื้นที่ค่อนข้างเยอะอยู่ดี เหมือนกับโซลาฟาร์ม
ผมไม่คัดค้านนะ แต่มองว่ามีแหล่งการผลิตที่ดีกว่า และมีเยอะด้วย ใช้พื้นที่น้อย เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
จะดีแน่เปล่านี่ เหมือนเห็นข่าวที่ไหนหนาวจนแข็ง ขาดไฟฟ้าใช้เลย ทะเลถ้าพายุถล่มก็ต้องเบรกด้วยใช่ไหมเนี่ย
ปกติกังหันลมผลิตไฟฟ้ามันจะมีเบรคอยู่ในตัวแล้วครับ เคยเห็นตัวเล็กๆ ไซส์ 500-1000 วัตต์ (ของญี่ปุ่นนะ) พอเจอลมพายุแรงเกินมันเบรคกึ้กเลย ตัวใหญ่ขนาดนั้นอาจจะแค่ชะลอๆ
มันมี sensor ไรเปล่าครับ หรือคนส่งสัญญาณไปสั่งเบรคได้เลยหว่า
มีอยู่ที่ตัวมอเตอร์ครับ ถ้าหมุนเกินรอบที่กำหนดมันเบรคตัวเองเลย แต่อันนี้ไซส์เล็กนิดเดียว ถ้าตัวใหญ่ผมคิดว่าคงมีระบบป้องกันแน่นกว่านี้ น่าจะมีทั้งรีโมตทั้งเซนเซอร์
ของ Texas ครับที่แข็ง แต่นั่นเป็นเพราะบริษัทไฟฟ้าเลือกไม่ติดตั้งเครื่องละลายน้ำแข็งเองครับ ที่อื่นๆที่หนาวกว่ามากก็ใช้กังหันลมได้ไม่มีปัญหา
ออขอบคุณครับ ตอนแรกก็งงๆ คิดว่าใบพัดออกจะใหญ่หมุนแทบตลอดไม่นา่จะแข็งได้เลยนะเนี่ย