ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าวการรับฟังแนวทางการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) จากเดิมที่การใช้เงินดิจิทัลของธนาคารกลางนั้นใช้ระหว่างธนาคารเป็นหลัก พร้อมกับออกรายงานสรุปภาพรวมแนวทางและความจำเป็นในการออก Retail CBDC
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า Retail CBDC นี้จะเปรียบเหมือนเงินสดที่ออกโดยธนาคารกลาง ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รายงานระบุว่าการที่ธนาคารเริ่มศึกษาเพราะมีแนวโน้มว่าจะมีการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลโดยเอกชนมาใช้งาน ซึ่งอาจะมีความเสี่ยงทั้งต่อผู้ใช้งานเองและเสถียรภาพทางการเงิน
รายงานระบุถึงคุณสมบัติของ Retail CBDC ไว้ดังนี้
รายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ใช่การออกแบบตัวโปรโตคอลเงินดิจิทัล แต่เป็นการวางแนวทางคุณสมบัติของเงินดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการรับฟังความเห็น ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับฟังความเห็นถึงวันที่ 15 มิถุนายนนี้ ผ่านเว็บธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่มา - Bank of Thailand
ภาพคุณสมบัติต่างๆ ของ Retail CBDC ที่ต้องพิจารณาจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
Comments
อาจจะไม่เกี่ยวกับข่าวน่ะ แต่ลด MRR ก่อนมั้ยอะ
ผมสงสัยว่าทำไมเราถึงต้องมีสกุลเงินดิจิตอลของประเทศเหรอครับ แค่มีเงินปกติไม่เพียงพอเหรอ
ถ้าหมายถึง "โอนเงินธนาคารปกติไม่เพียงพอเหรอ" (เงินมีหลายความหมายมาก ไม่รู้ว่าคุณหมายถึงรูปแบบไหน) ผมเข้าใจว่ามันเท่ากับเงินสดนะครับ คือไม่มีความเสี่ยงธนาคารล้ม 1 บาทในบาทดิจิทัลเป็นหนึ่งบาทของแบงค์ชาติ ขณะที่ 1 บาทในธนาคารของคุณเป็นแค่สิทธิ์ในการถอนบาทของแบงค์ชาติเท่านั้น (วันไหนธนาคารเจ๊งก็ถอนไม่ได้)
lewcpe.com, @wasonliw
ผมหมายถึงเงินจริง ๆ ที่จับต้องได้เช่น ธนบัตร เหรียญ กับเงินบาทดิจิตอลในข่าวน่ะครับ
คือส่วนตัวผมมองว่าเงินตอนนี้ก็เป็นเหมือนข้อมูลอะไรซักอย่างอยู่แล้ว อย่างผมเองก็ไม่ได้เก็บเงินสดไว้กับตัว ย้ายไปเก็บในบัญชีธนาคารบ้าง digital wallet บ้าง แล้วก็ถือไว้เท่าที่จำเป็น
ซึ่งผมก็เข้าใจว่าการใช้เงินในไทย กำลังจะไปสู่ cash less เรื่อย ๆ ด้วยเครื่องมือที่มีอยุ่ทุกวันนี้ มันก็เพียงพอที่จะทำ cash less อยู่แล้ว ทำไมเราถึงยังต้องลงทุนทำเงินดิจิตอลอีก ในเมื่อมันก็เหมือนเงินสด แค่เอาออกมาเป็น physical ไม่ได้เฉย ๆ
ส่วนเรื่องการถอนอันนี้ผมก็เข้าใจนะครับ แต่โอกาสที่ว่ามันน้อยมากสำหรับประเทศที่ธนาคารมั่นคงขนาดนี้ เลยสงสัยว่ามันจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอ
ตอบย่อหน้า 3 คือ cashless ในไทยไม่เท่ากับเงินสดครับ คุณฝากเงินลืมไว้ในธนาคารสิบล้าน ผ่านไปสิบปีธนาคารเจ๊ง เงินหายต้องไปตามทวงจากกองทุนประกันเงินฝาก ได้มาก็ไม่ครบสิบล้าน
เงินสดฝังตุ่มลืมไว้หลังบ้านสิบล้าน สิบปีถ้ามอดไม่กินไปก่อนมันก็ยังอยู่สิบล้าน
จริงๆ มีประเด็นอื่นๆ ที่รายงานยังเปิดเป็นปลายเปิดเอาไว้ เช่น เราควรเปิดให้มีการโอนอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้ตัวตนไหม เพราะเงินสดทุกวันนี้ทำได้ ผมกับคุณเจอหน้ากัน ยื่นเงินให้กันไม่มีใครรู้อีก
lewcpe.com, @wasonliw
ตั้งแต่เห็นธนาคารล้มช่วงต้มยำกุ้ง หรือเร็วๆ นี้ที่มีการควบรวมธนาคาร ผมก็ไม่คิดว่าประโยค "สำหรับประเทศที่ธนาคารมั่นคงขนาดนี้" มันจะเป็นจริงเสมอไปจนสามารถเอามายึดถือว่ามันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขนาดนั้น
จริง ๆ ถ้าพูดถึงธนาคารไทย "ในปัจจุบัน" นี่แตกต่างกับตอนปี 40 มากครับ พวกระดับเงินกองทุน ปริมาณสภาพคล่อง อัตรา NPL นี่คนละเรื่องเลย ตอนนี้ Covid มากระทบให้ NPL เพิ่มแต่แบงค์ชาติก็ออกมาตรการอัดเข้าไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงแบงค์จะกำไรลดแต่ก็ไม่น่าจะล้มหรอกครับ เพราะสภาพคล่องยังล้นอยู่
เรื่องควบรวมถ้าหมายถึง TMB + TBANK นี่ก็คนละเหตุผลกับสมัยก่อนที่ควบเพราะต้องช่วยอุ้มกันไม่ให้ล้ม อันนี้คือเหมือนเข้าซื้อพอร์ตเป็นการลงทุนมากกว่าครับ
ผมเข้าใจครับว่าสภาพมันแตกต่างจากตอนนั้น แต่จุดที่ผมมองคือ "ความเป็นไปได้" ครับ
เสริมเรื่องความจำเป็นสักหน่อย ผมว่ามันมีประเด็นที่ "น่าศึกษา" ว่าเป็นไปได้หรือไม่อยู่บ้างครับ
ผมว่าถ้าเราทำให้ ITMX ฟรีค่าธรรมเนียมได้ทั้งหมด (รวมถึงการจ่ายบัตร, การจ่ายผ่าน terminal ต่างๆ และค่า terminal ต้องถูกลงมากๆ) โดยอาจะให้แบงค์ชาติมารับภาระค่าดำเนินการแทน และทำให้จ่ายแบบ offline ได้ ความจำเป็นก็น่าจะแทบไม่เหลือครับ ลำพังฟีเจอร์ anonymous น่าจะไม่ได้จูงใจให้เราต้องอิมพลีเมนต์ระบบใหม่ที่ซับซ้อนขนาดนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
ผมยังมองไม่ออกเรื่อง offline 100% เลย
ดูทรงแล้วมันน่าจะโกงง่ายมาก อย่างเช่น
มือถือผมลงแอปแล้วมีเงินในแอป 1000฿
ผม backup ข้อมูลแอป
ไปใช้ในร้าน A ซัก 800฿
ดึงข้อมูลที่ backup ไว้ เงินในแอปกลายเป็น 1000฿ เหมือนเดิม
ไปใช้ในร้าน B อีก 500฿ ก็เกิน 1000฿ ละ
ถ้าทำไปเรื่อยๆ น่าจะไปได้อีก
(แต่ online เมื่อไหร่ ก็จะซวย ?)
เลยคิดว่าทำได้มากสุดคือฝั่งลูกค้า offline
แต่ฝั่งร้านค้าต้อง online
ประเทศที่ใกล้ cashless ที่สุดอย่างฟินแลนด์
เหมือนจะยัง 100% ไม่ได้ ยังต้องสำรองเงินสดเผื่อฉุกเฉินกันอยู่ ?
หยวนดิจิตอลเค้าทำ offline ได้ครับ โดยทั้งสองฝ่ายคุยกันด้วย NFC คือ ถ้าเงินคุณจ่ายไป ทางร้านถึงได้รับ ไม่ใช่ให้คุณมามั่วๆ back up อะไรได้เอง
ผมเข้าใจว่ายังทำไม่ได้นะครับ เทคโนโลยีหน้าตาเป็นยังไงยังนึกไม่ออก แต่เห็นแค่ในแผนเขาว่าจะทำให้ได้
lewcpe.com, @wasonliw
offline 100% แบบพวกบัตรเครดิตหรือบัตรเติมเงินทั้งหลายก็ได้ครับ ควบคุมฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ต่อให้เป็นโทรศัพท์ก็สามารถใช้พวก secure element ในซีพียูได้ ตัวแอปบนโทรศัพท์ไม่สามารถอ่านข้อมูลภายในได้ ทำได้เพียงขอตัดเงิน (ซึ่งทำให้สำรองข้อมูลไม่ได้ด้วย บัตรพัง, โทรศัพท์พัง คือเงินหาย)
lewcpe.com, @wasonliw
อะหือ บัตรพัง โทรศัพท์หาย/พัง คือ เงินหาย
แบบนี้ เงินจะค่อยๆหายไปจากระบบเลยนะเนี่ย
ก็เหมือนธนบัตรหาย ไฟไหม้ ฯลฯ ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ผมเพิ่มในมุม Physical vs. Cashless (ที่เป็น Cashless จริงๆ ไม่ใช่เงินฝาก/เงินใน e-wallet) แล้วกันครับว่า เงิน Physical มีต้นทุนในการจัดทำครับ ค่อนข้างสูงด้วย ทั้งค่ากระดาษ ค่าหมึก เทคโนโลยีป้องกันการปลอมแปลง ค่า Operation ในการส่งจากโรงพิมพ์ไปจนถึงมือประชาชน ถ้าลดความจำเป็นในการจัดทำธนบัตร/เหรียญไปได้ก็ดีครับ
ทุกวันนี้เงินปกติที่เราใช้จ่าย cashless มันคือเงินที่เราเอาไปฝากกับธนาคารหรือผู้รับฝากเงินต่างๆ (wallet บัตรแทนเงินสด ฯลฯ) เบื้องหน้าเราอาจจะเห็นโอนจ่ายง่ายๆ แต่เบื้องหลังมันยุ่งยากมากเพราะ Transaction ต่างๆต้องดำเนินการผ่านผู้รับฝากเหล่านี้ และวันดีคืนดีเกิดผู้รับฝากล่มหรือเจ๊งขึ้นมาเราก็จะใช้เงินตรงนั้นไม่ได้เลย
การมีเงินดิจิตอล น่าจะช่วยให้หลุดจากข้อจำกัดตรงนี้ได้ครับ เพราะนั่นหมายความว่าเงินที่เราถือมันมีค่าในตัวเองจริงๆไม่ต้องยืนยันผ่านผู้รับฝาก ทำให้ Transaction ต่างๆสะดวกและราบรื่นขึ้นเพราะสามารถกระทำได้โดยมีแค่เจ้าของเงินกับผู้รับเงินได้เลยโดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้รับฝากครับ
ถ้าทำสำเร็จอนาคตก็อาจจะเห็นการใช้บัตรเดียวแตะจ่ายได้ทุกอย่างที่สะดวกมากขึ้น เพราะมันไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้รับฝากเงินแล้ว จะไม่มีปัญหาผู้รับฝากคนละเจ้าใช้ด้วยกันไม่ได้ (แบบ bts กับ mrt) และไม่ช้าแบบบัตรเดบิตเครดิตเพราะมันไม่ต้องยืนยันกับธนาคาร
จากกระทู้ก่อนที่ ธปท ออกมาเตือนเรื่อง THT ผมก็ติดตามอยู่นะ และก็ใช่จริง ธปท ก็ต้องออกประกาศอะไรมาสักอย่าง (เพราะมีตัวอย่างคืออย่าง กลต. ก็ทำไปแล้วเรื่องรับฟังความเห็นคุณสมบัติผู้ลงทุนใน digital asset) ที่ ธปท. รับฟังความเห็นบ้าง ก็ถืออันนี้ผมเห็นว่า ok เลยแต่หากข้อสรุป จนไป Implement จริงแล้วมันจะสู้ cryptocurrency ลำบากมั้ยนะ
ผมเดานะ สุดท้ายข้อสรุปที่จะออกมา ขอทำนายไว้ ณ วันที่ 2 เมษายน 2564 นี้เลย
สไตล์การออกแบบของรัฐผมกำลังคิดว่าน่าจะไปในทาง มั่นคง ปลอดภัย มั่งคั่ง ยั่งยืน ในรัฐรัฐหนึ่ง
คนละแนวกับ cryptocurrency ที่ไม่ยึดติดกับอะไร แค่เข้าร่วมในกติกาเดียวกันที่คนบางกลุ่มทั่วทั้งโลกถือกติกาเหมือนกัน
ผมไม่ได้บอกว่าอันไหนดีไม่ดี แค่คิดว่าเราใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ เราจะรู้เองว่าอันไหนมันดีต่อชีวิตเรา แล้วอันนั้นมันก็จะชนะในระยะยาว
จึงลองทำนายไว้เล่นๆแล้วกัน จะเพี้ยนไปจากนี้ยังไงก็ไม่รู้ ฮ่าๆ
ในตอนนั้น ระยะยาวจะเป็นอะไร จะมาย้อนกลับดูในกระทู้นี้อีกทีครับ (ถ้าวันนั้นทุกอย่างยังอยู่)
ขอแสดงความคิดเห็นบางข้อละกันครับ
- ทำไงก็ได้ให้มีความสเถียร / ในขณะที่ cryptocurrency ตอนนี้สวิงมาก || ตอนนี้ก็มีหลายตัวที่เป็น stable coins นะ อย่ามองแค่ btc,eth
- ต้องระบุตัวตนได้ / ในขณะที่ cryptocurrency หลีกเลี่ยงการระบุตัวตน || ตอนนี้ถ้าใช้เงินสดก็ไม่ได้ระบุตัวตนนิไม่ได้ kyc เลย ส่วน cryptocurrency ในประเทศไทย กลต.กำกับดูแลอยู่ต้องทำ kyc ยืนยันตัวตนยิ่งกว่าเงินสดอีก
- มีการรับประกันโดยรัฐเหมือนเงินฝากปกติ / ในขณะที่ cryptocurrency ที่ decentralize ไปลุ้นเอาดาบหน้า || ตอนนี้กฎหมายประเทศไทย ยังไม่มองว่า cryptocurrency เป็นสกุลเงิน หรือ เงินที่ใช้กันทั่วไปเลย ธปท. เลยกำกับไม่ได้ แต่มองว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล กลต. เลยต้องเป็นคนกำกับดูแล ส่วน บาทดิจิทัล ตามข่าวนี้คือ ทำ stable coins คือ ธปท.กำกับเอง 1 บาทดิจิทัล = 1 บาท (เงินจริง)
||| ใช่ครับ USDT / USDC ก็ใช่ (เผื่อคนมาอ่าน สนใจจะไปค้นต่อ)
||| เงินสดมีต้นทุนในการเก็บ การส่งต่อไปให้คนอื่นระยะไกลด้วยเงินสดโดยจะไม่ระบุตัวตนเลย ก็ยาก ถ้าฝากเงินเข้าสถาบันการเงิน = ระบุตัวตนแล้ว
cryptocurrency โหลดโปรแกรมมาใช้งาน wallet ก็รับส่งเงินได้เลย
||| ผมว่าเป็นเรื่องของมุมมองครับ เพราะตอนที่คนที่สร้างมันขึ้นมา วินาทีแรกเขามองมันว่าคือเงินแล้ว จนถึงตอนนี้ก็มีคนอีกมาก ที่มองว่ามันคือเงิน ตัวผมเองก็มองว่ามันก็แค่ Digital Asset แต่หลายๆคนก็มองว่ามันเป็นแค่ระบบซอฟต์แวร์เสกขึ้นมา ก็ต้องหาทางทำอะไรสักอย่างเพื่อควบคุมมัน ที่เขามองว่า Cryptocurrency ไม่ใช่สกุลเงิน นั่นคือมุมมองของผู้ออกกฎหมายครับ ในส่วนตัวผมว่าต้องดูไปยาวๆว่ามันจะกลายเป็นเงินได้มั้ย ในที่สุด นั่นแหละครับ
อันนี้ผมไม่ได้เห็นแย้งอะไรคุณ Metal-Z นะครับ เพราะยังไงผมก็คิดว่ามันเป็นมุมมองที่แตกต่างกัน
เพียงแต่ Fintech ตอนนี้ทั้งสองฝั่ง มันเหมือนอยู่กันคนละแนวทาง (แนวทางของรัฐ จะพยายามควบคุมให้ได้ / แนวทางที่ไม่ใช่รัฐ จะพยายามหลุดจากการควบคุมของรัฐให้ได้)
ก็เลยเขียนไว้ดูในอนาคตครับว่าอะไรพอจะเป็นไปได้มั้ย ในสไตล์มือใหม่แบบผม ขอบคุณคุณ Metal-Z ด้วยนะครับที่เข้ามาร่วมถกกัน
stable coin ที่มีในตลาด ก็ยังมีข้อกังขาเยอะนะครับ ไม่ว่าUSDT,USDC ก็ตาม มีเงินbackup จริงแค่ไหน ใครตรวจสอบ กระบวนการตรวจสอบน่าเชื่อถือได้แค่ไหน
ตอนนี้เหมือนกับstable coinต่างๆใช้ความเชื่อใจล้วนๆ ตราบใดที่คนยังเชื่อ ก็ยังไปต่อได้มันกลายเป็นmoney gameไม่ต่างจากพวกแชร์ลูกโซ่มากกว่า
อย่าลืมว่าBTC มันมีความแข็งแรงจากกระบวนการเข้ารหัสของตัวมันเอง ส่วนstable coin ที่มีในปัจจุบันนี่ใช้อะไรเป็นฐาน? แม้แต่ตัวระบบมันเองยังไม่ decentralize เลยด้วยซ้ำ
ถ้าธปท.ทำเงินdigital จริงคือต้องรับแลกเงินเป็นเงินfiat อันนี้แหละถึงจะเป็นความเชื่อถือจริง แต่ก็จะกลายเป็นว่า เลี่ยงภาษี หรือโยกย้ายเงินผิดกฎหมายได้ยากขึ้น พวกเงินสีเทาๆก็อาจจะไม่ยอมมาเช่นกัน
ส่วนเรื่อง kyc แย้งตรง ถ้าใช้เงินสดไม่ต้องkyc แต่มันยากในการส่งต่อในจำนวนมากๆไง
ถ้าคุณเอาเงินสดเข้าระบบในจำนวนมากระดับหนึ่ง"ต้องทำ"kyc ครับ
ปปง.กำหนดที่สองล้านต้องกรอกเอกสารรายงาน แต่bankทั่วไป ที่ 1 ล้านก็บังคับทำ kyc แล้วสำหรับการฝากครั้งแรก(กรอกข้อมูลมากกว่า ตอนเปิดบัญชีปกติครับ)
ป.ล. ผมคาดว่าฟองสบู่รอบนี้คงแตกเมื่อ stable coin เจ้าใหญ่โดนแฉว่า เงินที่มาbackมีไม่พอ หรือเกิดทุจริต....(ถ้าลองย้อนกลับไปดู ยุคแรกแตกปี 2014 หลังจาก mt'gox โดนhack รอบสอง 2018 จาก nicehash โดน hack? รอบสาม..จากstable coin โดนแฉ?)
ขอแค่โอนเงินเกิน 2 ล้านไม่มีค่าธรรมเนียและไม่ต้องทำ KYC แค่นี้ก็ปลื้มปิติแล้ว
ฟอกเงินสบายตัวเลย
เป็นไปไม่ได้เลยดีกว่า เพราะมีกฎหมาย ปปง รองรับอยุ่
ดีครับ ศึกษาความเป็นไปได้ หรือลองทำจริงในแบบวงจำกัดไปเลย เงินสกุลบาท ก็ต้องให้ ธปท. นี่แหละเป็นคนจัดการดูแล
..: เรื่อยไป
จะได้แบบจีนมั้ย https://www.finnomena.com/mr-messenger/china-digital-currency/
ช่องโห่วเดียวสามารถทำประเทศพังได้
รู้สึกว่าทีมดิจิตอลของแบงค์ชาติคิดไกลดีจัง ตั้งแต่ออก promptpay มาก่อนนานพอจนทำให้ e-wallet ของเอกชนแจ้งเกิดลำบาก
ที่ E-wallet ไม่เกิดในไทยเพราะทุกแบงค์พาณิชย์พร้อมใจกันไม่เก็บค่าธรรมเนียมการโอนข้ามธนาคารผ่านแอปครับ
+1
ในตัวรายงานสรุปภาพรวมแนวทางและความจำเป็นในการออก Retail CBDC มีคำถามที่ทางธนาคารอยากให้ประชาชนมาร่วมตอบคำถามด้วย อย่างเช่นในหน้า 22 มีคำถามว่า
A: Questions for Feedback
1.What are some other costs or benefits of CBDC worth noting? (Please refer to Appendix 2 for our full cost-benefit analysis)
2.How can we harness the benefits of or address the risks arising from issuing CBDC?
3.Where and how can public- private cooperation have the most impact in harnessing the benefits of or addressing the risks arising from issuing CBDC?
4.How and in what ways can CBDC and other forms of digital currencies co-exist?