Google Earth ออกฟีเจอร์ใหม่ Timelapse เป็นการรวมภาพถ่ายดาวเทียมในอดีตจนถึงปัจจุบัน 37 ปี (1984-2020) มาให้ดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่จุดใดๆ ก็ได้บนโลกใบนี้
กูเกิลบอกว่าใช้ภาพถ่ายดาวเทียมทั้งหมดกว่า 24 ล้านภาพ คิดเป็นขนาด 20 petabyte แล้วใช้พลังประมวลผลของ Google Cloud ประมาณ 2 ล้านชั่วโมง มาแปลงเป็นไฟล์วิดีโอโมเสกไฟล์เดียวครอบคลุมทั้งโลก มีขนาด 4.4 ล้าน terapixel ถือเป็นไฟล์วิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
คนที่สนใจกดเข้าไปลองเล่นกันได้ที่ g.co/Timelapse หรือดูคลิปวิดีโอที่มีคนรวบรวมไว้เฉพาะจุดได้ที่ Earth Timelapse video
ภาพถ่ายดาวเทียมของกรุงเทพในปี 1984 ในยุคที่ยังไม่มีสนามบินสุวรรณภูมิ
ที่มา - Google
Comments
สุดยอด ตอนแรกดูได้แค่บางจุด ตอนนี้ดูได้ยันบ้านตัวเอง
เที่ยวทิพย์สินะ เสียดายภาพถ่ายดาวเทียมของไทยช่วง 1980-2000 เบลอเหลือเกิน
กล้องดาวเทียมเชิงพาณิชย์และสำรวจสมัยนั้นยังไม่ค่อยชัดด้วยตามเทคโนโลยีที่มีอยู่ เลยเป็นอย่างที่เห็น ส่วนที่ชัดมากๆ มักจะใช้กับทางทหาร ไม่ค่อยเอามาให้บริการในภาคพาณิชย์หรือเปิดเผยมากนัก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เราจะได้เห็น ว่า บ้าน หายเมื่อไหร่ หรือ เครื่องบินโผล่มาตอนไหน
หรือ หมู่บ้าน/รีสอร์ต เริ่มสร้างตอนไหน
จะได้ดูโปรเกรสการก่อสร้างแถวๆสวนสัตว์ด้วย
มันคือฟีเจอร์เก่าที่หายไปไม่ใช่เหรอครับ หรือว่ามันเพิ่มภาพเข้ามาอีก?
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จริง ๆ มันมีอยู่ใน Desktop อยู่แล้วครับ เพียงแต่เอามันมาอยู่ในเว็บเท่านั้นเอง
ผมเข้าไปดูก็ไม่ได้มีภาพอะไรที่ต่างจากใน Desktop เท่าไร ไม่ได้มีภาพอะไรที่เก่ากว่านั้น
แต่ใน Desktop มันมีภาพถ่ายทางอากาศด้วย บางประเทศสามารถย้อนไปดูได้ถึงยุคสงครามโลกได้ด้วย
ก็นั่นน่ะสิครับ คือ desktop หยุดพัฒนาไปแล้ว ก็แค่ดึงฟีเจอร์ที่เคยมีใน desktop เข้ามาบนเว็บเฉย ๆ เลยงงว่าที่บอกว่าเรนเดอร์นู่นนี่ใหม่ แสดงว่ามันใช้เซิฟเวอร์ก้อนเดิมของ desktop ไม่ได้สินะ แต่การเรนเดอร์ใหม่โดยใช้ข้อมูลเก่ามาเรนเดอร์เนี่ยมันถือว่าใหม่มั้ย ๕๕๕๕ ยิ่งพูดยิ่งงงเอง ๕๕๕
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เหมือนโลกกำลังโดนทำร้าย
แบบไหนที่เรียกว่าทำร้ายโลกเหรอครับ