Steam Deck เครื่องเล่นเกมพกพาจาก Valve ที่กำลังเป็นกระแสจากความเป็นเกมมิ่งพีซีพกพาประสิทธิภาพดีในราคาที่เอื้อมถึง ซึ่งแม้ว่าตัว Steam Deck จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ SteamOS 3.0 ที่เบื้องหลังคือ Linux ที่สามารถเล่นเกมฝั่ง Windows ได้ผ่านเครื่องมือของ Valve ที่มีชื่อว่า Proton
แต่สำหรับเกมเมอร์ที่สนใจใช้ Steam Deck เพื่อเล่นเกมจากสโตร์อื่นๆ นอกเหนือจากบน Steam แล้วการติดตั้ง Windows ก็ยังดูเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และสำหรับท่านที่รอฟังข่าวคราวเรื่องความเข้ากันได้กับ Windows ตอนนี้ทาง Valve ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว
จากการให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ PC Gamer ทาง Valve ได้ระบุว่า Steam Deck ควรจะรัน Windows 11 ระบบปฏิบัติการรุ่นถัดไปของไมโครซอฟท์ได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ เมื่อเครื่องวางจำหน่าย แม้ว่าก่อนหน้านี้ Valve จะโฟกัสกับการทำให้เครื่องรัน Windows 10 ได้เท่านั้น
แต่ในตอนนี้พวกเขาก็กำลังทำงานเพื่อทำให้ Steam Deck สามารถรัน Windows 11 ได้ ทั้งในส่วนของความต้องการชิป TPM และตัวหน่วยประมวลผลเอพียู โดยอย่างหลังนั้น Valve ยังได้พูดคุยกับ AMD เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเอพียูที่ผลิตโดย AMD นั้นจะเข้ากันได้กับ Windows 11 ในระดับ BIOS
นับว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียวสำหรับท่านที่เล็งซื้อ Steam Deck มาติดตั้ง Windows เมื่อดูจากท่าทีของ Valve ที่ไม่เพียงไม่ปิดกั้นแต่ยังสนับสนุนให้ใช้งานกับ Windows ได้ดีอีกด้วย
ที่มา - PC Gamer via Windows Central
Comments
เตรียมลง MS Word แล้วต่อคีย์บอร์ดเลยครับ
น่าสน อยากได้มาทำงาน มากกว่าเล่นเกม
เอาจริง ๆ แล้วอะนะ ผมก็อยากจะใส่ Windows 11 มาให้เลย แต่ผมดูเชิงก่อน แล้ว Windows ก็แพงเหลือเกิน ผมก็เลยใช้วิธีบอกไปว่ามันลงได้ มันลงได้ดีด้วย พวกคุณก็แค่ลงไปเอง แค่นี้ผมก็ประหยัดงบไปได้เยอะแล้ว ฮ่า ๆ ๆ ๆ
นอกจากชิพ TPM มันมีข้อจำกัดเรื่องขนาดหน้าจอที่ต้องมากกว่า 9 นิ้วด้วยนี่นา หรืออันนี้ไม่จำเป็นก็ได้
อันนี้ น่าสงสัยอยู่เหมือนกันครับ
Valve ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ แต่ตอบทาง PC Gamer รวมๆ ว่าคาดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
Windows Indexing Service ถึงจะเป็น SSD ยังไงก็ไม่รอดครับ CPU 100% แน่นอน
คอมบ้านๆ ยังผ่านกันมาได้เลยนะครับ
อาการนี้มันหายจากผมไปหลายปีมากๆ แล้วนะ ขนาดโน๊ตบุ๊คอายุสิบปีลง windows 10 ยังไม่มีอาการนี้เลย
ผมว่าอาการนี้น่าจะเป็นกับคนที่มีไฟล์ย่อยเยอะมาก ๆ มากกว่า อย่างผมเองใช้ KDE ตอน import โปรเจกต์เข้ามาใหม่ ๆ แล้ว baloo วิ่ง 100% ไม่ต่างกับ Windows เลย ที่หนักจริง ๆ ผมว่าไปตกกับตัว malware protection (MsMpEng) มากกว่า แต่เห็นว่าตอนนี้ปัญหาก็ลดน้อยลงมากแล้ว เพราะเหมือนจะ scan ตาม directory ที่เข้าไปอย่างเดียว ไม่ได้ไล่ scan ทุกไฟล์เหมือนสมัย Windows Developer Preview (Windows 8) ถึงช่วง Windows 10 ช่วงแรก ๆ จำได้ว่าตอนนั้นมันทำให้ความตั้งใจที่จะกลับมาใช้ Windows ของผมหมดไปเลย แล้วก็ไปตายรังที่ Linux เหมือนเดิม (ปัจจุบันก็คงไม่กลับไปอีก เพราะ Windows ใช้ RAM หนักมาก แค่เปิดเครื่องมาก็ซดไปแล้ว 2 GB ยังไม่รวม 3rd party service + iGPU ด้วยนะ)
lutris เล่น Epic store
anbox เล่น android
ก็ครบแล้วนะ อยากใช้แอพวินโดว ลง wine ไว้
มันมี hyperv มั้ย จะได้ถือไปทำงาน :)
ต่อไปอาจจะขายเป็นชุด Kit แบบ 4700s ที่เป็นไส้ในของ PS5 ก็ได้นะครับ
อยากจะรู้ว่า เกมเดียวกัน ถ้าเล่นบน SteamOS กับ Windows11 Gamemode อันไหนจะได้ประสิทธิภาพมากกว่ากัน
The Dream hacker..
มีผลทดสอบออกมาว่า Gamemode ของ Windows ทำประสิทธิออกมาได้แทบไม่ต่างกับตัวเกมเดิม ในบางเกมรันออกมาได้แย่กว่า
ในขณะเดียวกัน ถ้า Valve ไม่ได้ modify kernel มาให้ดีขึ้นมาก ๆ ฝั่ง Linux แทบจะการันตีได้เลยว่ารันเกมออกมาได้ "แย่" กว่า Windows เพราะต้องผ่าน translation layer ออกมาอีกที (Wine เองก็มีบ้างที่ implementation มันไปกวน kernel routine ทำให้เกิด frame drop ส่วน DXVK ถ้าไม่มี shader cache ก็ต้องภาวนาว่าช่วงเปลี่ยน pipeline ไปยังตัวที่ไม่รู้จักก็ต้องภาวนาว่าการ compile pipeline ใหม่จะใช้เวลาไม่นานเกินไป ซึ่งมันก็ไม่นานนั่นแหละ แต่ก็ถือว่าใช้เวลาอยู่ และเกิด stutter รัว ๆ 555) ความคาดหวังของ Valve ตอนนี้คือแค่ทำให้รันได้เทียบเท่า Windows ได้ก็ดีมากแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็มีหลายเกมที่การันตีโดย Valve ว่ารันได้ดี เช่น GTA V, Final Fantasy VI, NieR: Automata (ตัวนี้เน้นมาก เพราะเจ้าของโปรเจกต์ DXVK เลือก support เกมนี้ตั้งแต่แรกเลย และเป็น motivation ในการทำ DXVK ด้วย เพราะแกอยากเล่น NieR บน Linux มาก 55555), Tropico 4, Tekken 7 ส่วนเกมอื่น ๆ ที่่ไม่ได้การันตีโดยตรงจาก Valve แต่มีรายงานมาแล้วว่าทำได้ดี เช่น Overwatch, Starcraft II, WoW, Cyberpunk 2077, Resident Evil Remake, RE: Village
สำหรับเกมที่การันตีว่ารันได้ดีกว่า Windows แน่นอน ก็คือ Minecraft Java Edition (ไม่แปลก 555) ส่วนเกมอื่น ๆ มักจะเป็นเกมที่ทำออกมาแย่อยู่แล้วตั้งแต่แรกในฝั่ง Windows หรือตัวเกมที่มี Vulkan มาให้ (ยกเว้น The Talos Principle, R6S ที่ทำ Vulkan ออกมาได้ห่วย) ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเกมที่ใช้ D3D9 เช่น GTA IV (พอร์ตจาก console แล้วทำ D3D9 ออกมาได้ห่วย), Arma 3 (เหมือนกันกับ GTA IV), DOOM (ใช้ Vulkan เป็นค่าเริ่มต้น) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็น D3D9 การันตีแล้วว่ารันได้ดีเทียบเท่า หรือดีกว่า Windows แทบทุกเกม เพราะ pipeline ไม่ซับซ้อนและคอมไพล์ได้เร็ว ประกอบกับ gaming-optimized kernel ยิ่งทำให้รันได้ดีขึ้นไปอีก
ตอนนี้ที่เป็นปัญหาใหญ่จริง ๆ สำหรับ Linux คือไม่สามารถรันเกมที่มี Anti-Cheat ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง kernel-level AC อย่าง Vanguard และ Genshin Impact ที่มีข้อพิพาทด้านความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวมาแล้ว (และฝั่ง Genshin เองก็ถอยออกมาหนึ่งก้าวด้วยการปิดไม่ให้ทำงานเมื่อเกมไม่ได้เปิด) เพราะมันล้วงลึกมากและรู้แทบทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์ Windows และมีเพียงสัญญาปากจาก dev ว่าจะไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวด้วย AC แน่นอน ...ย้อนกลับเข้าเรื่อง คำสั่งหลาย ๆ ตัวที่ AC ใช้นั้นไม่มีใน Wine ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ สำหรับตอนนี้ความร่วมมืออย่างเป็นทางการมีเพียงจาก EasyAntiCheat และ Battleye เท่านั้นที่จะนำ AC ไปรันบน Linux ผ่าน Wine translation layer ได้ และ Valve สัญญาไว้แล้วว่าจะทำให้ทันก่อนเครื่องเกมจะออก ซึ่ง... ก็ต้องรอดูกันต่อไป
เรื่องประสิทธิภาพนี่ถ้าเป็นรุ่น NVMe SSD ก็ยิ่งน่าสนใจว่าจะใช้
Direct Storage API ของ Windows 11 ได้รึเปล่าด้วยล่ะครับ
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
่น่าจะมีรุ่นที่ลงวินโดวส์มาให้เลยนะ เพราะสุดท้ายคนซื้อก็เอาไปลงวินโดวส์อยู่ดี SteamOS Linux ดูไม่มีอนาคตเอาเสียเลย
คนที่ซื้อ แล้วไม่เอาไปลง windows ก็มี เขาถึงไม่ใส่ windows มาให้ คุณอยากใช้ steam os ก็ใช้ อยากใช้ windows ก็คือไปลงเอาเอง เรามองว่าแบบนี้โอเคกว่า
อยากให้ Valve ร่วมมือกับ MS ทำ Windows 11 เวอร์ชัน Steam Deck เลย จะน่าใช้มากๆ เล่นได้ทุกเกมจากทุก store แถมใช้ทำงานสารพัดอย่างได้อีก
พอเป็น SteamOS มันยังต้องลุ้น ว่าเกมนั้นเกมนี้จะรันได้หรือเปล่า รันแล้วเฟรมเรตตกกว่า Windows มากมั้ย แล้วจะเล่นเกมจาก store อื่นล่ะทำยังไง ในแง่การเอามาใช้ทำงานทั่วไป ยังไงเสีย Windows ก็สะดวกกว่าอยู่ดี สุดท้ายก็ต้องเอามาลง Windows ที่ไม่ได้ปรับแต่งมาให้เหมาะกับ Steam Deck มันจะกลายเป็นครึ่งๆ กลางๆ ไปหรือเปล่า แต่ถึงจะพูดแบบนี้ก็ยังอยากได้อยู่ดีอ่ะนะ
กลายเป็น Surface Xbox Move
แล้ว Xbox ก็รัน Windows ที่ต่อทำงานปกติได้ด้วย กลายเป็น Surface Xbox
เห็นว่าหลาย ๆ คนสงสัยว่าทำไม Steam Deck ถึงใช้ Linux แพลตฟอร์มที่ไม่มีอนาคตมาตั้งแต่แรก ทำไมไม่ใช้ Windows ที่่ดูมีอนาคตกว่ามาก ๆ และมี compatibility ที่ดีกว่ามาก (รวมไปถึง use case อื่น ๆ ที่ Steam Deck ไปได้มากกว่าหากใช้ Windows)
อันดับแรกก็ขอท้าวความไปตั้งแต่สมัย Steam Machine ที่เป็นฮาร์ดแวร์ชิ้นแรกของ Valve เลย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ Valve เห็น market dominance ของ Windows แล้วเล็งเห็นว่า Windows คือภัยคุกคามของวงการ gaming ข้อย้ำอีกทีว่า Valve เห็น Windows คือภัยคุกคามของวงการ gaming และต้องการที่จะทำลายกำแพง ecosystem นี้ แต่ช่วงแรกนั้น Valve ยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ hardware มากนัก และเน้นการทำพาร์ตเนอร์ในการส่งมอบฮาร์ดแวร์ Steam Machine โดยไม่ได้เข้าไปจัดการโดยตรง ในระหว่างนี้ก็ออกแคมเปญสนับสนุนการพัฒนาเกมลงบน Ubuntu Linux ซึ่งตอนนั้นก็ถือว่าได้ผลมาก ๆ แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ก็คิดเหมือนกับเหล่าผู้มีประสบการณ์ด้านฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ PC คือ Linux มันไม่มีอนาคตเอาเสียเลย เลยเปลี่ยนแผนมาเป็นการส่งมอบฮาร์ดแวร์ Steam Machine ที่ใช้ Windows แทน และผลคือล้มไม่เป็นท่า เพราะไม่เพียง Library บน Steam Machine ที่ใช้ Linux มีน้อยมากเท่านั้น แต่ราคาของฮาร์ดแวร์ยังสูงมาก และคนยังติดภาพของ Valve อยู่กับ PC อยู่จำนวนมาก กลายเป็นว่า Steam Machine คือ PC ที่สมรรถนะต่ำกว่า แถมราคาแพง
Valve กลับไปนับ 1 ใหม่อีกครั้ง เนื่องด้วย motivation ยังเหมือนเดิม คือต้องโค่น Windows ลงให้ได้ คราวนี้ลองมาค้นหาจุดอ่อนว่า Linux ยังขาดอะไรไปบ้าง จึงได้ทดลองหาแนวทางใหม่ในการนำเกมของ Windows และแพลตฟอร์มอื่น ๆ เข้าสู่ Linux มากขึ้น และพบกับ Wine ที่เป็น compatibility layer สำหรับรันโปรแกรม Windows บน Linux ประกอบกับ compatibility layer ของ Wine ถือว่าทำได้ดีมาก ๆ ในการ translate API จาก Windows สู่ POSIX-like (Unix/Linux) และด้วยประสบการณ์การพัฒนาเกมบน Linux ที่ Valve เชี่ยวชาญมาตั้งแต่แรกแล้ว ทำให้เข้าใจวิธีการ optimize เกมบน Linux เป็นอย่างดี และเพิ่ม F-Sync ที่ช่วยทำให้ execution pipeline บน Wine ทำได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ที่ขาดอยู่อย่างเดียวคือ graphics API ที่จะใช้รัน ในช่วงนั้น Wine กำลังพัฒนา wrapper สำหรับ DirectX 11 บน OpenGL ซึ่งยังไม่ไปไหนไกล ผมเองก็เคยทดสอบมาในช่วงแรก ๆ แล้วประสิทธิภาพแย่มาก และยังมี glitch อยู่เป็นจำนวนมาก แล้วเผอิญมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์คนนหนึ่งอยากจะเล่นเกมโปรดของเขา คือ NieR: Automata บน Linux แล้วประสิทธิภาพ API ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เขาเลยศึกษาหนทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาบน API ใหม่ไปเลย นั่นคือ DXVK ซึ่ง Valve ก็ไปเห็นพอดี จึงได้จ้างเขามาแบบเต็มอัตรา และพัฒนา compatibility layer ที่มีฐานจาก Wine ของตนเอง นั่นคือ Proton ที่มี patch สำหรับเกมมิ่ง และการผนวกเข้ากับ Steam client โดยตรง ซึ่งจากผลการทดลองตลอด 1.5 ปี ก็พบว่ามีเกมจำนวนมากที่เข้าหมวดว่าเล่นได้ และเพิ่ม list เข้ามาเรื่อย ๆ พร้อมกับแก้ปัญหา จุดอ่อนต่าง ๆ ของ solution ตัวเอง เช่น F-Sync ที่ช่วยแก้เรื่อง execution routine ของ Wine ผ่าน kernel, เพิ่ม Esync สำหรับบางโปรแกรมที่ F-Sync ไม่ได้ผล และ Steam pre-caching ที่เป็นการบันทึก cache ของ Vulkan/DXVK ไว้ล่วงหน้าเพื่อลดปัญหา shader compilation stuttering, ความร่วมมือระหว่างบริษัท anti-cheat ในการรันเกม Windows ที่มี anti-cheat บน Linux และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะแพตช์เฉพาะสำหรับเกมยอดนิยมต่าง ๆ
แต่ปัญหาก็ยังเหมือนเดิม นั่นคือจำนวนผู้ใช้ Steam บน Linux ก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้นอย่างน่าพอใจ (แม้จะมีนัยสำคัญก็ตาม จาก 0.3% มาเป็น 1%) จึงตั้งใจออก product ใหม่ และลบภาพลักษณ์เดิม ๆ ของความเป็น PC ออกไป และได้เปิดตัว Steam Deck ขึ้นมาซึ่งเป็นอุปกรณ์ handheld Valve เองยังเอ่ยถึงเรื่องการไม่เรียกเจ้า handheld นี้ว่า Steam Machine และถือว่าเป็นการสร้างสาย product ใหม่ที่พร้อมให้บริษัทฮาร์ดแวร์อื่น ๆ เข้ามาร่วมเป็น partner และแก้ปัญหาเดิม ๆ ที่เคยพบเจอมาจาก Steam Machine ที่เคยผิดพลาดมาแล้ว จริง ๆ แล้ว Valve ตั้งใจให้เครื่องนี้กลายเป็นแม่แบบสำหรับแพลตฟอร์มใหม่ที่จะเกิดขึ้น (ง่าย ๆ ว่าไม่อยากให้เห็นเครื่องนี้เป็นเพียง PC ธรรมดา) เช่น การเล่นเกม PC บนอุปกรณ์พกพาแบบใหม่ การสตรีมเกมเพื่อประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมกว่าเดิม ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมคิดว่า Valve พยายามไม่ให้คนคาดหวังเครื่องนี้เป็น PC ที่เล่นเกมยอดนิยมต่าง ๆ ได้ตั้งแต่แรก (controller มันสู้ mouse/keyboard ไม่ได้อยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลจะเอามาเล่น competitive games ตั้งแต่แรก) แต่เหมือนพยายามจะทำให้มันกลายเป็น Nintendo Switch ในโลก PC มากกว่า ด้วยความที่ตอนนี้ เกมอินดี้ และเกมนั่งโซฟานั้นเพิ่มเข้ามาใน Proton ขึ้นเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะเกม AAA ที่ไม่ต้องเล่นออนไลน์ หรือเกม co-op กับเพื่อน ๆ อะไรทำนองนี้มากกว่า แต่ก็ไม่ละความร่วมมือในการพัฒนา Anti-Cheat บน Linux ในกรณืที่เกม competitive จะเข้ามายัง Steam Deck อย่างเป็นทางการ และผมยังคิดว่าหาก Steam Deck เกิดประสบความสำเร็จจริง ๆ ทาง Valve เองก็น่าจะเปิด store API สำหรับสโตร์อื่น ๆ เข้ามาได้ไม่ยาก และจะมีสโตร์อื่น ๆ เข้ามาด้วย อย่าง EA เองก็ได้เพิ่มเกมของตัวเองเข้าไปยัง Steam และร่วมมือกับ Valve ในการสร้าง EA Play ที่เป็น subscription service เข้ามาแล้ว ถ้า EAC ผ่านก็น่าจะรัน Apex Legends เป็น proof-of-concept ได้ทันที และดึงดูดนักพัฒนาให้นำเกมมาลงกับ Steam Deck ในฐานะแพลตฟอร์มใหม่ และเป็นอานิสงส์สำหรับชาว Linux ไปด้วยอย่างปริยาย
สรุปง่าย ๆ เลยคือ Valve ตั้งใจจะโค่น Windows ตั้งแต่แรก เราจึงไม่ได้เห็นความร่วมมือโดยตรงระหว่าง Valve และ Microsoft ส่วนตัวผมเองยังมีสังหรณ์ว่า แม้แต่ทาง Microsoft เองก็ยังรู้ตัวว่า สักวัน Windows จะไม่ใช่แพลตฟอร์มหลักของตนเองอีกต่อไป เลยตัดสินใจร่วมมือกับ Linux และพัฒนา Linux solution ขึ้นมาและหาประโยชน์ทางนี้ไปด้วยเลย ด้านเกมก็ยังสร้าง cloud ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในทุกแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่ามองการณ์ไกลมาก ๆ สำหรับทาง Microsoft
ปล. ผมเองก็ไม่ได้คาดหวังให้ Linux gaming ประสบความสำเร็จอย่างมากอยู่แล้ว ด้วยความที่มีประสบการณ์ด้าน Linux gaming ด้วยตนเองมาเกือบ 10 ปี และพบกับปัญหาจำนวนมากด้วยตนเอง แต่ถ้า Valve สามารถผลักดัน motivation ของตนเองได้สำเร็จ มันก็จะเป็นผลดีมาก ๆ ทั้งสำหรับเกมเมอร์โดยทั่วไป และสำหรับ Linux gamer อย่างผมเช่นกัน
ลุง จี เขาบอกว่า เครื่องเซฟเวอร์ ที่เขาให้บริการ สตีม อยู่ทุกวันเนีย ก็ Linux ลุง จี แกติ่ง Linux ส่วนหนึ่งด้วยแหละ แม้เขาจะเคยทำงานที่ Microsoft มาก่อน แต่การที่เขาเคยเป็นพนักงาน MS ไม่ได้หมายความว่า เขาจะหายใจเข้า หายใจออกเป็น MS
เอาจริง ๆ แกเคยพูด ทิศทางของ Linux + AMD ไว้นานแล้ว ว่าเขาจะมาทางนี้ และมันต้องมีอนาคต (อยู่บ้างละ)