ศาลสูงจีน (Supreme People's Court) ออกบทความร่วมกับกระทรวงแรงงานและประกันสังคมจีน ชี้ว่าแนวทางการทำงานอย่างหนักของบริษัทจีนหลายแห่ง หรือที่เรียกว่าการทำงานแบบ 996 (เริ่ม 9 โมงเช้า เลิก 3 ทุ่ม 6 วันต่อสัปดาห์) นั้นผิดกฎหมาย พร้อมกับยกตัวอย่างคดีที่ศาลเคยตัดสินมาแล้ว 10 คดี
คดีที่ระบุมา เช่น การบังคับทำงานล่วงเวลาโดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลา, คดีพนักงานทำงานหนักจนเป็นลมและเสียชีวิตในที่สุด ล้วนเป็นคดีที่นายจ้างต้องรับผิดชอบจากการใช้งานพนักงานอย่างหนัก
แม้บทความจะไม่ได้ระบุไปถึงบริษัทเทคโนโลยีโดยตรง แต่ในช่วงหลังแนวทางการทำงานแบบ 996 นี้ก็นิยมในหมู่บริษัทเทคโนโลยีจีนอย่างมาก กลุ่มโปรแกรมเมอร์จีนเคยรวบรวมรายชื่อบริษัทที่มีแนวทางทำงานแบบ 996 ก็พบว่าเป็นแนวทางที่ใช้กันกว้างขวาง ตัวแจ็ก หม่า เองถึงกับเคยแถลงผ่านช่องทางทางการของ Alibaba สนับสนุนแนวทางนี้
บทความจากศาลสูงจีนครั้งนี้นับเป็นการแสดงท่าทีสอดรับกับพรรคคอมมิวนิสต์ที่ออกบทความวิจารณ์การทำงานแบบ 996 มาก่อนแล้ว
ที่มา - Strait Times
ภาพจาก enriquelopezgarre from Pixabay
Comments
ต้องเปลี่ยนนิยาม 996 ใหม่ เป็นเริ่มงาน 9 โมงเช้า ทำงานไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน ไม่เกิน 6 วันต่อสัปดาห์
ถ้ามองในมุมสุขภาพของคนทั่วไป ยังไงการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานขนาดนี้ก็คงไม่เหมาะสม
ผมว่าสำหรับเด็กจบใหม่ ช่วงอายุ 20 ต้นๆไปจนถึง 26-27 ที่ยังไม่มีครอบครัว ถ้าหากใครอยากจะทุ่มเท พัฒนาตัวเองให้เต็มที่ ก็อาจจะมองว่าทำไหว อันนี้ไม่พูดถึงมุมแรงกดดันจากหัวหน้านะครับ เพราะหัวหน้าแต่ละคนก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ตัวจูเนียร์เดฟเองก็เหมือนกัน
แต่ปัญหามันอยู่ที่เป็นการบังคับใช้ ไม่ได้อยู่ในความสมัครใจ กลายเป็นว่าใครไม่ทำแบบนี้คือประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ ทั้งๆที่จริงๆแล้ว คนที่ทำงาน 8-9 ชั่วโมง หยุดเสาร์อาทิตย์ ก็ถือว่าเป็นพนักงานที่ทำงานดีได้ ถ้าตัวงานออกมาดี
แต่สำหรับส่วนตัวแล้ว ผมมองว่ามันไม่ใช่ work life balance ที่ดี แม้กับเด็กจบใหม่ก็ตาม อาจจจะด้วยวัยที่มีครอบครัวแล้วหรือด้วยอะไรก็ตาม ผมว่าคนเรามันต้องการเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง แต่ละคนล้วนแต่มีงานอดิเรก มีความชอบที่ต่างกันไป เพราะไม่มีใครรู้ว่าชีวิตวันข้างหน้าจะเป็นยังไง (แม้งานอดิเรกผมตอนนี้หลักๆจะเป็นการเรียนรู้การเขียนโค๊ดภาษาที่เรายังไม่รู้จักหรือไม่ถนัดก็เหอะ 555)
..: เรื่อยไป
เข้าไปดูอัพเดทของ 996 เจอ 8-10-6 กับ 10-10-7 ถึงกับร้องอห.
10-10-7 !? โหดมากครับ
ผมยังเคยทำ 6 10 6 (ควงกะ 6.00น. - 22.00น. หยุดแต่วันอาทิตย์) โรงงานในไทยนี่แหละ แต่ค่าแรง *2.5 ทุกวัน จนมีคนแอบแจ้งกรมแรงงานถึงได้ยกเลิกไป
ควรดูแลร่างกายให้ดี ช่วง 20-30 นี่อย่าไปโหม
โรคภัยมันจะแสดงออกตอน 30+ แล้วสุดท้ายเอาเงินที่หามาจ่ายค่าหมอแทน ?
+1 จริงเลยครับ โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ใช่งานที่ลุกเดินไปเดินมา
..: เรื่อยไป
Too late :(
ผมก็สายไปแหละ เลยเตือน ๆ คนที่ยังกลับตัวได้ ?
กลัวแล้ววว ทุกวันนี้พยายามปรับเวลามานอน 21:30 น. ตื่น 06:00 น. แต่ครอบครัวไม่ให้ความร่วมมือ ;_;
เรื่องการทำงานหนักเกินมันก็ต่อสู้มาตั้งแต่หลังปฏิวัติอุสาหกรรมแล้วนะ ผลมันก็ออกมาชัดๆแล้วว่าถ้าชีวิตดีงานก็ออกมาดี แต่เจ้าของกิจการก็ยังอยากจะเอาเปรียบอยู่ดี ฝรั่งเขาทดลองทำงาน 4วันต่อสัปดาห์แล้ว แต่เอเซียสงสัยอยากผลักดันให้ไป 7วันต่อสัปดาห์แทน 555
ทำไมผมอ่านหัวข้อแล้วตีความเป็นถ้าพนักงานไม่ตายก็ใช้งานแบบ 996 ได้แฮะ
สำหรับชาวสายบัญชี ช่วงปิดงบ ทำงานแบบไม่เห็นตะวัน ละครับ
ผมว่าเป็นห้วงๆ นี่ทุกสายมีหมดนะครับ (โรงงานช่วงสิ้นปี, โปรแกรมเมอร์ช่วงปิดโปรจค)
แต่ประเภททำจนเป็นปกตินี่น่าจะ toxic กว่ามากครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ประเด็นในข่าวนี่รวมไปถึง "การบังคับทำงานล่วงเวลาโดยไม่จ่ายค่าล่วงเวลา" ซึ่งเอาจริงๆ มันผิดกฎหมายซึ่งในจีนก็น่าจะผิด แม้แต่ในไทยก็ผิด แต่เราก็ทำกันเป็นปรกติ
ถ้าช่วงปิดงบมีตลอด365วันก็ควรร้องเรียนนะครับ แต่ถ้ามาเป็นฤดูกาลแล้วเขาจ่าย OT ให้ก็ไม่น่าจะผิดกฎหมายนะ
ก็จริง แต่ก็อาจเป็นธรรมชาติของงานที่มีตึง มีผ่อน เหมือนกับหลายๆอาชีพครับ
อีกประเภทก็คือ ขยันจดทะเบียนบริษัทใหม่แต่ใช้พนักงานควบทุกบริษัท
ผมว่าหนักพอๆ กับคนขับรถส่งของข้ามจังหวัดตลอด 24 ชั่วโมงเลยนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ที่ทำงานก่อนลาออกมาก็ 910(6-4) แถมด้วยคนที่ทำงานแพร่หวัดได้ทุกเดือนป้องกันแค่ไหนลองเจอหันหน้าจามใส่ก็ไม่รอด
แล้วถ้าไม่ถึงตายล่ะ ยังใช้งานได้หนักเต็มที่เหมือนเดิมมั้ย?
ตรวจสุขภาพพนักงานก่อน พอสุขภาพเริ่มแย่ก็เขี่ยทิ้งไป หาคนใหม่มาแทน
ไม่จะไม่ค่อยชอบแนวความคิดของรัฐบาลจีน แต่ผมก็เห็นขัดแย้งกับแจ็คหม่าในเรื่องนี้มากๆ