วันศุกร์ที่ 27 ส.ค. Cyberspace Administration of China หรือหน่วยงานควบคุมอินเทอร์เน็ตในจีนประกาศแบนการจัดอันดับความนิยมคนดังรวมถึงไอดอล โดยมีประเด็นเริ่มมาจากข่าวคราวเสียหายของดาราจีนเช่น Zheng Shuang โดนข้อหาหลบเลี่ยงภาษี และ Kris Wu ในข้อหาข่มขืน นอกจากนี้ยังห้ามจัดกิจกรรมส่งเสริมการโปรโมทไอดอลทุกรูปแบบ
จากคำสั่งดังกล่าว พบว่าแพลตฟอร์มวิดีโอหลายรายในจีนตอบรับกฎใหม่ อย่าง iQiyi ได้ยกเลิกการแสดงความสามารถด้านไอดอลในสัปดาห์นี้ ก่อนหน้านี้ยังเคยมีกรณีแฟนคลับแห่ซื้อนมที่ไอดอลเป็นพรีเซนเตอร์เพื่อเพิ่มคะแนนให้ไอดอล จนมีภาพนมถูกเททิ้งลงท่อระบายน้ำออกมา
ในมุมมองของรัฐบาล มองว่าวัฒนธรรมแฟนคลับที่มีการบูชาคลั่งไคล้ไอดอลนั้นส่งผลเสียและเป็นการมอมเมาเยาวชน รัฐบาลคาดหวังว่าจะช่วยลดวัฒนธรรมคลั่งไคล้ไอดอลในทางที่ผิด อย่างกรณี Kris Wu ก็มีแฟนคลับบางส่วนพยายามระดมเงินเพื่อช่วยเหลือเขาให้หลุดพ้นคดี
ภาพโดย Li Yang
กฎใหม่กระทบกิจกรรมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องอย่างการเข้าไซน์ที่มีการเสียเงินเพื่อแลกกับคอนเทนต์ไอดอล หรือการโปรโมทกิจกรรมออนไลน์เพื่อพบปะไอดอลด้วย
จีนมีแนวทางคุมเข้มเนื้อหาโซเชียลมีเดีย, เกม และวงการบันเทิงที่กระทบต่อความมั่นคงสถาบันทางการเมือง จากกฎใหม่แสดงให้เห็นว่า จีนพยายามควบคุมพฤติกรรมของดาราไอดอลด้วย
ข่าวนี้มาพร้อมๆ กับกระแสทุบวงการเทคโนโลยีตั้งแต่อาลีบาบา, Tencent ไปจนถึงวงการกวดวิชาและวงการคริปโตด้วย
ที่มา - The New York Times, Global Times
Comments
เหตุการณ์เดียว สะเทือนกันหมด
รัฐบาลจีนก็ตึงเกินไปนั่นแหละ ส่วนแฟนคลับไอดอลที่ทุ่มเงินเพื่อประกันตัวในข้อหาข่มขืน ถ้าไอดอลนั้นกระทำผิดจริง ก็เหมือนไปสนับสนุนทางอ้อมให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นมาอีก ถึงไม่ได้กระทำผิดแล้วโดนใส่ความ การใช้เงินประกันก็ควรเป็นเงินส่วนตัวของไอดอลคนนั้นเองมากกว่า
ถ้าคนเรามีแฟนตรงสเปคอยู่แล้ว ก็มักจะชอบไอดอลที่ผลงานจริงๆ
หรือนี่เป็นเหตุผลนึงที่แอพสตรีมมิ่งจีน พยายามจะมาเจาะตลาดนอกจีนมากขึ้น จากกรณีที่ผ่านมา คิดว่ามีส่วนมากน้อยแค่ไหนครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ไม่นะ เว็บสตีมมิ่งจีนมีอยุ่สี่เว็บหลักๆ ที่มาทำตลาดนอกจีนก็แค่ wetv บริษัทของ tencenet นอกนั้นก็พอมีบ้าง
ที่จีนนี่จะมีคนด่าประธานาธบดีสีแต่รักท่านประธานเหมาไหม
กระทบต่อศีลธรรมอันดีใช่มั้ย
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
จริงๆแล้ว มันสื่อถึงประชาธิปไตยต่างหาก
ความนิยมความชอบที่เกิดจากประชาชน
มันทำให้รัฐบาลทุนนิยมคอมมิวนิสต์
รู้สึกกระทบ กลัวประชาชนรับรู้ถึงประชาธิปไตย
ก่อนหน้านี้ก็เคยมีแบนรายการที่ให้โหวตผู้ชนะไง
กำลังคิดว่า รบ.คอมฯ กำลังกระชับพื้นที่ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม พวกข้ออ้างในนามความดีหรือกลัวเด็กคิดเองไม่เป็นนี่ไร้สาระมาก ทั้งห้ามกวดวิชาเอากำไร เพราะกลัวผู้ปกครองเสียเงินเยอะ(ไม่แก้ไขที่ระบบการเรียนล่ะ?) กับห้ามเชียร์ไอดอล เพราะมีข่าวดาราทำผิด(คนละเรื่องกันเลย จริงๆต้องห้ามกิจกรรมทางการตลาดที่หมิ่นเหม่การพนันมากกว่า) หรือทางเศรษฐกิจที่บ.เอกชนที่ไม่ใช่ของพรรคโตเกินไป เลยออกกฎหมายมาขวาง(ส่วนของพรรคแต่ถ้าผบห.ดูเอาใจออกห่างก็โดนสอย เช่นคนหน้าเหมือน...) คือแก้ปัญหาแบบปลายเหตุสุดๆ เหมือนยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างเพื่อกระชับพื้นที่อำนาจเฉยๆ
ไม่ให้เชียร์ไอดอล แต่ใส่เนื้อหาความดีท่านปธน.ลงในแบบเรียนบังคับ?
แต่ก็เหมือนฝืนโลกเหมือนกันจะทำได้นานแค่ไหน คนหนุ่มสาวจีน ไม่ได้อ่านแต่แบบเรียนบังคับเหมือนสมัย red guard อีกแล้ว ถึงจะมี the great firewall แต่ก็พอมีช่องโหว่อยู่ดี
ก็ดูกันต่อไปครับ ถ้าฝืนไม่ได้ และเลวร้ายหนักสุดๆจริง เหตุการณ์แบบเทียนอันเหมิน ก็คงกลับมาอีกรอบอยู่ดีแหละครับ แต่ถ้าฝืนได้ ก็คงเป็นความพยายามที่ทำได้สำเร็จจริงๆ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ไม่เคยจะฝึกให้ ปชช หัดคิด มีแต่จะจำกัดคิดให้เรียบร้อย กลายเป็นว่าอะไรไม่ห้ามยิ่งกลายเป็นทำได้
ต่อไปนี้จะต้องออกกฎหมายละเอียดยิบย่อยทุกประเด็น ตายพอดี เด็กเล็กฉี่ได้กี่โมงถึงกี่โมง ห้ามนั่งส้วมนานไป ฯลฯ
เค้ากลัวโดนญี่ปุ่นกลืนมั้งครับ?
อย่างการเข้าไซน์ที่มีการเสียเงิน >> อย่างการเข้าไซต์ที่มีการเสียเงิน
เป็นวิถีของอัจฉริยะ คือป้องกัน ดีกว่าแก้ไข
พอมีชาร์ตอันดับ ก็เพื่อหาเงินได้มากขึ้น แฟนคลับต้องจ่ายมากขึ้น
อัจฉริยะมาก จนน่าสงสัยว่าทำไมประเทศอื่นทั่วโลกไม่เกิดปัญหานี้ ทั้งๆที่วงการเพลงที่อื่นใหญ่กว่าจีนมหาศาล?
ตลาดเพลงในจีนนี่แค่ 1/10 ของญี่ปุ่น หรือ 1/20 ของUSA เองนะครับ และยังเล็กกว่าเกาหลีใต้ด้วยซ้ำ
หรือเพราะประเทศอื่นเขาเลิกบูชาตัวบุคคลไปแล้ว เลยไม่ได้ยึดติดมากจนเกิดปัญหาเละเทะแบบนี้? วัยรุ่นจีนคิดแบบวัยรุ่นในประเทศที่เจริญแล้วอื่นๆไม่ได้ เลยต้องให้รบ.คอมฯช่วยคิดแทน?
แล้วคำสั่งแบบนี้มันไม่ใช่ป้องกันนะครับ มันคือแก้ไขที่ปลายเหตุสุดๆเลยมากกว่า....
ต้องแยกสองประเด็น ประเด็นวิธีจัดการของรัฐบาลจีน กับประเด็นบูชาตัวบุคคล
ประเด็นการจัดการของรัฐบาลจีนต้องบอกว่าจริงมากที่เป็นการแก้ปลายเหตุ แต่ดูแล้วนโยบายไม่ได้ตั้งใจจะแก้ปัญหานี้จริงๆหรอก เหมือนเอามาบังหน้าเพื่อลดบทบาทของอุตสาหกรรมต่างๆร่วมกับนโยบายที่ฟาดไปก่อนหน้านี้มากกว่า
แต่ประเด็น "ทำไมประเทศอื่นทั่วโลกไม่เกิดปัญหานี้ หรือเพราะประเทศอื่นเขาเลิกบูชาตัวบุคคลไปแล้ว" นี่ผมสงสัยนะว่าเราอยู่บนโลกใบเดียวกันรึเปล่า
การบูชาไอดอลจนเกิดปัญหาสังคมนี่ก็เห็นข่าวออกประจำ ในประเทศที่คุณยกมานั่นแหละ (U.S. นี่ผมไม่ได้ตามข่าวอาจจะยกไว้ประเทศนึง) แค่ปัญหาอาจจะเป็นคนละรูปแบบกัน
ส่วนประเด็นบูชาตัวบุคคลนี่น่าจะยิ่งกว่า มันเป็นสิ่งที่เป็น norm ของมนุษย์ทั่วโลกเลยด้วยซ้ำ แค่จะบูชาใครในรูปแบบไหน
คือจะอคติมันก็เข้าใจได้อ่ะครับ แต่น่าจะอยู่บนความจริงนิดนึง
ไม่ใช่ฝ่ายที่ไม่ชอบก็กดหัวจนไม่เหลือ ฝ่ายที่ตัวเองชื่นชอบก็ยกซะเวอร์เหมือนทั้งประเทศมีแต่อภิมนุษย์
ผมก็เขียนว่าเป็นสาเหตุหนึ่งเท่านั้นเอง
มันเป็นnorm จริง แต่ทำไมหลายๆประเทศไม่เกิดปัญหาแล้ว? ตรงนี้แหละที่ต้องมาดูเรื่องการจัดการ การแก้ไขปัญหา
ญี่ปุ่นที่ตลาดเพลงเป็นอันดับสองของโลก ใหญ่กว่าจีน10เท่า มีวัยรุ่นคลั่งดารานักร้องไหม มีครับ แต่เขาทำอย่างไรให้ไม่เกิดปัญหาหรือลดปัญหาลงได้?
ผมถึงชี้ไงว่า การโหวตแบบหมิ่นเหม่การพนัน มันต้องมีกฎหมายควบคุม หรือแม้แต่ชาร์ตเพลง ถ้ามีองค์กรกลางหรือบ.ที่จัดอันดับอย่างโปร่งใส มันก็ลดการ"ปั่น"ได้ เช่น oricon ของญี่ปุ่นนี่ มีการweight ยอดขายของคนที่ซื้อแผ่นพร้อมกันเยอะๆออกไป (เช่นวงที่ขายบัตรจับมือทั้งหลายเช่น 48 46 จะโดนลดตัวเลขลงจากยอดขายจริง บางทีลดไป50%เลย เวลาเทียบตัวเลขจากอีกชาร์ท) หรือ JASRAC แจกโล่ห์ด้วยการวัดยอดขายdigital download ไม่ใช่แค่ยอดview (ของญี่ปุ่นaccount ปั่นเพื่อซื้อยากเพราะมักต้องผูกกับเบอร์โทรศัพท์ ที่ขอยากมากๆ ไม่เหมือนบ้านเราที่ซื้อคนละหลายๆเบอร์ได้)อาจจะด้วยระบบจัดเก็บลิขสิทธิ์ของเขาเข้มงวดมากอยู่แล้ว มันเลยปั่นกันยาก ก็มีเรื่องเล่าแบบแค่ร้องเพลงในคาราโอเกะ ยังต้องจ่ายส่วนแบ่งให้เจ้าของเพลง ตามจำนวนครั้งที่ร้อง ไม่ใช่เหมาๆแบบบ้านเรา
จริงอยู่ว่าจริงๆแล้ว ไอดอลแบบญี่ปุ่น มันก็คือการบูชาตัวบุคคลนั่นแหละ แต่เขาก็ลดปัญหาลงได้?
ที่ผมย้ำเรื่องบูชาตัวบุคคล เพราะยิ่งคุณบอกว่าที่ไหนก็มี แล้วทำไมประเทศอื่นเขาไม่เกิดปัญหาหรือเกิดแล้วเขาแก้ไขอย่างไร? แต่จีน แก้ปัญหาแบบวัยรุ่นจีนคิดเองไม่เป็นต้องให้พ่อ(รบ.พรรคคอมฯ)คิดแทนให้? ด้วยการห้ามทำไปเลย?
สำหรับประเทศใหญ่ขนาดนั้น เสรีภาพที่ใช้ในทางที่ไม่ควร เป็นอันตรายต่อความมั่นคง (จริงๆก็ทุกประเทศล่ะนะ)
นั่งสิครับ ปัจจุบัน ตลาดเพลงในจีนใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก
แต่เม็ดเงินน้อยกว่าอันดับ1 20เท่า น้อยกว่าอันดับ 2 10 เท่า และเล็กกว่าตลาดเพลงในเกาหลีใต้ซะอีก(เกาหลีใต้อันดับ4)
สิ่งที่แตกต่างกันคืออะไร? วัยรุ่นจีนถึงใช้เสรีภาพในทางไม่ควรจนเกิดปัญหาต่อความมั่นคง?
ประเทศประชาธิปไตย vs เผด็จการคอมฯ ?
หรือลัทธิบูชาตัวบุคคล?
หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของใคร? (ของรบ.พรรคคอมฯ ?)
เสรีภาพอะไรเป็นภัยต่อความมั่นคง?
เปราะบางจริง
ความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่ามอมเมาเยาชนจริงๆ จะมาอ้างสิทธิอะไร ทุกคนก็ต้องอยู่ใต้กฏหมาย ถ้าอ้างสิทธิเสรีภาพแบบนี้ถ้ามีคนมาอ้างว่า ฉันจะแก้ผ้าเดินกลางถนนก็ต้องทำได้เหรอเพราะไม่ได้เดือนร้อนใคร(บางคนจะบอกว่าผมพูดเกินไปอันนี้ก็จริงแต่ มันต้องมีคนกำหนดว่าอะไรคือขอบเขต ก็คือกฏหมาย) มันต้องมีใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึงกำหนดกฏหมาย และไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความสุขกับกฏทุกข้อได้ ประชาชนทุกคนจะเอาความรู้สึกตัวเองเป้นใหญ่ไม่ได้ ต่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศจะอยากได้กฏอะไร ก็ไม่ใช่ว่ากฏนั้นสมควรมี
ผมงงกับคุณที่ยกเรื่องการเชียร์ศิลปิน ไปเทียบกับการแก้ผ้ากลางถนนนี่แหละครับ พูดตรงๆคือคนละเรื่องเดียวกันเลย
การทำชาร์ทลำดับความนิยมของเพลง อันตรายต่อความมั่นคง หรือมอมเมาเยาวชนอย่างไร?
วิธีการโหวตหมิ่นเหม่กับการพนัน(เช่นมีระบบกาชา?) การโหวตโดยซื้อของทำให้เกิดการทิ้งของเสียส่วนเกิน(แบบเคสเทนมทิ้ง?) ฯลฯ ผมว่าเรื่องแบบนี้ถกเถียงกันได้ครับ แต่ไม่ใช่พูดบอกว่า ก็มันคือกฎหมาย ห้ามสงสัย บอกแค่ว่ามันมอมเมาเยาวชนนะ เลยห้าม ต้องทำตามอย่างเดียว?
ในเมื่อวงการเพลงมันก็มีทั่วโลก ระบบคล้ายๆกันก็มีเยอะแยะ ทำไมมันมีปัญหาเฉพาะจีน โดยที่จีนเองก็มีตลาดเพลงใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก ซึ่งก็ถือว่าใหญ่ แต่ก็มีอีก4ประเทศที่ใหญ่กว่า และใหญ่กว่าแบบ20เท่าเลย มันก็มีระบบชาร์ทความนิยมคล้ายๆกัน(จริงๆระบบการโหวต หรือแข่งขันขึ้นชาร์ทนี่น่าจะเริ่มดังจากอเมริกากับญี่ปุ่นนะ?) สังคมเขาผ่านมาได้อย่างไร? ทำไมวัยรุ่นจีนถึงผ่านไปไม่ได้ จนต้องให้รบ.จีนเข้ามาห้าม น่าสงสัยไหม?
ผมเห็นด้วยว่า วิธีการ กระบวนการ บางอย่างมันหมิ่นเหม่ โดยเฉพาะเรื่องการพนันแบบกาชา แต่ประเทศที่เจริญแล้วเขาก็ออกกฎป้องกันเรื่องพวกนั้นให้เป็นธรรมได้ โดยไม่จำเป็นต้อง"แบน"ไปทั้งหมดโดย
ถ้าให้ผมยกตัวอย่างแบบเดียวกับคุณนะ คือคุณบอกว่าถ้าไม่ออกกฎอะไรจะ มีคนแก้ผ้าเดินกลางถนน วิธีป้องกันแบบจีน คือออกกฎห้ามคนออกมาเดินบนถนนให้อยู่ในบ้านอย่างเดียว จะได้ไม่พบเห็นคนแก้ผ้า"บนถนน"ไง
ถ้าบอกว่ารัฐออกกฎหมายอะไรก็ถูกต้อง โดยไม่ต้องสงสัยนี่....
บางทีเราเอาเค้าไปเทียบกับประเทศอื่นไม่ได้ครับ
ที่จีนบอกเลยครับว่า "หนัก" กว่าประเทศอื่นที่ว่ามาครับ
จากที่น้องผมสุดยอดติ่ง Worldwide เล่าให้ฟัง เริ่มจากแรก ๆ ตามศลป ญี่ปุ่น ค่ายจอนนี่ (ตอนนั้นยังไม่มีคำว่าติ่งเลย) นางก็ตามของนางชิว ๆ สมัยนั้นยังไม่มีโหวต (ประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว) วงการศลป.ญี่ปุ่นค่อนข้างมีกฎเข้มงวดครับ อย่างมากก็ซื้ออัลบั้ม ซื้อ Goods สั่งมาจากญี่ปุ่น
ต่อมาพอเกาหลีบูม ๆ น้องผมก็ผันตัวมาเป็นติ่ง (คำว่าติ่งเกิดขึ้นในสมัยนี้) สมัย ดงบังชินกิ สมัยเกาหลีแรก ๆ ก็ลอก ๆ ญี่ปุ่นมา แค่ซื้อ อัลบั้ม ซื้อ goods แต่หลัง ๆ เริ่มมีหลายอย่างเริ่มมีชาร์ตเพลง ก็ต้องไปสมัครบริการสตรีมมิ่งเพื่อไปปั่นชาร์ตวน ๆ ไป ให้ ศลป เรา ขึ้นอันดับ 1 (PAK หรือ Perfect All-Kill) และความนิยมในการสนับสนุนก็จะเป็นเช่นนั้นอยู่ทางฝั่งเกาหลี
ตอนนี้นางมาเป็นติ่งจีน นางบอกเลยว่า ติ่งจีนเป็นอะไรที่เหนี่อยมากที่สุด ต้องมาคอยโหวตเพื่อดัน ศลป ที่ตัวเองตาม มานั่งโพสใน SNS ของจีนเพื่อเอายอด Engage น้องผมทำบ้างไม่ทำบ้าง วันไหนที่ทำก็ต้องโพสเป็นร้อย แล้วการที่จะชนะได้ยอดโพสต้องหลักล้าน "ต่อวัน" อันนี้คือต้องทำเพราะการยอดโหวต มีผลต่ออนาคตของศลป. จริง ๆ เพราะการที่ ศลป. จะเหมือนจะย้ายค่ายหรือย้ายอะไรสักอย่าง (อันนี้ผมไม่แน่ใจ) จะต้องเป็น ศลป ที่ได้ 3 อันดับแรกเท่านั้น "ในเดือนนั้น ๆ"
แล้วคิดดูว่ามีศลป.กี่คน คนละเป็นล้านโหวตต่อวัน บอกเลยว่า วัน ๆ นึงไม่ต้องทำอะไรแล้วครับ ถ้าตามใครก็ต้องไปโหวตให้เค้าทั้งวัน งานการไม่ต้องทำ เรียนไม่ต้องเรียนแล้วครับ
แล้วนี่คือผมว่ามันไม่เกี่ยวกับผลงานอะไรเลยด้วย มันเหมือนค่ายศลป. เอาอนาคตศลป. ไปผูกกับผลโหวต ใครมีคนทุ่มโหวตมากกว่าก็อนาคตดีกว่า ใครโดนโหวตน้อยก็โดนฝังไปไม่มีงาน
ผมเลยคิดว่าวิธีนี้มันโหดร้ายไปหน่อยครับทั้งกับตัวศลป. เองและตัวคนตาม และส่วนตัวผมว่าผมเห็นด้วยที่แบนวิธีการนี้ครับ มันไม่เกิดผลดีใด ๆ เลย ส่วนประเด็นเรื่องชื่นชอบแล้วสนับสนุนในทางที่ผิด ผมก็เห็นด้วยนะที่ไม่ควรจะสนับสนุน
ปล ถึงแม้ผมจะพิมว่าโหวต แต่จริง ๆ มันคือยอดแชร์ยอดไลค์ของ SNS จีนน่ะครับ
ปล2 ผมติ่ง IU
ถ้าจะต้องโหวตเพื่อแข่งกันได้งานทุกวันๆ ระบบนี้ก็สมควรโดนแบน
สิ่งที่ต่างกัน ผมมองว่าคือระบบกฎหมาย และระบบลิขสิทธิ์ รวมไปถึงการจัดการศิลปินนะครับ
อย่างญี่ปุ่นเอง ชาร์ทความนิยมต่างๆค่อนข้างเข้มงวด เช่น oricon เขียนคคห.บนไปแล้วว่ามีการถ่วงน้ำหนัก ยอดซื้อทีละชุดใหญ่ๆออกไป ไม่นับยอดขายตปท. ทำให้ตัวเลขยอดขายน้อยกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะกับวงที่ขายบัตรจับมือ (แต่ออกมาแล้วก็ยังเยอะกว่าชาวบ้าน แต่มันก็แบบปั่นได้ยากเพราะต้องซื้อแผ่นจริงๆ)
ชาร์ทแบบdigital download ก็นับการซื้อเพลงจริงๆ ตามรายaccountแต่ละplatform ไม่ใช่ยอดวิวที่ปั่นกันได้ง่ายกว่า
ชาร์ทที่วัดความนิยมจากSNSก็มี แต่ไม่ค่อยนับเป็นเรื่องหลักเพราะมันปั่นได้ง่าย และหลายเจ้าก็แก้ปัญหาด้วยการโหวตไปผูกกับเบอร์โทรศัพท์ที่ขอได้ยาก หรือที่แปลกสุดคือการโหวตเพลงขาวแดง ของNHK ใช้การโหวตผ่านการกดปุ่มบนรีโมทโทรทัศน์(มาตรฐานทีวีดิจิตอลของญี่ปุ่น มีการส่งคำสั่งไปสถานีได้)ยิ่งปั่นยากเข้าไปใหญ่(ต้องซื้อทีวีแยก และอาจต้องโดนตามเก็บค่าบริการNHK)
หรือระบบไอดอลญี่ปุ่น ที่ส่วนใหญ่เห็นๆเลยว่าต่างจากเกาหลี หรือจีน คือห้ามรับของขวัญสิ่งของมูลค่าสูงโดยตรงจากแฟนคลับ จะบอกว่าเพื่อให้เงินเข้าวง/บริษัทผ่านการซื้อgood ก็จริง แต่ก็มีผลทำให้ลดความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ จากแฟนคลับลงไประดับนึง คือไม่เถียงว่าการตลาดแบบไอดอล ก็คือการบูชาไอดอล หรือแฟนมโน แต่ด้วยการจัดการมันก็ลดปัญหาลงได้ เพราะจะกลายเป็นว่าคุณสนับสนุนตัวไอดอล ผ่านผลงาน หรือสินค้าของบริษัท ไม่ใช่การเปย์ตรงๆ
เรื่องการโหวตของจีนแบบที่คุณเล่ามาผมก็ว่ามันเกินเลยไป แต่มันก็น่าจะมีวิธีแก้ไขหรือป้องกันแบบอื่น ไม่ใช่"ห้ามโหวต" โดยอ้างศีลธรรม เหมือนแก้ปัญหาแบบที่ผมและคนข้างบนยกตัวอย่างมา ว่าไม่อยากให้คนแก้ผ้าเดินตามถนน ก็เลยห้ามคนออกจากบ้านไปเดินถนน....
เสริมเรื่องฝั่งเกาหลีใต้ ผมเองไม่ค่อยได้ลงลึกฝั่งนี้ แต่อย่างกรณีฟ้องคดีความเรื่องรายการ produce48 ที่มีการโกงกันเรื่องผลโหวต ผมก็คิดว่าเป็นตัวอย่างของการใช้กฎหมายเพื่อมาควบคุมทางอ้อมแบบหนึ่ง ว่าการโกงตัวเลขการโหวตโดยรายการเอง เป็นการฉ้อโกง
ถ้าคุณตามหรือลองฟังติ่งจีนที่เข้ม ๆ แบบน้องผมเล่าให้ฟัง คุณจะเข้าใจครับว่าทำไมเค้าถึงแบนการโหวตในลักษณะนี้ มันบ้าบอไร้สาระมากจริง
ผมคิดว่าคุณอาจจะเอาไปเทียบกับการโหวตแบบ ญี่ปุ่น หรือเกาหลี แต่มันไม่ใช่แบบนั้นครับ ถ้าเป็นแบบนั้นผมว่ามันก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรที่ผ่านมา รบ เค้าก็ไม่ได้ห้ามอะไร
แต่การโหวตผ่าน sns แล้วตัดสินชีวิต ศลป มันเกินไปครับ
คุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า การออกมาห้ามลักษณะนี้เค้าไม่ได้จำกัดสิทธิของประชาชนนะครับ เค้าจำกัดสิทธิของ "บริษัท" ในการการออก Campaign ทางการตลาดที่มันทำให้เกิดผลเสียต่อบุคคลทั่วไป เค้าก็ต้องห้ามครับ คุณลองศึกษาก่อนครับว่ามันค่อนข้างเลวร้ายแค่ไหน ที่บริษัทต่าง ๆ ในจีนหาผลประโยชน์กันกับคนในชาติ ผมพยายามจะไม่ Racist นะครับ แต่ในมุมมองของผม บริษัทในจีนค่อนข้างมีจริยธรรมในการดำเนินงานที่น้อยกว่าบริษัทในประเทศ ญี่ปุ่น หรือเกาหลี เค้ามองเรื่องผลประโยชน์เป็นหลักครับไม่ค่อยกังวลเรื่องผลกระทบทางสังคมเท่าไร แล้วการที่รบเค้าห้ามบริษัทเหล่านี้ ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่สมควรแล้วในบริบทของประเทศเค้าน่ะครับ
ส่วนเรื่องการจัดอันดับชาร์ตเพลง หรืออย่างอื่นที่ประเทศอื่นมีกัน ผมยังไม่เห็นเค้าแบนนะ
มีอีกหลายอย่างที่ อิหยังวะ ของการเป็นติ่งจีนเยอะมากครับ น้องผมชอบเอามาเล่าให้ฟัง และผมคิดว่ามันควรปรับปรุงซักที ไม่ใช่ปล่อยให้ทำตามอำเภอใจแบบนี้
ปล อันนึงที่ผมนึกขึ้นมาได้กับการ อิหยังวะ คือ ถ้าเป็น ศลป. ที่ทางรายการไหนไม่สนับสนุน ถึงแม้ว่าจะไปออกรายการเป็นหมู่คณะ เค้าก็จะตัดหน้าศลปนั้นทิ้งไปเลยตอนออกอากาศ หรือบางที ทำเบลอหรือทำตัวหนังสือใหญ่ ๆ มาบังหน้าดื้อ ๆ เลย ถ้าตัดไม่ได้ เพราะไปเข้าเฟรมกับศลปคนอื่น เพราะเค้าไม่ดังหรือได้โหวตน้อยเนี่ยแหละครับ หรือถ้าเป็นศลปสัญชาติญี่ปุ่นที่ไปเดบิวท์ที่จีน ก็โดนแบบนี้เหมือนกันครับ
ปล 2 น้องเล่าให้ฟังจริง ๆ นะ จริงจริ๊งงง
การแบนโหวตผมว่ามันทำให้ ศลป มันดูเป็น "สินค้า" น้อยลง และมีความเป็น "มนุษย์" มากขึ้นครับ
เท่าที่ไปอ่าน ตอนนี้เขาแบนเหมารวมนะครับ กฎเขียนกว้างครอบจักรวาลมากๆ
https://mgronline.com/china/detail/9640000085300
ไม่ใช่แค่ห้ามโหวต แต่โดยรวมคือห้ามจัดกิจกรรมที่สนับสนุนเงินให้ศิลปินไม่ว่าจะ เป็นการจ่ายค่าสมาชิกโดยตรง หรือสนับสนุนผ่านgoods สินค้าต่างๆ
หรือเรื่องการห้ามการตั้งแฟนด้อมฯ ที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ อันนี้ดูจะเป็นเป้าหมายการควบคุมทางการเมืองมากกว่า
ที่เหลือเหมือนเขียนในเชิงศีลธรรมกว้างๆ ที่จะเลือกบังคับอะไรก็ได้อย่างไม่ชัดเจน
คือเหมือนบังคับให้ศิลปินกลับไปเหมือนยุคโบราณ คือรับเงินเดือนค่าจ้างจากรายการทีวี หรือบ.เท่านั้น โดยที่บ.เองก็ห้ามรับรายได้หรือขายสินค้าเพื่อศิลปินโดยตรง (จริงๆการขายแผ่น ขายเพลงแบบdownload ก็เข้าข่ายข้อห้ามด้วยซ้ำ แต่คิดว่า คงเปิดช่องให้ทำได้อยู่)
ตัวอย่างที่คุณยกมา มันเลวร้ายจริง แต่วิธีการแก้ไขปัญหา ผมว่ามีอีกหลายทาง โดยการใช้กฎหมายหรือหน่วยงานรัฐกำกับดูแลได้ครับ อย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่นึกออกอีกอย่างนึงคือ หน่วยงานรัฐเองสนับสนุนจัดตั้งรายการจัดอันดับที่โปร่งใส กว่าการโหวตด้วยเงินเฉยๆหรือกิจกรรมแบบที่ปั่นได้ง่าย มันก็เป็นการลดความสำคัญของการปั่นลง เพราะแฟนคลับก็จะขิงกันเองว่า ติดชาร์ทนี้เจ๋งกว่าชาร์ทปั่น โดยไม่ต้องไปห้ามหรือแบนอะไร อาจจะไปเข้มงวดเรื่องการฉ้อโกงแทน เพราะบ.ที่จัดอันดับแบบปั่นๆ ก็อาจจะแอบโกงเพื่อสร้างกระแสดันศิลปินของฝั่งตัวเองได้ ก็ต้องมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานรัฐได้ไม่งั้นโดนฉ้อโกง
เรื่องจริยธรรม ผมมองในเรื่องของระบบกฎหมายมากกว่า ถ้าการกำกับดูแลมันดี มันโปร่งใส มันก็โกง หรือปั่นความคลั่งได้ยากกว่า ผมว่าหลายๆประเทศก็เคยเจอปัญหามาแล้ว และก็ผ่านไปแล้ว เลยน่าจะเป็นตัวอย่างได้ว่าควรจะทำแบบไหนมากกว่าการแบนไปเลย
อีกอย่างมาเข้มเรื่องการให้โดยสเน่หา เก็บภาษีหนักๆกับฝั่งศิลปินเวลาได้รับของขวัญแพงๆ ก็อาจจะลดความคลั่งลงหรืออ้อนแฟนคลับได้ อันนี้ผมไม่รู้นะว่ามีที่ไหนเก็บภาษีไหม แต่ลองนึกเล่นๆ เพราะบ้านเราก็มีปัญหาแม่ยก แบบทุ่มให้ลิเกหล่อๆจนหมดตัวก็มีเช่นกัน....