Foxconn ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลกเปิดตัวรถไฟฟ้าที่พัฒนาเองพร้อมกัน 3 รุ่น พร้อมระบุว่าธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นธุรกิจมูลค่าล้านล้านดอลลาร์ไต้หวันตัวต่อไปของ Foxconn
รถ 3 รุ่นที่เปิดตัว ได้แก่
- Model C: รถ SUV ขนาด 7 ที่นั่ง (5+2) ตัวถังยาว 4.64 เมตร อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใน 3.8 วินาที ระยะวิ่งสูงสุด 700 กิโลเมตร
- Model E: รถซีดานระดับสูงเน้นลูกค้าธุรกิจ ที่นั่งด้านหลังปรับเป็นสำนักงานเคลื่อนที่ได้ อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใน 2.8 วินาที ระยะวิ่งสูงสุด 750 กิโลเมตร
- Model T: รสบัสสำหรับใช้งานในเมือง ไม่ระบุระยะวิ่งแต่ระบุว่าแม้บรรทุกผู้โดยสารเต็มก็ยังไต่ความชัน 25% ได้ และทำความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมกับระบุว่าทดสอบความทนทานแล้ว 200,000 กิโลเมตร
สำหรับด้านซอฟต์แวร์ Foxconn ประกาศตั้งศูนย์วิจัยซอฟต์แวร์ที่จะจ้างวิศวกรซอฟต์แวร์เพิ่มอีก 1,000 คนภายใน 3 ปีข้างหน้าเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้
ก่อนหน้านี้ Foxconn เคยประกาศความร่วมมือกับปตท. ของไทยเพื่อเปิดโรงงานรถไฟฟ้ากำลังผลิต 150,000 - 200,000 คันภายในปี 2023
ที่มา - Foxconn 1, 2
Comments
จะตั้งชื่อให้มีคำว่า model นำหน้า เหมือน tesla ทำไม??
เพราะมันคือ แ ร ง บั น ด า ล ใ จ
ยังดีไม่ใช่รถเก๋งทั้งหมดนะครับ ฮ่าๆ
lewcpe.com, @wasonliw
Ford น่าจะทำมาก่อน tesla พักนึง (หรือหลายพัก) ละครับ
"ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นธุรกิจมูลค่าล้านล้านดอลลาร์ไต้หวันตัวต่อไป"
ท่านผู้นำเรามองแบบนี้บ้างไหมครับ
เมืองไทยเราก็มีครบแล้วหนิครับ ทั้งผลิตเอง ทั้งทำแบรนด์เอง ทั้งรับจ้างผลิต
การผลักดันมันควรจะมีมากกว่านี้ไหมครับ หรือคิดว่าที่มีนี่ก็พอแล้ว
คิดว่าอยากให้ผลักดันมากกว่านี้อีกครับ แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า งบจากรัฐ เข้าสู่มหาวิทยาลัยบางแห่ง (น่าจะหลายที่ และหลายหน่วยงาน) เพื่อส่งเสริมการผลิต และพัฒนาอยู่นะครับ (พอดีเคยได้ติดต่อเพื่อถ่ายงานรถไฟฟ้าพวก มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง รถรางไฟฟ้าสำหรับการท่องเที่ยว และเรือโดยสารไฟฟ้าอยู่บ้างครับ ซึ่งก็ไม่ได้มีเจ้าเดียวที่เคยติดต่อมา เลยคิดว่าน่าจะมีอยู่พอสมควร)
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
พูดตรงๆนะครับ งานพวกนั้น น่าจะเป็นงานสายอาชีพ เช่นวิทยาลัยเทคนิค อาชีวะทำมากกว่า
ถ้าเป็นระดับมหาลัยต้องแบบ เทคโนโลยีmotor,เทคโนโลยีแบตเตอรี่ หรือปรับปรุงสายการผลิตเฉพาะทาง หรือส่วนควบของรถไฟฟ้า ที่ของที่ขายในตลาดยังไม่ดีพอ
ไม่ใช่พัฒนาตัวผลิตภัณฑ์โดยตรง แล้วออกมาเหมือนเอาของที่มีขายในตลาดอยู่แล้วมาผสมประกอบกันเฉยๆ โดยเฉพาะพวกพาหนะ...ไฟฟ้า อะไรทั้งหลาย แต่อุปกรณ์คือสั่งจีนมาประกอบกันซะส่วนใหญ่ไม่ใช่การพัฒนาขึ้นมาใหม่ หรือมีส่วนที่ต่างจากของเขา ก็ซื้อจากจีนโดยตรงเลยไม่ดีกว่าหรือ มันต่างจากการreverse engineeringเพื่อพัฒนาต่ออยู่นะ
ถ้าเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ไม่ถึง ก็ไปเน้นสายsoftware พัฒนาระบบauto pilot ระบบจัดการพลังงาน ผมเชื่อว่าศักยภาพเราทำได้ เพราะบ.รถยนต์เขาก็จ้างวิศวกรจบใหม่จากไทยนี่แหละไปสายพัฒนากันเยอะ(อย่างน้อยๆที่เคยรู้ว่าทีมงานพัฒนาระบบจัดการไฟฟ้าในECUของรถhybrid เจ้านึงก็มาจากทีมงานในบ้านเราเป็นหลัก)
ประเด็นคืองบวิจัยจากภาครัฐส่วนใหญ่ข้อจำกัดเยอะ และผู้อนุมัติจำนวนไม่น้อยต้องการผลงานที่เป็นชิ้นงานที่จับต้องได้โยงกับเรื่องmottoหัวข้อในช่วงนั้นได้(เช่นคำว่า"ยั่งยืน") จนออกมาดูไม่ต่างจากงานประกอบพื้นๆที่เอกชนก็ทำขายอยู่แล้ว มากกว่าจะเน้นวิจัยหรือพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนที่เอกชนต้องการจริงๆหรือยังขาดอยู่
เคยเห็นบ.ข้ามชาติพยายามเข้าถึงหลักสูตรของคณะวิศวกรรมหลายแห่ง เพื่อผลิตคนป้อนสายงานโดยเฉพาะ แต่ก็เหมือนไม่ได้ต่อเนื่องเท่าไร จนบ.หลายแห่งต้องให้ทุนกับพนักงานภายในที่มีแววไปเรียนต่อโท-เอกเมืองนอก ด้วยซ้ำ
มันก็มีนั่นแหล่ะครับ แต่ก็รู้กันในกลุ่มเล็กๆ ที่ติดต่อแนบแน่นกับหน่วยงานโดยตรง โดยเฉพาะพวกที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทสังกัดภาครัฐแต่อย่างว่าเขาก็อยากจับมือกับ partner ที่เข้มแข็งช่วยเขาได้ ตัวเล็กๆ ก็ทำอะไรไม่ได้มากนักหรอกครับ
อิจฉาประเทศไต้หวันเค้าเนอะ