อีเมลมีอายุครบรอบ 50 ปีในเดือนนี้ โดยเมื่อปี 1971 วิศวกรของโครงการ ARPANET ชื่อ Ray Tomlinson ซึ่งเป็นนักศึกษาเพิ่งจบใหม่จาก MIT ได้หาวิธีส่งข้อความระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่คนละเครือข่าย เขาประดิษฐ์ระบบอ้างที่อยู่ username@host แบบที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
อีเมลฉบับแรกของ Tomlinson ถูกส่งข้ามคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างกันเพียง 10 ฟุต แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอีเมลฉบับแรกของโลก ตัวเขาเองจำไม่ได้แล้วว่าส่งข้อความอะไร แต่ "คุ้นๆ ว่า" เป็นคำว่า QWERTYUIOP ซึ่งเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษแถวบนสุดของคีย์บอร์ด (ปัจจุบัน Tomlinson เสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี 2016)
ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของอีเมล ทำให้ผู้ให้บริการอีเมลหลายราย เช่น Gmail, Yahoo Mail ร่วมกันเขียนบล็อกเฉลิมฉลอง ภายใต้แท็ก #50yrsofemail และ #QWERTYUIOP
ที่มา - Google
Hi friends, did you know email was invented 50 years ago today? The 1st email said “something like QWERTYUIOP.”This incredible milestone paved the way for us @yahoomail ! Check out our love letter to email. https://t.co/mSmkRoWBWc #QWERTYUIOP #50yrsofemail pic.twitter.com/M3mwY2xfRR
— Yahoo Mail - Bring joy to your inbox (@yahoomail) October 29, 2021
Do you remember your first use of email? ? We celebrate the 50th anniversary of the 1st email sent over a network ? Learn more at ? https://t.co/GwUM4vUpJi #AWS #QWERTYUIOP #50YrsOfEmail pic.twitter.com/siwhw2fCRn
— Amazon Web Services (@awscloud) October 29, 2021
Comments
50 ปีผ่านไป การสื่อสารราชการไทยยังเป็นกระดาษ ล่าสุดพึ่งเห็นประกาศจะใช้อีเมลล์อยู่หยกๆ ไม่รู้ขั้นตอนไปกันถึงไหนแล้ว ?
การสื่อสารราชการทาง e-mail มีมานานแล้วนะครับ อาจจะเร่ิมจริงจังช่วงโควิดเนี่ย แต่ต้องมาในลักษณะกระดาษก่อน (อาจเกิดคำถาม เพื่อ?) คือราชการคนสั่งการหรืออนุมัติงานคือผู้บริหารระดับสูงซึ่งกุมอำนาจเบ็จเสร็จ แต่ก็ไม่ได้ทำหนังสือเอง ข้าราชการระดับล่างเป็นคนทำหนังสือตามคำสั่ง เสนอหัวหน้าฝ่ายถ้าโอเคก็เซ็นผ่านไปหัวหน้าส่วนต่อถ้าโอเคอีกก็เซ็นผ่านไปกองหรือสำนัก ซึ่งพอกองหรือสำนักอ่ะโอเคลงนามให้ (บางครั้งใหญ่กว่านั้นก็เซ็นอีกทอด เพื่อผ่านไปหาอธิบดีลงนาม) แล้วก็เอากลับมาสแกนเป็น .PDF File เพื่อส่งถึงหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกต่อไป แต่ถ้าเป็นหน่วยงานเดียวกันก็ส่งกระดาษนั่นแหละจะได้ไม่ต้องเปิดเมล์ปรินท์ใหม่ ปัญหาหลักคือ ราชการไม่มีการกระจายอำนาจ เคยเป็นลูจ้างชั่ว....คราว อยู่พักหนึ่งเห็นละอึดอัดใจ จะไม่ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจได้ ส่งเมล์ตอบเองเลย แบบ บ.เอกชน อีกอย่างที่น่าอึดอัดคือ จะส่งหนังสือถึงบุคคล หรือ หน่วยงานภายนอก ทำแต่หนังสือที่จะให้ลงนามไปอย่างเดียวไม่ได้นะ ต้องมีหนังสืออีกฉบับนึงอารัมภบท มาจะกล่าวบทไป ถึงกรนี่นี้มีความมาอย่างไร ทำไมถึงต้องทำหนังสือฉบับนี้ตอบ (ซึ่งเนื้อหาใจความสำคัญเหมือนกันเป๊ะกับฉบับที่จะส่งออก) มันเลยทำให้เสียเวลา เรื่อง ๆ นึงเนี่ยบางครั้งใช้เวลาเป็นอาทิตย์กว่าจะได้ลายเซ็นต์ในหนังสือกลับมา
สิ่งหนึ่งที่ได้มาจากการไปทำงานราชการพอมาอยู่เอกชน คือ มีงานอะไรที่สามารถทำเองได้โดยไม่ต้องผ่าน หน. จะรีบเคลียร์ให้หมด และทำให้สนุกกับงาน อย่างที่สองที่ติดมา คือ การใช้คำผิดคำถูก เวลาอ่านโซเชียลแล้วเห็นคนพิมพ์แบบผิด ๆ แล้วจะหงุดหงิดมาก (ตอนเข้าไปทำงานราชการใหม่ ๆ ก็หงุดหงิดมากเหมือนกัน อะไรนักหนากับการเคาะวรรค และแบ่งประโยค)
E-mail กลายเป็นส่วนนึงในชีวิตคนกว่าครึ่งโลกไปแล้ว
..: เรื่อยไป
ยกเว้นราชการไทย
ถ้าให้แฟร์ มหาวิทยาลัยรัฐใช้อีเมลเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นข้อความสั้นกับประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยรัฐ ไม่น่าจะใช่หน่วยงานราชกรนะครับ
หืม? ไม่ใช่ยังไงครับ?
มหาวิทยาลัยออกมาจากระบบนานแล้วครับ ไม่ได้มีสถานะเป็นหน่วยงานราชการ อาจารย์ก็ไม่ใช่ข้าราชการครับ
แฮกแท็กผิดครับ
(น่าจะหมายถึงอันเดียวกัน)
50yrsofemail
edited: ซ้ำ
สุดยอดมาก
จากนั้นเพื่อนก็ตอบกลับมา
UNSUBSCRIBE
นานเหมือนกันนะนั้น 50ปี ขอบคุณนะ
ตอนเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ เพื่อนๆมาให้สมัครอีเมล์ให้เพราะยังทำไม่เป็น ด้วย netscape โมเด็มยุคแรกๆ
ให้มาม่า 1 ห่อ เป็นค่าตอบแทน
นั่งรอโหลดดูตัวเลขวิ่งนานกว่าจะครบหน้าเพลินๆ
ห้องคอม ดังไปด้วยเสียง โอ๊ะโอ้ว! icq จร้า
เมล์แรก @chaiyo แล้วก็อะไรอีกซักอย่างยุคนั้น ก่อนมา yahoo แล้วก็ Hotmail ตามเพื่อน
@thaimail.com ครับ (><)
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
เคยใช้ของ thaimail กับ se-ed
ตอนปิดไปนี้แอบงานเข้า
เพราะลืมเซฟ จม.ออกกับใช้เอาไว้สมัครล็อกอินบางเวบไซต์
ของผม clickta.com หรือเปล่านะ
ก่อนนั้นเหมือนใช้ของ TOT แต่ไม่แน่ใจว่ามี email มั้ย
@sanook.com
@chaiyo ครับ ผูกกับ icq ด้วยอยากจะเอา id เดิมกลับมาเผื่อ icq ใหม่จะเก็บไว้
จบตั้งแต่จำรหัสไม่ได้ละ