เว็บไซต์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเพจ Urban Creature เผยแพร่ข่าว ทีมนักวิจัยไทยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน Thai Eco font ลดปริมาณพื้นที่ภายในตัวอักษร ประหยัดหมึกพิมพ์ร้อยละ 30 โดยยังคงความคมชัดไว้ได้ไม่แตกต่างจากเดิม พร้อมจดลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติแล้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันหน่วยงานราชการในประเทศไทยใช้ฟอนต์ TH Sarabun กันมาก ซึ่งในแต่ละปีหน่วยงานต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหมึกพิมพ์จำนวนมาก ทางทีมวิจัยเกิดแนวคิดในการออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน (Thai Eco font) ลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ได้
ทีมวิจัยจึงได้ร่วมกันพัฒนาและออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน (TH Imjai-Ecofont) โดยได้นำฟอนต์ TH Sarabun มาพัฒนาและออกแบบพร้อมกับทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดหมึกพิมพ์ ลดขนาดพื้นที่ภายในชิ้นส่วนย่อยๆ ในแต่ละตัวอักษร และทำการวิเคราะห์เพื่อลดปริมาณ Black Pixel ลงให้ได้มากที่สุดโดยวิธีประมวลผลภาพถ่าย แต่ยังความคมชัดที่ขนาดตัวอักษรในงานเอกสารทั่วไป
ผลการทดสอบพบว่า Thai Eco font สามารถประหยัดหมึกพิมพ์ได้ร้อยละ 30 และยังคงความคมชัดโดยที่ผู้อ่านไม่สังเกตเห็นการลดลงของพื้นที่ภายใน คนทั่วไปสามารถเข้าไปดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี 1 รูปแบบ ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ที่มา - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, Urban Creature
Comments
บางแห่งยังคงบังคับให้ใช้ Angsana ทั้งๆ ที่เรามีฟอนต์แห่งชาติมาตั้งนานแล้ว
ราชกิจจานุเบกษาประกาศให้ใช้ TH Sarabun PSK มานานแล้วครับ (แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมไม่เปลี่ยนเป็น TH Sarabun New) ใครที่ยังให้ใช้ Angsana น่าจะตกข่าวอย่างมาก
แจ่มเลยครับ
อยากให้เลิกพิมพ์เป็นกระดาษมากกว่า
IT๙ ต้องมา
ผมทดลองใช้แล้วเหมือนสระตัวลอยและวรรณยุกต์มันมาทับซ้อนกันครับ ไม่แน่ใจท่านใดเป็นเหมือนกันไหมครับ?
เป็นเหมือนกันครับ ผมเอามา run กับ latex ก็ซ้อนกันตามนั้น
wow
ทำไมใช้ TH Sarabun PSK เป็นฐาน
แทนที่จะใช้ TH Sarabun New หรือ Sarabun ?
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
เดาว่าเพราะ Sarabun PSK เป็นฟอนต์ในระเบียบสารบัญครับ
ประกาศเค้าไม่ยอมอัพเดทตามเวอร์ชั่นของฟอนต์น่ะสิครับ อันที่จริงควรใช้ sarabun ตัวใหม่ของ google ด้วยซ้ำ เพราะที่ขนาด 11 pt. เท่ากัน ตัวอักษรไม่ว่าจะฟอนต์ใดๆก็จะเท่ากันเป็นมาตรฐานหมด
ถูกใจ google font ก็ตรงนี้นี่แหล่ะ เอาไปสลับในเว็บไม่ต้องปรับขนาดเลย
ผมเพิ่งรู้ว่ามี Sarabun ของ Google ก็คอมเมนต์นี้แหละ ไปลองโหลดมาใช้แล้วคือดีงาม ที่ผ่านมาใช้ Laksaman แทน TH Sarabun New มาตลอดก็เพราะเรื่องขนาดฟอนต์ที่มันไม่เท่ากันนี่แหละ
Google Sarabun คือดีงามมาก แต่ถ้าสายตาราชการใครดีเกินไปก็โดนเด้งกลับไปแก้ไขอยู่ดี ; _ ;
เพราะลุงๆ ป้าๆ เวลาเจอ Sarabun new มันจะเว้นบรรทัดแปลกๆ ไม่รู้ทำไมเลยยังใช้ PSK กันแล้วเวลาส่งงานหนังสือจะเขียนดีแค่ไหนแต่ หัวหน้าสไตล์ ข้าราชการก็บอกว่าหัวหนังสือไม่ตรงบลาๆ เส้นไม่ตรงฟอนต์ไม่แปลกๆ
+1
เปลี่ยนที่ทำงาน เจอหัวหน้าใหม่ ดันดูออกว่า Sarabun new ไม่ใช่ psk เลยต้องกลับมาใช้ psk เหมือนเดิม
เอาไว้สำหรับงานที่ต้องพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษเท่านั้นสินะครับ งานเอกสารออนไลน์ใช้แบบนี้ไม่ไหวครับ ซูมแล้วมีแต่รูเต็มไปหมด
งานพิมพ์กระดาษแต่ตัวใหญ่ ๆ เช่น เอาไปทำเป็นป้ายแบบนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกันจ้า
ลองซูมตามดู เป็นรูๆ จุดๆ จริงๆ ด้วย
เข้าใจว่าพอพิมพ์จริง
หมึกหรือโทนเนอร์ มันก็มีซึมหรือเลอะ จนเนียนมองไม่เห็น ดูไม่แตกต่าง ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ถมดำจนมิดทุกจุด แต่ถ้าเอาไปใช้งานพิมพ์ใหญ่ๆ คงไม่ได้ หรือถ้าเป็นเอกสาร Digital ก็ไม่จำเป็นจำต้องประหยัดหมึก
ผมเลิกพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษหลายปีแล้ว เลยไม่ได้ลอง เพราะคงไม่ได้ใช้
ก็ดี ดูมีประโยชน์
ดีกว่ารับเงินเดือนป่าวๆ
งานวิจัย นักวิจัยบ้านเราไม่ค่อยเห็นผลงานเท่าไหร่
จากการที่ไปช่วยทำวิจัยมา
ใช่ วิจัยเพื่อเอาใส่ในเล่ม เบิกงบ ได้เลื่อนขั้น
มองว่างานวิจัยดีๆ ต้องใช้เวลาทำนาน
แต่งานวิจัยที่ทำแล้วไม่ได้ใช้เพราะโดนบีบให้ทำก็มีนะครับ อาจเพราะเพื่อรักษาตำแหน่งทางการงาน ไม่ก็งบประมาณต่างๆ จำกัด เลยทำได้แค่นั้น
เบื้องลึกเบื้องหลังมันมีทำไมถึงไม่มีอะไรออกมาดี ๆ บ้าง
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
เพราะนโยบายประเมินผลงานเน้นปริมาณมากกว่าเน้นคุณภาพ
เช่นวิจัยทั่วไป ตีพิมพ์เยอะแยะ จำนวนผลงานเยอะ
กับวิจัยแทบตาย ผลงานระดับโลก ตีพิมพ์ journal ดังชิ้นเดียว
เวลาประเมิน แบบแรกได้คะแนนรวมสูงกว่า เพราะจำนวนนับมากกว่า
ราชการชอบวัดผลลัพธ์เชิงปริมาณ มันง่ายดี
ถ้าวัดเชิงคุณภาพ คุณจะเจอคำถามให้ต้องอธิบายซ้ำๆ ไม่จบไม่สิ้น
และที่แปลกคือ คนที่อยู่ในตำแหน่งประเมินงานพวกนี้ ก็ไต่เต้ามาจากวิจัยที่เน้นจำนวนนับเช่นกัน
มันก็เลยวนกันอยู่แถวนี้
มหาลัยก็ดู impact factor อยู่น่ะ
น่าจะ Chulabhorn Likit ด้วย
TH Sarabun IT๙ คือความชิบหายของวงการงานสารบรรณไทย
I need healing.
กสทช. เองส่งหนังสือที่มีลิงก์เว็บแอดเดรสเป็นตัวเลขมายังเป็นเลขไทยเพราะใช้ฟอนต์ IT๙ เลย
จริง หน่วยงานราชการนี่ตัวดีเลย ลองเอาไฟล์เอกสารของราชการมาเปลี่ยนฟอนต์ จะได้เห็นการใช้เลขไทยผสมเลขอารบิกกันมั่วซั่วเลย
หน่วยงาน ราชการ ควรยกเลิก เลขไทย ในงานเอกสารได้แล้ว มันอ่านยาก ยิ่งเจอพวกเลขหลักเยอะๆ มีมึนหัว หรืออ้วกแตกอะ
อันนี้เห็นด้วยมาก ยิ่งเลขไทยในไฟล์ที่มีตัวเลขเยอะๆเช่นใน excel นี่ตาลายมาก มึนหัว โดยเฉพาะ ๔ กับ ๕ มันคล้ายๆกัน
ครั้นพอเปลี่ยนเป็นฟอนต์อื่นชั่วคราวก็ยิ่งมึนกว่าเดิม เพราะหน่วยงานราชการมักใช้เลขไทยผสมเลขอารบิกมั่วไปหมด
ขอถามแบบตรงกันข้ามละกันครับว่ามี font ภาษาไทยที่แนะนำสำหรับหน้าจอมือถือบ้างไหมครับ พอดีเบื่อ font พื้นฐานของ Android แล้ว ตอนนี้แอบไปใช้ Ayuthaya อยู่
เห็นมีเปิดประเด็นเรื่องานวิจัยของคนไทย เลยอยากแชร์มุมนี้บ้างครับ #พื้นที่โฆษณา
มีงานวิจัยจำนวนมากที่ดีและมีประโยชน์ แต่ไม่ถูกเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รู้ครับ
อันนี้เป็นโครงการหนึ่งของ สกสว. (เดิมคือ สกว.) ที่ให้นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นำโครงการวิจัยดีๆ ไปสัมภาษณ์นักวิจัยตัวเป็นๆ ออกมานำเสนอในรูปแบบ podcast ให้คนได้ลองฟังกันดูครับ
ใครสนใจตามไปฟังกันได้ที่ WiTThai
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
พวกโหมดประหยัดหมึกของ inkjet มันทำงานแบบเดียวกันมั้ยนะครับ