IBM เสนอวิธีการวัดความเร็ว (ในที่นี้ speed) ของคอมพิวเตอร์ควอนตัมด้วยหน่วยใหม่ที่เรียกว่า CLOPS (Circuit Layer Operations Per Second)
IBM บอกว่าการวัดสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบ่งออกเป็น 3 มิติหลักๆ ได้แก่
IBM ยกกรณีเปรียบเทียบว่า จำนวนคิวบิตเปรียบเสมือนจำนวนคอร์ของคอมพิวเตอร์คลาสสิค เมื่อนำคิวบิตมาต่อกันจะได้วงจรควอนตัม (quantum circuit) ซึ่งมีความกว้าง (width) เป็นจำนวนคิวบิตที่ใช้คำนวณ และความลึก (depth) เป็นจำนวนขั้นตอนที่วงจรทำงานก่อนคิวบิตเสื่อมสภาพ ส่วนค่า QV เปรียบได้กับการวัดจำนวนทรานซิสเตอร์ แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว
จากภาพจะเห็นว่า วงจรมีลักษณะไม่เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมพอดี มีจำนวนคิวบิต (จุดในภาพ) ทั้งหมด 27 คิวบิต วิธีการวัดค่า QV คือรันวงจรแบบสุ่มทีละ 2 คิวบิต ที่จำนวนความลึก 2 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ความมั่นใจเกิน 97.725%, จากนั้นขยับเป็น 3 คิวบิต ความลึก 3 ไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าวงจรเสื่อมสภาพ
กรณีตัวอย่าง พบว่าวงจรทำงานล้มเหลวที่ความลึกระดับ 7 แปลว่าความลึกระดับ 6 ใช้งานได้ วิธีคำนวณ QV คือใช้ 26 = 64 เป็นต้น (คำอธิบายอย่างละเอียด)
ส่วนการวัดค่าความเร็ว คล้ายกับการวัดค่า FLOPS (จำนวนการประมวลผลทศนิยมต่อวินาที) ของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่เป็นการวัดจำนวนวงจรควอนตัมที่สามารถประมวลผลได้ต่อวินาทีแทน
ที่มา - IBM, ZDNet, Tom's Hardware
Comments
เป็นอะไรที่ยากเกินที่ผมจะเข้าใจได้จริงๆสำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์เนี่ย
..: เรื่อยไป
ลองหาหนังสือ Quantum physic ของ DK มาอ่านดูสิครับอาจทำให้พอเห็นภาพบ้าง
น่าสนใจครับ เด่วลองหาอ่าน
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
มันเป็นพื้นฐานวิทยาศาสตร์นะครับไม่ได้เรื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมโดยตรง เพียงแต่มันจะทำให้เราเห็นภาพว่าเบื้องหลังการทำงานของ physic quantum มันเป็นยังไง ถ้าจะลงลึกต้องหาเล่มอื่นอ่านเพิ่ม เรื่องควอนตัมถ้าไม่ได้อ่านพื้นฐานก่อนจะงงมากเพราะมันไม่ใช่หลัก logic แบบที่เราคุ้นเคยเรียกว่าตรงกันข้ามเลยจะดีกว่า
แฟนหงส์แดงถูกใจสิ่งนี้
คนละ Klopp กันคับ ฝ่ามๆ 555
เห็นครั้งแรกผมนึกถึงเลเยอร์ของ pcb
จากที่เคยลองศึกษาดูคร่าวๆ
มันจะต้องเอาเกตมาต่อกัน หรือใช้ผ่านภาษาคอมพิวเตอร์ ที่คอมไพออกมาเป็นการต่อกันของแต่ละเกต (นึกถึง fpga)
แต่เกตของควอนตัมนั้นต่างจากคอมพิวเตอร์ที่มี state โดยสิ้นเชิง
เพราะมันเป็นลอจิกที่ได้จากการวัดมุม spin ของอนุภาคที่ entanglement กัน
หลังจากนั้นก็สั่งรันจนกว่าจะได้ความน่าเชื่อถือที่รับได้
แล้วผลลัพธ์จะได้ออกมาเป็นค่าความน่าจะเป็น
ปล. อย่าเชื่อผมมากผมอาจจะเข้าใจผิด
ถ้าอนาคตจะมีการพัฒนาได้จนเอามาแทนที่ pc หรือ laptop ได้นี่
จะมีโอกาสทำได้มั้ยครับ
หรือว่าใช้เป็นตัว server แบบในหนัง ready player one พวกนี้
อันแรกผมว่ามีแต่อาจจะเป็นแบบคู่มากับแบบเดิมด้วยนะครับ เป็นหน่วยเสริมอะไรแบบนั้น
อันสอง ก็ไม่แน่แหละครับแต่ผมก็คิดว่าเหมือนแบบแรกคือต้องคู่กันอยู่ดี
ขอบคุณมากครับ
จนกว่าเราสามารถสร้างเครื่องจักรควอนตัมทัวริงได้ ตอนนี้ก็ยังเป็นไปไม่ได้มากกว่าหน่วยประมวลผลช่วย (co-processor)
อนึ่ง การประมวลผลควอนตัมในขณะนี้ไม่เที่ยงตรง อาศัยการคาดคะเนผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุดเท่านั้น