เครื่องยนต์ EmDrive ได้สร้างข้อถกเถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์เนื่องจากมันละเมิดกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน จึงมีทีมวิจัยจากเยอรมันพยายามพิสูจน์แนวคิดเครื่องยนต์ประเภทนี้ ซึ่งในปี 2018 จากการทดลองเบื้องต้นคาดว่าแรงขับที่เกิดขึ้นอาจมาจากปฏิกิริยาระหว่างสายเคเบิลที่ไม่มีฉนวนป้องกันกับสนามแม่เหล็กโลก มาวันนี้ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าเกิดจาก "ตาชั่งเพี้ยน" ครับ
ทีมวิจัยเดิมซึ่งนำโดย ศ.ดร. Martin Tajmar แห่ง Technische Universität Dresden ประเทศเยอรมนี ได้ทดลองสร้าง EmDrive ตามผังต้นแบบของ NASA และสามารถสร้างแรงขับในระดับเดียวกับที่ตรวจวัดได้ตามงานวิจัยดั้งเดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อทีมตรวจสอบเพิ่มเติมจึงพบว่า ขณะที่ทีมวิจัยเปิดระบบการทำงาน พลังงานไฟฟ้าที่ส่งไปที่เครื่องยนต์ทำให้เกิดความร้อนที่เครื่องจนทำให้วัสดุยึดโยงยืดออก ส่งผลให้ตาชั่งวัดแรงปรับน้ำหนักเริ่มต้นใหม่ (และทำให้การตรวจวัดเสมือนว่ามีแรงเกิดขึ้น) เมื่อทีมปรับเปลี่ยนโครงสร้างตัวยึดโยงใหม่ก็พบว่าแรงที่เกิดขึ้นหายไป จึงสรุปว่าผลการวัดแรงที่เกิดขึ้นมาจากผลกระทบของความร้อนต่ออุปกรณ์ตรวจวัดแรงนั่นเอง
จากผลการทดสอบดังกล่าวยังทำให้ทีมวิจัยพิสูจน์ได้ว่าเครื่องยนต์อีก 2 ประเภทซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายกัน คือ Lemdrive (ใช้การสะท้อนของเลเซอร์แทนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) และ Mach-Effect Thruster (ใช้การเปลี่ยนระดับพลังงานในวัสดุ piezoelectric) ใช้งานไม่ได้จริงเช่นกัน
ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้เครื่องยนต์ที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงยังคงเป็นเพียงความฝัน อย่างไรก็ดี การค้นพบสาเหตุที่ทำให้วัดค่าแรงผิดพลาดในครั้งนี้จะช่วยให้นักวิจัยสามารถออกแบบการทดลองที่รัดกุมขึ้น และสามารถตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการเครื่องยนต์แบบอื่น ๆ ได้แต่เนิ่น ๆ ในอนาคต
Comments
ธนูปักหัวเข่าจริงๆ
อยากจะร้องไห้
ครั้งหน้าลองใช้แมว กับขนมปังหน้าเนยดู
finally
debug อยู่ 5 ปี
พัฒนา ion engine ให้แรงๆ แทนดีกว่าไหม
ปริศนาทั้งหมดไขกระจ่าง
ลอง สปอร์ไดรว์