สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศข่าวการซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ของไทย โดยคัดเลือก Hewlett Packard Enterprise (HPE) เป็นผู้สร้างระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีสมรรถนะ 13 petaflops จะถือเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
HPE จะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่น HPE Cray EX ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของบริษัท สเปกใช้ซีพียู AMD EPYC 3rd Gen จำนวน 496 ตัว, จีพียู NVIDIA A100 จำนวน 704 ตัว, ระบบเครือข่าย HPE Slingshot และระบบสตอเรจ Cray Cluterstor E1000
คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะตั้งอยู่ที่ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) ของ สวทช. โดยระบุว่าจะใช้ในงานวิจัย 3 ด้าน ได้แก่ สุขภาพและการวิจัยยา, พลังงานทดแทน และการวิเคราะห์สภาพอากาศ รวมถึงการพยากรณ์ฝุ่น PM 2.5
คอมพิวเตอร์จะเริ่มติดตั้งและเปิดใช้งานในปี 2022
ที่มา - HPE, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
Comments
ไม่น่าจะนับว่าแค่ 704 คอร์ นะครับ นับแค่ cuda core เฉยๆ น่าจะเกินไปไกลมากเลย หรือนับการ์ดใบหนึงก็ 1 คอร์หว่า
ส่วนกรมอุตุฯ จะมาร่วมวงใช้ด้วยไหมนี่
กรมอุตุฯ น่าจะมีของเขาเองอยู่แล้วนะครับ เพียงแต่อาจจะไม่ได้แรงเท่านี้ งานของกรมเฉพาะทางมาก ต้องใช้คอมฯ ระดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่แล้วในการปั่นโมเดลพยากรณ์
เคยได้ยินนานแล้วครับแบบเขาบอกเสียแล้วบ้างก็มี ฮ่าๆ แต่ถึงมีคงรุ่นเก่ามากๆ ไม่รู้มีข่าวอัพเกรดกันบ้างหรือเปล่า งานใช้ตลอดเวลาด้วย กลัวแบบมาใช้ของหน่วยงานอื่นจะไม่ได้ใช้เต็มเวลา
อันนี้พิมพ์ตกไป นับเฉพาะ Tensor core ครับ
น่าจะพิมพ์ตก ตามเม้นข้างล่างด้วยครับ
ต้องเป็น Cray Clusterstor E1000
ไปดูต้นทางเว็บ HPE มา
น่าจะหมายถึง มี NVIDIA รุ่น A100 Tensor Core จำนวน 704 GPUs
และ A100 มี 432 Tensor Core ต่อ GPU คิดว่าไม่น่าซื้อเป็นทศนิยมได้
นอกจากนี้ Cray Cluterstore E100 น่าจะก๊อปมาไม่ครบ เว็บต้นฉบับบอกว่าเป็น Cray Clusterstor E1000
งงเลยครับแบบนี้ ถ้า A100 มี 432 Tensor core เลข 704 ดูไม่ลงตัวเลย แถมดูเหมือนมีการ์ดแค่สองใบเองด้วย ทั้งระบบ
ผมไปส่อง CPU มาอีก มี 496 3rd Gen AMD EPYC processors นี่ ก็ดูแบบไม่ค่อยลงตัว ถ้าหารคอร์ที่ลงตัวเลข CPU จะมีคอร์แค่ 8 หรือลงเลขคี่ก็จะมีได้ 16 คอร์ ซึ่งใน spec Cray EX ก็แบบ 1 บอร์ด ใส่ A100 ได้ 4 socket แล้วเบลดเครื่องใบหนึงมีได้ 2 บอร์ด คูณ ไปมา ยังไม่ได้การ์ด a100 704 GPUs เลย
ปกติพวกนี้รันเต็มที่ตลอดเวลารึเปล่าครับ
เหมือนเครื่องบินครับ ควรใช้ให้ได้มากที่สุดตลอดเวลาถึงจะคุ้มค่าที่ซื้อมา เพราะฮาร์ดแวร์พวกนี้มีอายุจำกัดถึงไม่ได้ใช้งานก็ตาม
ไม่ครับ เหมือน server ตัวไปครับ ทำงานเฉพาะตอนมี task ให้
แต่น่าจะมี task ให้ตลอดล่ะครับเพราะ task คำนวนที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง (ประมาณว่าที่พวกต้องใช้ทศนิยมถึง 100 หลัก) มันเยอะมาก อยู่รอบตัวเราโดยไม่ได้สังเกต
ram เท่าไหร่
ในที่สุดประเทศไทยก็จะมีพยากรณ์อากาศแม่นๆกับเค้าบ้าง
เคยได้ยินมาว่า ส่วนนึงเพราะภูมิประเทศเรามันมีสภาพอากาศค่อนข้างผันผวนด้วยน่ะครับ คือเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไว พยากรณ์อากาศเลยไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่
จะให้พยากรณ์อากาศได้ 100% ต้องมีข้อมูลสรรพสิ่งในจักรวาลเลยครับ
เพราะไม่ว่าจะเป็น หมีขั้วโลกไปทุบให้น้ำแข็งละลาย เราเปิดแอร์ จุดดับบนดวงอาทิตย์ ก็ส่งผลต่อสภาพอากาศได้ครับ
ฉะนั้นถ้าจะให้มันแม่นนี้ยากมาก
จริงๆ เราไม่ได้ต้องการขนาดที่ว่ารู้ว่าจะฝนจะตกที่วินาทีไหน แต่ต้องการแค่รู้ว่าฝนจะตกช่วงไหนของบ่ายสองแบบที่ญี่ปุ่นทำได้ ส่วนที่ในแถบ SEA มันทำไม่ได้เพราะสภาพอากาศเราผันผวนกว่าญี่ปุ่นครับ (จำได้ว่าประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรก็มีปัญหาแบบเดียวกัน แต่น้อยกว่าเรา แต่ก็ยังมากกว่าที่ญี่ปุ่นอยู่ดี)
เห็นทุกที่เลยมักจะอ้างว่าพยากรณ์ของญี่ปุ่นนี่แม่นมาก แต่ที่เคยไปเที่ยวมันก็ไม่ได้ตรงอะไรขนาดนั้นนะครับ คลาดเคลื่อนแบบอยู่ดีๆก็ตก บอกจะตกก็แดดเปรี้ยง มีบ้างตามปกติของการพยากรณ์ที่ได้แค่คาดเดา แต่คือด้วยภูมิประเทศ, เทคโนโลยี แล้วก็วิถีชีวิตคนที่อิงกับพยากรณ์อากาศเป็นหลัก ทำให้ผลมันแม่นกว่าของเราจริงๆ
ตามข้างบนบอก นายกญี่ปุ่นบอกว่าเครื่องของเราความแม่นยำ 83% แต่ประชาชนชาวญี่ปุ่นบอกว่าคงไม่ 83 มันแค่ 13 มากกว่า คนญี่ปุ่นเองก็ด่ากันเยอะ คนไทยไม่รู้เรื่องหน้าที่อวยให้ญี่ปุ่น
ภูมิอากาศประเทศเรากับพม่านี่เข้าขั้นปราบเซียนครับ น่าจะต้องวิจัยเรื่องนี้อีกสักพักใหญ่ ๆ เลยกว่าจะแม่นยำ
นานทีจะมีข่าวดีด้านวิทยาศาสตร์ของไทยบ้างเหมือนกันแฮะ หวังว่าจะได้ใช้งานด้านการวิจัยและพัฒนาประเทศได้เต็มประสิทธิภาพนะ
ปล. ได้ยินคำว่า Cray ทีไร นึกถึง Mainframe สีสดใสในยุครุ่งเรืองช่วง 80-90 ทุกที
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ถ้าเฉลยว่าเอามาใช้ตามหาตัวคนหมิ่นเบื้องสูงนี่ฮาเลยนะ ดีนะที่เอามาวิจัย
55
ยื่นเป็น โมอาย เกาะอีสเตอร์ กันเลยทีเดียว
ยังงัยก็ขอให้ใช้งานให้เกิดประโยชน์เต็มที่
อย่าเอาไปใส่ตู้โชว์เป็นพอ
ทำไมไม่ซื้อชิ้นส่วนมาสร้างเองครับ
พวกที่เกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ หรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถ้าซื้อแบบสำเร็จมาเลยมันดีกว่าตรงที่มีการรับประกันโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิต ถ้าให้สร้างเองยังไม่รู้เลยว่าจะไหวรึเปล่า
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ชิ้นส่วนหรือเทคโนโลยีบางอย่างมันไม่ได้หาซื้อตามท้องตลาดได้น่ะซิ แถมสั่งประกอบก็ใช่ว่ามันจะทำงานได้ตามที่คิด ไปๆ มาๆ จะแพงกว่าอีก
พยากรณ์ PM2.5 แจ้งแล้วจบไม่ได้คุ้มสักเท่าไหร่
เพราะภาครัฐทำอะไรเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขอย่างจริงจัง
นายอาร์มถูกใจสิ่งนี้
9 A R M
หวังว่าจะไม่มีคนแอบเอาไปขุดบิตคอยนะ
แหม่ server ระดับนี้ผมว่ามันมาพร้อม โครงการ datacenter อยู่แล้ว (ถ้าหน่วยงานยังไม่มี) ถ้าเป็น datacenter เต็มระบบ การรักษาความปลอดภัย และการ monitor ก็น่าจะมาครบ ยิ่งตอนนี้ สวทช. น่าจะมีการชงงบให้เรื่อยๆ เพราะเป็นหน่วยงานที่มีงานที่ต้องรับผิดชอบใน EEC รัฐวางเดิมพันกับ EEC ไว้เยอะ มันเป็นโครงข่ายโครงการภาพรวมประเทศไทยยุคต่อไป มีอะไรก็จัดเต็มหมดแหล่ะ เพราะไม่งั้น รถไฟทางคู่ ความเร็วสูง สนามบิน สารพัดโครงการ ก็จะใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่
เอาเข้าจริงเกิดขึ้นได้ล่ะครับ เช่นเดียวกับทรัพย์สินราชการอื่นๆ (รถ, อาคาร, บ้านพัก, ไฟฟ้า ฯลฯ) ที่มีข่าวเรื่อยๆ
ถ้ามันเกิดก็เป็นความผิด ก็ดำเนินคดีกันไป
lewcpe.com, @wasonliw
เป็นข่าวที่น่ายินดีครับ ยังไงก็ขอให้ใช้งานอย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ และเป็นโครงการที่ได้ประโยชน์จริงๆ จังๆ นะครับ
ซื้อไปเถอะครับ สำหรับงานวิจัย ดีกว่าซื้อของเล่นให้กองทัพเยอะ
แถมเป็น HPE ด้วย
PM2.5 คร่าวๆ มาทุกเดือนธันวามคมถึงกุมภาพันธ์ เยอะสุดช่วงตี 4 ถึง 6 โมงเช้า 555
เลื่อนลงไปดู Air quality historical data ได้เลย มา pattern เดิมๆ