สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศข่าวการซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ของไทย โดยคัดเลือก Hewlett Packard Enterprise (HPE) เป็นผู้สร้างระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีสมรรถนะ 13 petaflops จะถือเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
HPE จะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่น HPE Cray EX ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของบริษัท สเปกใช้ซีพียู AMD EPYC 3rd Gen จำนวน 496 ตัว, จีพียู NVIDIA A100 จำนวน 704 ตัว, ระบบเครือข่าย HPE Slingshot และระบบสตอเรจ Cray Cluterstor E1000
การใช้งานภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์มีมานาน 54 ปีแล้ว แต่ในยุคแรกเริ่มเป็นต่างคนต่างทำ ข้อมูลภาษาไทย (คำในแง่เทคนิคคือ รหัสอักขระภาษาไทย) ในคอมพิวเตอร์แต่ละระบบไม่สามารถอ่านข้ามกันได้ง่ายนัก
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์เล่าเบื้องหลังการแก้ปัญหาข้างต้น และวางมาตรฐานภาษาไทยเป็นมาตรฐานกลางให้ทุกฝ่ายใช้งานร่วมกันได้
งานเรื่องการพัฒนามาตรฐานอักขระภาษาไทยเริ่มในปี 2527 โดย ดร.ทวีศักดิ์ สำรวจรหัสอักขระที่ใช้กันในสมัยนั้น และพบว่ามีรหัสอักขระถึง 35 แบบ ทำให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานกลาง (แบบไม่บังคับให้ใช้) ขึ้นมาในปี 2529
สวทช. ร่วมกับ กสทช., สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI), สมาคมโทรคมนาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT) และสมาคมเคเบิลลิ่งไทย (TCA) สำรวจมูลค่าตลาดสื่อสารของประเทศไทย ประจำปี 2558 ได้ผลว่าตลาดสื่อสารไทยปี 2558 มีมูลค่า 5.35 แสนล้านบาท เติบโต 7.3% จากปี 2557
นอกจากนี้ คณะทำงานยังประเมินว่าตลาดสื่อสารไทยปี 2559 จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 5.97 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 11.5% อันเป็นผลจากการขยายโครงข่าย 4G, การลงทุนของภาครัฐภายใต้นโยบาย Digital Economy/National e-Payment และการปรับตัวของภาคธุรกิจที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กันมากขึ้นมาก
เพื่อผลักดันวัฒนธรรม Maker Movement ในประเทศไทยให้เคลื่อนไหวกันรวดเร็วขึ้น ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับเชฟรอนประเทศไทย และกลุ่ม Maker จัดงาน Bangkok Mini Maker Faire เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
Bangkok Mini Maker Faire เป็นงานชื่อเดียวกับที่บารัก โอบามา จัดขึ้นที่ทำเนียบขาวเมื่อช่วงต้นปี 2015 เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญ และจุดประกายกลุ่ม Maker ให้ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยในงานครั้งนี้จะมีการประกวดไอเดียจากเครื่องพิมพ์สามมิติในโครงการ “Enjoy Science: Let’s Print the World” มาประกาศผลผู้ชนะเลิศในงาน ชิงตั๋วไปร่วมงาน Maker Faire ที่ประเทศเยอรมนีต่อไปด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศจับมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดศูนย์นวัตกรรมไมโครซอฟท์แห่งใหม่ (MIC) เพื่อมุ่งสนับสนุนทรัพยากรทางไอทีให้กับนักเรียนนักศึกษา โดยในประเทศไทยนับว่าเป็นแห่งที่ 113 จากทั่วโลก
การสนับสนุนของศูนย์นวัตกรรมไมโครซอฟท์ จะมีตั้งแต่การเขียนแอพ ไปจนถึงให้คำแนะนำทางธุรกิจ ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างทั้งแรงงานไอที และธุรกิจใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไปในอนาคต
ศูนย์นวัตกรรมไมโครซอฟท์แห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ที่สำนักงานของ สวทช. ณ ซอยโยธี ถนนพระราม 6 โดยได้รับการสนับสนุนทางเทคโนโลยีจากไมโครซอฟท์ อาทิ เทคโนโลยีกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์อย่าง Azure เป็นต้น
เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา ผมกับพี่ neizod ได้ไปฟังสัมมนาของไมโครซอฟท์ในงาน Microsoft Innovation Days ครับ โดยภายในงานก็เชิญทั้งฝ่ายไอทีของหน่วยงานต่างๆ มาร่วมการฟังสัมมนา รวมถึงทีมนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็มาร่วมพูดในงานนี้ด้วยครับ ซึ่งหัวข้อบรรยายในงานมีดังนี้
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) ร่วมมือกันสำรวจตัวเลขตลาด ICT ในประเทศไทยประจำปี 2554 และประมาณการปี 2555
ตลาดไอซีทีของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์, สื่อสาร, ซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์
เมื่อวันพุธที่ 26 กันยายน 2550 ที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัว ชมรมสถาปนิกซอฟแวร์ หรือ IASA Thailand Chapter (เผื่อนึกไม่ออก IASA ย่อมาจาก International Association of Software Architect ต้องอ่านประวัติถึงจะเจอคำเต็ม) อย่างเป็นทางการ ชมรมนี้เป็นสาขาย่อยของ IASA ที่มีเครือข่ายทั่วโลก