Bored Ape หรือชื่อเต็ม Bored Ape Yacht Club เป็นงานศิลปะ NFT ที่มีจำนวนจำกัด 10,000 แบบสร้างจากการมิกซ์และแมตช์องค์ประกอบต่างๆ ออกมาเป็นภาพลิงที่มีเอกลักษณ์ และมีดาราเช่น Jimmy Fallon และ Steph Curry เป็นเจ้าของ โดยเคยทำสถิติราคาขายที่ 2.25 ล้านดอลลาร์ ในงานประมูลของ Sotheby’s และเป็นของสะสมที่มีค่าในวงการ NFT คล้ายงานชุด CryptoPunks
ปัญหาเกิดเมื่อนักสะสมชื่อ Max ลงขายงาน Bored Ape ที่ตัวเองมีในเว็บขายงาน NFT ชื่อ OpenSea โดยตั้งใจจะลงขายที่ 75 ETH หรือราว 290,000 ดอลลาร์ (ราคาวันที่ 15 ธันวาคม) แต่ดันไปพิมพ์จุดทศนิยมผิดตำแหน่ง เลยลงขายงานไปที่ 0.75 ETH หรือราว 2,900 ดอลลาร์เท่านั้น หลังจากนั้นจึงโดนบอทที่ถูกสร้างไว้ซื้องานศิลปะชื่อดังราคาถูกซื้อไป โดยการส่งคำสั่งที่มีค่าแก๊สมากถึง 8 ETH แซงหน้าคำสั่งอื่นมา ทำให้ Max เองกดยกเลิกไม่ทัน และก็คงตาม NFT นี้กลับมาได้ยาก
แม้ความผิดพลาดแบบนี้จะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และ Max เองก็ออกมาทวิตในเชิงว่าไม่ได้คิดมาก แต่การสูญเงินแบบนี้ก็เป็นอีกมุมที่ทำให้เห็นว่าวงการ NFT และคริปโตเอง ยังค่อนข้างอ่อนไหวกับความผิดพลาดที่เกิดจากผู้ใช้เอง เพราะเมื่อไม่มีศูนย์กลาง และไม่มีผู้ควบคุมแล้ว จึงไม่มีการรับประกันใดๆ และแทบจะไม่สามารถตามเงินกลับมาได้ ทำให้เป็นอีกข้อเสียที่ผู้ใช้ต้องช่างน้ำหนักเองอย่างระมัดระวังก่อนใช้งาน
ภาพหนึ่งในงานชุด Bored Ape จาก OpenSea
ที่มา - The Verge
Comments
ผมนี่เวลาจะซื้อขายรึจะโอนเงินอะไร ดูตัวเลขจุดทศนิยมวนดูแล้วดูอีกกว่าจะกดยืนยัน
โหดมาก อัดgas ไป 8ETH
save ไว้แล้ว
ค่า gas แพงกว่าค่าภาพ
ผมสงสัยภาพแบบนี้ ผมลองแคปหน้าจอ ก็แคปได้นะ
แต่ไม่ได้ส่งต่อ (ภาพที่แคป) แล้วเขาจะซื่อกันไปทำไม
ผมไม่เข้าใจ (ตัวผมนะไม่เข้าใจ)
มันก็หลักการเดียวกันกับภาพที่โชว์ในพิพิธภัณฑ์ที่เลียนแบบขึ้นมา กับภาพจริงที่ถูกจัดเก็บอยู่ในห้องมั่นคงนั่นแหละครับ
จะเลียนแบบขึ้นมาสักร้อยหรือพันภาพก็ได้ ดูด้วยตาก็เหมือนกันเป๊ะๆ แต่มูลค่าที่แท้จริงมันก็ยังคงอยู่ที่งานที่แท้จริงอยู่ดี
เว้นกรณีเดียวคือคนซื้อดูไม่ออกว่ามันจริงหรือปลอม
ผมว่าไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ
ภาพในพิพิธภัณฑ์มันมีความเป็นตัวตนของมันเอง ทำของเลียนแบบมา ก็ยังระบุได้ว่าเป็นของเลียนแบบ
แต่ภาพที่ขาย NFT เป็น digital ไม่มีการระบุใน file ภาพนั้นด้วยซ้ำว่าเป็นต้นฉบับ ก๊อปแบบเหมือนกันเป๊ะระดับ bit ก็แยกไม่ออกแล้วว่าภาพไหนคือของต้นฉบับจริง ๆ และยิ่งมาขายผ่าน NFT มีการ upload ขึ้นเวป การ upload ขึ้นก็เป็นการทำมาอีกก๊อปปี้แล้ว ภาพจริง ๆ ก็ยังอยู่กับคนทำขึ้นมา
ที่ผมเข้าใจคือการซื้อ NFT เหมือนเป็นแค่เราซื้อใบสิทธิ์ความเป็นเจ้าของภาพนั้นเท่านั้น แต่เราไม่ได้ซื้อภาพนั้น ๆ มา หรือเราก็ไม่มีสิทธิ์ในภาพนั้น ๆ อยู่ดี
กด save ก็ได้ครับคุณภาพของภาพไม่ต่างจากคนซื้อภาพจริง
ศิลปะ NFT จริงๆ มันก็แค่ซื้อสิทธิ์ที่โชว์ว่าเป็นเจ้าของเฉยๆ
มันมีมูลค่าในตัวมัน มันขายต่อได้ด้วย บางคนก็อาจแค่เกร็งกำไร
NFT != DRM ครับ มันคุมเรื่องสิทธิอะไรไม่ได้เลยครับ
มันมีไว้เก็งกำไรอย่างเดียวเลย เรื่องการครอบครองภาพนี่คือผมว่าไม่มีผลอะไรเลยนะ
นึกถึงภาพในแกลเลอรีที่ป้าย Sold สิครับ
I need healing.
ขยะ NFT
นึกถึงตัวเอง ตอนโดนหลอกขาย Item ศูนย์หายไป กด accept แบบไม่ทันดู 55
ค่าแก้สเกือบล้านบาท
blog
ทุนนิยมมันแบบนี้นี่เอง จ่ายค่าลัดคิวแพงกว่าค่าของ