Tags:
Node Thumbnail

ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้โหวตผ่านร่างพระราชบัญญัติด้วยคะแนน 339 ต่อ 249 เสียง ให้แบนการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป

ร่างพระราชบัญญัตินี้มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ 100% ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ แปลว่ารถที่มีเครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน, ดีเซล หรือไฮบริดทุกชนิด ก็ต้องหยุดขายทั้งหมด

ด้านพรรคประชาชนยุโรป (European People's Party) ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้พยายามขอยกเว้นรถไฮบริดให้ขายต่อได้ แต่ก็ไม่เป็นผล ส่วนพรรคกรีนก็อยากให้เลื่อนกำหนดการแบนเข้ามาเร็วขึ้นเป็นปี 2030 ก็ไม่เป็นผลเช่นกัน

ปัจจุบันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชาติยุโรปมาจากรถยนต์ราว 12%

หลังโหวตผ่าน Pascal Canfin ประธานคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐสภายุโรปก็ได้ทวีตยินดีกับเรื่องนี้

ที่มา - France 24

No Descriptionภาพโดย Pixabay

Get latest news from Blognone

Comments

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 9 June 2022 - 22:57 #1251533
KuLiKo's picture

13 ปี ไม่มากไม่น้อย ขอบคุณอียูที่มักเป็นผู้นำเทรนด์ให้โลก

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 9 June 2022 - 23:28 #1251535
itpcc's picture

สงครามยูเครนคงช่วยเบิกเนตรผู้มีอำนาจ​หลายคนได้มากเลยสินะ พอรู้ตัวว่าจะโดนรัสเซีย​ตัดแก๊สตัดน้ำมันคือตื่นตัวยิ่งกว่าเก่า


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 9 June 2022 - 23:36 #1251536
TeamKiller's picture

EU ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานจากอะไรเป็นหลักละเนี่ย

By: S38593
Windows PhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 00:23 #1251542 Reply to:1251536

เอาจริงมีแววว่าจะกลับมานิวเคลีย

By: LasPersonas on 10 June 2022 - 01:59 #1251543 Reply to:1251542

จริงๆพลังงานนิวเคลียร์ คือพลังงานสะอาดที่สุด ต้นทุนถูกสุด
เพราะใช้แค่ให้กัมมันตรังสีชนกันจึงเกิดความร้อน แล้วเอาความร้อนไปต้มน้ำ ไอน้ำที่ได้หมุนกังแล้วได้กระแสไฟฟ้า ไม่ได้ต้องการอะไรเยอะ นอกจากน้ำที่ต้องเอามาใช้หล่อเย็น
แต่ผลจากความผิดพลาดมันเยอะมาก มันกระทบไปหลายร้อยหลายพันกิโล และมันอยู่ยาว
จริงๆ น่าจะหาทางออกได้เรื่องผลกระทบ
เพราะความผิดพลาดเกิดครึ่งแค่สองครั้งเอง
1,เกิดจากการทดลองสมัยโซเวียต
2,อีกครั้งเกิดจากภัยธรรมชาติตอนแผ่นดินไหวและซึนามิ

By: maxmin on 10 June 2022 - 07:58 #1251554 Reply to:1251543

ผมว่านิวเคลียร์ไม่ใช่พลังงานสะอาดสุด พวกพลังลม,พลังงานแสงอาทิตย์สิสะอาดสุด

By: errin on 10 June 2022 - 08:32 #1251559 Reply to:1251554

พลังงงานลมนี่ได้ยินว่าทำลายธรรมชาติมากกว่าพลังงานนิวเคลียร์อีกครับ โดยเฉพาะระบบนิเวศ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 10 June 2022 - 10:02 #1251577 Reply to:1251554
Ford AntiTrust's picture

พลังงานลมมีปัญหาเรื่องเสียงในบริเวณที่ติดตั้งครับ คนก็อยู่ยาก สัตว์ก็หนีหาย และต้องตั้งในพื้นที่ที่ลมสามารถพัดได้แรงและต่อเนื่องทั้งปี

พลังงานแสงอาทิตย์มีปัญหาเรื่องการหาพื้นที่ แสงสะท้อนของแผงโซล่าเซล ขยะหลังจากหมดอายุการใช้งาน ที่ต้องกำจัดอย่างถูกวิธีและมีความเป็นพิษสูงทั้งจากแผงวงจรไฟฟ้า แผงโซล่าเซล และแบตเตอรี่เอง

By: IDCET
Contributor
on 10 June 2022 - 08:39 #1251560 Reply to:1251542

ผมก็ว่าแบบนั้น เพราะยังไม่มีแหล่งพลังงานไหนที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เยอะและคุ้มค่าเท่านิวเคลียร์ ส่วนทางเลือกอื่นที่ไม่ใช้พลังงานน้ำมันและก็าซก็มีแค่เขื่อนที่พอจะผลัตไฟฟ้าที่คงที่ได้อยู่ แต่ก็ต้องอาศัยปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำอีก และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะทั้งแบบเผาและใช้ก็าซมีเทนที่มาจากการหมักในกองขยะ ที่น่าจะช่วยลดปริมาณขยะสะสมได้ แต่ก็ยังมีเสียงต่อต้านอยู่เหมือนกัน

ส่วนพลังงานทางเลือกอื่นๆ ก็ผลิตไฟฟ้า+ความร้อนได้ค่อนข้างน้อยอยู่ ใช้พื้นที่เยอะแต่ได้พลังงานต่อพื้นที่น้อย และการผลิตก็ยังไม่เสถียรเพราะต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่ อย่างเช่นแสงแดดให้พลังงานโซล่าเซลล์, คลื่นน้ำทะเลขับเคลื่อนเขื่อนปั่นไฟน้ำขึ้นน้ำลง กับลมเป่ากังหันไฟฟ้า แถมบางแหล่งก็อันตราย อย่างเช่นพลังงานไอน้ำจากใต้พื้นดินที่ต้องขุดเจะลงไปและมีเฉพาะในบางพื้นที่ด้วย


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: akira on 10 June 2022 - 11:45 #1251587 Reply to:1251536

รอ Nuclear Fusion Reactor ถึงเวลาประกาศใช้น่าจะพร้อมใช้งานกันแล้ว เคยอ่านบทความทางนิตยสารน่าจะพร้อมใช้งานในอีกไม่นานนี้แล้วครับ

อันนี้ของผรั่งเศส ใน EU เห็นมีสร้างกันอีกหลายประเทศนะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=4BkOUOK0XzM

By: ECOS
Windows
on 10 June 2022 - 00:01 #1251539
ECOS's picture

วันที่ผมจะเดินริมถนนแล้วสูดหายใจอากาศสะอาดๆให้เต็มปอดอยู่อีกไม่ไกลแล้วสินะ
//ลืมไป ไม่ใช่คนยุโรป -.-

By: zyzzyva
Blackberry
on 10 June 2022 - 00:03 #1251540

เข้าใจว่าที่ยุโรปรถทั่วๆไปนี่แทบจะเป็นไฟฟ้าล้วนอยู่แล้ว จะยังขาดแค่พวกรถเฉพาะทาง พวกรถบรรทุก รถขุดดิน ไรงี้ เลยต้องรอถึงปี 2035

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 03:09 #1251544

Conservatives were also unable to push through amendments on having a car’s production-related carbon footprint taken into consideration as well – potentially allowing carmakers credits for synthetic, so-called e-fuels, made with captured carbon dioxide and hydrogen produced from renewable sources.

ตลกละ Elon Musk ส่งล็อบบี้ยิสต์ไปล็อบบี้หรือเปล่าเนี่ย?? จะให้เป็น BEV ทั้งหมดเลย?? รถเชื้อเพลิงไฮโดรเจนก็ไม่ได้ด้วย ทั้ง ๆ รถยนต์ไฮบริด Fuel Cell ใช้ไฮโดรเจน ที่ไฮโดรเจนผลิตจากพลังงานสะอาดเหมือนกัน แถมเติมเชื้อเพลิงไวกว่า BEV ด้วย ก็โดนแบน

เอาเข้าจริง ๆ มันก็ไม่ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ 100% ถามว่า BEV เมื่อแบตเตอรี่เสื่อมแล้ว มันก็เสียขยะพิษให้กับโลกเหมือนกันแหละ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 10 June 2022 - 08:26 #1251557 Reply to:1251544
TeamKiller's picture

แอบสงสัย Fuel Cell ที่ใช้ Hydrogen นี่มีหมดอายุเปล่า ขั้วไฟฟ้า ที่แปลงเป็นไฟออกมา

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 11:02 #1251583 Reply to:1251557

มีวันหมดอายุ(เสื่อมสภาพ)ครับ แต่นานมาก...........

By: IDCET
Contributor
on 10 June 2022 - 08:51 #1251562 Reply to:1251544

ไม่แน่ใจว่า e-fuel ที่เขาพูดถึงนี่ คือน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ทั้งเบนซินและดีเซล ที่จะมาแทนน้ำมันเชื้อเพลิงปกติหรือเปล่าครับ เพราะระบบสันดาบทั้งหมดไม่ว่าจะมาจากน้ำมันหรือไฮโดรเจนก็น่าจะโดนแบนด้วย อาจจะไม่ใช่ระบบ fuel cell ที่เติมด้วยไฮโดรเจนเหลวนะครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: osmiumwo1f
ContributorWindows PhoneWindows
on 10 June 2022 - 08:57 #1251565 Reply to:1251544
osmiumwo1f's picture

ปัญหาของ Fuel Cell คือในธรรมชาติมันไม่มีแหล่ง H2 แบบเพียวๆ ที่เอาไปใช้ได้เลย แล้วที่ใช้กันมันมาจากอย่างอื่นครับ

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 11:13 #1251585 Reply to:1251565

H2 มันเป็นก๊าซไฮโดรเจน มันก็ลอยอยู่ในอากาศสิครับ แหล่ง H2 เพียว ๆ ผมว่า น่าจะเป็นโลกเรานะครับ

ใช้ครับ เราถึงนำน้ำมาผ่านกระบวนการอิเล็กโทรไลต์สิส เพื่อแยกอ๊อกซิเจนออกจากน้ำ แล้วนำ H2 มาเก็บไว้ในถังกักเก็บ ส่วนไฟฟ้าที่นำมาใช้ในกระบวนการอิเล็กโทรไลต์สิสก็มาจากแหล่งผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนครับ

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 10 June 2022 - 12:08 #1251593 Reply to:1251585
ZeaBiscuit's picture

electrolysis ก็ loss ไปส่วนนึงเพื่อให้ได้ H2
Fuel cell ที่แปลง H2 กลับเป็นไฟฟ้า ก็ loss อีกส่วน

แล้วทำไมไม่เอาไฟฟ้าไปใช้ตรงๆแบบ BEV เลยละครับ จะแปลงให้มัน loss ทำไม ?

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 13:24 #1251609 Reply to:1251593

เพราะ
1. มันสะอาดกว่าครับ ไฮโดรเจน + อ๊อกซิเจน = น้ำ นั่นหมายความว่า การที่เราเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของมันจากของเหลว -> ก๊าซ หรือ ก๊าซ -> ของเหลว ถ้าหากเราควบคุมมันได้ จะกลายเป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่สร้าง CO2 = 0 ครับ ทำให้เป็นเชื้อเพลิงที่สร้างความยั่งยืนได้มากกว่าครับ รักษ์โลกมากกว่า

  1. ไฮโดรเจนมีมาก...ก........ก จนไม่จำกัด จนเรียกว่า ไม่มีวันหมดไป และเมื่อมันมีจำนวนใกล้เชิงอนันต์ ไม่มีใครสามารถควบคุมราคาได้เหมือนน้ำมัน ซึ่งแน่นอนว่า ถูกกว่า

  2. มันสามารถจัดเก็บ และขนได้ง่าย ในขณะที่พลังงานไฟฟ้านั้นยากต่อการจัดเก็บและขนส่งในเชิงปริมาณ เราจะเห็นได้ว่า BEV นั้นการชาร์จ 1 ครั้งสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลสูงสุด 700 กม. ในขณะที่ FCEV ไปได้ไกล 600 กม. แต่เมื่อต้องถึงการชาร์จ BEV กลับใช้เวลาชาร์จถึง 90 นาที ในขณะที่ FCEV ใช้เวลาในการเติมก๊าซเพียง 5-10 นาที เท่านั้น เร็วกว่า

  3. การใช้ FCEV นั้นใช้วัสดุน้อยกว่า หากใช้วัสดุน้อยกว่าก็ย่อมทำให้รถยนต์ FCEV มีราคาที่สามารถเอื้อมถึงได้มากกว่า

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 13:49 #1251619 Reply to:1251609
nessuchan's picture
  1. สะอาดกว่า BEV? ผมว่าอันนี้อาจจะตอบผิดไปนะครับ ไม่แน่ใจว่าคุณเปรียบเทียบกับอะไร แต่เค้าน่าจะถามว่าเทียบกับ BEV มันดีกว่ายังไง

  2. ไฮโดนเจนในรูปแบบที่สามารถใช้งานได้มันต้องผ่านการผลิตครับ ซึ่งไม่แน่ใจว่าถูกกว่านี่ ถูกกว่าอะไร เพราะการใช้ไฟฟ้ามากกว่าในการสร้างไฮโดรเจน แต่กลับถูกกว่าเติมลงไปตรง ๆ ใน BEV? อันนี้ไม่แน่ใจว่าคิดยังงไงนะครับ เมืองนอกที่เค้ามีปั้มเติมไฮโดรเจน เทียบกันแล้วก็แพงกว่าเติมไฟลงแบตนะครับ

  3. 3.1 เอ่อ พลังงานไฟฟ้าเค้าไม่ขนใส่รถกันนะครับ เค้าส่งมาตามสายไฟ อย่างงี้ผมพูดได้รึเปล่าครับว่า BEV ดีกว่า เพราะมันวิ่งตามสายไฟได้แต่ ไฮโดรเจนทำไม่ได้
    3.2 ไม่เป็นปัญหาครับ ผมชาจที่บ้านมีเวลาทั้งคืนเลยครับ (แต่ข้อนี้ FCEV ได้เปรียบจริง)

  4. Toyota mirai 49,500 USD Toyota bZ4X 46,700 USD
    ็ัHyundai Nexo 58,300 USD Hyundai Ioniq 5 41,245 USD

สรุป หลัก ๆ ที่ FCEV ดีกว่า BEV ก็น่าจะเป็นเวลาในการเติมจนเต็มถังน่ะครับ และเรื่องแบตที่รถ BEV ในอานาคตถ้าแบตเสื่อมจะมีต้นทุนในการรีไซเคิลแบตที่มากกว่า อ่อ แล้วรักโลกกว่านิดนึง เพราะท่อออกมาเป็นน้ำ แต่ถ้าหน้าหนาวถนนมันก็จะลื่น ๆ หน่อย

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 14:23 #1251626 Reply to:1251619

ข้อ 3.1 ต้นทุนแบตเตอรี่เท่าไหร่ครับ? เอาง่าย ๆ นะครับ แบตเตอรี่ของ Toyota Prius เท่าไหร่? แบตเตอรี่ของ Ora Good Cat เท่าไหร่?

อย่าบอกนะครับว่า คุณจะรถยนต์ติดเสาสาลี่ หรือมีเหล็กเกือกม้าค่อยดึงกระแสไฟวิ่งเหมือนรถไฟฟ้า? ที่ผมหมายถึงคือ แหล่งในการจัดเก็บครับ BEV คือ แบตเตอรี่ ส่วน FCEV คือ ถังอัดก๊าซ ครับ

แค่ข้อ 3 BEV นี่แพ้ยับเลยนะครับ คุณ

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 10 June 2022 - 16:41 #1251668 Reply to:1251626
ZeaBiscuit's picture

คือถ้าบอกแบตแพง ผมเห็นด้วยนะ แต่มันก็ "ต้อง" ถูกลงเรื่อยๆเหมือนกัน เพราะการแข่งขันมันสูงมาก

แต่นอกจากเรื่องแบตแพง ผมยังไม่เห็นอันอื่นเลยว่า FC มันจะมาเหนือกว่า BEV ได้ยังไง

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 June 2022 - 02:08 #1251701 Reply to:1251626
hisoft's picture

คุณจะรถยนต์ติดเสาสาลี่ หรือมีเหล็กเกือกม้าค่อยดึงกระแสไฟวิ่งเหมือนรถไฟฟ้า?

อ่านทีแรกผมงง รถไฟฟ้าเหมือนรถไฟฟ้า กว่าจะเข้าใจว่าพูดถึงรถไฟ 😂
ว่าแต่รถไฟฟ้า (แบบในข่าวนี้) เรายังเรียกรถยนต์หรือรถยนต์ไฟฟ้าได้อยู่ไหมนะครับ คำว่ายนต์มาจากตรงไหนนะ

แค่ข้อ 3 BEV นี่แพ้ยับเลยนะครับ คุณ

ไม่เห็นด้วยครับ หลายคนน่าจะใช้ BEV แบบไม่ต้องแวะสถานีชาร์จที่ไหนเลยทั้งปีได้ แบบผมนี่คนนึงละ ไปทำงาน กลับบ้าน ชาร์จ จบ

By: windyouhh
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 10 June 2022 - 13:59 #1251622 Reply to:1251609

ขอแย้งบางส่วนที่เกี่ยวกับ ไฮโดรเจน

  1. อันนี้ถ้ามองแค่ output จากการเกิดปฎิกิริยาทางเคมีเพื่อให้ได้ไฟฟ้ามันสะอาดก็จริง แต่ถ้ามองไปทางด้านต้นทาง การได้มาของ H2 นั้นไม่ใช่ครับ แหล่ง H2 ตอนนี้หลักๆมาจากแหล่งก๊าซธรรมชาติครับ การทำ H2 โดยการแยกน้ำด้วยไฟ้ฟ้าไม่ได้คุ้มค่าเลย เพราะ loss หลายส่วน การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อมาผลิตก็ไม่คุ้มอีกเช่นกันเพราะมันเสียพลังงานระหว่างทาง H2O > H2 > H2O

2 ไฮโดรเจนมีมาก แต่ไม่ใช่ H2 อยู่ในรูปสารประกอบส่วนใหญ่ เช่น น้ำ H2O นอกจากแหล่งก็าซธรรมชาติแล้วไม่มีแหล่งอื่น

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 14:17 #1251624 Reply to:1251622

การได้มาซึ่งไฟฟ้า ก็ไม่ได้สะอาดเหมือนกันแหละครับ ถ้าจะคิดแบบนี้

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 June 2022 - 02:12 #1251702 Reply to:1251624
hisoft's picture

ต่างกันที่ loss แหละครับ

FC ได้เปรียบตรงที่ loss แล้วน่าจะจบ ตอนจอดเฉยๆ ไม่ loss แบบแบตที่ไหลออกเบาๆ ไปเรื่อยๆ

แต่ปัจจุบัน loss จาก ไฟฟ้า -> แบต -> ไฟฟ้า มันยังน้อยกว่า ไฟฟ้า -> (2H₂O => 2H₂+O₂) -> (2H₂+O₂ => 2H₂O) -> ไฟฟ้า มากอยู่แหละครับ

By: osmiumwo1f
ContributorWindows PhoneWindows
on 10 June 2022 - 14:33 #1251629 Reply to:1251609
osmiumwo1f's picture

1 BEV มันไม่ปล่อยอะไรเลย
2 นี่เข้าใจผิดแล้ว เพราะ hydrogen มีเยอะก็จริง แต่ H2 นี่ถ้าไม่ใช้ปฏิกิริยาเคมีก็แทบจะไม่มีในแหล่งธรรมชาติเลย
3 ถ้าแค่ขนส่งอย่างเดียวทุกประเทศที่มีไฟฟ้าใช้ก็สามารถนำรถ BEV ไปใช้ได้เลย ในขณะที่ Fuel Cell มันต้องมาสร้างสถานีเติมเหมือนที่น้ำมันต้องทำ ส่วนเรื่องการชาร์จ BEV ให้เปลี่ยนจากใกล้หมดแล้วค่อยเติม/ชาร์จ เป็นเติม/ชาร์จเมื่อถึงจุดหมาย เว้นแต่ว่าจะทำไม่ได้ และในอนาคตเราอาจจะได้เห็น B-FC hybrid EV ก็ได้ ถ้าเทคโนโลยี FC มันไปไกลพอ
4 ก็ตามที่ความเห็นอื่นตอบครับ

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 10 June 2022 - 16:35 #1251665 Reply to:1251609
ZeaBiscuit's picture

1 สะอาดกว่า ? จริงเหรอครับ แล้ว Loss ระหว่างทางละ Eff มันต่ำกว่าเยอะเลยนะผมว่า
FC = ไฟฟ้า > H2+(O2) > ไฟฟ้า > มอเตอร์
BEV = ไฟฟ้า > Batt > มอเตอร์

2 H2 มีมาก
แต่มันไม่ได้เอามาใช้ได้เลยนี่ครับ ก็ต้องใช้พลังงานในการ "สร้าง" H2 ที่เอาไปใช้ได้อยู่ดี ?

3 ขนง่าย ?
เอาจริงดิ H2 นี่ขนง่ายกว่ากระแสไฟฟ้าที่ส่งไปตามสายอีกเหรอครับ ? ยังไม่นับที่มัน extremely flammable อีกนะครับ ?

4 การตั้งราคาขาย อยู่ที่การแข่งขันเลยครับ
แข่งขันสูง ราคาก็ต่ำ ต่อให้ cost มันแพงแสนแพงขนาดไหน ผู้ผลิตจะหาทางทำให้มันต่ำได้เลย เพราะการแข่งขัน
BEV มันแพงที่ Battery อันนี้ใช่เลยครับ แต่วันนึงเราก็จะมี Battery ชนิดใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกอยากในโลกตอนนี้ ต้องใช้ battery ทั้งนั้นเลยครับ

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 20:39 #1251686 Reply to:1251665
  1. เรื่อง Loss ผมไม่เถียง แต่คำว่า สะอาดกว่า ที่ผมหมายถึงคือ กระบวนในการสร้างไฟฟ้าที่ได้จากกระบวนอัลคาไลต์ จนได้มาเป็นน้ำ มันสะอาดกว่า เครื่องยนต์แบบสันดาป

  2. ใช่ครับ ต้องใช้พลังงานในการสร้าง แต่เราสามารถเลือกวิธี และพลังงานในการสร้างได้

  3. ตายจริง นี่คือไม่รู้ หรือจงใจสร้างความหวาดกลัวให้คนผ่านมาอ่าน งั้นลองดูคลิปนี้ก่อนนะครับ

ส่วนสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ของเรือบิน Hindenberg สาเหตุไม่ได้มีเพียงเพราะ Hydrogen นะครับ ลองไปอ่านดูดี ๆ อีกครั้ง มันมีหลายสาเหตุครับ ไม่ใช่เกิดจาก Hydrogen และกาลเวลาก็ล่วงเลยมาเกือบจะร้อยปีแล้ว เรามีเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในเชิงอุตสาหกรรมการผลิตไฮโดรเจนแล้วตอนนี้เสถียร และมีความปลอดภัยมาก ๆ ครับ ไม่ต้องห่วงครับ

ส่วนขนง่าย ผมหมายถึง การขนถ่ายจากที่นึงไปยังอีกที่นึง เช่น การเติมเชื้อเพลิง การอัดประจุ เป็นต้น ยังไง ไฮโดรเจน ก็ยังเร็วกว่า

  1. FCEV ก็มีการพัฒนาระบบ Fuel Cell ใหม่ ๆ ซึ่งล่าสุดก็ กระบวนการคาร์บอนเนต ที่จะนำ CO2 มาเข้า Fuel Cell แล้วทำให้เกิดไฟฟ้า ซึ่งแน่นอนว่า มันคือการทำ Upcycling หรือ ของสร้างกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า มันกำลังเกิดการแข่งขันครับ แต่ประเด็นหลัก ๆ กลับไปต้นคอมเมนต์ของผม คือ ทำไมต้องตัดลำกันแบบนี้? ทำไมไม่เปิดพื้นที่ให้ไว้สำหรับรถยนต์ทางเลือก? แล้วเลือกที่จะแบนเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเท่านั้น ทำไมถึงไม่ทำแบบนั้น? EU มั่นใจขนาดไหนว่า กระบวนการในการกำจัดหรือรีไซเคิลแบตเตอรี่นั้นสะอาดจริง ๆ และเกิดขึ้นภายใน EU และไม่ส่งมาเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้กับประเทศโลกที่สาม อย่างที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่

ผมก็ไม่รู้นะครับ แต่อีก 10 ปีข้างหน้า คุณอาจจะนึกถึงบทความนี้ ที่เราถกเถียงกันในวันนี้ครับ ขอบคุณครับ

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 11 June 2022 - 09:13 #1251706 Reply to:1251686
ZeaBiscuit's picture

เอิ่ม เคยเห็นถัง CNG ไหมครับ ? แข็งกว่านี้หลายเท่าเพราะ pressures มัน 3000+ psi

แล้วเคยเห็นข่าว CNG ระเบิดไหมครับ ?
CNG เนี่ยที่ ATM มันไม่ติดไฟด้วยนะ ความเสียหายมาจาก pressure ล้วนๆ
แล้ว H2 ละ ? ถังแข็งไม่ได้แปลว่ามันปลอดภัยนะครับ ?

ผมอ่านที่คุณเขียนมาทั้งหมด มันเหมือนคุณตั้งธงเอาไว้ในใจแล้วน่ะครับ ผมเปิดกว้างนะ แต่มันก็ต้องมีเหตุผลที่ดีพอ
ในมุมผม FCEV ถ้าจะเอามาใช้จริง มันมีหลายเรื่องมากๆที่สู้ BEV ไม่ได้ แล้วถ้าลองนับข้อดี ข้อเสีย ดูแล้ว ผมเลือก BEV (นี่จากปากคนที่ขับรถไปเชียงใหม่ปีละหลายๆครั้งนะ)

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 June 2022 - 17:22 #1251749 Reply to:1251706
hisoft's picture

Toyota ถัง H₂ นี่ 5,000-10,000 PSI เลยนะครับ https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1464285905706349

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 12 June 2022 - 14:41 #1251795 Reply to:1251749
ZeaBiscuit's picture

งั้นยิ่งอันตรายกว่า CNG อีกครับ ทั้ง Pressures ทั้งความสามารถในการติดไฟ

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 10 June 2022 - 23:24 #1251692 Reply to:1251609
GodPapa's picture

พลังงานไฮโดรเจนตอนนี้ติดปัญหาการขนส่งนะครับ มันทำได้ยากไม่คุ้มแพง ผลิตไฮโดรเจนก็ยังไม่ง่าย รวมกันสองอย่างรถไฮโดรเจนเลยพังพาบ
ไฟฟ้าง่ายกว่าเยอะ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 June 2022 - 02:02 #1251700 Reply to:1251585
hisoft's picture

น้ำไม่ใช่แหล่ง H₂ เพียวๆ ครับ เพราะมันเป็น H₂O
ในอากาศก็แทบจะไม่สามารถหา H₂ ได้เช่นกันครับ ลอยขึ้นไปหมดแล้ว

H₂ ที่ทุนต่ำหน่อยก็ใช้กระบวนการแยกมาจากไฮโดรคาร์บอนครับเพราะการแยก H₂ O₂ จาก H₂O นี่ใช้ทุนมากเมื่อเทียบกับอย่างอื่น แต่ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่เหมือนกันว่าเดี๋ยวนี้ไปถึงไหนกันแล้วกับแหล่งเติม H₂ ปัจจุบันนี่เอา H₂ มาจากไหนกัน

H₂ มันทำตลาดแบบ mass ยากกว่าด้วยครับ ระบบผลิต ระบบขนส่ง ระบบกักเก็บ ส่งด้วยท่อก็น่าจะยากมาก มาถึงสถานีปลายทางถังเก็บก็หนักและแพงเพราะแรงดันสูงมากอีก เวลาระเบิดนี่น่าจะอันตรายกว่าแบต (มั้ง อันนี้เดาล้วนครับ)

ผมชอบ fuel cell มากอยู่นะครับ แต่เชียร์ไม่ขึ้นเหมือนกัน 😂

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 11 June 2022 - 10:55 #1251719 Reply to:1251700

เข้าใจนะครับ แต่เชื่อเถอะครับ Hydrogen มันคืออนาคตจริง ๆ ไฟฟ้ามันต้องการตัวแบกที่เสถียร และธาตุที่เสถียรที่สุดที่นักวิทยาศาสตร์คิด คือ ไฮโดรเจน BEV จอดทิ้งไว้แบตเตอรี่คลายประจุ แต่ Hydrogen ถ้าถังไม่รั่วมันก็อยู่อย่างนั่นครับ

สำหรับประเทศที่พึ่งพาการขนส่งทางถนนเป็นส่วนใหญ่ อย่าง สหรัฐอเมริกา หรือ ประเทศไทย ตอนนี้เขาเลือกที่จะพัฒนา Fuel Cell กันครับ เพราะระยะทาง และระยะในการเติมเชื้อเพลิง คือ ปัจจัยที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คิดถึงก่อนเลือกซื้อ

สำหรับ BEV ถ้าหากคุณต้องการเพิ่มระยะการเดินทาง คุณต้องเพิ่มความจุแบตเตอรี่ และเมื่อเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่เข้าไปถึงจำนวนหนึ่งจนถึงจุดคุ้มทุน จะกลายหากคุณเพิ่มขนาดแบตเตอรี่ไปมากกว่านี้จะกลายเป็นเพิ่มน้ำหนักแบตเตอรี่มากขึ้น แต่สำหรับ FCEV นั้น จำนวนเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งมีสถานีเติมเชื้อเพลิงมากเท่าไหร่? จำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเท่านั้น และเมื่อจำนวนเพิ่มขึ้น ราคารถก็ถูกลง....

แล้วถ้าหากเทียบว่า จะหาวิธีขนถ่ายประจุขนาด 2,700Amp/s ได้อย่างไร? แบตเตอรี่แทบจะลมจับ เพราะจะสายขนาด 2,700แอมป์ จะต้องใหญ่ขนาดไหน? นี่คิดที่แบตเตอรี่ขนาด 800V ที่ BEV ทั่วไปใช้กันนะครับ ทางออกคือ ต้องเพิ่ม V เพิ่ม W เพื่อลด A แต่ประเด็นคือ BEV ถ้าหากจะเพิ่ม V ก็ต้องเพิ่มขนาดหม้อแปลง เพิ่มขนาดหม้อแปลง = เพิ่มน้ำหนักตัวรถ จะเพิ่ม W? ถ้าเพิ่ม W ก็ต้องเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าที่สถานีชาร์จ = ลงทุนเพิ่ม ราคาค่าชาร์จต่อหน่วยเพิ่ม เอากันไหม? นี่ยังไม่นับเรื่อง แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้นอีกนะครับ แบเตอรี่เสื่อมเร็ว แล้วค่าแบตเตอรี่ยังแพงอยู่ แถมยุโรปก็ไม่ได้มีแหล่งแร่ลิเธียมด้วยต้องอาศัยการนำเข้า แหล่งแร่ลิเธียมใหญ่ของโลกใบนี้ คือ ชีลิ ออสเตรเลีย และจีน ดู ๆ แค่นี้ก็พอทำเนาออกในครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต? ในขณะที่ FCEV สามารถเติมเสร็จไม่เกิน 5-10 นาที

การพัฒนา Fuel Cell ในปัจจุบัน สามารถสร้างไฟฟ้าได้มากขึ้น และพัฒนาขั้นตอนการสร้าง Hydrogen อย่างกระบวนการอิเล็กโตไลท์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะทำให้ Overall Eff. เพิ่มขึ้น ตอนนี้ที่ทำได้คือ 50% แล้วเลือกอีก 25% ก็เทียบเท่า BEV ตอนนี้มีจีนที่จะโดดเข้ามาร่วมวงด้วย อีก 10 ปีข้างหน้าเทคโนโลยี Fuel Cell ก็คงก้าวกระโดดจากวันนี้มาก ๆ ครับ ยิ่งคนใช้มากขึ้นเท่าไหร่? บริษัทที่พัฒนา Fuel Cell ก็มีเงินมาวิจัยและพัฒนาได้มากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้น วันนี้เชียร์ไม่ขึ้นไม่เป็นไรครับ? วันนี้คนจะหัวเราะ แต่ผมเชื่อว่า วันข้างหน้าคุณอาจจะเชียร์ Fuel Cell วันหน้าคุณอาจจะกลับมาอ่านบทความนี้ก็ได้ครับ เพียงแค่วันนี้ขอให้เรามีความเชื่อ เชื่อว่าเราทำได้ แล้วเราจะไปถึงจุดนั้นครับ

ป.ล. ขนาดจีนที่ผลิต BEV ออกมาเยอะ ณ ตอนนี้ เขายังไม่กล้าเทหมดหน้าตักให้กับ BEV เลย จีนยังแบ่งให้ Fuel Cell เลย ถ้าคิดเล่น ๆ แค่นี้ก็บอกจะมองออกว่า เขายังไม่เชื่อว่า BEV อาจจะยังไม่ใช่อนาคตจริง ๆ

ขอบคุณครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 June 2022 - 17:24 #1251752 Reply to:1251719
hisoft's picture

ผมไม่คิดว่ามีตัวไหนเป็นอนาคตปลายทางมากกว่ากันครับ เชื่อว่าทั้งสองตัวมี use case ที่เหมาะสมกว่าของมันเอง อย่างรถบรรทุก รถต่างจังหวัดนี่ FCEV ก็น่าจะเหมาะ แต่แบบผมนี่ BEV ก็เหมาะกว่ามากที่ไม่ต้องไปหาที่เติมเลย

ดีไม่ดีอีกหน่อยอาจจะมีชุดสำหรับขยายการเดินทางด้วย FC ใส่รถ BEV ด้วยก็เป็นได้นะครับ

By: mrBrightside
iPhoneWindows
on 10 June 2022 - 09:28 #1251571 Reply to:1251544

เขาคิดเผื่อ infrastructure หรือเปล่าครับ จะได้เป็นระบบเดียวกันหมด

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 10:59 #1251573 Reply to:1251544
nessuchan's picture

ก็ถูกครับที่ไฮโดรเจนผลิตมาจากพลังงานสะอาด แต่ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานจนไปถึงระบบขับเคลื่อนมันสู้ BEV ไม่ได้ครับ มันมีระบบมากมายกว่าที่จะได้ไฮโดรเจนมาครับ ในขณะที่ไฟฟ้า ลากสายไฟไปที่ปั้มก็แทบจะจบแล้ว นี่ยังไม่นับความสะดวกที่ BEV เติมไฟจากที่บ้านได้นะครับ แม้ว่าการเติมจะนานกว่าเติมไฮโดรเจน แต่ในภาพรวมแล้ว ใช้พลังงานน้อยกว่าไฮโดรเจนมากครับ ยิ่งในยุคพลังงานแพงอย่างตอนนี้

No Description

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 11:50 #1251591 Reply to:1251573

นั้นหมายความว่า เพียงเพราะ "ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานจนไปถึงระบบขับเคลื่อนมันสู้ BEV ไม่ได้" คุณเลยกำลังจะตัดสินว่า มันไม่มีสิทธิไปต่อ? และเป็นสิ่งที่สมควรแบน คุณคิดอย่างนั้นเหรอครับ?

จากภาพที่คุณอ้างอิงมา ภาพนี้มาจากบทความของ VW เขียนราว ๆ ปี 2019 จริงอยู่ ที่ฝั่งไฮโดรเจนมีการสูญเสียพลังงานเยอะครับ แต่ทุก ๆ วันนี้ โลกมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ต่างคนต่างรู้ข้อจำกัดของตัวเอง BEV รู้ว่า ชาร์จช้า ก็กำลังพัฒนาระบบการชาร์จ แบตเตอรี่ เพื่อที่จะได้ชาร์จเร็วขึ้น ส่วนฝั่ง Fuel Cell ก็รู้ว่า มีการสูญเสียพลังงานในขั้นตอนต่าง ๆ เขาก็พัฒนาระบบขึ้นมาตามลำดับครับ

ณ ปี 2021 ฝั่งของผู้จำหน่ายก๊าซอย่าง Shell ตอนนี้ก็เริ่มหันมาผลิตก๊าซไฮโดรเจน ณ จุดเติมเชื้อเพลิง ซึ่งนั้นก็ลดการสูญเสียพลังงานระหว่างการการขนส่งลงไป ส่วนกระบวนการอิเล็กโทรไลต์สิส มันก็มีการพัฒนาในลดการสูญเสียพลังงานลง แถมก๊าซออกซิเจนที่ได้จะการแยกสามารถแจกจ่ายไปตามโรงพยาบาลหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการใช้งานได้อีกด้วย

และ Fuel Cell ก็มีการพัฒนาให้เซลล์สามารถสร้างพลังงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น จากที่ผ่านมาในปี 2019 เราใช้ Fuel Cell แบบ อัลคาไลท์ ตอนนี้เราก็พัฒนา Fuel Cell แบบคาร์บอนเน็ต ที่จะสามารถนำอ๊อกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาใช้ในกระบวนการสร้างพลังงาน ไม่เพียงแค่รถยนต์ แต่ก็ยังเป็นเครื่องฟอกอากาศติดล้อให้กับโลกใบนี้ด้วย แตกต่างจากรถถ่านที่นอกจากเสียบปลั๊กชาร์จพลังงานแล้ว นอกนั้นก็ทำอะไรไม่ได้เลย แบตเตอรี่เสื่อมขึ้นมา ถามว่า เคยได้คิดถึงกระบวนการรีไซเคิลและการย่อยสลายไหม? หลายคนก็ไม่ ส่วนกระบวนการรีไซเคิลและการย่อยสลาย ที่หลาย ๆ บริษัทกำจัดทำกันก็ไม่ได้สะอาดถึง 80% เลย กลับกันกลับสร้างมลพิษให้กับดินในโลกของเรามากขึ้น แล้วแบบนี้คุณยังจะเชียร์รถถ่านอีกเหรอ?

จากที่เห็นครับ มันมีการพัฒนาของมันอยู่เรื่อย ๆ แล้ว คุณจะมองเพียงช่วงเวลานั้น ๆ แล้วตัดสินอนาคตของมันเลยไม่ได้ครับ คุณอาจมองข้ามในหลาย ๆ เพียงธาตุเดียว และวงจรเดียว เราสามารถสร้างประโยชน์

ป.ล. ไฮโดรเจนไม่ได้แพง อย่างที่คุณคิดครับ ลองไปศึกษาหาคำตอบดูครับ แล้วคุณจะรู้ว่า ระบบไฮโดรเจนเป็นอะไรที่มากกว่า การเป็นแค่เชื้อเพลิงพลังงานในอนาคต ในเมือง Hamburg เขาใช้กันมาหลายปีมาก ๆ ครับ เป็น 10 ปีแล้ว

By: Orion
Windows PhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 13:08 #1251600 Reply to:1251591
Orion's picture

ขอถามครับพอพัฒนา​ไปถึงจุดนึงทั้งคู่​ Fuel Cell​ มีข้อได้เปรียบยังไงครับ​ เพราะรถไฟฟ้าล้วนชาร์ตที่ไหนก็ได้​ แถมชิ้นส่วนในตัวรถก็น้อยกว่า​ การจัดเก็บพลังงานซับซ้อนน้อยกว่า

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 13:39 #1251614 Reply to:1251600

สะอาดกว่า เชื้อเพลิงราคาถูกกว่า และเติมเชื้อเพลิงเร็วกว่า

การชาร์จแบตเตอรี่จำนวนนับหมื่นหน่วยภายใน 5-10 นาที ทำได้ยากต้องดึงกระแสไฟฟ้ามากขนาดไหน? และต้องใช้หม้อแปลงขนาดไหน? ไฟฟ้า โรงไฟฟ้าปั่นไฟมาแล้วจัดเก็บได้ยากแค่ใช้จ่ายในการจัดเก็บยากกว่า ค่าใช้จ่ายเยอะกว่า ดังนั้นส่วนมากปั่นมาแล้วใช้ไม่ถึงก็ปล่อยทิ้งไป

ในขณะที่ไฮโดรเจนมีการสร้างเตรียมไว้ก่อนแล้ว จัดเก็บไว้ในถังเก็บพร้อมสำหรับการเติมทุกเมื่อ แล้วเมื่อผลิตไฮโดรเจนเต็มแหล่งจัดเก็บแล้ว ระบบก็หยุดการผลิต

ดังนั้นการจัดเก็บพลังงานของใครยากกว่าครับ??

By: Orion
Windows PhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 14:45 #1251638 Reply to:1251614
Orion's picture

ที่บอกว่าสะอาดกว่านี้คือเรื่องแบตเตอร์รี่ใช่ไหมครับเพราะใช้เยอะกว่า แต่ถ้าพูดถึงอนาคตที่มีการพัฒนาแบตแบบใหม่ๆเรื่องนี้ก็ด้อยลงไป เรื่องเชื้อเพลิงถูกกว่านี้ผมไม่เห็นว่าจะเป็นไปได้เลยใช้ไฟฟ้าไปในการผลิตที่มีการสูญเสียพลังงานเยอะ+กับค่าขนส่ง ที่เห็นด้วยก็น่าจะเป็นเรื่องความเร็วในการเติม เรื่องการจัดเก็บไฟฟ้ามันเก็บได้หลายวิธีมากอย่างที่คุ้นเคยก็แบต หรือจะเก็บเป็นพลังงานจลน์ก็ได้อย่าง flywheel หรือแปลงเก็บเป็นไฮโดรเจนตามเทคโนโลยีนี้ก็ได้แล้วก็ดีกว่าในเรื่องความปลอดภัยด้วย การที่รถจำนวนมากติดตั้งถังไฮโดรเจนวิ่งไปมาผมว่าไม่ใช่เรื่องที่ดียังไม่นับว่าไฟของไฮโดรเจนนั้นแทบมองไม่เห็นด้วย ถ้าคุณจะแย้งเรื่องไฟใหม้แบตเตอรี่ในอุบัติเหตุ ก็คิดเรื่องไฟใหม้แบตเตอรี่+ถังไฮโดรเจนด้วย

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 13:32 #1251613 Reply to:1251591
nessuchan's picture

"ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานจนไปถึงระบบขับเคลื่อนมันสู้ BEV ไม่ได้" คุณเลยกำลังจะตัดสินว่า มันไม่มีสิทธิไปต่อ? และเป็นสิ่งที่สมควรแบน คุณคิดอย่างนั้นเหรอครับ? ใช่ครับ ผมคิดแบบนั้น

ในโลกอุดมคติที่ทรัพยากรมีไม่จำกัด การใช้งานควบคู่ไปอาจจะดีนะครับ แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ อย่างที่คุณว่า เทคโนโลยีนี้มันยังพัฒนาไปได้อีก แต่มันยังไม่ไปไหนไงครับอนาคตก็ไม่รู้ว่าจะไปไหนมั้ย "Hamburg เขาใช้กันมาหลายปีมาก ๆ ครับ เป็น 10 ปีแล้ว" แต่มันก็ยังไม่ไปไหน แต่เราต้องการลด CO2 วันนี้ ไม่ใช่ 20 ปีข้างหน้า ในเมื่อตอนนี้เทคโนโลยี BEV มันพร้อมแล้ว ทำไมต้องรอ e-fuels ล่ะครับ ก็ให้ BEV เค้าใช้ไปก่อน อนาคต e-fuels พร้อมแล้ว ค่อยเพิ่มแล้วแบน BEV ก็ได้ครับถ้ามันไม่ดีจริง ๆ คือตอนนี้รถ Bev มันวิ่งได้แล้วน่ะครับ แต่รถ fuel cell เห็นมีไม่กี่รุ่น อย่าว่าแต่ไม่กี่รุ่นเลยครับ คนซื้อใช้ยังไม่มี ทั้งโลกรวมกันยังไม่ถึง 3 หมื่นคัน

เทคโนโลยีมันอาจจะดีจริงครับ แต่มันต้องใช้เวลาครับ ไว้ให้ถึงเวลาของมันก่อนนะครับใจเย็น ๆ เหมือน Bev ที่มีมานานแล้วเหมือนกัน แต่เทคโนโลยีมันพึ่งจะมาพร้อมเอาสมัยนี้

รถถ่านมันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด แต่มันก็เป็นสิ่งที่เรามีตอนนี้ครับ

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 14:25 #1251623 Reply to:1251613

คุณลองกลับอ่านต้นฉบับดี ๆ ครับ แบนในที่นี้คือ แบนไม่มีการผลิตเลย เมื่อไม่มีการผลิต ก็ไม่มีการคิดค้น เพราะไม่มีเงินทุนมาวิจัยและพัฒนาต่อ

คุณแน่ใจเหรอครับ ว่า BEV พลังงานสะอาดจริง ๆ ??? ลองไปดูแหล่งที่มาของไฟฟ้าสิครับ เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าคืออะไร?? ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน พลังงานธรรมชาติมีเพียงแค่ 25% สำหรับประเทศไทย และ 17% สำหรับ EU เท่านั้น(ที่มา 1, 2, 3 ) อะไรกันครับ?? คุณบอกว่า BEV สะอาด?? มันสะอาดแบบหลอกลวงครับ ในขณะที่คุณกำลังขับรถ BEV อย่างสบายใจ แต่รู้ไหม? ว่า คุณกำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้าเหล่านั้น?? ไม่มีใครอยากตายผ่อนส่ง แบบนี้เขาเรียกว่า "เห็นแก่ตัว" หรือเปล่าครับ? ใช่ครับ ไม่ได้สร้างมลภาวะ ณ ที่คุณใช้งาน แต่คุณกำลังสร้างมลภาวะในที่อื่นที่คุณไม่ได้คิดถึง

BEV มันไม่ได้พร้อมจริงครับ พร้อมจริงคือใช้ได้จริง ๆ ถามว่า ใช้ได้จริง ๆ ของคุณคืออะไร? ต้องขับรถจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ แต่ต้องไปติดแหงกในที่ ๆ นึง เพื่อชาร์จไฟฟ้าเป็นชั่วโมง ๆ แล้วขับต่อ? ใช้เวลาเป็นวัน ๆ เพื่อเพียงแค่เดินทาง 700 กิโลเมตร ในขณะที่เราขับรถยนต์แบบ ICE ใช้เวลา ไม่เกิน 9-11 ชั่วโมง เต็มที่ 12 ชั่วโมง ถึงปลายทาง แบบนี้เรียกว่า ใช้ได้จริง???

ที่ผมเสนอ FCEV เพราะมันใช้ได้จริงมากกว่า BEV เพราะมัน
1. สะอาดกว่า
2. ถูกกว่า
3. รวดเร็วกว่า

ดังนั้น FCEV มันจึงใช้ได้จริงมากกว่า BEV เรียกว่า ทดแทนได้เลย

แต่รถ fuel cell เห็นมีไม่กี่รุ่น อย่าว่าแต่ไม่กี่รุ่นเลยครับ คนซื้อใช้ยังไม่มี ทั้งโลกรวมกันยังไม่ถึง 3 หมื่นคัน

ถามว่า รัฐบาลเคยสนใจไหม? เคยส่งเสริมไหม? ค่ายรถส่งเสริมไหม? ปัญหานี้คือ ปัญหาไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน? ถ้าภาครัฐส่งเสริม ลงทุน ให้มีการวิจัยพัฒนา ลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ขายนำเข้ารถมาผลิตขาย ผมว่าเกิดครับ เหมือนแบบที่ รัฐส่งเสริมในการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าครับ

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 14:48 #1251632 Reply to:1251623
nessuchan's picture

"รัฐบาลเคยสนใจไหม? เคยส่งเสริมไหม? ค่ายรถส่งเสริมไหม?"

ที่เค้าไม่ส่งเสริมเพราะมันไม่พร้อมครับ เทคโนโลยีมันไปต่อไม่ได้มันไม่คุ้มที่จะทำ ได้ไม่คุ้มเสีย

เรื่องพลังงานสะอาดสกปรก เรื่องโรงไฟฟ้า ผมทราบครับ แต่มันเลี่ยงได้ครับที่จะไปตั้งโรงไฟฟ้าที่ห่างไกลผู้คน หรือผู้คนห่างไกลโรงไฟฟ้า และพลังงานหรือโณงงานสามารถมีข้อกำหนดให้ลดมลภาวะได้ แต่รถ ICE มันวิ่งในเมือง มันเอามลพิษมาหาผู้คนครับ

"BEV มันไม่ได้พร้อมจริงครับ พร้อมจริงคือใช้ได้จริง ๆ ถามว่า ใช้ได้จริง ๆ ของคุณคืออะไร? ต้องขับรถจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ แต่ต้องไปติดแหงกในที่ ๆ นึง เพื่อชาร์จไฟฟ้าเป็นชั่วโมง ๆ แล้วขับต่อ? ใช้เวลาเป็นวัน ๆ เพื่อเพียงแค่เดินทาง 700 กิโลเมตร ในขณะที่เราขับรถยนต์แบบ ICE ใช้เวลา ไม่เกิน 9-11 ชั่วโมง เต็มที่ 12 ชั่วโมง ถึงปลายทาง แบบนี้เรียกว่า ใช้ได้จริง???"

พร้อมใช้จริงสำหรับผมครับ เพราะผมไม่ได้ขับรถไปเชียงใหม่ครับ ผมขับในเมือง ไปเชียงใหม่ผมนั่งเครื่องบินครับ ทุกวันนี้รถน้ำมันวิ่งไปเชียงใหม่ได้ผมก็นั่งเครื่องบินครับ เพราะผมขี้เกียจขับ ทำไมทุกคนต้องขับรถไปเชียงใหม่ผมไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจ ๆ ๆ ๆ ๆ เชียงใหม่มีอะไรน่าชับรถไป ทำไมทุกครั้งที่พูดถึงรถไฟฟ้าต้องขับรถไปเชียงใหม่ บ้านอยู่กรุงเทพแล้วทำงานเชียงใหม่กันเหรอครับเนี่ย @_@ แล้วถึงแม้ขับไปจริง ๆ คุณไม่แวะเข้าห้องน้ำ หรือกินข้าวบ้างเหรอ ถึงแวะชาจสักครึ่งชม ไม่ได้ ไม่ได้ชาจเป็น ชม นะครับ อย่าเข้าใจผิด ปกติรถ BEV ใช้งานจริงจะชาจทีละ 20-30 นาทีครับ ชาจจาก 20% - 80% พอครับ ไม่ใช่ชาจจาก 0-100

แล้วถ้าอยากรู้ว่ารถไฟฟ้าขับไปเชียงใหม่ใช้เวลากี่ชั่วโมง https://www.youtube.com/watch?v=jKFzFndZOH0 สปอยนะครับ 8 ชั่วโมง 25 นาทีครับ ผมขับรถ ICE ยังไม่ได้แบบนี้เลยครับ เพราะผมแวะกินข้าว แวะพักคน พักรถ ไม่ได้หวดทำเทสเหมือนคนนี้

ปล. ว่าแต่ตอนนี้รถ Fuelcell วิ่งไปเชียงใหม่ได้นี่ ใช้เวลากี่ชั่วโมงเหรอครับ? เห็นว่าแวะเติมแค่ 10 นาที เติมตรงไหนเหรอครับ ผมอยากทราบ

คำคมวันนี้ "วันนี้คุณขับรถไปเชียงใหม่รึยัง"

ปล ผมหมดโควต้าแล้วนะครับ และดูท่าทางอาจจะไม่จบ 55 แต่ผมขอจบตรงนี้นะครับ ต่างฝ่ายต่างก็มีข้อมูลด้านเดียวของตัวเอง และไม่รู้ข้อมูลของอีกด้าน เถียงกันยังไงก็ไม่จบ แต่ยบังไงซะโลกเราเลือก BEV แล้วครับ Deal with it :P แซวเล่นนะครับ

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 10 June 2022 - 20:14 #1251684 Reply to:1251632

ที่เค้าไม่ส่งเสริมเพราะมันไม่พร้อมครับ เทคโนโลยีมันไปต่อไม่ได้มันไม่คุ้มที่จะทำ ได้ไม่คุ้มเสีย

ไม่พร้อมหรือไม่มีผลประโยชน์ร่วมครับ?? เทคโนโลยีมันไปต่ออยู่แล้วครับ ทุกวันญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ต่างแข่งกันพัฒนา Fuel Cell อยู่ จีนวางแผนว่า ภายในปี 2030 จะต้องมี FCEV วิ่งอยู่บนถนน 1 ล้านคัน มีแต่ประเทศไทยที่มีไดโนเสาร์เป็นผู้นำประเทศมองไม่เห็นความสำคัญเองครับ

ตามข่าว EU เลือกเฉย ๆ นะครับ ทั่วโลกยังไม่ได้เลือกครับ

อีก 10 ปี ข้างหน้าเรามาดูกันครับ ว่า Hydrogen is the fuel of the future. จะจริงหรือไม่?

แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ประเทศที่ต้องพึ่งการขนส่งทางถนนเป็นส่วนใหญ่ ยังไง Hydrogen คือเชื้อเพลิงแห่งอนาคตที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย หากเราต้องการมองหาเชื้อเพลิงทางเลือกใช้แทนดีเซลตอนนี้ Fuel Cell คือคำตอบครับ และมันจำเป็นอนาคตประเทศไทย เพราะมันมีเทคโนโลยีอยู่ตรงนี้แล้ว

มาถึงจุด ๆ นี้คุณอาจจะยังไม่เชื่อ เรามาลองคิดเลขกันดู

Maximum flow rate 60g/s (อ้างอิง หน้าที่ 4 ตารางที่ 1)

พลังงานของไฮโดรเจน = 120MJ/kg ถ้าแปลงหน่วยเป็นกรัม จะได้ 120kJ/g

ถ้าเอาพลังงานของไฮโดรเจน 120kJ/g คูณด้วยความเร็วสูงในการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่ 60g/s จะเท่ากับ 7.2MJ/s หรือ 7.2 MW
ถ้าอ้างอิงค่าความสิ้นเปลืองพลังงานของ Fuel Cell ตามสไลด์ อยู่ที่ 30% = 0.3
เราก็นำ 7.2MW x 0.3 = 2.16 MW

ถ้าจะชาร์จไฟฟ้า ด้วยกำลังขนาด 2.16 ล้านวัตต์ ลงแบตเตอรี่ขนาด 800 โวลต์ของรถไฟฟ้าทั่วไป

แล้วเมื่อนำกฎของโอห์มมาคำนวณ
P = I x E แต่เมื่อกลับสูตรหา I ก็จะได้ I = P / E
เข้าสูตรก็จะได้
I = 2,160,000W / 800V = 2,700A

ต้องใช้สายไฟฟ้าใหญ่ขนาดไหน เพื่อจะชาร์จไฟฟ้ากระแสขนาด 2,700A/s?? Tesla Semi จะใช้เวลาชาร์จเท่าไหร่? ในขณะที่ไฮโดรเจนทำได้ ณ ตอนนี้

สุดท้ายนี้
สำหรับคุณอาจคิดว่า ยังอยากชาร์จไฟฟ้าอยู่ ก็เชิญตามสบายครับ เพราะไลฟ์สไตล์ของคุณเป็นแบบนั้น
แต่สำหรับไลฟ์สไตล์ผม ผมอยู่ต่างจังหวัด วิ่งรถนึงก็ 300-500 กิโลเมตร+ จะให้มานั่งจอดรถชาร์จแบตเตอรี่ตามปั๊มระดับ 30 นาทีก็ไม่ไหวครับ ดังนั้นสำหรับผม ไฮโดรเจน คือคำตอบ

สำหรับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนประเทศแล้ว ผมไม่คิดว่า เขาจะซื้อหัวลาก หรือเครื่องบิน หรือรถไฟ มาเพื่อจอดอัดประจุเป็นชั่วโมง ๆ หรอนะครับ ดอกเบี้ยเงินกู้มันเดินทุกวินาที รถมันต้องวิ่งเพื่อทำเงิน เครื่องบินมันต้องบินสร้างรายได้ตลอด ถ้าอยากให้พวกเขาหันมาใช้พลังงานสะอาด Hydrogen ก็คือคำตอบสำหรับเชื้อเพลิงสำหรับพวกเขาครับ

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 10 June 2022 - 21:52 #1251690 Reply to:1251684

เรื่องเวลาชาร์จ จริงๆแนวทางหลังๆมานี้ เหมือนจะไปทางเช่าแบท แล้วถอดเปลี่ยนแทนการชาร์จ
การถอดเปลี่ยนน่าจะใช้เวลาไม่นานไปกว่าการเติมไฮโดรเจน อาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ

By: pepporony
ContributorAndroid
on 10 June 2022 - 10:15 #1251579 Reply to:1251544

ลองเช็คสถานีเติม Hydrogen https://h2.live/en/ ผมว่าสู้ EV ไม่ได้เลย ยังไม่นับถึงเรื่องที่ต้องมีการขนส่ง Hydrogen เหมือนกับน้ำมันอีก

ในเรื่องของความเร็วนั้นผมว่าต่างประเทศที่เค้ามีพวก hypercharger 150kW 300kW กันน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ได้มีปัญหามากนัก ยิ่งถ้าเป็น city use ยิ่งชาร์จจากบ้าน,ลานจอดรถได้โดยไม่ต้องไปหาปั๊ม การเอาหัวชาร์จมาปักตามที่จอดรถน่าจะง่ายกว่าการไปสร้างสถานีชาร์จ Hydrogen เยอะ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 June 2022 - 02:21 #1251703 Reply to:1251544
hisoft's picture

เอ ตรงไหนที่บอกว่ารถ fuel cell โดนแบนด้วยนะครับ?

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 11 June 2022 - 10:01 #1251711 Reply to:1251703

ถ้าจากต้นฉบับแล้ว

Conservatives were also unable to push through amendments on having a car’s production-related carbon footprint taken into consideration as well – potentially allowing carmakers credits for synthetic, so-called e-fuels, made with captured carbon dioxide and hydrogen produced from renewable sources.

ซึ่งคำว่า "eFuels" มันนิยามว่า

eFuels are produced with electricity from renewable sources, water and CO2 and are a sustainable alternative to fossil fuels. eFuels can be used in existing infrastructure and thus decisively and affordably reduce CO2 emissions in the transport and heating market – all the way to climate neutrality.

อ้างอิง

พอบอกถึง Hydrogen ก็แน่นอนว่า รวมไปถึง Fuel Cell ด้วย คำถามสำหรับที่ผมตั้งประเด็นคือ โลกเรากำลังเดินมาถึงจุดที่ต้องริบรอนสิทธิเสรีภาพในการเลือกใช้พลังงานกันแล้วหรือ? แล้ว Hydrogen ไม่สะอาดตรงไหน? EU สามารถหาทางชาร์จกระแสไฟฟ้าเข้ารถบรรทุกได้แล้วหรือ? EU สามารถแก้ไข Pain Point ของ BEV ได้จริง ๆ หรือ? เพราะเขามองเห็น Pain Point ของ BEV เขาจึงเลือกที่จะหันหน้าเข้าสู่ Fuel Cell กัน ผมรู้สึกแปลกมาก ๆ กับข่าวนี้ และไม่มีคิดว่า EU จะเลือกวิธีที่กำปั้นทุบดินแบบนี้ครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 June 2022 - 17:33 #1251753 Reply to:1251711
hisoft's picture

ผมไม่คิดว่า e-fuels (ที่บางแหล่งที่ลงข่าวนี้จะใช้คำว่า synthetic fuels) ที่ทาง EU ยืนยันจะแบนไปด้วยนี่จะรวม H₂ กับ fuel cell นะครับ เห็นปกติจะใช้กันแค่กับพวกน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ พอจะมีแหล่งอ้างอิงชัดเจนกว่านี้ไหมครับว่าในข่าวนี้คือแบน fuel cell ด้วย

By: low_budget_photo on 10 June 2022 - 04:43 #1251545

หลังจากนี้ ปัญหาคือ ซากแบตเตอรี่ เกลื่อนโลก

By: OXYGEN2
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 10 June 2022 - 06:50 #1251547 Reply to:1251545
OXYGEN2's picture

Recycle ได้ครับ


oxygen2.me, panithi's blog

Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6

By: tk719
iPhoneBlackberrySymbianIn Love
on 10 June 2022 - 06:10 #1251546

Lithium Production ตอนนี้อยู่ในออสเตรเลีย จีน และแอฟริกา ถ้าจำกัดให้แค่ BEV นี่ อนาคตอาจจะมีปัญหาใหม่ แย่งแหล่งแร่ธาตุ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 10 June 2022 - 10:34 #1251581 Reply to:1251546
hisoft's picture

Ukraine ก็ได้ข่าวว่าใหญ่อยู่นะครับ

By: maxmin on 14 June 2022 - 14:26 #1252028 Reply to:1251546

จีน ออสเตรเลีย ผลิตได้มากสุดแต่ ไม่ใช่แหล่งแร่ที่ใหญ่สุด
แหล่งที่มีแร่ลิเธียมที่ใหญ่สุดอยู่ในอเมริกาใต้ครับ โดยเฉพาะโบลิเวีย ชีลี

By: endess on 10 June 2022 - 17:27 #1251675

ปัญหาต่อไปที่ยุโรปจะเจอคือเรื่องของแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า ดูท่าคงไม่พ้นนิวเคลียฟิชชันที่ก่อปัญหาระยะยาวเรื่องมลภาวะทางรังสีอีก ส่วนพลังงานทดแทนอื่นๆก็ไม่เสถียรพอรองรับการผลิตในระยะยาวแถวทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ผ่านอีก ทำไปทำมารู้สึกเหมือนเรากำลังแค่หลีกปัญหาโลกร้อยไปเป็นปัญหาอย่างอื่นแทนยังไงไม่รู้
สำหรับท่านที่คิดเรื่องนิวเคลียฟิวชันที่สร้างอยู่ที่ฝรั่งเศษอย่าพึ่งหวังเยอะครับตอนนี้เป็นได้แค่เครื่องวิจัยเท่านั้นปัญหาเกี่ยวกับฟิวชั่นหลักยังไม่ถูกแก้ไขจนสามารถผลิตพลังงานได้จริงตอนนี้สถิติยังคงสภาพพลาสมาสได้สูงสุดแค่ 5 วินาที และการใช้พลังงานในการเริ่มกระบวนการยังคงมากกว่าพลังงานที่ผลิตได้

By: akira on 10 June 2022 - 19:05 #1251677 Reply to:1251675

กำหนดการเริ่ีมใช้ปี 2025 กฎหมายเริ่มบังคับใช้ปี 2035 ปีนี้ปี 2022 ผมว่ามันใกล้ Production เต็มที่แล้วแหล่ะครับ ส่วนเรื่องความคงตัว 5 วินาทีผมว่าแหล่งข่าวเราไม่ตรงกันแล้วล่ะครับ เท่าที่ทราบตอนนี้มันได้หลัก 20 นาที ขึ้นไปแล้ว ซึ่งต้มน้ำสร้างไอน้ำสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เหลือเฟือ เขาไม่ได้เอาไปใช้ตรงๆ แต่เขาเอาไปต้มน้ำแล้วแปลงไปเป็นพลังงานกลเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าอีกทีดังนั้นไม่จำเป็นต้องเดินเครื่องตลอดเวลาก็ได้ครับ เรื่องมลภาวะก็เช่นกัน ผมไม่ได้บอกว่ามันสะอาดจนไร้มลภาวะ แต่มันก็ดีกว่าทางเลือกอื่นๆ ที่เรามีในตอนนี้

By: N Pack on 12 June 2022 - 20:49 #1251813
N Pack's picture

จะเหมือนไทยที่เคยโฆษณาให้เลิกกินน้ำมันจากหมู
ให้หันมากินน้ำมันปาล์ม ผ่านไป 20 ปี โฆษณาให้หันมากินน้ำมันจากหมู แทนน้ำมันปาล์าม แบบนั้นไม่ม่าฮ่าเลยนะ

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 12 June 2022 - 22:12 #1251820

ถ้านิวเคลียร์ฟิวชันเกิด
เราก็ยังต้องเพิ่งพาแบตเตอรีกันต่อไป
แต่ถ้าเราหาแหล่ง H2 ได้ (แอบมโนว่าเราจะไปขนมาจากดาวอื่น) อันนี้ผมก็เชียร์ฝั่ง fuel cell อยู่เหมือนกันนะ :)


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 13 June 2022 - 01:38 #1251839
big50000's picture

จะว่าไป Fuel Cell นี่ก็บ่อกาวของคนรักรถเหมือนกันนะ พ่อผมโดนไปแล้ว เถียงกับแกไม่ไหว 55555+

ปล. อ่านเมนต์ดีเบตในนี้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย ขอบพระคุณทุกท่าน