C. C. Wei ซีอีโอ TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกกล่าวในงานสัมมนาที่จีน พูดถึงสถานการณ์ชิปขาดแคลนว่ายังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มชิปเทคโนโลยีเก่าที่ไม่ซับซ้อน ที่ยังมีปัญหาผลิตไม่ได้ตามความต้องการมากกว่าเดิม
เขาบอกว่าผลจากปัญหานี้ยิ่งกระทบกับลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องการชิป อย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ มีความต้องการชิปใส่ในรถยนต์มากขึ้น 15% ก็ไม่เพียงพอ หรือสมาร์ทโฟนเองก็ต้องการชิปที่จัดการพลังงานได้ดีขึ้น 2-3 เท่าตัว เทียบกับชิปที่ใช้ใน 5 ปีก่อน
เมื่อพูดถึงการขยายโรงงานผลิต ปัญหานี้ยิ่งวนกลับมา เขายกตัวอย่างบริษัท ASML ผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับขั้นตอนการผลิตชิป ว่าบริษัทนี้ก็มีปัญหาไม่มีชิปสำหรับใช้ในเครื่องจักรงาน extreme ultraviolet lithography หรือ EUV ซึ่งชิปดังกล่าวแม้มีราคาเพียง 10 ดอลลาร์ แต่ก็ไม่พอความต้องการ ผลคือการส่งมอบเครื่องจักร จากที่ต้องรอหลายเดือนช่วงก่อนโควิด ตอนนี้อยู่ในระดับรอ 2-3 ปี แล้ว
สุดท้าย Wei มองว่าช่วงเวลาที่ซัพพลายเชนของชิปที่เคยเสถียรกว่านี้ได้ผ่านไปแล้ว ตอนนี้อยู่ในสถานการณ์ที่ชิปจะมีราคาสูงขึ้น ผสมด้วยปัญหาเงินเฟ้อ
ที่มา: 9to5Mac
Comments
กลายเป็นงูกินหางไปซะแล้ว
แสดง UV ในภาพ เวลาเครื่องทำงาน ตามนุษย์จะเห็นแสดงเป็นลำๆแบบนั้นจริงใช่มั้ย
แล้วถ้าเอามายิงใส่มนุษย์จะเป็นยังไงครับเนี่ย
แสงยูวีเป็นคลื่นแสงที่ต่ำกว่าแสงที่มองเห็นด้วยตามนุษย์ เข้าตาหากในระยะสั้นๆ แค่เคืองตา หรือตาอักเสบ แต่ถ้าเข้าตาในระยะนานๆ ก็ระดับโรคจอประสาทตาเสื่อม
ยูวีนั้น สูงกว่าหรือเปล่าครับ
ต่ำกว่าคืออินฟราเรด
ต่ำสิ UV Under Violet จะมีอะไรต่ำกว่านี้อีก
น่าจะเป็น Ultraviolet นะครับ
That is the way things are.
UV คือ Ultraviolet นะครับ
ขึ้นอยู่กับว่าจะมองว่าอะไรต่ำอะไรสูงครับ
ความถี่สูง ความยาวคลื่นต่ำ
เผอิญต้นทางไม่ได้เขียนว่าอะไรต่ำด้วย อาจจะเป็นแต้มลูกเต๋าก็เป็นได้
ความยาว ใช้คำว่า สั้น กับ ยาวหรือเปล่าครับ
"คลื่นแสงที่ต่ำกว่าแสงที่ตามองเห็น" ผมอ้างอิงจากความยาวคลื่นตามรายการด้านล่าง
Ultraviolet radiation ความยาวคลื่น 1 - 400 nm
Visible light ความยาวคลื่น 400 – 700 nm
Infrared radiation ความยาวคลื่น 700 nm – 1 mm
และถ้าต่ำกว่า Ultraviolet ก็ X-ray กับ Gamma ครับ
น่าจะใช้คำทางเทคนิคตกไปนิดนึงทำให้ความเข้าใจไม่ตรงกันครับ
คลื่นแสงที่ต่ำกว่าแสงที่ตามองเห็น ควรเป็น คลื่นแสงที่ความยาวคลื่นต่ำกว่าแสงที่ตามองเห็น = คลื่นแสงที่คลื่นสั้นกว่าที่ตามองเห็น = คลื่นแสงที่ความถี่สูงกว่าที่ตามองเห็น
higher frequency = shorter wave length
เหนือม่วง/ใต้แดง
UV ถี่กว่าที่ตามองเห็น
IR ถึ่ต่ำกว่าที่ตามองเห็น
ความยาวคลื่นสั้นกว่าก็จริง แต่ไม่ใช้คำว่าต่ำกว่ากันน่ะครับ เพราะความหมายมันแปลกๆ
UV= Ultra violet แปลตรงๆก็เหนือม่วง เพราะมันความถี่สูงกว่าสีม่วง และมีพลังงานสูงกว่าด้วย เพราะงั้นเรียกสูงกว่าจะจะถูกต้องมากกว่า
ต่ำกว่าไปใช้กับ infrared (ใต้แดง) แทน
เหมือนกันเรื่องเสียง เสียงที่สูงกว่าที่คนได้ยินคือ ultrasound ความถี่มากกว่า 20k Hz
ส่วนต่ำกว่าที่คนได้ยินก็ infrasound ต่ำกว่า 20Hz
ในทางฟิสิกส์ สมบัติของคลื่นก็สนใจที่ความถี่มากกว่าความยาวคลื่น
เช่นแสงสีแดงในอากาศกับในน้ำมีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน แต่มีความถี่เท่ากัน
ผมไม่แย้งเรื่อง fact นะ
ประเด็นของที่มาในอธิบายนี้ก็มาจากคู่มือการฉายแสงที่ผมได้มาตอนฉายแสง UVB เพราะผมต้องไปฉายแสงเป็นประจำอยู่แล้ว และคู่มือก่อนการฉายแสงดังกล่าวก็ลงและอ้างอิงความยาวคลื่นไว้แบบนั้น (ไม่ใช่ความถี่) ซึ่งก็ไปอธิบายไว้ด้านบนว่าผมอ้างอิงความยาวคลื่น ไม่ใช่ความถี่ อาจจะเพราะว่าไม่ได้ใส่ให้ครบเพราะก็พิมพ์อธิบายเร็วๆ ตามที่จำมาได้ เลยทำให้ตีความไปความถี่หรือความยาวคลื่นกันแน่ ก็มาอธิบายเพิ่มเติม
ส่วนผลกระทบก็เล่ารวมๆ เพราะตอนฉายแสงต้องใส่แว่นป้องกันดวงตาก็เอามาคอมเม้นตามข้างบนนั่นแหละ เพราะขนาดโดนไม่เยอะ และหากสะสมจอประสาทตายังพังเลย ถ้าโดนไปเต็มๆ ก็คงไม่เหลือ
ผมก็เข้ามาแก้คำ เผื่อในอนาคตใช้อีกจะได้สื่อสารตรงกันเป็นสากลนั่นแหละครับ ว่า UV เป็นแสงสูงกว่าที่ตามองเห็น
ถ้าจะใช้คำว่าต่ำกว่า ต้องมี "ความยาวคลื่น"ต่ำกว่าแสงที่ตามองเห็น ระบุไปชัดๆด้วย เพื่อให้ไม่ขัดแย้งมุมมองทางฟิสิกส์
และเช่นกัน ผมเองก็ใช้ความยาวคลื่นมากกว่าความถี่ เพราะตัวเลขมันพูดง่าย
แต่ผมจะใช้คำว่า คลื่นสั้นกว่า แทน
ก็คือ UV เป็นคลื่นสั้นกว่าแสงปกติ และพลังงาน/ความถี่สูงกว่าแสงปกติ
+1 ต้องระบุว่าอะไรต่ำกว่า บอกต่ำกว่าเฉยๆอ่านแล้วมันขัด
ยิงใส่ตา พังแน่นอนครับ
EUV คือยูวีพลังงงานสูงมาก สูงกว่า UV ปกติที่เราโดนแล้วแสบผิว (UV-A กับ UV-B) หลายเท่า
แล้วยิ่งโฟกัสลำแสงให้เข้มระดับกัดสารเคมีได้ ตาไม่เหลือแน่นอน
กรรม ถ้าจะแก้ปัญหาจริงจัง ก็คงต้องเอาโควต้าชิปมาให้ ASML ก่อน ถึงจะมีจำนวนเครื่องผลิตชิปเพิ่ม ก่อนจะนำไปสู่การเพิ่มกำลังการผลิตชิป
..: เรื่อยไป
ทุกวันนี้ผมหา IC ราคาเดิมเทียบกับก่อนโควิดไม่ได้เลยครับ ปรับขึ้น 30-50% อันไหนฮิตมากๆอย่าง pi พวกก็ x5 ไป
ถ้าจะให้รอ 2024 ที่ชิปล้นตลาด ผมคงไม่ต้องทำอะไรพอดี
ขนาด ASML ขาดแคลนชิปมันก็เกินไปมั้ง
ปล. ตั้งโรงงานผลิตตอนนี้กว่าจะผลิตได้อีก 2-3 ปี
คือถ้ามองว่าปกติ ASML ก็มีจำนวนเครื่องที่ผลิตได้ต่อปีน้อยอยู่แล้ว การสต็อกวัตถุดิบ(ซึ่งในกรณีนี้คือชิป)ไว้น้อยก็เป็นเรื่องปกตินะครับ ถ้าปกติสั่งแล้วได้ของเกือบทันที
แต่ปัญหาคือตอนนี้สั่งแล้วต้องรอนานขึ้นเพราะผู้ผลิตชิปไม่สามารถผลิตส่งให้ได้เพราะคิวเต็ม ก็ต้องรอตามคิวไปซึ่งนานกว่าปกติหลายเดือน เลยไม่สามารถเอาไปผลิตเครื่องเพิ่มได้
เมื่อถึงขีดจำกัดของเทคโนโลยี และเริ่มมีการขาดแคลน เดี๋ยวก็มีอัศวินดันเทคโนโลยีใหม่ๆ ก้าวขีดจำกัดได้เองแหล่ะ กราฟนวัตกรรมมันฟ้องยังนั้น อนาคตข้างหน้าชิบมันจะไปอยู่ทุกที่ ทุกอุปกรณ์ มีแต่ความต้องการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ถึงแม้จะมีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่หลายชาติก็ลงทุนกับมันเพราะอนาคตมันจะเป็นหัวใจของระบบต่างๆ แน่นอน
จริงๆ เมืองไทยก็น่าจะเตรียมพร้อมไว้นะ ไม่จำเป็นต้องระดับนาโนเมตรต่ำๆ หรอก เอารุ่นเก่าๆ ก็ได้ เพราะเมื่อของขาด สินค้าที่ไม่ได้ต้องการความไฮเทคสูงก็ยังจำเป็นต้องใช้อยู่ดี ดึงโรงงานผลิตพวกนี้มาตั้งในไทยได้ก็จะดี จะได้สร้าง supply chain ของสินค้าไฮเทคภายในประเทศได้ นอกเหนือจากเป็น Hub Logistic จริงๆ ทำเลของไทยนี่โครตได้เปรียบเลยนะ เอาชิ้นส่วนไปผลิตประเทศเพื่อนบ้านเพื่อควบคุมต้นทุน แล้วเอาหัวใจของสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงมาผลิต และประกอบภายในประเทศเพื่อส่งออก มันก็จะสอดคล้องกับแผน Logistic ที่สร้างขึ้นมา
มันไม่ใช่เรื่องขีดจำกัดทางเทคโนโลยีเลยครับ มันเป็นปัญหาเรื่อง supply chain ครับ
ยิ่งนาโนเมตรต่ำลงยิ่งผลิตยากขึ้น ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางมากยิ่งขึ้น ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น ไม่ถือว่าเป็นขีดจำกัดหรือครับ ?
อาจจะอีกประเด็นหนึงครับ ถ้าเรายังอัพเกรด nm เล็กลงเรื่อยๆ ก็ใช่ ต้องใช้คนเก่งมาพัฒนาเทคนิด หรือเครื่องจักรใหม่ๆ
ส่วนปัจจุบันที่ผลิตได้น้อย ก็ขาดวัตถุดิบก็ไม่มีชิป ก็ผลิตเครื่องผลิตชิปไม่ได้ ไรงี้
CPU PC ดูจะคุ้มค่าสุดแล้ว รียูสได้ ใช้ยาวๆ
MCU คุ้มสุดครับ
Marvel Comic Universe?