Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจาก University of Maryland พัฒนาแบตเตอรี่ที่นำเอาสารสกัดจากกระดองปูมาทำแบตเตอรี่ เปิดความเป็นไปได้ในการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดใหม่เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ซึ่งไม่เพียงจะมีราคาถูกลงแต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ในปัจจุบันนี้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้รับความนิยมใช้งานมากเนื่องจากความสามารถในการเก็บประจุและความเสถียรในการใช้งานซ้ำ แต่ปัญหาสำคัญของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือลิเธียมและโคบอลต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญนั้นหายากทำให้มีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง และนี่คือที่มาของงานวิจัยนี้

ทีมวิจัยได้พุ่งความสนใจไปที่การสร้างแบตเตอรี่ที่ใช้ไอออนสังกะสีแทนลิเธียมไอออน เนื่องจากสังกะสีนั้นเป็นธาตุที่หาได้ง่ายกว่ามาก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการพัฒนาแบตเตอรี่สังกะสีมีอุปสรรคสำคัญคือการเกิด dendrite ขึ้นในแบตเตอรี่ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี่, ประสิทธิภาพในการใช้งานหลังชาร์จไฟ รวมทั้งเรื่องความเสี่ยงของการลัดวงจรในตัวแบตเตอรี่

dendrite ที่ว่านี้หมายถึงโครงสร้างเนื้อโลหะรูปร่างคล้ายเฟิร์นที่เกิดขึ้นจากอนุภาคโลหะของขั้วไฟฟ้ามาสะสมก่อตัวกันซึ่งเป็นเรื่องปกติในการใช้งานแบตเตอรี่ สำหรับแบตเตอรี่ที่เกิด dendrite ได้ง่ายและเกิดเร็วนั้นจะมีอายุการใช้งานสั้น และประสิทธิภาพการจ่ายไฟจะแย่ลงมากหลังการชาร์จไฟ และยิ่งหาก dendrite ที่เกิดขึ้นมีโครงสร้างงอกรุกล้ำผ่านชั้นวัสดุกั้นกลางของแบตเตอรี่แล้วมันจะทำให้เกิดการลัดวงจรระหว่างขั้วไฟฟ้าภายในตัวแบตเตอรี่เอง

และด้วยความสำคัญของปัญหา dendrite ดังที่ว่ามาจึงทำให้โจทย์สำคัญของงานวิจัยนี้ก็คือการหาวิธีที่จะสร้างแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีที่จะไม่เกิด dendrite โดยง่าย ซึ่งพวกเขาคิดหาทางด้วยการพัฒนาสารอิเล็กโตรไลท์ชนิดพิเศษ

สารอิเล็กโตรไลท์ที่ว่านี้คือสารที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายเทประจุไอออนระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้ง 2 ภายในตัวแบตเตอรี่ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นของเหลว, ครีมข้น หรือเป็นเจลก็ได้ (น้ำกรดในแบตเตอรี่รถยนต์ก็เป็นสารอิเล็กโตรไลท์อย่างหนึ่ง) คุณสมบัติของสารอิเล็กโตรไลท์นั้นขั้นต้นคือต้องนำไอออนของธาตุที่ใช้เป็นขั้วแบตเตอรี่ได้ซึ่งในที่นี้ก็คือสังกะสี ส่วนคุณสมบัติสำคัญข้อต่อมาสำหรับงานวิจัยนี้คือมันจะต้องช่วยลดการเกิด dendrite ของธาตุสังกะสี ยิ่งเกิด dendrite ได้ยากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้แบตเตอรี่มีความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น ทั้งยังเพิ่มอายุการใช้งานและจำนวนรอบในการชาร์จซ้ำโดยยังคงประสิทธิภาพการจ่ายไฟได้ดีด้วย และสุดท้ายสารอิเล็กโตรไลท์ที่ทีมวิจัยต้องการนั้นจะต้องมีต้นทุนในการผลิตต่ำและหาวัสดุมาทำได้ง่าย

จากการค้นคว้าทีมวิจัยพบว่า chitosan คือคำตอบสำหรับพวกเขา มันช่วยลดการเกิด dendrite ของอนุภาคสังกะสีได้ดี ทั้งยังเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายจากวัสดุเหลือทิ้งที่มีอยู่มากมายอย่างกระดองปู เนื่องจาก chitosan เป็นสารสกัดจาก chitin อันเป็นพอลิเมอร์ที่มีอยู่อย่างมากมายตามธรรมชาติซึ่งสามารถพบได้ทั้งในสัตว์เปลือกแข็งอย่างปูและกุ้ง รวมทั้งผนังเซลของราบางชนิด

จากการทดสอบทีมวิจัยพบว่าแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีที่ใช้ chitosan มาทำเป็นสารอิเล็กโตรไลท์นั้นยังคงประสิทธิภาพในการจ่ายไฟสูงถึง 99.7% หลังการชาร์จไฟซ้ำ 1,000 รอบ

นอกจากนี้แบตเตอรี่ของทีมวิจัยยังมีข้อเด่นอีกประการคือมันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน เนื่องจากจุลชีพนั้นสามารถย่อยสลาย chitosan ได้ง่าย ทีมวิจัยระบุว่าองค์ประกอบ 2 ใน 3 ของแบตเตอรี่ที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนั้นสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติภายในเวลา 5 เดือน ส่วนสังกะสีที่หลงเหลือหลังจากนั้นก็สามารถนำมารีไซเคิลเพื่อใช้งานใหม่ได้อีก ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในปัจจุบันที่มีชิ้นส่วนบางอย่าง เช่น โพลีคาร์บอเนตและโพลีโพรพีลีนที่ใช้ในแบตเตอรี่ ต้องอาศัยเวลานานหลายร้อยหรือหลายพันปีกว่าจะย่อยสลายได้หมด

เรียกได้ว่างานวิจัยนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการแบตเตอรี่ที่วันหนึ่งอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ฟาร์มผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, ฟาร์มผลิตไฟฟ้าพลังงานลม หรือรถยนต์ไฟฟ้า มีความรุดหน้าและแพร่หลายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดของงานวิจัยนี้เพิ่มเติมได้ที่นี่

ที่มา - Interesting Engineering

No Descriptionภาพ: Diego Delso, delso.photo, License CC-BY-SA

Get latest news from Blognone

Comments

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 5 September 2022 - 01:02 #1260533
itpcc's picture

เลือดไม่ต้องแล้ว ขูดแบตกับปูแทน!


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 5 September 2022 - 07:09 #1260549 Reply to:1260533

รีดเลือดปู!

By: ิbigmama143 on 5 September 2022 - 02:38 #1260536

อันนี้ถ้าทำสำเร็จ ให้รางวัลโนเบลเถอะ ลดขยะให้โลกได้มหาสาร แถมทำลายขีดจำกัดของแบตแบบเก่าๆด้วย

By: sukjai
iPhoneAndroidRed HatUbuntu
on 5 September 2022 - 06:11 #1260545

ใครว่ากระดองไม่มีราคา (นึกถึงกากอ้อยสมัยก่อน)

By: winit_a on 5 September 2022 - 06:44 #1260546

ตัดภาพมาที่ ปู หันมองหน้ากันแลัวบอกว่า ซวยแล้ว

By: tanapon000 on 5 September 2022 - 07:01 #1260548
tanapon000's picture

ถ้าย่อยสลายใน5เดือน แบตก็จะใช้งานได้5เดือนหรือป่าว

By: zendz
iPhone
on 5 September 2022 - 08:12 #1260554 Reply to:1260548
zendz's picture

อันนี้ผมว่าการย่อยสลายน่าจะขึ้นอยู่กับว่าสภาวะแวดล้อมเหมาะสมมากกว่า กรณีนี้ถ้าอยู่ใน packging battery น่าจะอยู่นานอยู่นะ

By: ปาโมกข์
iPhoneAndroidWindows
on 5 September 2022 - 07:29 #1260551
ปาโมกข์'s picture

กินเนื้อ แล้วขายกระดองไปทำแบต เหตุผลของการกินปู อิอิ

By: NiNeMarK
AndroidWindows
on 5 September 2022 - 07:44 #1260552

เดี๋ยวก็จะมีนักโนนนักนี้มาเรียกร้องชีวิตให้ปูอีก

By: rainhawk
AndroidWindows
on 5 September 2022 - 08:27 #1260555
rainhawk's picture

ไม่น่าจะเป็นมิตรกับปู

By: Garlamare
iPhoneAndroidWindowsIn Love
on 5 September 2022 - 09:37 #1260562

กระดองปูที่ดองซีอิ้ว ดองน้ำปลา น้ำปลาร้า จะมีไคโตซานแตกต่างจากกระดองปูปกติไหมนะ
ถ้ามีเพิ่มขึ้น ไทยเตรียมเปิด hub ปูดองเลย

By: sMaliHug on 5 September 2022 - 09:56 #1260565

ปูก็แพงอยู่นะครับ
กระดองรู้สึกจะเอาไปสกัดทำเครื่องสำอางมั้ง
แต่ถ้าทำได้จริงก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ถ้ามีการส่งเสริมให้เลี้ยงเพิ่ม

By: akira on 5 September 2022 - 15:50 #1260573

ผมว่าเขาคงไม่เอากระดองปูมาใช้ในการผลิตโดยตรงหรอก สุดท้ายก็วิจัยเพื่อหาองค์ประกอบในกระดองปูเพื่อพัฒนาเลียนแบบ เพราะมีหลายงานวิจัยก็เลียนแบบจากธรรมชาติ เช่น วัสดุผลิตชุดเกราะก็เลียนแบบมาจากโครงสร้างของใยแมงมุม ที่มีคุณสมบัติเบา แต่แข็งแรงกว่าโลหะ

By: tanapon on 5 September 2022 - 10:51 #1260575

ปูไม่ถูกใจสิ่งนี้ครับ

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 5 September 2022 - 13:07 #1260607 Reply to:1260575
KuLiKo's picture

หมายถึงปูไหนครับ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 5 September 2022 - 13:25 #1260618

ผมนี่เลี้ยงปูรอเลยครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: zda98
Windows Phone
on 5 September 2022 - 16:33 #1260654

มันสังเคราะห์ได้ใช่ไหมครับไม่จำเป็นต้องเอาปูมาทำใช้ม่ะ กลัวปูสูญพันธฺ์

By: 7elven
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 6 September 2022 - 17:00 #1260789 Reply to:1260654

ก็คงจะไม่มีปัญหา คงเกิดเป็นฟาร์มแบบ หมู ไก่ วัว มากกว่า