Competition Commission of India (CCI) คณะกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้าของอินเดีย ได้สั่งปรับเงิน Google เป็นจำนวน 133.78 พันล้านรูปี (คิดเป็นเงินไทยราว 6.2 พันล้านบาท) ในประเด็นการผูกขาดทางการค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ Android
CCI ได้ออกประกาศการสั่งปรับเงินนี้ โดยอ้างถึงแนวทางที่ Google กำหนดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ Android ต้องติดตั้งชุดแอป Google Mobile Suite ทำให้ Google ได้เปรียบเหนือผู้ให้บริการอื่นหลายอย่างในการเสนอบริการผ่านแอปบนอุปกรณ์เหล่านั้น
CCI ได้แจกแจงว่าผลจากนโยบายบังคับติดตั้งแอปทำให้ Google ได้เปรียบการแข่งขันใน 5 ตลาด ดังนี้
โดยรวมแล้ว CCI สรุปว่าการที่ Google มีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ Android ติดตั้งชุดแอปของตนเองไปในขั้นตอนผลิตเครื่อง ส่งผลให้แอปและบริการของ Google มีฐานผู้ใช้เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติและแทบจะปิดโอกาสการแข่งขันของผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์และบริการรายอื่นที่จะนำเสนอเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
ในประกาศของ CCI ยังมีการกล่าวถึงข้อโต้แย้งของ Google ที่ระบุพาดพิงถึง Apple คู่แข่งสำคัญในแง่ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา โดย CCI ได้แสดงข้อคิดเห็นเปรียบเทียบว่า Apple ดำเนินธุรกิจโดยเน้นการหาผลกำไรจากการขายสินค้าและบริการมูลค่าสูงด้วยการสร้างระบบนิเวศน์ของผลิตภัณฑ์ตนเองเป็นหลัก กล่าวคือเน้นการทำธุรกิจในแนวดิ่ง ในขณะที่ Google เน้นการขยายธุรกิจในแนวราบโดยมุ่งเพิ่มจำนวนผู้ใช้เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ผ่านบริการต่างๆ อาทิ บริการค้นหาข้อมูล ซึ่ง CCI มองว่าแนวทางของ Google ขัดต่อกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า
นอกเหนือจากโทษสั่งปรับเงินแล้ว CCI ยังมีคำสั่งให้ Google ระงับการบังคับใช้นโยบายที่ขัดต่อกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า โดยสั่งให้ Google ดำเนินการดังน้
CCI กำหนดว่าให้ Google ปรับปรุงนโยบายและการทำงานให้เป็นไปตามคำสั่งภายในกรอบเวลาที่แน่นอน (แต่ยังไม่มีข้อมูลระบุระยะเวลาที่ชัดเจนในประกาศ) โดยสำหรับโทษปรับเงินงั้น CCI ให้เวลา Google ในการเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ เพื่อแสดงต่อ CCI ภายใน 30 วันหลังประกาศ
ในปัจจุบันอินเดียถือเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์ Android มากที่สุดในโลกราว 600 ล้านเครื่อง โดยส่วนแบ่งการตลาดของ Android ในตลาดอุปกรณ์พกพาของอินเดียนั้นสูงถึง 97% ซึ่งนั่นทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Google ได้ทุ่มเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กับตลาดเอเชียใต้
ภาพ Google Doodle วันประกาศอิสระภาพอินเดียปี 2017
ที่มา - TechCrunch
Comments
แต่ละอย่างโคตรจะยุติธรรมเลยเหมือนผูกขาดทั้งคู่แต่ทำตาบอดบอก ผูกขาดเจ้าเดียว
อ่านคำอธิบายแล้ว เค้ามองว่า apple เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เอง แล้วไม่ได้เปิดให้คนนอกเอา os ไปติดตั้งในอุปกรณ์เองได้ (os/ระบบทั้งหมด มีใช้งานแค่อุปกรณ์ของ apple เท่านั้น) -- เดาว่าหมายถึงว่า มันปิดตั้งแต่เรื่องการผลิตอุปกรณ์แล้ว ที่ apple ทำเองหมดเท่านั้น ก็เลยเรียกไม่ได้ว่าผูกขาด เพราะอุปกรณ์ของตัวเอง จะทำไงก็ได้ ประมาณนั้นมั้งครับ
ถ้าจะเทียบ google คงต้องเทียบกับ microsoft ที่เคยโดน EU ฟ้องให้แยก browser อะไรพวกนี้น่าจะใกล้เคียงกว่าครับ
ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะส่วนแบ่ง Android/google สูงกว่า Apple ขาดลอยด้วย ?
หน่วยงานดูเค้ามีความรู้เนอะ
จริง ๆ ขายเครื่องเปล่า ๆ ไม่มี GMS ก็ได้นะ ใครจะซื้อก็เซิญ ไม่ได้ว่าจะต้องติดตั้งซะเมื่อไร
พอเทียบกับข่าวที่เกี่ยวกับการผูกขาดทางการค้าแถวบ้านเราแล้ว...
ส่วนตัว เรื่องการผูกขาด(ขายดีเกินชาวบ้าน)หรือมีข้อได้เปรียบกรณี android ผมเฉยๆนะ ถ้าเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่เค้าลุงทุนพัฒนาเยอะขนาดนั้น เค้าก็ต้องมีวิธีหารายได้กลับ
แต่ถ้าเป็นการกีดกันทางการค้า อันนี้ไม่เห็นด้วย อะไรที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ควรจะไม่มีการกีดกันใดๆ
..: เรื่อยไป
วิธีหารายได้กลับต้องไม่ใช้อำนาจหรือทรัพยากรของตัวเองมากีดกันคู่แข่งในตลาดเพราะผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์
ยกตัวอย่างไอโฟนขายดีจนรวยอันดับหนึ่งไม่โดนข้อหาผูกขาด แต่เป็นแอพสโตร์ที่โดน
เอ ก็ไม่ได้บังคับให้มาใช้ android นี่นะ อินเดียเก่งออก สร้างโอเอสเอง อีโค่ซิสเต็มของตัวเองแล้วแบน android ซะก็จบ
หลายๆเคสเห็นด้วยนะ เพราะมันคือการเอาความได้เปรียบจากการที่ Android เป็นที่หนึ่งให้ผลิตภัณฑ์อื่นๆของตัวเองได้เปรียบด้วย แต่แอบขัดใจตรงที่ Apple ไม่โดนอะไรเลยนี่แหละ
เรื่อง Google กับผู้ผลิตมือถืออันนี้ Apple ไม่มีปัญหาอะไรเพราะผลิตเอง แต่เรื่อง Apple กับผู้บริโภค (ทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้) ผมคิดว่ามันน่าจะควรโดนเหมือน Google นะ เพราะไม่ว่าจะผลิตเครื่องเองหรือให้คนอื่นผลิตในมุมมองของผู้บริโภคมันก็ไม่แตกต่างกันเลย
น่าจะเป็น 13.378 พันล้านรูปีไหมครับ ปกติ 1 THB = 2.xx INR