กูเกิลประสบความสำเร็จจากการร้องขอต่อศาล หลังจากที่บริษัทแพ้คดีที่ Epic Games ฟ้องเรื่องผูกขาด Play Store ซึ่งต่อมาศาลออกคำสั่งให้ Play Store ต้องเปิดระบบสำหรับสโตร์ 3rd Party ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ แต่กูเกิลได้ร้องขอให้ชะลอการบังคับใช้
โดยผู้พิพากษา James Donato ได้อนุมัติให้พักคำสั่งนี้ไปก่อน ไม่มีกำหนดว่าถึงเมื่อใด และให้ศาลอุทธรณ์ Ninth Circuit พิจารณาว่าจะให้มีผลบังคับใช้ใหม่เมื่อใด ซึ่งเป็นไปได้ทั้งให้มีผลทันที หรือชะลอออกไป
Donald Trump กล่าวในงานสัมมนาของ Bloomberg แสดงความเห็นต่อกรณีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เสนอให้แยกบริษัทกูเกิล เพื่อแก้ปัญหาการผูกขาดตลาด Search โดยเขาบอกว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแยกบริษัท เพราะจะเป็นผลดีต่อจีนในสงครามเทคโนโลยีกับสหรัฐ
Trump บอกว่าจีนนั้นเกรงกลัวกูเกิล หากสหรัฐตัดสินใจแยกกูเกิลออกเป็นหลายบริษัท ก็อาจทำลายกูเกิล และลดความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐลงด้วย
ความเห็นของ Trump อาจถือว่าไม่แปลกนัก เพราะพรรครีพับลิกันมักมีแนวโน้มเอื้อทุนใหญ่ให้ทำงาน ต่างจากพรรคเดโมแครตที่เน้นการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่า
ความคืบหน้าต่อจากคดีศาลสหรัฐตัดสิน Google มีพฤติกรรมผูกขาดบริการ Search Engine เมื่อเดือนสิงหาคม 2024
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง ได้ยื่นแนวทางบรรเทา (remedies proposal) พฤติกรรมการผูกขาดต่อศาล ทั้งหมด 4 ข้อ
กูเกิลออกแถลงการณ์หลังศาลแคลิฟอร์เนียออกคำตัดสินสุดท้าย ให้กูเกิลต้องเปิดระบบ Play Store รองรับสโตร์ภายนอก หลังแพ้คดีที่ Epic Games ฟ้องเรื่องการผูกขาดแอปสโตร์ โดยกูเกิลยืนยันว่าจะอุทธรณ์ผลการตัดสินนี้ เพื่อขอให้ศาลระงับการบังคับใช้ที่ต้องการให้มีผลใน 1 พฤศจิกายนนี้ไปก่อน
กูเกิลให้เหตุผลว่าคำสั่งศาลที่กำหนดมานั้น จะทำให้ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากขึ้น นักพัฒนาก็โปรโมตแอปยากขึ้น การแข่งขันลดลง แม้คำตัดสินนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อ Epic แต่ภาพรวมแล้วจะไม่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งาน
กูเกิลชี้แจง 3 เหตุผลที่ต้องการให้ศาลพิจารณาคำตัดสินใหม่ โดยเบื้องต้นขอให้ระงับการบังคับใช้คำสั่งนี้ไปก่อน ได้แก่
ผู้พิพากษา James Donato แห่งศาลรัฐแคลิฟอร์เนีย ออกคำตัดสินสุดท้ายในคดีที่ Epic Games ชนะการฟ้องกูเกิลเรื่องผูกขาดแอปสโตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลให้ Epic Games ระบุข้อเรียกร้อง แล้วให้กูเกิลคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากทำตามข้อเรียกร้องนั้น ซึ่งท่าทีของศาลก่อนหน้านี้บอกว่าต้องการทลายกำแพงการผูกขาด
คำตัดสินของศาลกำหนดให้กูเกิลต้องเปิดให้สโตร์ Google Play รองรับแอปสโตร์ของคู่แข่ง (3rd Party) เป็นเวลา 3 ปี มีผลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2024 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2027, สโตร์นี้สามารถทำงานบนระบบ Google Play ได้ และสโตร์สามารถเข้าถึงแคตาลอกของแอปใน Google Play ได้
Epic Games ยื่นฟ้องกูเกิลและซัมซุง เนื่องจากพยายามบล็อคการติดตั้งแอพนอกสโตร์ จากฟีเจอร์ Auto Blocker ในรอม One UI ของซัมซุง ซึ่ง Epic มองว่ายิ่งช่วยทำให้กูเกิลผูกขาด Google Play Store บนฮาร์ดแวร์ของซัมซุงยิ่งกว่าเดิม
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้อง Visa ด้วยข้อหาผูกขาดเครือข่ายการชำระเงินของบัตรเดบิตในสหรัฐ
ในคำฟ้องของกระทรวงยุติธรรม ระบุว่าธุรกรรมบัตรเดบิต 60% ของสหรัฐอยู่บนเครือข่ายชำระเงินของ Visa สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมปีละ 7 พันล้านดอลลาร์ ความผิดของ Visa คือกีดกันคู่แข่งรายที่เล็กกว่า เช่น PayPal, Square ผ่านสัญญากับธนาคารและร้านค้า ถ้าคู่ค้าเหล่านี้ไปใช้เครือข่ายเดบิตหรือระบบชำระเงินรายอื่น ก็จะถูกลงโทษจาก Visa ด้วยค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น
กระทรวงยุติธรรม สรุปว่าพฤติกรรมของ Visa กีดกันการแข่งขัน และสร้างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ธนาคารหรือร้านค้า ซึ่งจะส่งต่อต้นทุนเหล่านี้มายังผู้บริโภคผ่านราคาสินค้าที่แพงขึ้น
NVIDIA ชี้แจงหลังมีรายงานข่าวว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก เพื่อทำการสอบสวนประเด็นผูกขาดในธุรกิจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ โดย NVIDIA บอกว่าบริษัทได้สอบถามไปยังกระทรวงยุติธรรมฯ แล้ว แต่ไม่มีการแจ้งหมายเรียกแต่อย่างใด
ตัวแทนของ NVIDIA บอกว่าบริษัทยินดีที่จะตอบทุกคำถามกับหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท
ปัจจุบัน NVIDIA มีส่วนแบ่งตลาดในชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 80% ซึ่ง NVIDIA ชี้แจงเรื่องนี้ว่าลูกค้าเลือก NVIDIA เพราะประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสำหรับพวกเขา ในมุมลูกค้าเองพวกเขาก็สามารถเลือกใช้งานชิปประมวลผลใดก็ได้ที่ดีที่สุดสำหรับตน
Bloomberg รายงานว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก NVIDIA แจ้งการสอบสวนการผูกขาดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ตามที่มีรายงานออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีบริษัทผู้ผลิตชิป AI รายอื่นได้รับหมายเรียกนี้เช่นกัน
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐตั้งข้อสังเกตจนนำมาสู่การสอบสวน มีทั้งการออกแบบที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนค่ายผู้ผลิตชิปสำหรับงาน AI ได้ยาก รวมทั้งประเด็นที่บริษัทคู่แข่งร้องเรียนว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาดคิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่แพงขึ้น หากใช้ชิปคู่แข่งในการประมวลผล
เรื่องนี้ต้องย้อนไปตั้งแต่ปี 2021 ที่หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร หรือ CMA ประกาศว่ากำลังสอบสวนแอปเปิล จากข้อร้องเรียนว่ามีการกำหนดเงื่อนไขสำหรับนักพัฒนาแอป iOS และ iPadOS ลง App Store ที่ไม่เป็นธรรม และมีการสอบสวนเพิ่มเติมกับกูเกิลใน Play Store ด้วยประเด็นเดียวกันในปี 2022 ซึ่งล่าสุด CMA ประกาศยุติการสอบสวนแล้ว
CMA บอกไม่ได้ให้ข้อสรุปว่าที่ผ่านมาแอปเปิลและกูเกิลมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะระบบการจ่ายเงินในสโตร์ แต่บอกว่าเนื่องจากทั้งสองบริษัทได้ปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ ให้สามารถจ่ายเงินผ่านระบบภายนอกได้แล้ว จึงเป็นการเพิ่มโอกาสการแข่งขัน ทำให้ประเด็นที่กำลังสอบสวนไม่มีผลอีกต่อไป
หลัง Google ถูกศาลตัดสินกรณีผูกขาด Search ล่าสุดแหล่งข่าวของ Bloomberg จากภายในกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) เผยว่า ทางกระทรวงกำลังพิจารณามาตรการในการจัดการการผูกขาดดังกล่าว
มาตรการที่กำลังพิจารณา ไล่ไปตั้งแต่เบาที่สุด อาจจะเป็น Google ต้องแบ่งปันข้อมูลกับคู่แข่ง และมีมาตรการป้องกันไม่ให้ Google สร้างความได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม (unfair advantage) ในผลิตภัณฑ์ AI, สั่งแบนการทำสัญญาเอ็กคลูซีฟ, สั่งขาย Adwords (Google Ads), ไปจนถึงหนักสุดคือสั่งแยก Chrome และ/หรือ Android ให้ออกมาเป็นอีกบริษัท
หลังคำตัดสิน แม้ Google จะยื่นอุทธรณ์ แต่ผู้พิพากษา Amit Mehta ได้สั่งให้ทั้ง Google และ DoJ เตรียมการเรื่องการฟื้นฟูการแข่งขันแล้ว
Patreon แพลตฟอร์มระดมทุนสำหรับงานศิลปะ ประกาศการเปลี่ยนแปลงบริการสำหรับแอป iOS หลังจากแอปเปิลบังคับให้ Patreon ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสินค้าดิจิทัล 30% บน App Store ผ่านระบบ In-App ทำให้ราคา Subscription ปรับเพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมา Patreon มีระบบเก็บเงินรายเดือน ซึ่งมีเงื่อนไขการจ่ายหลายรูปแบบ และระบบ In-App ของ App Store ไม่รองรับ เช่น ระบุเงินสูงสุดที่จะจ่ายต่อเดือน, กำหนดวันตัดรอบบิลเป็นวันที่ 1 แม้จะเริ่มสมัครวันอื่น ทำให้ Patreon เป็นแพลตฟอร์มที่มีทางเลือกไม่ต้องจ่ายผ่าน App Store และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 30% กับแอปเปิล ซึ่งจากประกาศของ Patreon นี้ระบุว่าแอปเปิลสั่งให้แพลตฟอร์ม ต้องใช้ธุรกรรมผ่าน In-App เท่านั้น มิฉะนั้นแอปอาจถูกถอดออกจากสโตร์ไปเลย
กลุ่ม Global Alliance for Responsible Media (GARM) ยุติการดำเนินงาน หลังโดน Twitter ฟ้องฐานละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการกีดกันทางการค้า เพราะต้องทุ่มทุนที่มีจำกัดไปกับการสู้คดี
GARM ก่อตั้งในปี 2019 โดย World Federation of Advertisers (WFA) เพื่อหยุดการลงโฆษณาบนแพลตฟอร์มที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ซึ่ง X มองว่าเป็นการจงใจบอยคอตตน
สมาชิกของ GARM ยังประกอบด้วยบริษัทเช่น CVS Health, Mars, Orsted, และ Unilever
อ้างอิง: The Verge
Linda Yaccarino ซีอีโอ X/Twitter ประกาศฟ้องกลุ่ม Global Alliance for Responsible Media (GARM), World Federation of Advertisers (WFA), และบริษัทสมาชิกของ GARM เช่น CVS Health, Mars, Orsted, และ Uniliver ฐานละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการกีดกัน. ทางการค้า
Yaccarino ระบุว่า X/Twitter มีปริมาณผู้ใช้เติบโตต่อเนื่อง และพยายามสร้างเครื่องมือเพื่อควบคุมการแสดงโฆษณาตามที่กลุ่มผู้ลงโฆษณาร้องขอ แต่ก็ยังถูกบอยคอดจากแบรนด์ต่างๆ จนเสียรายได้นับพันล้านดอลลาร์
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินให้กูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดบริการระบบค้นหาหรือ Search ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องร้อง ถึงแม้กูเกิลจะเตรียมยื่นอุทธรณ์แต่สิ่งที่น่าสนใจคือคนที่เสียหายจากคำตัดสินนี้ อาจไม่ใช่กูเกิล
Fortune ให้ข้อสังเกตจากคำตัดสินที่ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบาย โดยบอกว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดเพราะใช้การทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟทั้งกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแพลตฟอร์ม เพื่อให้กูเกิลยังเป็นระบบค้นหาหลักต่อไป นั่นแปลว่ากูเกิลอาจถูกสั่งให้หยุดการทำข้อตกลงประเภทนี้ คนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ จึงอาจเป็นคนที่ได้รับเงินผลประโยชน์จากกูเกิล ซึ่งมีสองรายที่น่าสนใจคือ แอปเปิล และ Mozilla
ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใน 38 รัฐ ฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search) ซึ่งฟ้องไปตั้งแต่ปี 2020 โดยคำตัดสินคือกูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง
ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบายในคำตัดสินว่ากูเกิลนั้นผูกขาดตลาดระบบค้นหาอยู่แล้ว และยังมีพฤติกรรมที่พยายามรักษาการผูกขาดตลาด ด้วยการทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ iPhone, iPad ของแอปเปิล ซึ่งมองว่าเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันและทำเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดระบบค้นหาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมเริ่มการสอบสวน NVIDIA ฐานผูกขาดจาก 2 กรณี คือการซื้อ Run:ai สตาร์ทอัพรัน AI บน Kubernetes และการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันลูกค้า ไม่ให้ซื้อสินค้าของคู่แข่ง
กรณีแรกรายงานโดย Politico อ้างอิงคนในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสืบสวนเรื่องการผูกขาดจากการซื้อกิจการตามปกติ
ส่วนกรณีที่สองรายงานโดย The Information หลังกระทรวงยุติธรรมได้รับคำร้องจากคู่แข่งของ NVIDIA ที่กล่าวหาว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาด คิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์คราคาแพง หากลูกค้าซื้อชิป AI จากคู่แข่ง
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ออกแถลงการณ์ตอบรับข้อตกลงจากแอปเปิล ประเด็นระบบจ่ายเงินผ่าน NFC ด้วย iPhone ที่ก่อนหน้านี้แอปเปิลปิดไม่ให้ผู้พัฒนาภายนอกเข้าถึงใช้งานได้ จึงนำมาสู่การสอบสวนในประเด็นผูกขาด แต่ก็มีข่าวว่าแอปเปิลได้เริ่มหารือกับนักพัฒนา และทาง EC น่าจะยุติการสอบสวน
ในข้อตกลงเบื้องต้นที่แอปเปิลให้กับ EC นั้น มีประเด็นสำคัญดังนี้
Margrethe Vestager ประธานกรรมาธิการต่อต้านการผูกขาดแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยกับ Bloomberg ว่ากรรมาธิการกำลังตรวจสอบ NVIDIA จากสาเหตุที่ซัพพลายของชิป AI ค่อนข้างที่จะคอขวดอยู่ที่ NVIDIA เจ้าเดียว
อย่างไรก็ตาม เธอบอกว่ากรรมาธิการยังไม่มีการตัดสินใจและท่าทีใดๆ ว่าเข้าข่ายหรือจะทำอะไรยังไงกับกรณีนี้ โดยตอนนี้มีแค่พูดคุยสอบถามกับทาง NVIDIA เท่านั้น
ปัจจุบันข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาดชี้ว่า ส่วนแบ่งตลาด GPU ของ NVIDIA อยู่ที่สูงถึง 88%
ที่มา - Bloomberg
สงครามรอบใหม่ระหว่าง Epic Games กับแอปเปิลมาอีกแล้ว หลัง Epic Games ประกาศทำแอพเวอร์ชัน iOS ในยุโรป โดยอาศัยกฎหมาย DMA ของยุโรป ที่กำหนดให้แอปเปิลต้องยอมให้มีสโตร์อื่นบน iOS
ล่าสุด Epic ประกาศว่าส่งแอพ Epic Games Store ให้แอปเปิลอนุมัติแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่าปุ่ม "Install" ภายในแอพของ Epic นั้นเหมือนกับปุ่ม "Get" ของ App Store มากเกินไป รวมถึงป้ายคำว่า "In-app purchases" ของ Epic กับ "In-App Purchases" ของแอปเปิลด้วย (ต่างกันแค่ตัวเล็กใหญ่)
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ระบุว่าหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของฝรั่งเศส อาจแจ้งความผิด NVIDIA ในการผูกขาดการแข่งขัน ซึ่งจะถือเป็นกรณีแรก ๆ ที่ NVIDIA ถูกแจ้งความผิด
คาดว่าเหตุการณ์นี้ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ที่มีรายงานว่าหน่วยงานกำกับดูแลของฝรั่งเศสได้เข้าตรวจสอบบริษัทผู้ผลิตจีพียูรายหนึ่ง คาดว่าเป็น NVIDIA ในประเด็นการใช้แนวทางที่ต่อต้านการแข่งขันของตลาดจีพียู โดยเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่
คณะกรรมการธิการยุโรปหรือ EC (European Commission) ประกาศแจ้งไมโครซอฟท์ โดยมีมุมมองเบื้องต้นว่าไมโครซอฟท์ละเมิดกฎหมายด้านการแข่งขันของยุโรป จากการพ่วง Microsoft Teams ไปกับ Office 365 และ Microsoft 365 ทำให้แอพพลิเคชันสำหรับการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันนี้ ได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่ง
ก่อนหน้านี้ EC ประกาศจะดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ หลังจาก Slack ได้ร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2020
หลังญี่ปุ่นร่างกฎหมายควบคุมแอปเปิลและกูเกิลเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้รัฐสภาญี่ปุ่นก็ได้ผ่านกฎหมายลักษณะเดียวกับ Digital Markets Act (DMA) ของฝั่งยุโรปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
กฎหมายฉบับนี้ ห้ามบริษัทขนาดใหญ่อย่างแอปเปิลและกูเกิลใช้สโตร์, แพลตฟอร์มหรือระบบปฏิบัติการของตัวเองแทรกแซงหรือกีดกันการขายแอปพลิเคชันใด ๆ ที่ไม่ได้สร้างจากบริษัทของตัวเอง รวมถึงห้ามให้ลำดับความสำคัญกับสินค้าและบริการของตัวเองก่อนบริษัทอื่น ๆ บนหน้าการค้นหา
จุดประสงค์ในการออกกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นเพราะญี่ปุ่นต้องการที่จะป้องกันไม่ให้บริษัทใหญ่ผูกขาดและมีอำนาจเหนือตลาด รวมถึงเพิ่มการแข่งขันในตลาดธุรกิจแพลตฟอร์ทดิจิทัล
The New York Times อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง บอกว่าหน่วยงานของสหรัฐเตรียมทำการสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ในประเด็นการผูกขาดในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI
โดยกระทรวงยุติธรรม (DoJ) จะรับผิดชอบในการสอบสวน NVIDIA ส่วนคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าของสหรัฐ (FTC) จะตรวจสอบ OpenAI และไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์นั้นอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของ FTC ในเรื่องเกี่ยวกับ AI อยู่แล้ว จากการตั้งซีอีโอ Inflection AI เป็นหัวหน้าฝ่าย Microsoft AI ซึ่ง FTC บอกว่ารูปแบบดีลนี้เป็นการซื้อตัวซีอีโอและเทคโนโลยีสำคัญเข้ามา เพื่อหลบเลี่ยงการซื้อกิจการโดยตรงที่ต้องรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแล
แอปเปิลยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป จากประเด็นที่คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งปรับแอปเปิล 1,800 ล้านยูโร เพราะมีพฤติกรรมกีดกันการแข่งในตลาดแอปฟังเพลงสตรีมมิ่ง ที่มี Spotify เป็นผู้ร้องเรียน ซึ่งแอปเปิลเคยแถลงก่อนหน้านี้แล้วว่าบริษัทจะยื่นอุทธรณ์
ในตอนนั้นแอปเปิลบอกว่าคณะกรรมาธิการยุโรปไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ ที่แสดงว่าสิ่งที่แอปเปิลทำเป็นอันตรายหรือขัดขวางการแข่งขัน ที่ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค อีกทั้งในภูมิภาคยุโรป Spotify ก็มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า Apple Music บริการฟังเพลงสตรีมมิ่งของแอปเปิลเกือบสองเท่า