Frederick P. Brooks วิศวกรซอฟต์แวร์ระดับตำนาน ผู้ดูแลโครงการ OS/360 สำหรับคอมพิวเตอร์ IBM System/360 เมื่อปี 1966 และนำประสบการณ์มาเขียนหนังสือ The Mythical Man-Month เล่าถึงความพยายามแก้ปัญหาโปรเจคล่าช้าด้วยการเพิ่มโปรแกรมเมอร์เข้าไปในโครงการ แต่กลับทำให้โครงการช้าลงไปไปอีก Brooks เสียชีวิตด้วยวัย 91 ปี
นอกจากหนังสือที่สร้างชื่อเสียงให้เขาแล้ว Brooks ยังตีพิมพ์งานวิชาการด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์อีกหลายชิ้น จนได้รับรางวัลทางวิชาการอีกมาก เช่น รางวัล Turing Award ในปี 1999
Brook เคยให้สัมภาษณ์ถึงงานที่เขาภูมิใจที่สุด คือการเปลี่ยนสเปคของ OS/360 ให้ 1 ไบต์มี 8 บิต จากตอนแรกมีเพียง 6 บิต เพื่อให้สามารถเขียนข้อความด้วยตัวอักษรเล็กและใหญ่ได้ การออกแบบนี้กลายเป็นมาตรฐานจนใช้งานกันทั่วไป
ลูกชายของ Brooks แจ้งข่าวไปยังเพื่อนร่วมงานของเขาจำนวนหนึ่ง ระบุว่าอาการของเขาแย่ลงมากในสัปดาห์ที่ผ่านมา และวันนี้ภาควิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย North Carolina ก็แจ้งข่าวว่า Brooks เสียชีวิตแล้ว
ที่มา - Hacker News
ภาพ Frederick Brooks เมื่อปี 2007 โดย Carola Lauber
การบรรยายของ Fred Brooks ในงาน ICSE 2018
Comments
ขอบคุณปู่ที่ทำให้ผมมีงานและมีวันนี้
ถ้า 1 byte มี 6 bit นี้ไม่อยากจะคิดว่าจะยุ่งยากขนาดไหน
ถ้ามากกว่า 8 Bit นั้นจะดีขึ้นหรือเปล่าครับ
8 bit นี่ถือว่าหรูหรามากแล้วในยุคนั้นนะครับ (แกอยู่ IBM ด้วย ลูกค้ารวย ใส่ bit เยอะได้)
ผมเล่นเน็ตยุคแรกๆ โมเด็ม 9.6k นี่ยังมีออปชั่น 7-bit byte ให้เลือกอยู่เลย เร็วขึ้น 12.5%
lewcpe.com, @wasonliw
ใครจะคิดว่า ระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ พึ่งเริ่มมาได้แค่ประมาณ 1 ช่วงชีวิตของคน
ในตอนนี้ทั้ง การติดต่อ, แชท, เล่นเกมส์ ข้อมูลทางการแพทย์ บลาๆ คุยผ่านคนละซีกโลกกันได้เป็นปกติ
ติดตามการเคลื่อนไหวห่างกันคนละซีกโลกได้ในไม่กี่วินาที
ผมคิดว่าถ้าใช้ 6 bits มันจะไม่สะดวกในการคำนวณอะไรหลายอย่างครับ
และ "เพื่อให้สามารถเขียนข้อความด้วยตัวอักษรเล็กและใหญ่ได้" อันนี้น่าจะหมายถึง ASCII
และไม่รู้บังเอิญหรืออะไรที่ ASCII มันใช้จริง 7 bits
ทำให้มันมี UTF8 ที่ compactible กับ ASCII เกิดมา (implement ง่ายกว่า multibyte character อื่น)
8 bits ของเขายังไปทำให้เกิดมาตรฐานอื่นๆ อีกเพียบเลยครับ
ผมเข้าใจว่า หมายถึง encoding แบบ BCD (6-bit) กับ EBCDIC (8-bit) มากกว่าครับ
👍
ผมจำไม่ได้แล้วนะครับ ว่ามันมีอันนี้อยู่
8Bit 1Byte จำได้ถึงทุกวันนี้
RIP
คอมพิวเตอร์เพิ่งมีไม่นาน โลกก็พัฒนาไปไกลขนาดนี้ ถ้าพันปี หมื่นปี มันจะไปไกลขนาดไหนนะ
RIP
-- ^_^ --
นี่เอง ต้นตอของข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ ชอบถามกันจัง 1MB มีกี่ bit ยาวไปจนถึงทำไม HDD ซื้อแล้วถึงได้ไม่เต็มความจุ ถ้ามีไทม์แมชชีนจะขอนั่งย้อนเเวลาไปกะซิปปู่ ขอเหอะ ช่วยทำ 1 byte มี 10 bit ที 😅
คอมพ์คุณจะช้าลงไปอีก 20-30% ในระดับ hardware กับทุก scenario (ซึ่งสมัยนั้นคอมพ์ยิ่งช้าอยู่แล้ว) เพราะต้องรอ fetch data จาก 8 ตัวเป็น 10 ตัว ทั้งทั้งที่ใช้มาถึงยุคปัจจุบันก็ยังไม่รู้ว่าอีก 2 bit ที่เหลือจะส่งสัญญาณอะไรดี
มันไม่ได้จำเป็นจะต้องเป็นแบบนี้ มันแก้ได้ แต่เค้าไม่ทำเอง อย่าง MacOS 1000MB = 1GB คิดว่าเหตุผลที่เขาทำแบบนั้นเพราะเขาเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ขายเครื่องแม็ก 256GB ได้จริงไม่ถึงเดี๋ยวคนใช้งงอีก
มีคนทำคอมพิวเตอร์ที่ 1 byte ไม่เท่า 8 bit เยอะเลยครับ แต่ 8 bit กลายเป็นมาตรฐาน คงเพราะมีข้อดี ถ้าปู่แกทำออกมา 10 bit อาจจะไม่ฮิต และโดนระบบที่ใช้ 8 bit แซงและกลายเป็นมาตรฐาน ปู่แกก็อดคุย
ส่วน HDD ได้ไม่เต็มความจุเพราะ Os ใช้ไปส่วนหนึ่ง(ทำ fat)
มันไม่เกี่ยวกับที่ 1 byte มี 8 bits ครับ
ที่ทำให้สับสนน่ะ เพราะ 1 KiB = 2^10 = 1024 bytes ครับ
ส่วน convert เป็น bit น่ะ มันก็ไม่ต่างจาก convert unit อื่นครับ
อย่าง inch -> cm, hour -> second แค่คูณไปเท่านั้นเอง
หลับให้สบายนะครับ ขอบคุณที่ช่วยพัฒนาวงการคอมพิวเตอร์
..: เรื่อยไป