Tags:
Node Thumbnail

หลังจากทีมวิจัยจีนตีพิมพ์รายงานวิจัยระบุว่าสามารถแยกตัวประกอบเลขขนาดใหญ่โดยใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาดเล็ก ซึ่งนำไปสู่การแกะการเข้ารหัส RSA-2048 ได้ด้วยคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาดเพียง 372 คิวบิต Scott Aaronson นักวิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัมและผู้อำนวยการ Quantum Information Center มหาวิทยาลัยเท็กซัสก็ออกมาชี้ว่ารายงานฉบับนี้ชี้นำให้เข้าใจไปว่ากระบวนการเร่งความเร็วนี้จะใช้งานได้จริงแม้มีช่องโหว่ในรายงานหลายอย่าง

Aaronson ระบุว่ารายงานไปพูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องนัก เช่น การลดจำนวนคิวบิตโดยไม่พูดถึงจำนวนเกต แต่สุดท้ายกลับพูดในส่วนสรุปตอนท้ายว่าไม่แน่ใจว่าเทคนิคที่นำเสนอมาจะใช้เร่งความเร็วได้จริงหรือไม่ สุดท้ายหากการใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมแล้วเร่งความเร็วไม่ได้ก็แปลว่า RSA-2048 ไม่ได้ถูกเจาะจริง

Aaronson เจอรายงานวิจัยที่พยายามอ้างว่าแยกตัวประกอบตัวเลขขนาดใหญ่ด้วยคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาเป็นจำนวนมาก จนเขาขอตั้งชื่อให้คนกลุ่มนี้ว่า Cargo Cult Quantum Factoring (cargo cult กลุ่มความเชื่อที่บูชาเทคโนโลยีโดยขาดควาามเข้าใจ การใช้งานเฉพาะเช่น cargo cult programming ที่พยายามใช้โครงสร้างโปรแกรมตามๆ กันโดยไม่มีความเข้าใจว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร) แต่เขาก็ระบุว่ารายงานจากจีนฉบับนี้เป็นรายงานที่ชี้นำผิดร้ายแรงที่สุดอันหนึ่ง

ที่มา - Scott Aaronson

ชิปควอนตัมที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี EUV ของอินเทล

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 9 January 2023 - 14:25 #1274155
panurat2000's picture

ตีพิมพ์รายงานวิจัยระบุว่าระบุว่า

ระบุว่าระบุว่า ?

By: IDCET
Contributor
on 9 January 2023 - 14:44 #1274161

เพราะรายงานมีมีปัญหาทำนองแบบนี้หละมั้ง ถึงต้องมีการตรวจทาน และมีการทดสอบ ทำซ้ำการวิจัยหลายๆ รอบ ว่าได้ผลตามที่เขียนไว้ ก่อนออกตีพิมพ์งานวิจัยได้จริงๆ

แน่นอนว่าการออกงานตีพิมพ์งานวิจัยจะยากขึ้น แต่อย่างน้อยก็ช่วยยืนยันความถูกต้อง แม่นยำ และรักษาคุณภาพของงานวิจัยและผู้ตีพิมพ์ด้วย


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: specimen
Windows PhoneAndroid
on 9 January 2023 - 16:38 #1274170
specimen's picture

.