หลังจากที่ได้มีการเริ่มทดลองให้นักศึกษาและครูบางคนที่มหาวิทยาลัย Princeton ได้ลองใช้ Kindle DX ในการเรียนการสอนเป็นเวลาสองสัปดาห์ในห้องเรียนสามห้องพบว่าหลาย ๆ คนไม่พอใจเท่าที่ควร
ในหนังสือพิมพ์ the Daily Princetonian ของมหาวิทยาลัย มีรายงานว่าการใช้ Kindle DX ในการเรียนการสอนนั้น ไม่น่าพอใจและไม่สะดวก โดยมีนักศึกษารายหนึ่งให้ความเห็นว่าการใช้ e-reader ในการเรียนการสอนเป็นข้อแก้ตัวที่แย่สำหรับการเพิ่มเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนการสอน
จากคำติชมทั้งหลาย พอสรุปได้ว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ที่การจดบันทึกและการเน้นคำ ซึ่งโดยปกติแล้วกับหนังสือธรรมดาสามารถทำได้ง่ายมาก แต่บน Kindle นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ปัญหาอีกอย่างคือการที่ไม่มีตัวเลขหน้าที่แท้จริง (ตัวเลขหน้าเปลี่ยนไปตามขนาดตัวอักษรที่เลือกไว้) ทำให้การเรียนการสอนยากขึ้น
ดูเหมือนว่ามหาวิทยาลัย Princeton จะไม่เอา Kindle กลับมาใช้ในปีหน้าซะแล้ว
ที่มา - Engadget
Comments
OK ยี่ห้ออื่นยังมี ปรับปรุงแล้วลองใหม่
7blogger.com
มันก็ถูกของเขานะ
การเรียนย่อมมีแลชเชอร์ แต่ว่าอุปกรณ์ยากแก่การแลชเชอร์
ยิ่งไม่มีหมายเลขหน้าที่แท้จริงอีก - -"
แต่ที่อยากเห็น อยากเห็นของ MS มากกว่าอ่ะคับ ที่เหมือนหนังสือ น่าเล่นมากมาย ^^
ถ้าMSทำได้แบบvdo คอนเซปตัวต้นแบบได้นี่จะดีมาก
อยากได้ เพราะชอบอ่านหนังสือ แล้วก็หนังสือแต่ละเล่ม มันหนักด้วย พกไว้อ่านทั่วไปคงไม่กระทบสำหรับผม
ข้อแก้ตัวที่แย่สำหรับการเพ่ิมเครื่องมือ <<"เพิ่ม" พิมพ์ตกนิดนึงครับ ^^
จริงๆแล้วมี "ไม้เอก" แล้วครับ แต่ปัญหาคือดันใส่ไม้เอกไว้ก่อนสระอิ ^^
ผมว่าจะรอดูของ MS เหมือนกัน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ปัญหาหลักคือไม่มีเลขหน้าที่แน่นอนเนี่ยแหละครับ เพราะผมไม่จดอะไรลงหนังสืออยู่แล้ว รู้สึกเสียดายของ (+ ขี้เกียจนิดหน่อย แฮะๆ)
The Phantom Thief
"เป็นเวลาสัปดาห์" << ตรงนี้แปลว่าเป็นเวลา 1 สัปดาห์รึปล่าวครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
kindle น่าใช้นะครับ แต่ราคายังแพงมากสำหรับผม
ผมกำลังหวังว่าราคามันจะลงมาเร็วๆ เพราะส่วนใหญ่จะอ่านแต่ ebook ขอแค่มี mark หน้าที่อ่านได้ก็พอใจแล้วครับ ส่วนพวก function multimedia อย่าเอามาลงเล้ย ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก ><
ข้อจำกัดยังคงเยอะอยู่สิน่ะ เช่นจะ เขียนลงในหนังสือ พับหน้าที่ถูกใจ อ่านค้างไว้ เน้นสีข้อความ วงโน้นนี่ บนหนังสือทำได้เลย แต่บนเจ้าตัวนี้ยังต้องเสียเวลากับมัน รอการพัฒนาต่อไปง่ะ
โอ้... นั่นเป็นการกระทำที่โหดร้ายต่อหนังสือมากเลยนะครับ โดยเฉพาะพับหน้านี่ผมถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อหนังสือเลยนะ
เป็นคนรักหนังสือมากเลยครับ(ขอชม) ^^ ส่วนผมถือว่าปกติอ่ะครับ พับประจำเมื่อหาที่คั้นไม่เจอ:)
ผมใช้ทิชชู่แทนที่คั่นหนังสือเป็นปกติเลยอ่ะครับ คิดว่ามันนิ่มกว่า น่าจะปลอดภัยกว่า เหมือนจะคิดตื้นๆ ไงก็ไม่รู้
ปล. ผมรักหนังสือมากเลยนะ ไม่เชื่อดูหนังสือเรียนสิ เรียบกริบเกือบทุกเล่มเลย ไม่มีรอยขีดเขียน ไม่มีรอยพับ และ ไม่มีร่องรอยการเปิดมากนัก (>_<)
The Phantom Thief
ของผมก็เป็นแบบนั้นหลายเล่มนะ เหมือนซื้อมาบูชา
ที่ยับเยินสุดคงเป็น minna nihongo ที่เปิดไปมาจนเยินยู่ยี่
Acting Reporter & My Elder Brother Blog
เหมือนกันครับ ปกติจะหาอะไรมาคั่นแทน ตั้งแต่เศษกระดาษ ยันซองทาโร่ - -*
ขนาดจะเน้นข้อความอะไรก็ไม่กล้าใช้ปากกา ใช้ดินสอวงเอาแล้วไปลบเอาทีหลัง
ผมพบความจริงว่าเอาเข้าจริงก็ไม่ได้กลับไปลบหรอก เลยวงไปเลย
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
+1 5555
\(@^_^@)/
M R T O M Y U M
ผมไม่ค่อยเขียนลงหนังสือ (ตรง ๆ ) แฮะ ยกเว้นว่าเป็นพวกตำราเรียน (ที่ใช้ตอนเรียน) พวก Text ที่ซื้อมาอ่าน (นอกจากตอนเรียน) ก็ไม่เขียนเหมือนกัน
คือ บางทีพอผมคิดว่าไม่อ่านแล้วผมจะเอาไปบริจาคน่ะครับ (Text บางเล่มที่ outdate ไปแล้วก็โดนโละนะ) คิดถึงเด็ก ๆ ที่ได้หนังสือเราไปอ่านแล้วเห็นเราเขียนอะไรยุ่บยั่บ ๆ เต็มไปหมด (รวมทั้งวาดการ์ตูนลงไปด้วย) ก็สงสารเด็กนะ 555
จาก "ทุกคนเปิดไปหน้า 37"
ก็ต้องเปลี่ยนเป็น
"ทุกคน ปรับฟอนท์เป็น Tahoma ขนาด 14 แล้วเปิดไปที่หน้า 37"
เออ ลำบากขึ้นเยอะ
God's believed in many names.
ผมไม่มี Tahoma ครับอาจารย์ มันเป็นฟอนต์ลิขสิทธิ์ของ M$
+1 ^^b
ก็ไปซื้อแผ่น Windows ที่พันทิพย์มาลงสินักเรียน
เดี๋ยวครูก๊อปให้ก็แล้วกัน
ผมว่ามันต้องปรับตัวกันบ้าง จากเดิมอ้างอิงที่หน้า ต้องมาอ้างอิงหัวข้อแทน
เช่น จากเดิม เปิดไปหน้า 37 หัวข้อ Turing Machine
เป็น 1.2.7 Turing Machine ดีกว่ารึเปล่า
แล้วที่ Header/Footer ก็แสดงเลขชุด กับชื่อหัวข้อไว้ก็น่าจะทนแทนกันได้
มีอาการคล้ายๆกับเปลี่ยนจาก Windows XP มาใช้ Linux อะ ทำหน้างงๆหน่อยตอนรับคำสั่งอาจารย์ สงสัยต้องส่งไปให้นักเรียนประถมทดลองใช้ดูจะปรับตัวง่ายกว่าเด็กมหาลัยนะ
เรียกว่าเสพย์ติด User Interface ของหนังสือกระดาษไปเสียแล้ว
\(@^_^@)/
M R T O M Y U M