ธนาคารกรุงไทย ประกาศเลื่อนแผนการเก็บค่าธรรมเนียมกดเงินสดแบบไม่ใช้บัตร (cardless ATM) ออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังประกาศแนวทางแล้วได้รับเสียงวิจารณ์ในวงกว้าง
ธนาคารกรุงไทยระบุว่าตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกค้าที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในชีวิตประจำวัน จึงเลื่อนแผนการเก็บเงินค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อการกด ATM แบบไร้บัตรไปก่อน
ตามที่ธนาคารกรุงไทย ประกาศจัดเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินไม่ใช้บัตร (Cardless ATM Withdrawal) ครั้งละ 10 บาท เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิทัล ลดการใช้เงินสด โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการถอนเงินไม่ใช้บัตร 1ครั้งต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมถึง 31 กรกฎาคม 2566 นั้น
ทั้งนี้ หลังจากที่ธนาคารประกาศแจ้งให้ลูกค้ารับทราบผ่านช่องทางของธนาคาร ปรากฎว่า ได้รับเสียงสะท้อนจากลูกค้าจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งธนาคารยินดีน้อมรับฟังทุกความคิดเห็น เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ โดยตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกค้าที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในชีวิตประจำวัน จึงยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวออกไปก่อน
ธนาคารขอขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการด้วยดีเสมอมา และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้
ที่มา - ธนาคารกรุงไทย
Comments
จริงๆ น่าจะเริ่มเก็บไปเลย แต่เพิ่มจำนวนครั้งที่ฟรีแทน
และค่อยๆ ลดลง รอดูผลตอบรับ เช่น
ปีแรก 30 ครั้ง/เดือน
ปีที่สอง ลดเหลือ 15 ครั้ง/เดือน
ปีที่สาม ลดเหลือ 10 ครั้ง/เดือน
อะไรแบบนี้
ผมไม่ได้โลกสวยแต่ผมก็เห็นด้วยครับ เพราะธนาคารเขาก็มีต้นทุนในการดำเนินการต่างๆ
ผมก็โลกไม่สวยนะ ขอดูต้นทุนการกด ATM ต่อ 1 ครั้งด้วยครับ อยากรู้ว่า กำไรเกินสมควรหรือไม่อย่างไร เพราะกด ATM ต่างธนาคาร ชาร์ตค่าดำเนินการ 10 บาท อันนี้เข้าใจได้ แต่กดกับตู้ตัวเอง ซึ่งกรุงไทยไม่มีใครกดทีละ 10,000 - 20,000 อยู่แล้ว อย่างกด 100 นึงแล้วเอาค่ากด 10 บาท อันนี้มันเกินไป
แถมนิดนึง ทำธุรกรรมที่ตู้ ATM ต่างธนาคารฟรี 3 ครั้งต่อเดือน (ถามยอดก็ถือว่า 1 ครั้ง) แถม ธ. กรุงไทย กดตู้ฯ ต่างจังหวัดเสีย 25 บาทด้วยครับ
ครับ ผมอาจพิมพ์สั้นไปหน่อยที่ผมเห็นด้วยคือวิธีการของคุณ horakung ครับ ส่วนเรื่อง 10 บาทต่อครั้งผมไม่กล้าออกความคิดเห็นเพราะไม่มีความรู้หรือข้อมูลเชิงลึกของต้นทุนจริงๆ ที่เกิดขึ้น
"เลื่อน" ไม่ได้ "ยกเลิก"
ยังดีที่เลื่อน แต่จำได้ว่าบัตร ATM กรุงไทยเก็บค่าธรรมเนียมกดเงินสดด้วยบัตรข้ามจังหวัดด้วย ไม่รู้ทุกวันนี้ยกเลิกไปยัง ถ้ายังจะได้ไปเปิดธนาคารอื่น ๆ ที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมกดเงินสดด้วยบัตรข้ามจังหวัด
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
Kbank ก็ยังเก็บค่าธรรมเนียมนะ หากเอาบัตรไปกดเงินข้ามเขต
ถ้าเก็บครั้งละสิบบาท งี้ทำบัตร ATM หรือ Debit ที่เก็บ ไป 100++ อยู่แล้ว น่าจะคุ้มกว่า ยกเว้นถอนน้อยครั้งจริงๆ
ถ้าจะไปสาย Debit ต้องคิดหน่อย
มันเพิ่มความเสี่ยงจากการถูก(ขโมย) ใช้งานด้วยนะครับ
บัตรไหนก็คงโดนเหมือนกันแต่ Debit นี่คือเงินมันหายไปแล้วตามคืนยากน่ะครับ
อ่านผ่านๆ บางธนาคารไม่มีบัตร ATM อย่างเดียวแล้วนี่ เริ่มต้นก็ Debit บางทีก็ขายพ่วงบริการที่เราไม่ได้ต้องการด้วยเก็บปีหลายร้อย ลูกค้าทางเลือกน้อยลง ถ้าจะใช้แอพกดเงินบ่อยๆ ค่าธรรมเนียมดูจะแพงกว่าค่าบัตรรายปีอีกอะครับ ยิ่งลูกค้าที่รายเล็ก กดเงินน้อยหลักร้อย นี่คิดหนักเลยถ้าจะกด สิบบาท กดร้อยเดียวก็ 10 % เลย
กำลังเอาไปพิจารณาใหม่
อย่าเลื่อนสิครับ ไปให้สุดเลย
เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ คราวนี้รอธนาคารอื่นทำก่อน แล้วค่อยทำตาม
เลื่อนไม่มีกำหนด?
คือ เอากลับมาอาทิตย์หน้าก็ไม่ผิดคำพูด
ถ้าพี่ไม่เปิดแล้วใครจะกล้าเปิดล่ะทีนี้
จบ แยกย้าย
ใครจะจ่ายแบบไหนก็ให้เค้าเลือกตามสะดวก ไม่ต้องไปบังคับ
เก็บรายปี ปีละร้อยไปเลยฮะ เข้าใจได้เพราะยังไงๆ ก็ต้องบริหารเงินสด มีค่าใช้จ่ายอยู่ แต่ครั้งละสิบบาทนี่ตั้งใจจะรวยทางลัดเหรอ
ถ้ามองอีกมุม คือเค้าเอาเงิน(เรา/เจ้าของ)ไปหมุน จะต้องสงสารเค้าทำไมล่ะครับ
อยากจะบอกธนาคารว่า ถ้าพี่ทำไม่ไหว ก็เลิกรับฝากเงินสดไปสิครับ จะได้ไม่ต้องบริหาร
ไม่สงสารฮะ แค่เข้าใจ เก็บบ้างให้บริการอยู่ได้ผมโอเค เพราะเข้าใจว่ามีค่าใช้จ่าย แต่ครั้งละสิบบาทนี่เกินไปมากครับ บางทีถอนมาแค่ร้อยนึงจะเอาสิบบาทนี่ยิ่งกว่าเล่นหุ้นอีกนะ
อ้อ อันนี้พูดรวมๆ ถึงทุกธนาคารนะครับ เพราะเชื่อว่ามาครบแน่
ถ้าเรื่องเงินหมุนนี่บัญชีที่ธนาคารเอาเงินไปหมุนเยอะๆ นี่เขาแทบจะอุ้มเข้าธนาคารอยู่แล้วครับ พวกบัตร high net worth ทั้งหลาย มูลค่าเงินที่เขาเอาไปหมุน/เอาไปบริหารนี่สร้างมูลค่ากว่าค่าธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ ซ้ำต้องแจกโน่นแจกนี่ดึงตัวกันอีก
แต่พอเป็นรายย่อยมากๆ เงินในบัญชีมีไม่เกินหลักหมื่น แต่จำนวนธุรกรรมสูง เขาก็มาหาทางกับพวกค่าธรรมเนียม
lewcpe.com, @wasonliw
ผมทราบครับ
แต่เอาจริงๆ มันกระทบกับคนรากหญ้าและชนชั้นล่างเยอะนะครับ
เออ ว่าแต่...บัญชีเงินเดือนข้าราชการก็ธนาคารนี้ด้วยใช่ไหมนะ
มองง่ายๆ มีบัญชีแบบนี้สัก 10 ล้านบัญชี เหนาะๆก็ได้สัก 100 ล้านต่อเดือนแล้ว
ใช่ครับ กระทบเยอะจริง และเราควรมีมาตรการบางอย่างที่ทำให้มันฟรีกับบุคคลทั่วไป โดยไม่อาศัย "โปรโมชั่น" ของธนาคารแบบทุกวันนี้
ผมมองว่ารัฐควรช่วยรับบางส่วน และใช้กลไกบางอย่าง เช่น บัญชีพื้นฐาน ของแบงค์ชาติ ก็ไม่ควรจำกัดเฉพาะคนได้รับบัตรคนจนที่ไม่มีเกณฑ์ได้รับชัดเจน รัฐอาจจะช่วยจ่ายค่าดูแลบัญชี (ค่าบัตร + ค่าออนไลน์ + ค่าโอน) แต่จำกัดคนละบัญชีพอ ธนาคารที่รับต้องยอมรับว่าจะไม่มีค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้ จะหากเลิกร่วมโครงการต้องบอกล่วงหน้ายาวๆ ไม่ใช่เป็นโปรโมชั่นอยากเลิกเดือนหน้าก็เลิกแบบนี้
เงินเก็บต่ำๆ 10 ล้านบัญชีผมไม่แน่ใจว่าธนาคารอยากได้บัญชีแบบนี้ไหม เงินมันหมุนเข้าหมุนออกเร็วมาก คนอาจจะใช้จนหมดบัญชีทุกสิ้นเดือน เอาเงินไปปล่อยกู้ยาวหน่อยก็ลำบากแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าเค้าประกาศ ถอนฟรีอาทิตย์ละครั้ง ตัดรอบทุกวันเสาร์-อาทิตย์งี้ จะโดนด่าแรงงี้ไหมนะ
ตู้ ATM คงได้พังทุกสัปดาห์ครับ เพราะคนแห่กันไปกดในวันที่ถอนฟรี 😂
เม้นข้างบนน่าจะหมายถึง ภายใน 1 สัปดาห์ ถอนฟรี 1 ครั้ง แล้วพอวันจันทร์ไรงี้ก็ reset จำนวนครั้งนะครับ แต่นิสัยคนคนคงแห่ไปถอนวันสุดท้ายที่ reset โควต้าถอนฟรี
น่าจะถอยก่อน ไปนัดกับสมาคมฯ ให้ประกาศพร้อมกันทุกธนาคาร ตอนนี้ประกาศก่อนก็โดนด่าก่อนเป็นธรรมดา
ป.ล. แต่ผมกลัวว่าถ้าเขาถอยจริงๆ เขาจะไปเก็บค่าโอนผ่านแอพ แล้วทุกคนจะร้องเอานะครับ อย่าลืมว่าpromptpay เคยให้ข่าวช่วงแรกๆว่าโอนฟรี จำกัดจำนวน transaction และจะเก็บเงินสำหรับการโอนแบบธุรกิจ แต่ตอนหลังๆก็ไม่เห็นเก็บ กันสักที ถ้าวันนึงจะกลับมาเก็บเช่นใหต่อวันไม่เกิน 5 tx เกินนั้นเก็บค่าโอน ก็จะร้องกันเช่นกัน ใช้จนติดแล้ว
ก็ย้อนกลับไปยุคก่อนหน้านี้ไงครับ..ดีๆผมชอบนะพัฒนาถอยหลังลงคลอง
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
หยอกๆ ขำๆ เองแกกกกก April fool's Day เนอะ...รู้จักปะ? ทำจริงจังไปได้... 555
ธนาคารไหนไม่รู้เคยโดนแฮกไปสองล้านกว่าบาท ไม่กี่วันถัดมาจากที่เก็บค่าธรรมเนียมถอนเงินต่างจังหวัด 10 บาทก็ทะลึ่งขึ้นเป็น 20 บาทเป็นเวลาสั้นๆก่อนจะถอยกลับไปที่เดิม ไม่รู้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร แต่ภาษาพูดของผมคือถอนทุน
มันก็ควรยกเลิกกดเงินแบบใช้บัตรแล้วหักทุก 10 ครั้งด้วยแหล่ะ
ยุคนี้ไม่มีใครพกเงินทีละเป็นหมื่นติดไว้กับตัวหรอก แค่กดใบพันออกมาจะเอาไปใช้ก็แสนลำบาก ต้องกดทีละ 500 2 ครั้ง
ธนาคารเอาเงินฝากเราไปทำอะไรมั่ง
1.ซื้อกองทุน
2.เล่นหุ้น
3.ปล่อยกู้
4.เอาไปทำโครงการบัตรต่างๆ มาอำนวยความสะดวกให้กับเราอีกที อย่าง บัตรเคคิต บัตรเงินสด บลาๆๆ
กำไรเรียกว่ามหาศาลไม่รู้กี่ทบ แต่ธนาคารให้ดอกเบี้ยงเราเท่าไหร่ 2.5 -5% มิหนำซ้ำยังมีภาษีในดอกเบี้ยอีก 7%
ไม่ว่าธนาคารใดธนาคารหนึ่งนะ แต่เป็นทุกธนาคาร
ธนาคารใช้ subscription model ได้มั้ย แบ่งค่ารายปีของบัตร ATM เป็น tier ต่าง ๆ
* basic กดฟรีแค่เดือนละครั้ง
* silver กดฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้งภายในเขต
* gold กดฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้งและไม่มีค่าธรรมเนียมข้ามเขต
* พิเศษสำหรับผู้มีเงินฝากหรือเงินลงทุนเกินหนึ่งล้านบาท อัพเกรดเป็น gold member ฟรี
ตัวเสี้ยมในองค์กรเยอะ โปรเจคนี้ สักหน่อยก็เข็นมาแบบเนียนๆ
ทำไมเขาไม่คิดค่ากดเป็น % นะ กดน้อยเสียน้อยกดมากเสียมาก หรือเน้นให้คนกดมากๆ หรือไม่อยากให้คนกดเงิน? อยากเห็นมากว่า ตู้หนึ่งตู้ค่าใช้จ่ายทั้งระบบกี่บาท
The Dream hacker..
งงทำไมเราต้องสงสารธนาคารกัน เขาเอาเงินที่เราหาอย่างลำบากไปสร้างรายได้นะเฟ้ย กำไรเป็นกอบเป็นกำ
จริงๆเข้าใจธนาคารนะ
เดิมตู้ ATM ต้องสมัครบัตร ซึ่งค่าบัตรก็เอามาซ่อมบำรุงตู้
พอเป็น cardless ATM ไม่สมัครบัตรก็มาใช้งานได้
กลายเป็นคนเลิกสมัครบัตร ธ.ไม่ได้ค่าบัตรเลย
แต่ยังซ่อมบำรุงตู้เท่าเดิม-หนักกว่าเดิม
คงต้องหาทางออกที่ดีกว่านี้ เช่น
สมัครใช้ cardless ATM ปีละ 100฿ อะไรทำนองนี้ 🤔
ประหยัดจากพนักงาน และเปิดสาขาใหม่ด้นี่ครับ
ต่างจังหวัดชาวบ้านไม่รับโอนนะจ๊ะ ไร้เงินสดยังไงก่อน ตอนสมัยเป๋าตังค์มาใหม่ๆก็ดี ทุกคนทุกที่รับโอนได้หมด ุ6 เดือนถันไป ไปอีกที ชีวิตลำบากมากไม่มีใครยอมรับโอนเลย หาตู้ก็ยากเจอแต่ออมสิน ผมที่มีบัณชีหลายธนาคารยกเว้นออมสินแล้วก็ไม่มีบัตร ATM ด้วย จะจ่ายค่าวินรถตู้ค่าข้าว ร้านกาแฟ ไม่รับโอนหมด
มันมีกลุ่มคนที่พยายามทำให้คนกลัวที่จะใช้
โดยปั่นกระแสต่าง ๆ นา ๆ
เช่น ระวังจะโดนภาษีโหด ๆ
ในขณะที่ ทำให้คนไม่อยากหรือไม่กล้าที่จะทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องไปด้วยกัน
และในขณะเดียวกัน ก็บอกว่ารัฐขวางความเจริญ ทำให้สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นช้า
แล้วก็คนก็เชื่อกัน (ノ◕ヮ◕)ノ*:・゚✧
ไม่ใช่แค่เรื่องนี้ด้วยนะ
ไอเรื่องภาษีนี้ไม่ปั่นครับ ร้านรอบๆผมที่กทมนี้แหละ โดนกันเป็นแถบ เท่าที่เชื่อมโยงได้ก็ร้านที่รับคนละครึ่ง เริ่มโดนเรียกไปย้อนหลังกันทีละร้าน ร้านข้าวราดแกง 2 วันถัดมาร้านก๋วยเตี๋ยว แล้วก็ร้านของชำ โดนย้อนหลังกันหมด 555
มันไม่ใช่แค่ความเชื่อมีผลในการตรวจสอบอย่างมาก
ผมก็เพิ่งรู้ว่าร้านอาหารดังแถวบ้าน เสียภาษีไม่ครบ
ร้านที่ไม่เคยเสียมาก่อนก็เพิ่งเสีย(สนิทกันระดับนิดเลยถามได้ เขาบอกมาว่าตามโหด)
กรมสรรพากรเขาลงทุนกับระบบพยากรณ์ไม่ใช่น้อยๆ นะครับ แล้วเขาจะเอามาทำอะไรล่ะถ้าไม่ใช่เรื่องภาษี ระบบพยากรณ์มันเหมาะกับรูปแบบข้อมูลแบบนี้มากเลยนะ หน่วยงานพวกนี้เขาใช้หลักการ trigger เมื่อมีเหตุก็จะเข้าไปตรวจสอบ การกระตุ้นให้เกิดการใช้เงินผ่านระบบออนไลน์มันก็คือการสร้างเหตุขึ้นมาให้ตัว trigger ทำงานโดยอาศัยการ tune ค่าตัวแปรต่างๆ ให้เหมาะสม เพื่อนำมาเข้าสมการแบบ Time series forecasting methods และรายงานข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่เมื่อพบรูปแบบข้อมูลผิดปรกติ หรือต่างจากในอดีต เพราะการจะตรวจสอบข้อมูลประชากรทุกคนมันเป็นการประมวลผลที่สิ้นเปลืองเกินไป ถ้าเข้าใจระบบพยากรณ์คุณจะรู้เลยว่าเป็นงานหมูของมันเลยล่ะไม่ต้องถึงระดับ Ai เลยด้วย
5 บาท น่าจะโอเค
หรือคิดเป็นเปอร์เซ็น แบบมีเพดาน 1.2%, max: 20 ?
ถ้าจะเก็บ น่าจะเก็บจากยอดสะสมของเดือนนั้น ๆ เช่นถอดเกิน 50000 เก็บ 10 บาท
เพราะตอนนี้ตู้ถอนเงินโดยไม่ใช้บัตร ของ กสิกร ได้แค่ครั้งละ 30000
พบกันคนละครึ่งทางได้มะ "ฟรี x ครั้งต่อเดือน" อย่างนี้ แต่ไม่ใช่ 1 ครั้งแบบนั้น เดือนละ 5 (10) ครั้งน่าจะพอ ตีว่ากดอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ