ธนาคารกรุงไทย (KTB) กับ IBM ประกาศตั้งบริษัทร่วมทุน IBM Digital Talent for Business (ตัวย่อ IBMDT) ทำงานเพื่อยกระดับด้านไอทีของธนาคารในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การดำเนินงานด้านไอที และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของธนาคาร
IBMDT จะเข้ามาเสริมสร้างทักษะพนักงาน โดยนำความเชี่ยวชาญของ IBM และประสบการณ์ของ IBM Consulting เข้ามาปรับวิธีดำเนินงานในส่วนงานไอทีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งมี 2 ส่วนคือ สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด (KTCS)
ที่มา - ธนาคารกรุงไทย
ทุกคนรู้ดีว่าตอนนี้เราอยู่ในยุค Digital ที่ AI กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดการถกเถียงกันมากว่าคอมพิวเตอร์จะเข้ามาทดแทนคนมากขนาดไหน แต่สำหรับคนที่มีความสามารถมองเรื่องนี้เป็นโอกาสและความท้าทาย เพราะเชื่อมั่นว่า นวัตกรรม คือสิ่งที่เข้ามาเติมเต็มประสิทธิภาพ และสุดท้ายโลกจะยังขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความสามารถของคนที่มีศักยภาพ
ธนาคารกรุงไทย ประกาศเลื่อนแผนการเก็บค่าธรรมเนียมกดเงินสดแบบไม่ใช้บัตร (cardless ATM) ออกไปอย่างไม่มีกำหนด หลังประกาศแนวทางแล้วได้รับเสียงวิจารณ์ในวงกว้าง
ธนาคารกรุงไทยระบุว่าตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกค้าที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในชีวิตประจำวัน จึงเลื่อนแผนการเก็บเงินค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อการกด ATM แบบไร้บัตรไปก่อน
ธนาคารกรุงไทย ประกาศว่าจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มแบบไม่ใช้บัตร ครั้งละ 10 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมนี้ให้ 1 ครั้งต่อเดือน ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2566
หลายปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ต่างยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่อดีตเคยมีค่าธรรมเนียม ซึ่งที่เด่นชัดคือค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบข้ามเขต และข้ามธนาคาร ทำให้เกิดการรับ-จ่ายเงินผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น และมีการใช้เงินสดน้อยลง ทั้งนี้ธนาคารกรุงไทยได้ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมมาตั้งแต่ปี 2561 หรือ 5 ปีที่แล้ว
ธนาคารกรุงไทยประกาศยกเลิกบริการ KTB netbank บริการผ่านเว็บเนื่องจากปริมาณผู้ใช้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจะให้บริการผ่านแอป Krungthai NEXT เท่านั้น นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2023 เป็นต้นไป
แอป Krungthai NEXT นั้นเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2018 และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้ทางธนาคารระบุว่ามีผู้ใช้ถึง 16 ล้านคน
แนวทางการให้ทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนาแอปของธนาคารกรุงไทย คล้ายกับธนาคารไทยพาณิชย์ที่ก่อนหน้านี้ก็ประกาศลดฟีเจอร์ของบริการผ่านเว็บลง กระแสความนิยมแอปพลิเคชั่นก็น่าจะทำให้เราเห็นธนาคารต่างๆ ให้น้ำหนักกับแอปพลิเคชั่นมากกว่าเว็บมาก แม้จะไม่ได้ปิดบริการไปก็ตามที
ช่วงบ่ายวันนี้ (25 ตุลาคม 2022) มีผู้ใช้ Twitter โพสต์ข้อความติดแท็ก #กรุงไทยล่ม เป็นจำนวนมาก โดยระบุปัญหาไม่สามารถใช้บริการทางการเงินได้ทั้งการโอนเงิน, การกดเงินสดจากตู้ ATM, การยืนยันรับเงินโอนเข้าบัญชี โดยผู้ใช้บางรายได้โพสต์ภาพจากหน้าจอแอป Krungthai NEXT ที่ปรากฎข้อความแจ้งบริการขัดข้อง
โดยทางเพจ Krungthai Care ได้โพสต์ข้อความยืนยันรับทราบถึงปัญหาและแจ้งว่าการทำธุรกรรมทุกช่องทางไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ แต่ผู้ใช้ยังสามารถใช้บริการโครงการรัฐผ่าน G-Wallet และซื้อสลากดิจิทัล ผ่านแอป เป๋าตัง ได้ตามปกติ
ธนาคารกรุงไทยเผยแพร่เอกสาร ระบุว่าต้องเปลี่ยนแนวทางการให้บริการตู้ฝากเงินสด (CDM) โดยมีการยืนยันตัวตนก่อนฝากเงิน ตามกฎเกณฑ์ของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้โครงการ CDM AMLO
ผู้ฝากเงินสามารถใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อยืนยันตัวตนของธนาคารใดก็ได้ 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย (ยกเว้นบัตร KTC ตามข้อมูลปัจจุบัน) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารยูโอบี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยผู้ฝากจะไม่เสียค่าบริการยืนยันตัวตน ส่วนค่าธรรมเนียมในการฝากเงินไปยังบัญชีปลายทางต่างธนาคารขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร
แอปเป๋าตังล่ม ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยธนาคารกรุงไทยประกาศบน Twitter ตอน 6.57 ว่าจะเร่งดำเนินการและคาดว่าจะใช้งานได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ปัจจุบัน ณ เวลาเขียนข่าว ยังคงไม่สามารถเข้าใช้านได้
ธนาคารกรุงไทยโพสต์ชี้แจงใน Facebook Krungthai Care หลังมีรายงานปัญหาการใช้งานคนละครึ่งช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการใช้สิทธิเฟส 3 โดยบอกว่าระบบกลับมาใช้งานได้แล้วตั้งแต่เวลา 9.30น.
ส่วนผู้ใช้งานที่พบปัญหาการแสดงยอดเงินไม่ถูกต้องนั้น ธนาคารกำลังเร่งแก้ไขปรับปรุงยอดเงินให้ถูกต้องภายในประมาณช่วงเที่ยงของวันนี้
ที่มา: Facebook: Krungthai Care
บริษัท Infinitas by krungthai คือเบื้องหลังของแอปพลิเคชัน เป๋าตัง และบริการดิจิทัลต่าง ๆ มีนักพัฒนาอยู่ในองค์กรจำนวนมาก แต่ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จึงสำคัญมากกว่าเดิม
Infinitas by krungthai จึงร่วมมือกับ เอคเซนเชอร์ บริษัทที่ปรึกษาไอทีชั้นนำของโลก สร้างบริษัท Arise by infinitas พื้นที่ปล่อยพลังนวัตกรรม และสร้างเทคโนโลยีสุดล้ำไประดับโลก ยกระดับบุคลากรเดิม และดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้เข้ามาทำงานร่วมกัน
ธนาคารกรุงไทย กทพ. และ BEM เปิดโครงการระบบชำระค่าผ่านทางทางด่วนรูปแบบใหม่ อำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการทางพิเศษ ให้สามารถชำระได้ด้วยบัตรเครดิตและเดบิตทุกธนาคารที่รองรับระบบ EMV (Europay Mastercard and Visa) Contactless จ่ายค่าทางด่วนได้ง่าย แค่มองหาช่องทางที่มีป้ายสัญลักษณ์จ่ายด้วย EMV Contactless ขับไปจอด แตะบัตร รอไฟสัญญาณ ก็สามารถผ่านทางได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ลดการใช้เงินสด ลดปัญหาจราจร รวมถึงลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
กลับมาอีกครั้ง กรุงไทยเปิดขายพันธบัตรฯ รุ่นออมไปด้วยกัน บนวอลเล็ต สบม. อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดสูงสุด 4% ต่อปี* จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน มี 100 บาทก็ลงทุนได้
พบปัญหาระบบโอนเงินระหว่างธนาคารของธนาคารหลักๆ ของไทยหลายเจ้าไม่ว่าจะ ธ.กสิกรไทย, ธ.ไทยพาณิชย์, ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงศรี, ธ.ออมสิน, TTB หรือธ.กรุงเทพ ไม่สามารถโอนเงินระหว่างกันและกันได้ ตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุและยังไม่พบการประกาศของแต่ละธนาคาร
อย่างไรก็ตาม การโอนเงินถึงปลายทางที่เป็นธนาคารเดียวกันและการโอนผ่านพร้อมเพย์ยังสามารถทำได้ตามปกติ
ธนาคารกรุงไทยเริ่มใช้แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ในการส่งข้อความโฆษณามาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2564 โดยลักษณะจะเป็นแจ้งเตือนเพื่อประชาสัมพันธ์บริการของธนาคาร เช่น ประกันภัย หรือโปรโมชั่นต่าง ๆ
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 มีรายงานว่าผู้ใช้ Krungthai NEXT หลายรายได้รับแจ้งเตือนว่า "ถ้าเธอโกรธ...เราจะง้อ" ซึ่งเมื่อกดเข้าไปจะพบว่าเป็นการโฆษณาบริการเติมเงิน
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้หลายรายได้ตั้งข้อสังเกตทั้งในเรื่องความเหมาะสมของข้อความดังกล่าวรวมถึงช่องทางการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากแอปพลิเคชันทางการเงินควรใช้เพื่อแจ้งเตือนด้านการเงินเป็นหลัก หากต้องการประชาสัมพันธ์ควรใช้ช่องทางอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือควรมีตัวเลือกให้ปิดแจ้งเตือนโฆษณาได้
ใครที่กำลังมองหาช่องทางลงทุนปลอดภัย ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากประจำ และสามารถลงทุนได้ง่ายผ่านช่องทางดิจิทัล วันนี้กลับมาตามคำเรียกร้องแล้วสำหรับพันธบัตรออมทรัพย์จากธนาคารกรุงไทย รุ่นยิ่งออมยิ่งได้ เป็นการเปิดขายพันธบัตรครั้งที่ 4 หลังการเปิดขาย ครั้งแรกได้รับการตอบรับล้นหลาม ขายหมดภายในไม่กี่นาที
พันธบัตรฯ รุ่นยิ่งออมยิ่งได้ จะเริ่มเปิดขายอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 8.30 น. ถึง 23 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.00 น. และเพื่อไม่ให้เป็นการพลาดโอกาสสำคัญ นักลงทุนสามารถลงทะเบียนใช้งาน วอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชั่นเป๋าตังได้แล้ววันนี้
ก่อนจะเข้าเรื่องช่องทางลงทะเบียนจับจองซื้อพันธบัตร เรามาดูความโดดเด่นของ พันธบัตรยิ่งออมยิ่งได้ กันก่อน
วันนี้แอปเป๋าตังของธนาคารกรุงไทยล่มตั้งแต่ช่วงเย็นที่ผ่านมา
แอปเป๋าตังค์เป็นแอปที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในช่วงหลังเนื่องจากเป็นช่องทางรับความช่วยเหลือของรัฐในหลายโครงการ ยอดการติดตั้งล่าสุดใน Google Play สูงกว่าสิบล้านคน
วันนี้ 16 ธันวาคม รัฐบาลเปิดให้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 2 พบปัญหาไม่สามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง ของธนาคารกรุงไทยได้ โดยระบบแจ้งว่าเป็นเพราะมีผู้ใช้งานจำนวนมาก
ผู้ใช้งานต้องกดยืนยันเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งผ่านแอป เป๋าตัง และยังเป็นแอปวอลเลตไว้ใช้จ่ายในโครงการคนละครึ่งด้วย
เวียนมาบรรจบอีกครั้งกับช่วงสิ้นเดือนหลัง SCB Easy มีปัญหาตั้งแต่เช้า ล่าสุดเป็นคิวของ K Plus, KMA ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ BualuangM ของธนาคารกรุงเทพที่ไม่สามารถเข้าใช้งานได้เช่นกัน
ส่วนของ K Plus พบการแสดงผลทั้งบอกว่ามีปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ต (120) และระบบไม่สามารถทำรายการได้ (101) โดยแอคเคาท์ทวิตเตอร์ KBank Live ของธนาคารกสิกรยังไม่มีอัพเดตหรือแถลงใด ๆ ออกมา ขณะที่ KMA ตัวแอปค้างหลังหน้าล็อกอิน ส่วน BualuangM มีเข้าหน้าทำธุรกรรมได้บ้างบางครั้ง แต่ค่อนข้างช้า และส่วนใหญ่จะไม่สามารถใช้งานได้
แต่ทว่า KTB Next ที่เคยมีปัญหาค่อนข้างถี่ กลับไม่มีปัญหาในครั้งนี้
ธนาคารกรุงไทยสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ สู้ศึกดิจิทัลในวงการธนาคารไทยที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด ด้วยการเปิดตัวบริษัทลูก อินฟินิธัส บาย กรุงไทย จำกัด (Infinitas by Krungthai) ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เผยที่มาของการก่อตั้งบริษัท Infinitas by Krungthai ว่า ทางธนาคารกรุงไทย เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ Digital Economy โดยพัฒนาแพลตฟอร์มที่ ตอบโจทย์การให้บริการทางการเงินและยุทธศาสตร์ที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาธนาคารได้ขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์คู่ขนาน 2-Banking Model แบ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน (Carrier) หรือการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม เช่น การดูแลธุรกิจคุณภาพสินเชื่อ การเร่งปรับกระบวนการทำงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการ และ แบบเรือเร็ว (Speed Boat) เพื่อตามหานวัตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นที่มาของการจัดตั้ง Infinitas by Krungthai
ธนาคารกรุงไทย ประกาศตั้งบริษัทลูก อินฟินิธัส บาย กรุงไทย จำกัด (Infinitas by Krungthai) ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เป็นบริษัทด้านนวัตกรรมดิจิทัลแยกต่างหากจากธนาคาร
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าจะใช้ยุทธศาสตร์คู่ขนาน 2 โมเดลคือ
Krungthai NEXT ของธนาคารกรุงไทยล่มตั้งแต่ช่วงสิบโมงที่ผ่านมา โดยธนาคารแจ้งว่าช่องทางสาขาและ ATM/ADM ยังใช้งานได้ ขณะที่ผู้ใช้บางส่วนระบุว่าเว็บ KTB netbank เองก็ยังใช้งานได้เช่นกัน
ที่มา - Facebook: Krungthai Care
แอป Krungthai NEXT ของธนาคารกรุงไทย ออกอัปเดตใหม่, เปลี่ยนหน้าตาทั้ง UX/UI ให้ใช้งานสะดวกขึ้น ดีไซน์แอปใหม่ภายใต้คอนเซปต์ “Design for Scale” พัฒนาแอปให้เป็นแอป native สำหรับคลาวด์แบบเต็มตัว โดยระบุว่าแอปเวอร์ชั่นใหม่จะสเถียร ไวขึ้น ปลอดภัยขึ้น รองรับการขยายตัวของผู้ใช้ที่มากขึ้นในปัจจุบัน
ผู้ใช้แอป Krungthai NEXT รายงานปัญหาเข้าแอปและทำธุรกรรมไม่ได้ตั้งแต่ช่วงก่อนเที่ยงที่ผ่านมา โดยทางธนาคารระบุว่าเกิดจากผู้ใช้จำนวนมาก และแนะนำให้ผู้ใช้เว้นระยะก่อนเข้าใหม่อีกครั้ง
ปีนี้นับเป็นปีที่ธนาคารกรุงไทยปรับปรุงระบบขึ้นมามาก รายงานธนาคารล่มครั้งล่าสุดในไตรมาสแรกมีเหตุธนาคารล่มเพียง 1 ชั่วโมงใน 1 ครั้ง เทียบกับไตรมาสสองปีที่แล้วที่อัตราการล่มสูงถึง 7 ครั้ง
ที่มา - Facebook: Krungthai Care
ทางธนาคารกรุงไทยเปลี่ยนโดเมนเว็บเป็น krungthai dot com ตั้งแต่สองวันที่ผ่านมา แต่กลับเจอปัญหาใหม่ว่าทางเฟซบุ๊กระบุว่าเว็บผิดกฎชุมชน ทำให้ไม่สามารถแชร์ลิงก์ใดๆ ลงเฟซบุ๊กได้
สำหรับข่าว Blognone ที่รายงานการเปลี่ยนเว็บเองก็ประสบปัญหานี้ โดยไม่สามารถแชร์ข่าวขึ้นเฟซบุ๊กได้ และตัวข่าวก็มียอด like เป็นศูนย์ตลอด
ธนาคารกรุงไทยประกาศเปลี่ยนชื่อโดเมนจาก ktb.co.th เป็น krungthai.com พร้อมกับเปลี่ยนการออกแบบเว็บ ให้รองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
หน้าเว็บยังคงเป็นการ redirect มาจากโดเมนเดิม เช่นหน้าเว็บข้อมูลซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล จาก https://www.ktb.co.th/th/personal/detail/74
ก็ถูก redirect เป็น https://krungthai.com/th/personal/detail/74
ยังไม่มีข้อมูลว่าอีเมลติดต่อกับธนาคารจะเปลี่ยนโดเมนหรือไม่ เช่นการแจ้งเตือนจาก KTB Netbank ที่เดิมใช้ netbank@ktb.co.th แต่ตอนนี้ทางธนาคารยังครอบครองทั้งสองโดเมนอยู่ก็คงไม่มีความน่ากังวลอะไร