กรุงเทพมหานคร ร่วมกับบริษัท Hytexts Interactive ซึ่งเป็นบริษัททำระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ในเครือ Meb เปิดตัวห้องสมุดออนไลน์ของกรุงเทพชื่อ BKK X Hibrary ที่คนในเขตกรุงเทพสามารถมายืมหนังสืออีบุ๊กอ่านได้ฟรี
ระบบ Hibrary ของ Hytexts เป็นหนังสืออีบุ๊ก (มีทั้ง PDF หรือ E-PUB) ที่มีระบบจัดการสิทธิ DRM และจำกัดจำนวนเล่มของอีบุ๊กที่ซื้อสิทธิมา ผู้ใช้บริการสามารถ "ยืม" อีบุ๊กได้ตามโควต้าที่หน่วยงานนั้นมี และมีจำกัดเวลายืมเหมือนหนังสือเล่มกระดาษจริงๆ เมื่อครบกำหนดยืมแล้ว อีบุ๊กเล่มนั้นจะกลับมาเข้าโควต้าเพื่อให้คนอื่นมีสิทธิยืมต่อไป
Hytexts ทำระบบนี้ให้บริการกับหน่วยงานหลายแห่งในไทย เช่น หอสมุดแห่งชาติ สสส. รวมถึงสถาบันการศึกษา โรงเรียน บริษัทอีกหลายแห่งที่ทำระบบห้องสมุดให้บุคลากรของตัวเอง
ในกรณีของกรุงเทพที่เป็นห้องสมุดประชาชน เปิดบริการแก่คนทั่วไป สามารถเข้าใช้งาน BKK x Hibrary ได้ฟรี โดยจำเป็นต้องเปิด location เพื่อยืนยันตัวตนว่าอยู่ในพื้นที่กรุงเทพ (สโลแกนคือ "อีบุ๊กฟรีอยู่เขตไหนอ่านได้ทุกที่") สามารถใช้ได้ทั้งทางเว็บไซต์ และแอพ Hibrary บนสมาร์ทโฟน
Comments
ดีๆแบบนี้ทำไมไม่ให้คนต่างจังหวัดได้ยืมบ้าง
ใครจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้อะครับ
อยากให้ชาวพันทิพเงินเดือนหลักแสนจ่ายให้ครับ
อันนี้ต้องให้รัฐบาลสนับสนุนหรือปล่าวนะ ?
รอถามรัฐบาลสิครับ กทม มีอำนาจแค่ใน กทม
มีนะครับ ถ้าอยากได้ในพื้นที่ตัวเอง คงต้องลองผลักดันผ่านตัวแทนท้องถิ่นที่เลือกตั้งเข้าไปดูครับ
พอเป็น Ebook ก็คิดว่าจะมีเยอะ แต่มีน้อยมากอย่างไม่น่าเชื่อ @_@ บางเรื่องมีแค่2เล่ม(ไฟล์) เอง ฟีลเหมือนหนังสือในห้องสมุดจริง ๆ เลยแหะที่ไม่ค่อยมีหนังสือให้ยืม 555
การยืมหนังสือฟรี สำนักพิมพ์ไม่ชอบอยู่แล้ว
น่าจะมาจากงบประมาณในการซื้อ ebook ของทางห้องสมุดของกรุงเทพฯ จากหลายสำนักพิมพ์ที่น่าจะมีน้อยอยู่แล้วด้วย บวกกับเรื่องการการนำไปยืมก็น่าจะมีเรื่องลิขสิทธิ์, DRM และส่วนแบ่งที่แต่ละสำนักพิมพ์อาจจะยังไม่โอเคเท่าไหร่
บางเจ้ามาเป็น PDF ไม่มี DRM บางเจ้าก็ใช้ไฟล์ Ebook ของตัวเองและจำกัด DRM ก็มีเหมือนกัน แล้วก็ไม่ใช่ทุกสำนักพิมพ์จะ Support ไฟล์ Ebook เหมือนกันทุกนามสกุลอีกเนี่ยสิ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
จากประสบการณ์ที่เจอ ผมว่าตรงนี้น่าจะเป็นจุดที่อยู่ตรงกลางที่สำนักพิมพ์ กับผู้พัฒนาได้คุยกันมาแล้วล่ะ มันถึงได้ออกมาแบบนี้ เพื่อจำกัดการสำเนาหนังสือ เพื่อไม่ทำให้ค่าลิขสิทธ์กระโดดไปมากเกินไปจนหน่วยงานไม่มีกำลังพอที่จะซื้อแบบเหมาไม่จำกัดจำนวน
วิธีนี้สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่น่าจะยอมรับได้ และผู้พัฒนาก็ขายง่ายขึ้น รวมถึงทำราคาได้หลายระดับด้วย
เสริมให้นิดนึง รู้สึกว่า Hytexts เป็นบริษัทลูกของ Meb นะครับ และเป็นบริษัทในเครือเซ็นทรัล ดังนั้นเขาน่าจะมีความเชี่ยวชาญในระดับต้นๆ ของเมืองไทยแล้วล่ะในเรื่อง E-Book ถึงแม้ตัว Reader จะดูใช้งานยาก และน่าหงุดหงิดในบางเรื่องก็ตามที แต่ยังดีกว่าอีกเจ้าเยอะ 555
1 user ได้ 2 อุปกรณ์
ว่าแต่ Ebook ไทย ใช้เจ้าไหนดีครับ ที่ยั่งยืน และหนังสือเยอะๆ
meb
แจ่ม ขอบคุณมากครับ
WE ARE THE 99%
meb น่าจะโอเคสุด ณ เวลานี้ แต่จะ ยืนยาวไหมอีกเรื่อง เพราะ CEO พูดเองว่า ธุรกิจไหนไปไม่รอด เราพร้อมเตะออกได้ทุกเมือ ก็แสดงว่า ถ้าไปรอดก็เปิดต่อ ไปไม่รอด ก็เตะเลย (แต่ทุกวันนี้ยังไปรอดอยู่)
ถ้าพูดถึงความยั่งยืน ต้องนับเว็บเด็กดีอีกที่ครับ ตอนนี้มีระบบอีบุ๊คแล้ว
เจอหนังสือที่สนใจ สรุปมีอยู่ 2 เล่ม ต่อคิวอีก 64 ท่าน ผมนี่ท่อเลย
หรอ ดังเปล่า ท่อ
หรอ --> เหรอ
🙏
ระบบเดียวกับ tkread เลย ช่องโหว่เพียบ
ช่องโหว่ระบบยืมหรือเรื่องความปลอดภัยเหรอครับ
หลักๆคือช่องโหว่ DRM เอกสารถูกโหลดเป็น pdf ได้ครับ
ต่อคิวจนท้อ 5555555 พอ
*
That is the way things are.
นอกเรื่องนิดหนึ่งครับ
อยากขอคำแนะนำว่าควรใช้ hardware ตัวไหนในการอ่าน e-book ดีครับ ?
That is the way things are.
โน๊ตบุ๊คถูกๆ + จอทีวี 40 นิ้ว ขึ้น
ไม่แสบตาเหรอครับแบบนี้ ?
That is the way things are.
ถ้าเป็นจอ มี 13.3" กับ 25.3" ด้วยนะครับ https://shop.boox.com/products/mira
สบายตากว่าจอเล็กๆเยอะ
ไม่เชิงแนะนำ แต่เป็นบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัว
ผมเป็นคนที่ชอบอ่านนิยาย (Novel, Fiction) มากๆ ก็เลยลงทุนกับ Kindle เริ่มต้นด้วยรุ่น Keyboard เมื่อนานมาแล้ว จนเครื่องที่สองขยับมาเป็น Paperwhite, ปรากฏว่าพฤติกรรมการอ่าน แทบจะไม่เปลี่ยนไปเลย
ยังคงนอนคว่ำอ่าน (หมอนรองอก) แล้วบ่นว่าปวดหลัง, นอนหงายอ่าน แล้วก็ปวดคอ, ตะแคงข้างอ่าน, หลับไปพร้อมกับ Kindle ในมือ, อ่านแบบมาราธอน
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของหนังสือครับ ถ้าหนังสือจาก Kindle Store หรือพวกที่แปลงผ่าน calibre ได้ผมว่าไม่มีใครกิน Kindle ลง
แต่ถ้าจะอ่านหนังสือจากแอปที่เป็น Android คงต้องดูตัวเลือกอื่นอย่างพวก Boox นี่ผมก็เห็นมาแรงมาก (และในกลุ่มใน Facebook เห็นหลายคนเลือกซื้อ Kindle กับ Boox ทั้งสองอย่างเลยแทน 😐)
ขึ้นอยู่กับว่า หาหนังสืออ่านมาจากไหนและใช้งานอ่านหนังสือประเภทไหนครับ
ถ้าต้องการเน้นอ่านอย่างเดียวและอ่านหนังสือที่ไม่เน้นเรื่องสี ก็แนะนำ e-reader ครับ เพราะจอสบายตาและน้ำหนักเครื่องไม่เยอะ ส่วนยี่ห้อไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเอาหนังสือมาจากไหนอีกที เช่น ถ้าเอามาจาก Amazon เป็นหลักยังไงก็ต้อง Kindle หรือถ้าเอามาจาก meb ก็ต้องใช้ e-reader ที่เป็น Android อย่าง Boox เป็นต้น
แค่ถ้าเน้นสีด้วย... e-reader ที่มีสีก็เริ่มมีมาบ้างแล้วก็จริง แต่ถ้าเน้นสีจริงจัง หรือต้องการใช้ทำอย่างอื่นนอกจากอ่านด้วย ยังไงก็คงต้องไป Tablet เต็มตัวครับ
ปล. จริงๆมีบางยี่ห้อที่ทำ Tablet จอ RLCD เหมือนกันนะ ซึ่งก็จะได้ความลื่นไหลแบบ Tablet ทั่วไป ความสบายตาไม่ต่างจาก e-ink และสีสันที่ดีกว่า ส่วนตัวก็อยากให้มี Tablet ประเภทนี้ออกมาเยอะๆเหมือนกัน แต่เท่าที่รู้ตอนนี้ก็มี TCL รุ่นเดียวและไม่มีรุ่นต่อไปเลย...
ขอบคุณทุกท่านสำหรับคำตอบครับ
That is the way things are.