สมรภูมิการเลือกตั้งในโซเชียลมีความเข้มข้นมาตั้งการเลือกตั้งปี 62 จนมาถึงการเลือกตั้งปี 66 ที่ต้องยอมรับว่าช่องทางโซเชียลถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียงของทุกพรรค แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกใช้เป็นพื้นที่โจมตีคู่แข่งด้วยเช่นกัน ซึ่งการโจมตีทางโซเชียลเหล่านี้ถูกพัฒนาและวางแผนให้ซับซ้อนมากขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
Digital Election Analytic Lab (DEAL) ได้ติดตามพฤติกรรมการโซเชียลมีเดียในการโจมตีพรรคอื่นหรือผู้ที่ลงสมัคร โดยออกมาเป็นรายงานการวิเคราะห์พฤติกรรมการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปในโซเชียลมีเดียไทย (ระหว่างวันที่ 1-17 เมษายน 2566) มีการสำรวจบัญชีทางการพรรคการเมือง, บัญชีของผู้ลงสมัครเลือกตั้ง รวมไปพื้นที่ในการสนทนาเรื่องการเมืองอย่าง Twitter โดยทางทีมงานได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมบางบัญชีที่น่าสงสัย
จากการสำรวจพฤติกรรมเครือข่ายพรรคการเมือง 3 พรรคโดยไม่ระบุชื่อจริงของพรรค พบว่า กลุ่มบัญชีที่เกี่ยวข้องกับพรรค A และ พรรค C มักจะมีการโต้ตอบกันอย่างคึกคัก แต่พรรค B จะโต้ตอบกันเองภายในกลุ่มเท่านั้น และแยกตัวออกจากบัญชีของพรรค A และ C ตามรูปตัวอย่าง
ซึ่งจำนวนบัญชีใน Twitter ของพรรค A มีเยอะมากที่สุด รองลงมาคือ พรรค C และ พรรค B สามารถตีความได้หลายทิศทางว่า เช่น หากผู้ใช้ Twitter ส่วนใหญ่เป็นคนไทยอายุประมาณ 20-35 ปี อาจแสดงว่าฐานเสียงของพรรค A คือ ประชากรกลุ่มนี้ ซึ่งใช้ Twitter เพื่อสื่อสารกับพรรค
พรรค A : บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค A มีพฤติกรรมที่ผิดจากการใช้งานทั่วไปของ Twitter คือ มีลักษณะเป็นบัญชีทีไม่พักผ่อนโดยมีการโพสต์, รีโพสต์และตอบกลับตลอดเวลา บางบัญชีโพสต์แบบไม่มีช่วงพักตลอด 24 ชั่วโมง มากกวา 300 โพสต์ เฉลี่ย 5 โพสต์ใน 1 นาที ซึ่งโดยทั่วไปถ้าเป็นบัญชีปกติต้องมีการนอนหรือพักบ้าง
นอกจากนี้บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค A มักตอบข้อความที่มาจากบัญชีทางการของพรรค A โดยเป็นข้อความให้กำลังใจสนับสนุน แต่มีการใช้อิโมจิอย่างเดียว ซึ่งอาจจะตั้งข้อสงสัยได้ว่าเป็นไปเพื่อต้องการเพิ่มยอดการมองเห็น
พรรค B : มีเครือข่ายใน Twitter ที่น้อยกว่าอีก 2 พรรค และผู้ใช้ค่อนข้างกระจายตัวอาจเป็นไปได้ว่า ฐานเสียงของพรรค B ไม่ได้อยู่ใน Twitter โดยพฤติกรรมของบัญชีในช่วงการหาเสียงค่อนข้างมีความเฉื่อยช้า ซึ่งต่างจากพฤติกรรมปกติของคนใช้ Twitter รุ่นใหม่ที่ชอบการโต้ตอบไปมา
ทำให้ตั้งข้อสงสัยว่าบัญชีเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่จะพยายามจุดกระแสในบางประเด็นเพื่อให้ฐานเสียงใน Twitter ขยายประเด็นไปยังพื้นที่โซเชียลมีเดียอื่น เช่น Facebook, Line หรือ Tiktok ที่มีผู้สนับสนุนพรรค B นิยมใช้มากกว่า
บัญชีที่น่าสงสัยของพรรค B มีพฤติกรรมที่ผิดปกติจากบัญชีผู้ใช้ทั่วไป เช่น บางบัญชีไม่โพสต์อะไรเลยตลอดทั้งวัน บางครั้งก็โพสต์ถี่ๆ แบบไม่มีช่วงพักตลอด 24 ชั่วโมง บางบัญชีโพสต์มากกว่า 300 โพสต์ โดยพบว่ามีบัญชีที่พักเพียง 23 วินาที โดยเนื้อหาของโพสต์จำนวนมากมักโจมตีพรรค A และ C และถูกส่งไปยังกลุ่มของคนที่สนับสนุนพรรค B หรือก็โพสต์อวยพรรค B ด้วยกันเอง
จากการสังเกต 3 พรรค พบว่า พรรค A มีผู้สนับสนุนจำนวนมาก โดยพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้คือ เน้นรีทวิต, ไลค์, ตอบกลับ ซึ่งก็ดูเหมือนกับพฤติกรรมปกติของคนใช้ Twitter ทั่วไป แต่บัญชีของบุคคลทั่วไปจะมีรูปแบบพฤติกรรมที่หลากหลายกว่านั้น เช่น มีการโพสต์เนื้อหา, รีทวิต และตอบกลับข้อความคนอื่น แต่บัญชีผู้สนับสนุนของพรรค A หลายบัญชีมีพฤติกรรม “เชิงเดี่ยว” มากกว่ามีพลวัต จึงต่างกับพฤติกรรมของผู้สนับสนุนพรรค B และ พรรค C
ที่มา: wewatchthailand
เลือกตั้งมีการปั่นเกิดขึ้นไหม? กลุ่ม Digital Election Analytic Lab ออกรายงานชิ้นแรก วิเคราะห์พฤติกรรม 3 พรรคการเมืองหลักในทวิตเตอร์และข้อสังเกตต่อบัญชีต้องสงสัยเป็นประโยชน์สำหรับคนสนใจ Digital Politics มาก อ่านตัวเต็ม 3 หน้าได้ทางนี้ค่ะ https://t.co/ERlVvcAGob pic.twitter.com/tB7Sv0Rfxt
— Wasinee P. (@WPabuprapap) May 11, 2023
Comments
พรรค A - กก.
พรรค C - พท.
พรรค B - น่าจะ รทสช.
วัดจากปริมาณผู้ใช้งานก็น่าจะเห็นชัดๆอยู่ว่าใช่ตามนี้
พรรค A ใช้ IO ชัดเจนมาก
พรรค A เค้าก็มีทีม IO ของตัวเอง เช่นเดียวกับพรรค B และ C แต่พรรคการเมืองเค้าจะเรียกว่าทีมประชาสัมพันธ์ ทีมโซเชียล หรืออะไรก็แล้วแต่
ถ้าเดาชื่อพรรค A ไม่ผิด หลังเลือกตั้งแล้วแฟนๆ พรรค A เริ่มมุทะลุแบบไม่สน context อยู่มาก เมื่อคืนก็เห็นเรียกคนอื่นด้วย political slur ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่เข้าใจ context อะไรเลย แต่ตีความว่าคนนั้นคนนี้อยู่คนละฝั่งกับตัวเอง
มันก็มีทั้งสองฝั่งหลายคนคิดว่าตัวเองเข้าใจcontextแต่จริงๆมั่วก็เยอะแล้วมาบอกพรรคAเห็นต่างไม่ได้โดนไล่ไปอีกฝั่ง
5 โพสใน 1 นาที ตลอด 24ช.ม. นี่น่าจะบอทแล้วนะ
แถม IO ใหญ่เยอะกว่าใครอีกต่างหาก
ธรรมดา
แต่ดั้งเดิมก็ใช้สื่อตามยุคสมัย ยุคอินเตอเน็ตก็ใช้อินเตอร์เน็ต สื่อเก่าที่เคยๆก็ล้มหายตายจากไป
พรรค A นี่ตัวปั่นเลยนะ ว่าคนอื่นว่า IO ทั้งๆที่ตัวเองนี่โคตรพ่อ IO
ทำไมไม่รู้สึกแปลกใจเลยที่บัญชีพรรค A ไม่มีพลวัต 555
ถ้าเกิดใครมีสติในการตามข้อมูลใน social และสื่อ
ไม่ว่าใครก็จะสามารถมองเห็นความผิดปกติของการโจมตีใน social
ตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้ แบบง่ายดาย เพราะมันชัดเจนมาก ๆ เลย
โจมตีแล้วก็อวยแบบตรงไปตรงมาสุด ๆ
แต่จริง ๆ ก็ไม่ได้แปลกใจเท่าไหร่ครับ
เพราะฝ่าย การเมือง ที่โดนโจมตี ก็ทำตัวเองซะส่วนใหญ่
ทำตัวให้ไม่น่าเคารพกันเอง
มันเลยถูกส่งต่อข้อมูลผิด ๆ และอารมณ์ร่วมแบบนี้ออกไปได้ง่ายมาก ๆ
เดาว่า A กับ B เป็นอะไรกันหรอครับ? 5555
IO ไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะใครๆ ก็ต้องทำโฆษณาผ่านสื่อทั้งนั้น
แต่เมื่อเอาภาษีไปจ่าย IO มันเป็นสิ่งไม่ถูกต้องเพราะมันคือการทุจริต
แถม io นั้นก็เอามาใส่ร้ายคนในประเทศตัวเองอีก
+1 IO มันก็คือ Marketing นะแหละ ประเด็นที่ควรจะมองคือ ใช้งบจากไหน และสิ่งที่พูด มันจริงหรือเปล่า
แสดงว่าพอเป็นรัฐบาลแล้ว ห้ามมี IO แบบใช้เงินภาษีใช่ไหมครับ แต่ใช้เงินทุนตัวเองได้ แหม่
ระวังสงสัยมากๆจะกลายเป็นขนมหวานหลากสีได้นะครับ
ตอนนี้มีความรู้สึกได้ว่าติหรือสงสัยอะไรพรรคนั้นไม่ได้เลย แบบเดียวกับที่ Headache Stencil เพิ่งโดนไป
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
จ้างด้วยภาษีเอามาโจมตีฝ่ายตรงข้ามด้วยข้อมูลเท็จเนี้ย มันน่ามั้ยละ ถ้าเอามาโฆษณาหรือโจมตีอีกฝ่ายด้วยข้อเท็จจริงแบบชาวบ้านเค้าจะมีคนด่ามั้ย แล้วIOพวกนี้หลายๆคนก็ไม่ได้อยากจะเป็น คือพนักงานรัฐทั่วๆไปปกติที่โดนทหารมาบีบคอให้ทำงานที่ไม่ใช่หน้าที่ตัวเองซะเกินครึ่ง งานที่ออกมามันเลยดูลวกๆ เหมือนสักแต่มาโจมตีมั่วๆ เพราะเค้าฝืนใจมาทำ
IO ที่ใช้ภาษีที่คุณว่า ความจริงแล้วมันอาจเป็นแค่การประชาสัมพันธ์ แบบปกติก็ได้นะครับ
ซึ่งส่วนนั้นทุกหน่วยงาน ทุกประเทศ ก็มีเป็นปกติ ซึ่งนั้นเขาก็เรียกว่า IO เหมือนกัน
ส่วนการที่คุณมองว่า ใช้ภาษีจ้าง IO มาโจมตี
อาจเป็นข้อมูลปลอมที่มาจาก IO อีกฝั่งก็ได้ หุหุหุ
แท้จริงแล้ว เราไม่รู้อะไรเลยว่า อะไรจริง อะไรปลอม
การที่เราหลงเชื่อ แล้วมั่นใจว่าสิ่งนั้นจริง
นั่นทำให้เราเป็นคนโง่จากการโดนคนชั่วปั่นหัว
ความต่างกันของ PR กับ IO คือบอกว่านี่คือการประชาสัมพันธ์ กับไม่บอกครับ
แนว ๆ แบบหน้าม้า กับโฆษณา อะครับ
ที่ผมบอกคือ บางทีเขาอาจยุบรวม PR ทุกสิ่งอย่างให้เป็น IO ไงครับ
มันเป็นการสร้างวาทะกรรมปลอม เพื่อทำให้ข้อมูลจากฝ่ายตรงข้ามไม่น่าเชื่อถือ
แล้วให่สาวกเชื่อแต่ตัวเองเท่านั้น
จริง ๆ ก็ตรงไปตรงมาดีนะ ไร้ยางอายดี
แต่จริง ๆ ผมก็ไม่อยากถกเรื่องแบบนี้เท่าไหร่
เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าอะไรจริง หรือ ปลอม
มันเป็นกลไกป้องกันตัวเอง
เมื่อมีคนคิดไม่เหมือนเรามากๆ สมองเราจะปฏิเสธ
เราจะพยายามคิดว่า มันไม่จริง ก็เหมาไปเป็น IO ไปเลย
บางคนก็แค่กองเชียร์ประยุทธ์นี่แหละ
เป็นทั้งสองฝั่ง อย่างมีช่วงนึง ก็กล่าวหาว่าฝั่งสีส้มมี IO เจ็ดแปดล้านคน
ผมว่าพวกเขามี (ถ้าเรียกหน้าม้าเป็น IO นะ) แต่จำนวนไม่มากหรอก
IOนี่โจ่งแจ้งมากเพราะเค้าจับเอาพนักงานรัฐทั่วไปมาทำด้วย หลักฐานมันเลยรั่วออกมาเต็มไปหมด
เวลาจะเชื่ออะไรคุณก็ต้องดูหลายๆอย่างถ้าเมคขึ้นมาไม่นานคนเค้าก็จับได้
เราไม่รู้หรอกว่าอะไรจริงปลอม
แต่สิ่งที่เห็นถ้ามันมีหลักฐานหลายๆอย่างประกอบกันแล้วดูน่าจะเป็นสูง
มันก็น่าเชื่อถือกว่าข่าวปลอมๆที่เมคมาแบบจับผิดได้ทุกจุดนะ
ผมว่ากรณีประสิทธิ เจียวก๊กน่าจะชัดเจนหลายๆ อย่างอยู่ครับ
ถ้าเราไม่ชอบอะไร เราก็ไม่ควรทำตามนะครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
การทำ IO นี้แปลกยังไงเหรอครับ
The Dream hacker..
มันแปลกตรงที่ปัจจุบันเรามาถึงจุดที่เรียกกิจกรรมพวกนี้ว่า IO แทนที่จะเรียกว่า Marketing นี่แหละครับ
และที่สำคัญสิ่งที่ผมว่าเราควรโฟกัสนอกจากเรื่องใครใช้ต้องตั้งคำถามไปที่ใช้อย่างไรและเขาหวังให้ผลของมันเป็นอย่างไรด้วย อย่างพรรคนี้เน้นใช้ account ปลอมเพื่อปั่นปฏิสัมพันธ์และทำให้"กลุ่มลูกค้า"มั่นใจในพรรคว่ามีผู้สนับสนุนเยอะ หรือ พรรคนู้นใช้ account ปลอมเพื่อร่วมช่วยการโจมตีพรรคอื่นเพื่อรักษา"กลุ่มลูกค้า"เดิม ว่าแล้วก็อยากดูรายงานการวิเคราะห์เนื้อหาจังเพราะจะได้เห็นแนวทางการใช้ของแต่ล่ะพรรคและการใช้วิธีใดได้ใจคนปัจจุบันมากกว่า
แปลก ครับ อย่างน้อยๆ ถ้าเป็นบริษัทเอกชนนี่ผิดกฎหมายด้วยในหลายประเทศ ซื้อโฆษณาโดยไม่บอกให้ชัดนี่โดนพวกหน่วยงานกำกับดูแลการค้าเล่นงานกันน่วมมาหลายทีแล้ว
(แต่ต้องย้ำว่าต่างประเทศ ของเราผมไม่แน่ใจนัก แต่ Blognone เองก็เคยมีประเด็นกับการส่งบัญชีเข้ามา manipulate ความเห็น โดยไม่เปิดเผยตัวว่ามาจากแบรนด์)
lewcpe.com, @wasonliw
ต้องแยกให้ออกว่า info อันไหนมากจาก IO, กองเชียร์, สำนักเดา(ข่าว, สื่อ), fact ต้นทาง
-IO นี้จะดำเนินการด้วยองค์กรลึกลับ จะเน้นโจมตีฝั่งตรงข้าม สร้างความแตกแยก ทำให้รู้สึกแย่ต่อฝ่ายนั้น
-กองเชียร์ จะดำเนินการด้วยเป็นการส่วนตัว ก็อารมณ์แบบคนเชียร์บอล เกทับกันไปมา บางทีทำมากไปจนอยู่ คล้าย IO
-สำนักเดา(ข่าว, สื่อ) จะเอา fact มาเล่า แต่หลายครั้งก็เดา (วิเคราะห์/มั่ว) โดยทำ infographic มาอ้างดูให้มันน่าเชื่อถือ ฉะนั้นถ้าข่าวไหนมันไม่มี ที่มาที่บอกว่ามันจาก fact (ex. ภาพ, เสียง จากเหตุการณ์จริง) ให้เชื่อไว้ 10% พอ (แต่ผมไม่เชื่อทันที)
-fact ต้นทาง ภาพ, เสียง จากเหตุการณ์จริง ถ้าไม่เชื่ออันนี้แล้วจะไปเชื่ออะไรได้ครับ 🤣
อย่างต้นทางข่าวนี้เอา data มาจากไหน, รู้ได้ไงว่าบัญชีเป็นของพรรคไหน ไม่มีบอก
ผมน่ะไม่เชื่อ 100% แล้วคนนึง
มีสำนักข่าวของตัวเองหรือว่า สำนักข่าวนำเสนอข่าวบ่อยนะ ส่วนอิโมจิ ขอเดาว่า 🍊
555+ ใครเป็นใครไม่รู้หรอก แต่ส่วนตัวชอบนะ
ถึงมันจะทำให้คนที่เชื่อ IO ดูโง่
แต่การเอา IO มาโจมตีกันเพื่อคะแนนเสียง
มันดูฉลาดกว่าปลุกคนลงถนนหรือเอารถถังออกมาเยอะเลย
จริงๆ ก็ไม่เกี่ยวกับโง่หรือฉลาดเท่าไหร่
ตามหลักการเชิงจริยธรรมการเมือง
การ manipulate ถือเป็นสิ่งที่ผิดในระบบประชาธิปไตย
เพราะตามอุดมคติคือ คนควรตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน
ไม่ใช่ ตัดสินใจจากข้อมูลที่ถูก ตัด/แต่ง/ชี้นำ
แล้วพรรค C ไม่มีสำนักข่าวในนั้นเหรอครับ และก็เห็นว่าทั้งสองพรรคก็มีพวกสนับสนุนแบบติ่ง นางแบกทั้งคู่ แต่ทำไมพรรค C ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ครับ แค่สงสัยนะครับ
จริงครับ ต้องลองเทียบ pattern กับเหล่าด้อมเกาหลีตอนมีงานประกาศรางวัลอย่าง Golden Disc ดู น่าจะเจอแบบพรรค A หลายๆกลุ่มแน่ๆ
+1 👍
my blog
IO มันไม่ผิดนะ มันคือวิธีหาเสียง
ถ้ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือคนใช้ twitter คุณจะไปหาเสียงในโฆษณาวิทยุมันก็ใช่ที่
ตราบใดที่งบมันเป็นของส่วนตัว ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด แล้วไม่ได้คอยโพสแต่ข้อมูลเท็จ มันก็ ok นะ
การโจมตีอีกพรรคตราบใดที่มันอยู่บนฐานความจริง หรือโจมตีนโยบายทั้งในอดีตหรือในอนาคต มันก็เป็นปกติของการหาเสียง
ได้เวลา Normalize เรื่อง IO กันใหม่อีกแล้วสินะ ก่อนหน้าบอกว่าไม่ดีงั้นงี้ ต้องทำโดยรัฐบาลเท่านั้น หวังผลโจมตีคนเห็นต่าง
วันนี้บอกว่า IO ผิดตรงไหน ใคร ๆ ก็ทำกัน มันคือการตลาดธรรมดาอย่างหนึ่ง (มันก็เป็นฐานจากทฤษฎีเดียวกัน) ไม่เป็นไรครับ เราจะ Normalize เป็นอะไรก็ได้ ถ้ามันถูกใจเราอยู่
ผมว่าเราใช้คำว่า IO กันพร่ำเพรื่อไปมาตั้งนานแล้ว IO สำหรับผมมัน imply ว่าคือการปฏิการทางการทหารหรือก็คือบอกว่าเป็นการปฏิบัติการที่ผู้ปฏิบัติเป็นทหารซึ่งผมก็ไม่รู้ว่ามันเลื่อนมาสู่จุดที่ IO ครอบคุลมผู้ปฏิบัติเป็นใครก็ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ สิ่งที่ต้องโฟกัสมีสามอย่างตั้งแต่แรกแล้ว คือ 1) ใคร? 2) เพื่ออะไร? 3) ทำอย่างไร?
IO แม้ผู้ปฏิบัติเป็นทหารก็ไม่ได้เท่ากับว่าแย่แต่ก็มันเลื่อนมาสู่จุดที่ IO = แย่ ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เพราะมันยังมีอีกสองคำถาม เช่นคำถามที่สองถ้าเราเป็นประชาชนประเทศ A และหทารประเทศ A ใช้ปฏิบัติการทางข้อมูลข่าวสารเพื่อปั่นให้คนประเทศ B ออกมาต้านแผนการปฏิการทางทหารของประเทศ B ต่อประเทศ A ล่ะถือว่าแย่มั้ย? ก็คงไม่ แต่เมื่อคำถามที่สามมันถูกศีลธรรมมั้ยก็อาจจะไม่
แววไม่ค่อยดีล่ะ มาจากพวกลูกหาบนี่แหละ ตะก่อนด่ารัฐตลอด(มันก็น่าด่า) พอฝั่งที่ถูกใจเป็นรัฐขึ้นมากลายเป็นเรื่องปกติ เ-สเข้ อนาคตใหม่จริมๆ เห็นบอกว่าเอาภาษีใช้ทำ IO ถึงผิด บางท่านก็บอกว่าไม่แจ้งถึงผิด เอาไงล่ะเนี่ย อย่าทำแบบเขาละกันนะ คนหวังไว้เยอะ
เดี๋ยวๆ เอางบประมาณแผ่นดินหาประโยชน์ให้ตัวเองมันผิดอยู่แล้ว ไม่ว่าใครทำก็ผิด
Commonsense พื้นฐานนะ
สิ่งที่ผมรู้สึกแปลกใจคือ io ตัวจริง แทบหายไปเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ยังเห็นมา reply โจมตีอยู่เรื่อยๆ
แล้วบางแอคเนี่ย ปิดชื่อแล้วดูแต่ข้อความ ก็รู้สึกได้ว่ามันก็คือกลุ่มนี้เนี่ยแหละ
สมมุติฐานของผมคือ io ตัวจริงมาสุมไฟก่อน พอ supporters เข้ามาร่วมวง ก็ลามไปทั่ว
พรรค A B C คือใครบ้างเนี่ย - -*
ถ้าได้รู้ว่าที่ปรึกษาด้าน Social Engineering ของพรรค A คือใคร จะไม่แปลกใจเลย
เขาคือใครเหรอครับ
มันคือ IO ธรรมชาติ 55
อ่านหลายๆ เม้นท์ เราไม่ได้คิดอยู่คนเดียวสินะ 😆
แปลกดี เพราะบรรยากาศใหม่นี้น่าจะดูเปิดกว้างกว่ายุคก่อน...แต่เรากลับรู้สึกไม่กล้าพูด(ในอีกรูปแบบนึง)
เอาจริงๆนะ พูดได้หมด ยกเว้นด่าส้ม ... แค่นั้นเลย
อยากด่ารอกระแสซาสิครับ ยุคไหนก็เหมือนกัน อย่างตอนกำนันยังเสียงดัง อย่าว่าแต่ด่าเลยแม้แต่พูดในบ้านหรือที่ทำงานยังไม่มีใครกล้าพูดเลย ที่ทำงานผมมีน้องคนนึงถูกลงโทษทางวินัยเพราะไปโพสเฟซเชิงวิจารณ์ด้วยซ้ำ ดีว่าไม่ถูกไล่ออก แต่ด่าส้มผมว่าคงไม่มีใครถูกลงโทษขนาดนั้นมั้งตอนนี้นะ แต่ถ้าคนอินมากๆไปถึงผู้ใหญ่ก็ไม่แน่อาจมีคนอยากเลียเชือดลูกน้องเอาใจนายก็ได้
คิดภาพตามเลยว่าวันนึง คนไทยจะมองส้มเป็นอย่างไร
เหมือนลุงตอนนี้?
เอ น่าจะดีกว่านะครับ 😂 ไม่ค่อยห่วงตัวบุคคลเท่าไหร่ คิดว่าเค้าวางตัวเป็น
แต่กลัวใจลูกหาบสายสุดโต่งนี่แหละ (ไม่ว่าจะหาบข้างไหนก็ตามเถอะ)
คนไม่ใช่ ทำอะไรก็ผิด
ส่วนคนที่ใช่ ทำอะไรก็หอมไปหมด
คนที่ไม่ชอบทำ => ไม่ดี สร้างความแตกแยก
คนที่ชอบทำ => มันคือ marketing
ช่วงปิดเทอมด้วยแหละ กลุ่มพรรค A เลยได้มีเวลาทวิตรัวๆ
ใช้คำว่า IO จนลืมความหมายจริงๆกันไปหมดแล้ว
ฝีมือเอเจนซี่โฆษณานี่แหละ
มีการใช้ influencer, หน้าม้า และการ seeding
ถ้าคอนเท้นท์มันโดนใจคน เขาพูดกันปากต่อปากเอง
บางประเด็นมันสุ่มเสี่ยง พวกกองเชียร์ก็ใช้แอคเคาน์สำรอง
อ่านหลายๆ เม้น ทำให้ผมเข้าใจชัดเจนขึ้นว่าจริงๆแล้วioจากต้นข่าวนี้ กับioที่มีรูปหลุดนั่งเรียงแถวกดมือถือกัน......มันเหมือนกันในทุกมิติและมีความชอบธรรมแบบเดียวกัน อยู่แค่ว่าชอบหรือไม่ชอบแค่นั้น หุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
IO ของพรรคเก่าน้อย เพราะหมดงบ หรือเพราะจะหมดสมัยแล้วเปล่า อำนาจหมดจะไปยืมฟรีใช้ลำบากไหมนะ
เผื่อใครอยากรู้ว่าปี 2562 เป็นแบบไหน
2019 Thai General Election: A Twitter Analysis https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-981-15-0399-3_27
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ผมที่บ่นเรื่องการศึกษาบ่อยๆก็เคยแท็กด้อมส้มครั้งนึง ก็นึกว่าทีมปั่นจะเอาไปปั่นต่อหรือไลค์ซักนิดแต่ปรากฎว่ามีนิดเดียวไม่ถึงห้า(ด่ากลับยังไม่มีเลย) ผมก็ได้แต่เอิ่ม...อะไรเนี่ย
สงสัยว่า pr เขาดีขนาดนี้+กับความนิยม ถ้าเกิดมีเรื่องแย่ๆขึ้นมามันจะโดนกลบหมดไหม
สบายครับ ติ่งเกาหลีทำเป็นประจำเรียกว่าล้างเซิร์ช เพราะถ้าเซิร์ชแล้วจะเจอแต่ข้อมูลขยะจนหาเรื่องที่อยากรู้ไม่เจอ
"Facebook, Line หรือ Tiktok ที่มีผู้สนับสนุนพรรค B นิยมใช้มากกว่า"
ถ้ามีประโยคข่าวแค่นี้โดยไม่มีข้อมูลอื่นก็รู้เลยว่าพรรค B คือพรรคอะไร
ผมติ่งส้มนะเอาแบบไม่อวยกันถ้าทำiOจริงก็ผิดหวังนิดหน่อย จุดขายที่ว่าตรงไปตรงมามันก็ไม่ควรที่จะทำแบบนี้ แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเขาทำจริงนะ
กลุ่มผู้ใช้ Twitter ในไทยแนวคิดทางการเมื่องค้อนข้างไปทางช้ายอยู่แล้ว
ด้งนั้นพรรคที่มีนโยบายออกไปทางช้าย ก็จะมีความนิยมมากใน Twiiter
ตามลำดับนี้ A > C > B มันก็ดู make sense
คุณจะเห็นว่าบัญชีสำนักข่าวส่วนใหญ่ไปอยู่ทางพรรค A หมด เป็นเพราะ candidate ของพรรค B และ C ไม่ได้ไปออกรายการ Debate เน้นการหาเสียงในพื้นที่ ทำให้มีแค่พรรค A ที่มีพื้นที่สือมากที่สุดใน Twitter
"ทีมตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นว่าบัญชีในเครือข่ายของพรรค A อย่างน้อยสาม
บัญชีใหญ่ (ให้สังเกตดีๆ ที่จุดสีเทาในวงกลมสีฟ้าข้างต้น) มีพฤติกรรมที่ผิดปกติจากการใช้งาน"
ผมว่าตัวอย่างมันน้อยเกินไปที่บัญชีแค่สามบัญชีจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อความนิยมของพรรค A คุณใช้บัญชี Twitter ไม่ถึง 10 บัญชี ทำ Information Operation แล้วชนะได้ผมว่าคุณเก่งมากเลยนะ
ผมไม่รวมพวกเอเจนซี่โฆษณานะเพราะใน report ไม่ได้พูดถึง
แปลกที่อยู่ดีๆก็มีข้อมูลรับลูกต่อจาก โทนี่
ไม่รู้ว่าคนทั่วไปเข้าใจกลุ่มคนใช้ทวิตเตอร์กันแบบไหน
อย่างเช่นบัญชีที่บอกว่าไม่นอนไม่พัก
แนะนำกดดูเวลามี #เกาหลี ศิลปินหนังเพลง ก็มาเป็นแบบนี้เหมือนกันเลย
ยิ่งเวลาผมจะหา หาร Netflix ผมก็เห็นหลายบัญชีก็โพสรีทวิตตลอดเวลาร้านเปิด
ผมว่ามันเป็นพฤติกรรมปกติ สำหรับคนเล่น twitter ในไทยเลย
โพสทวิตแบบไม่สนใจใคร
งง ทำไมหลายคนดันตีความว่าเป็น io ไป
สิ่งที่แปลกที่สุกคือกลุ่ม c เพราะผมเคยส่องดู การที่ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเดียวกัน มันเป็นเรื่องแปลกสำหรับกลุ่มผู้ใช้ twitter ในไทย เพราะจะมีการ retweet ตอบกลับ เฉพาะกลุ่มของตัวเอง ไปดู follower following ได้จะพบว่าเขาติดตามกันละกัน
ลอง reply ดู สำหรับร้านที่หาร Netflix ตอบไวมาก
ผมเข้าใจว่า twitter ผู้เล่นหลักคือเด็กมัธยม เด็กมหาลัย ที่จะพักแค่ช่วงเวลาเรียน
พอเลิกเรียนก็จะมาปั่นทวิต ปั่นดราม่ากันในทวิต จนมีคนล้อกันบ่อยๆว่ารอ 4 โมงเย็น
ออกบทความสองแง่สองง่าม ทำคนเข้าใจผิด
โดยเฉพาะคนใน blognone จากคอมเม้นท์ดันเชื่อไปแล้ว
ทั้งๆที่บทความไม่มีส่วนไหนบอกว่าใช้ io
5 นาทีต่อ 1 โพสต์ครับ ไม่ใช่ 5 โพสต์ต่อ 1 นาที
5 นาทีต่อ 1 โพสต์ครับ ไม่ใช่ 5 โพสต์ต่อ 1 นาที
คน post บทความไม่อ่าน comment เลย
พรรคเขียวที่ไม่ใช่ในข่าวเที่ยวทวิตด่าอ.ชัชชาติมาแบบนัดกันมา สาม-สี่ทุ่มโผล่มาละบางทีก็มาตีสอง อันไหนบิดได้บิด แต่วัยรุ่นเขาแยกแยะเป็นไม่ได้กินหญ้าหลังค่ายเลยไม่ success ในโลกทวิตซักเท่าไหร่
แต่ IO ทำได้ดีในไลน์กลุ่มข้าราชการ ว่าแต่ใครมีลิงค์กลุ่มมันมั๊ยผมอยากได้่
ผมว่าสาวกพรรค A ตอนนี้ควรเปลี่ยนเป็นโหมด PR ได้แล้ว ไม่ใช่เล่นบท War ตลอดเวลา ถ้าผมเป็นพรรค C นี่ผมจะทำเป็นพระเอก ช่วยเหลือพรรค A เต็มที่ แล้วปล่อยให้สาวกสร้างเรื่อง เพื่อให้พรรค A พลาดเอง เพราะถ้ามาแนวนี้ส่วนใหญ่เดี๋ยวก็ทะเลาะกันเอง แล้วก็แตกเป็นก๊ก ที่เหลือก็คอยต้อนพวกที่ไม่พอใจเข้าพรรค เป็นฐานคะแนนเลือกตั้งครั้งถัดไป
พรรค A ถ้าอยากรอดก็ต้องเรียนรู้วิชาจากผู้มีประสบการณ์บ้าง การทำงานกับคนยุคเก่า จะเล่นโหมด War ตลอดเวลาไม่ได้ ต้องมียืดหยุ่นตามสถานการณ์ เพราะไม่งั้นเจอผู้ปฏิบัติงานใส่เกียร์ว่าง มันจะทำให้งานโครงการที่เป็นนโยบายพรรคไม่เดิน เป็นข้ออ้างให้ทั้งผู้หวังดี และผู้รอซ้ำ ใช้เป็นโอกาสขึ้นมาแทนที่นะ บอกไว้ก่อน ผมว่าพรรค C เขาเตรียมแผนสองเอาไว้แล้วล่ะถ้าสาวกพรรค A ยังมีพฤติกรรมแบบนี้ สร้างศัตรูตลอดเวลาแม้แต่คนฝ่ายเดียวกันไม่ได้มีผลดีกับเวลาที่เราได้เปรียบ โหมด War มันเหมาะกับเวลาที่เราเสียเปรียบและต้องการมวลชนสนับสนุน
ตอนแรกก็คิดว่าคิดไปเองคนเดียวว่ามีกลิ่นแปลกๆเหมือนมีบอทตอบกลับกันเองไปมานั่งอ่านและกดรีพอร์ตจนเมื่อย นึงภาพปีต่อๆไปใช้ AI ช่วยผลิตคอนเทนต์ภาพคู่ไปด้วยจะบรรเทิงขนาดไหน
วิธีเพิ่มคะแนนการเลือกตั้งแบบคนรุ่นใหม่