เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐสภายุโรปผ่านข้อบังคับลดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยบังคับการใช้งานแบตเตอรี่ที่บังคับให้อุปกรณ์ต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนการออกแบบให้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เอง ตอนนี้เอกสารที่ผ่านรัฐสภายุโรปเผยแพร่ออกมาแล้ว ทำให้เราเห็นรายละเอียดของกฎนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ข้อบังคับนี้ยังคงเป็นร่างเท่านั้นและต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นจึงบังคับจริง
- ผู้ผลิตต้องออกแบบสินค้าให้สามารถถอดแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ได้โดยง่าย หากต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมต้องเป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ทั่วไป หรือหากเป็นอุปกรณ์พิเศษต้องแถมให้ฟรี และห้ามไม่ให้ใช้เทคนิคพิเศษสำหรับเปลี่ยนแบตเตอรี่ เช่น การอังความร้อนหรือใช้สารทำละลายเพื่อถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่
- ตัวผู้ผลิตเองต้องสำรองแบตเตอรี่ไว้ขายเป็นอะไหล่อย่างน้อย 5 ปีหลังจากวันที่ขายวันสุดท้าย และตั้งราคาไม่กีดกันช่างซ่อมอิสระหรือลูกค้าทั่วไป หรือหากใช้แบตเตอรี่มาตรฐานก็ไม่ต้องสำรองด้วยตัวเอง
- กฎนี้ไม่บังคับกับอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้ใต้น้ำเป็นหลัก หรืออุปกรณ์ที่ออกแบบให้ล้างน้ำได้, อุปกรณ์ที่ต้องการการจ่ายไฟต่อเนื่องจนต้องออกแบบให้แบตเตอรี่ต่อถาวรกับอุปกรณ์, ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์เฉพาะทาง
- ห้ามใช้ซอฟต์แวร์บังคับไม่ให้ผู้ใช้ซื้อแบตเตอรี่จากผู้ผลิตอื่น
กฎชุดนี้มีระยะเวลาบังคับแต่ละส่วนต่างกันไป แต่ส่วนการบังคับให้ผู้ใช้เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เองได้ในมาตรา 11 นี้ให้เวลานานถึง 42 เดือนหลังกฎเริ่มบังคับใช้ เป็นส่วนสุดท้ายที่บังคับใช้งาน
ที่มา - Europa.eu
Comments
ทีนี้ก็อ้างว่า "เราต้องการออกแบบอุปกรณ์ให้ล้างน้ำได้" ก็เท่ากับว่าไม่ต้องทำให้เปลี่ยนแบตได้แล้วหรือเปล่านะ
ดังนั้นการรับประกันต้องไม่ขาดถ้าอุปกรณ์ภายในมีน้ำเข้านะครับ เพราะ "ล้างน้ำได้"
"อย่างไรก็ดี ข้อบังคับนี้ยังคงเป็นร่างเท่านั้นและต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นจึงบังคับจริง"
ออกกฏให้คนทำตามไม่ได้เหมือนเครื่องยนต์ EURO V หรือเปล่าเนี่ย ? เหมือนคนออกกฏหมาย ตั้งธงให้กลับไปใช้มือถืออาม่ายิ้ม โทรออก รับสาย เสียงเรียกดังๆ ไม่ต้อง upgrade อะไร ใช้ไปเลยยาว ๆ 8 ปี 10 ปี
ทำไมถึงคิดอย่างนั้นละครับ มือมือต่อให้เปลื่ยนแบตได้มันก็หน้าตาไม่ต่างกับมือถือตอนนี้เท่าไร จะเพิ่มจุดยึดน็อตหรือจุดล็อกฝาหลังมันก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แล้วใช้งานได้นานขึ้นมันไม่ดีตรงไหนครับ ต่อให้เพิ่มอายุใช้งานเฉลี่ยได้อีก 2 ปีก็ลดขยะไปได้เยอะแล้ว
สมัยนี้การพัฒนาความเร็วและประสิทธิภาพมันช้าลงกว่าสมัยก่อน
ตอนเครื่องอายุ 3-5 ปี ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของเครื่องมันก็ยังใช้ได้
ชิ้นส่วนที่เสียเร็วคือแบตเตอรี่ก็ควรจะเปลี่ยนได้ จะได้ไม่ต้องทิ้งหมดทั้งเครื่อง ถึงซื้อเครื่องใหม่แล้ว เครื่องเก่าก็ควรจะใช้เป็นเครื่องรองใช้งานเล็กๆ น้อยๆ ได้
เวลา 8-10 ปี น่าจะเป็นอายุการใช้งานที่เหมาะสมหรับเครื่องที่ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องหลัก แต่ยังใช้ประโยชน์ได้อยู่
รอบังคับใช้เลย เบื่อมากกับมือถือยุคใหม่เปลี่ยนแบตยากๆ
สงสัยต้องมีฉากล้างมือถือในน้ำตอนขายแล้วแหละ 😂
เห็นด้วยมากๆ
ส่วนตัวยังใช้ Note5 อยู่ และยังรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
แต่แบตเสื่อมบ่อย ต้องเปลี่ยนตลอด
เปลี่ยนทีก็ยุ่งยาก ต้องให้ร้านเปลี่ยนให้ เพราะเป็นกาว
ถ้ามีบังคับรูปร่างแบตเป็นมาตรฐานให้ใช้ร่วมกันได้ด้วยจะดีมาก
โทรศัพท์รุ่นใหม่ก็ใช้แบตรูปร่างเดียวกับรุ่นเก่า ถ้า mA เท่ากัน
จะได้ไม่ต้องสต๊อคแบต 5 ปีด้วย
ตัดภาพไปที่ผู้ผลิตบางเจ้าทำฝาครอบ MicroUSB ให้เสียบได้เฉพาะสายตัวเอง
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
อุปกรณ์กันน้ำแบบเปลี่ยนแบตได้ก็มีนะ เดี่ยวแต่ละเจ้าก็ลักไก่กันหมด
"ความบาง" อาจจะไม่ใช่จุดขายอีกต่อไป
ออกกฎมาแบบนี้ เปิดช่องให้ค่ายมือถือและอุปกรณ์อื่นๆ ไปทำเป็นเครื่องแบบกันน้ำแทน ไม่ต้องทำให้ถอดแบตออกให้เพิ่มต้นทุน คนก็ใช้มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์ที่ถอดแบตไม่ได้ต่อไป
ออกกฎเอื้อผู้ผลิตหัวหมอแบบศรีธนญชัยชัดๆ เลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อุปกรณ์สำหรับใช้ใต้น้ำกับอุปกรณ์กันน้ำเป็นคนละแบบกันครับ
อุปกรณ์กันน้ำก็มีหลายระดับ กันน้ำกระเซ็น กันน้ำหยดใส่ กันน้ำฉีดใส่ ฉีดใส่ 1 นาที 2 นาที แรงดัน x bar ตกน้ำ 1 เมตร ฯลฯ
ประมาณนี้ครับ
พวกนี้คำกฎหมายมันยังเขียนไว้แบบนี้ แต่ถึงเวลามันจะมี guideline ออกมาเพิ่มว่าอุปกรณ์ไหนนับไม่นับ (มีเขียนในกฎหมายเลยว่าต้องออก guideline) แบบไหนเพียงพอ พวกอุปกรณ์การแพทย์ที่จุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อได้แบบนั้นคงนับ แต่พวกโดนฝนกระเซ็นนิดๆ หน่อยๆ แล้วหลุดประกันจะนับไหม
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่รู้เกิดไม่ทันกันหรือลืม Samsung Galaxy S5 ฝาหลังเปิดได้หยิบแบตออกได้เลยก็ยังได้ IP67 กันน้ำได้ 1 เมตรครึ่งชั่วโมงนะครับ
ดูแล้วกม. มีช่องโหว่ประหลาดๆเยอะนะ
ห้ามติดกาว แต่หยวนลงน้ำได้ มันจะกลายเป็นติดกาวกันหมดเพื่อโฆษณากันน้ำไปในตัว
***ห้ามใช้ซอฟต์แวร์บังคับไม่ให้ผู้ใช้ซื้อแบตเตอรี่จากผู้ผลิตอื่น
อันนี้ถ้าลูกค้าไปซื้อแบตเถื่อนแล้วบึ้มขึ้นมา จะเจอโบ้ยไปที่ยี่ห้อเครื่องไหม (ประมาณเสียบสายชาร์จปลอมโดนไฟดูดตายยังโทษมือถือ)
เฉพาะอุปกรณ์ใช้ใต้น้ำได้ครับ ไม่ใช่ลงน้ำได้ Xม. XXนาที แล้วก็ต้องใช้งานใต้น้ำได้ด้วย ถ้าค่ายไหนทำขนาดนั้นก็ไม่ว่านะ เรื่องแบตช่วงที่มือถือเปลื่ยนแบตได้ยังมีขายเยอะๆก็ไม่เห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่อะไรนะ
รู้สึกว่ากฎที่ EU ออกบางทีก็ทำให้ UX เสียไปนะครับ เช่น หน้าคุ๊กกี้
จากปกติ มือถือ 1 เครื่องอายุใช้งาน 3-4 ปี รอบนี้ถ้ายืดอายุได้อีกเท่าตัวเป็น 6-8 ปี แค่นี้ก็ประหยัดเงินและลดขยะไปบานเลยด้วยครับ
แต่ๆๆๆๆ อย่าลืมเรื่องการ Update พวก Service ความปลอดภัยด้วยนะ
ทำขายเองเถอะ เห็นภาพแล้วซื้อไม่ลง
อยู่ยุโรปเหรอ ? ทำไมไปเดือนร้อนแทนเค้า
ภาพไหนครับ ยังไม่มีคนปรับ design เพื่อรองรับกฏหมายนี้เลยนะครับ
สำหรับบ้านเราถ้าเป็นค่าย android ส่งไปเปลี่ยนแบตแท้ที่ศูนย์ก็ถือว่าราคาพอรับได้นะ เคยเปลี่ยนทั้งหัวเหว่ยและซัมซุง เปลี่ยนเสร็จก็ใช้ได้อีกยาวๆ
ส่วน iPhone ตัวเก่าๆ ที่ยังไม่ใช่รุ่นกันน้ำอันนี้เปลี่ยนเองง่าย ส่วนรุ่นใหม่ๆ กันน้ำได้ยังไม่เคยลอง คิดว่าส่งศูนย์น่าจะดีกว่า
บังคีบแอปเปิลเรื่อง USB C ให้ได้ก่อนเถอะ
ขวาง
ถ้า กม. นี้ผ่าน แอปเปิลเอาตีนก่ายหน้าผากเลย แรงกว่า type c อีก กระทบโปรดักส์ดีไซน์ด้วย
แอปเปิ้ลบอก เราไม่กังวล เราเริ่มทำแล้วจาก Vision Pro ต่อไปอุปกรณ์แอปเปิ้ลจะใช้แบตภายนอกทั้งหมด....
มือถือบาง ๆ ไม่จำเป็นว่าแบตต้องเป็นแบบถอดไม่ได้ อย่าง iPhone 4 เองความบางเทียบเท่ามือถือหลายรุ่นในยุคนี้ก็แค่ขันน็อตออกแล้วก็เปลี่ยนแบตได้เลย คิดว่ายังไงเสียผู้ผลิตก็ต้องหาทางให้ และแถมอุปกรณ์+คู่มือให้อยู่แล้ว อย่างมือถือผมเองแค่ละลายกาวออกก็เปิดฝาหลังได้แล้ว ผู้ผลิตก็แค่ไปทำให้มันเปิดแบบอื่น เช่น แม่เหล็ก น็อตตื้น ๆ แล้วแถมเครื่องมือไปให้ด้วยเลยก็เข้าตามกฎละ เหตุผลที่ผู้ผลิตใช้กาวคือลดต้นทุน สร้างความรู้สึก premium (ภาพจำจาก iPhone) และหาข้ออ้างในการขายบริการเสริมแค่นั้น
ถ้ายังไม่เชื่อ เอางี้ ไปดูคลิปซ่อมมือถือราคากลาง ๆ ค่อนบนก็ได้ จะเห็นเลยว่ามีมือถือหลายรุ่นไม่ได้ออกแบบให้ space-effective ด้วยซ้ำ และก็แปะกาวไปทั้งแบบนั้นเลย ทั้งที่ทำแบบเปิดฝาหลังได้แน่ ๆ
อนึ่ง ส่วนตัวโอเคนะถ้าผู้ผลิตมือถือทำให้เครื่องซ่อมง่าย และขายบริการอัปเดตเพิ่มเติมกรณีพ้นอายุบริการเครื่องไปแล้ว ทุกอย่างล้วนมีต้นทุน ก็แฟร์ ๆ ทั้งสองฝ่ายไปเลย มือถือถูก ๆ สองปีแรกฟรี ต่อไปปีละ 400 บาทมันก็พอฟังได้ เป็นต้น
ถ้าบังคับทำแล้ว
รอดูเครื่องๆอึดๆแบบ 3310
ถ้ามันทำได้ก็ดี แต่ถ้าไม่ได้แล้วต้องกลับไปใช้มือถือหน้าตาโบราณ ๆ นี่ก็ไม่ไหวนะ จริง ๆ ก็ห้าม Apple ใช้ Lightning หรือ proprietary port ก็เหมือนไม่ให้ USB มีคู่แข่งละ กลายเป็นผูกขาด เมื่อผูกขาดก็จะไม่เกิดการแข่งขันและพัฒนาไหม
อ่ะแล้ว "อุปกรณ์ต่าง ๆ" นี่รวมไปถึงอุปกรณ์อย่าง TWS Earbuds ด้วยไหม แล้วมันจะออกแบบให้เปลี่ยนแบตได้ยังไงล่ะนั่น
ไม่ได้ห้ามให้ใช้ port อื่นครับ เขาแค่บังคับให้มี USB-C เฉยๆครับ จะใส่มา 2 port ก็ได้ แน่นอนว่ามันก็ทำให้พอร์ตใหม่เกิดยากขึ้นแหละ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นเกิดไม่ได้ซะทีเดียว
แต่ผมว่าแบบนี้มันยิ่งกระตุ้นให้บริษัทอื่นแข่งกันพัฒนาพอร์ตที่ดีกว่าเดิมนะครับ เพราะถ้าไม่ดีกว่าเดิมจริงๆ คนก็กลับไปใช้ USB-C เหมือนเดิม จะสักแต่ทำพอร์ตห่วยๆแล้วมัดมือชกผู้ใช้เพื่อขายอุปกรณ์ของตัวเองแบบเมื่อก่อนไม่ได้แล้ว
ส่วนเรื่องอุปกรณ์อื่นๆก็รอดูข้อบังคับตัวเต็มครับ อย่าง USB-C มันก็มีข้อยกเว้นอุปกรณ์เล็กๆอย่าง TWS หรือ Smartwatch เหมือนกัน เพราะงั้นเรื่องแบตจะมีข้อยกเว้นบ้างก็ไม่แปลกอะไร
ตัวอย่างการใส่สองพอร์ตแล้วมีประโยชน์ คนยอมจ่ายคือ Magsafe
ลืมที่ชาร์จยังยืมที่ชาร์จ ThinkPad เสียบได้ แต่ถ้าทำหายให้ซื้อใหม่ก็ซื้อ Magsafe อยู่ดี
lewcpe.com, @wasonliw