John Goodenough นักวิทยาศาสตร์ผู้ร่วมพัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-ion) จนได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 2019 และยังเป็นหนึ่งผู้พัฒนาระบบหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ เสียชีวิตด้วยวัย 100 ปี 11 เดือน
Goodenough จบปริญญาเอกในปีสาขาฟิสิกส์ในปี 1952 และทำงานที่ Lincoln Laboratory ใน MIT วิจัยหน่วยความจำแม่เหล็ก (random access magnetic memory) อยู่นาน 24 ปี จนได้ Goodenough–Kanamori rules จากนั้นเขาไปทำงานเป็นหัวหน้า Inorganic Chemistry Laboratory ที่ออกซ์ฟอร์ด มีผลงานที่ทำให้แบตเตอรีลิเธียมไอออนสามารถใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรม
เขายังทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องด้านแบตเตอรี รวมถึงเป็นที่ปรึกษาหน่วยงานวิจัยอีกจำนวนมาก
ที่มา - Business Line
ภาพ John Goodenough เมื่อปี 2019 โดยสถานทูตสหรัฐฯ ประจำสวีเดน
Comments
Li-on -> Li-ion
ps. RIP และขอบคุณสำหรับนวัตกรรมที่สร้างขึ้นครับ
หลับให้สบายนะครับ ขอบคุณสำหรับนวตกรรมที่สร้างขึ้นมาให้พวกเราได้ใช้งานกันทุกวันนี้
..: เรื่อยไป
RIP นะครับ
ชอบนามสกุลท่านมากเลย
ใช่ๆ เทห์สุดๆ
นักวิทยาศาสตร์ อายุ 100 ปี นี้คิดเลยนะชีวิตแกผ่านอะไรมาบ้าง
เลยไปส่องมา
John B. Goodenough เกิด July 25, 1922
-เกิดที่เยอรมนี มีพ่อแม่เป็นชาวอเมริกัน
-[1939-1945]ตอนอายุ17ปี เกิดสงครามโลกครั้งที่2
-[1952] เรียนจบดร.
-[2019] ได้โนเบิล ตอนอายุ 97
(พึ่งเริ่มได้รับรางวัลต่างๆ ช่วงปี2001 เป็นต้นมา wiki)
รายละเอียดปลึกย่อยไม่ได้เขียนแต่คงลำบากแหละ เกิดเยอรมัน ลี้ภัยสงครามทำงานเป้นนักวิชาการในกองทัพทหารสหรัฐ
กว่าจะได้โนเบิล อายุก็เกือบ100แล้ว. ต้องรักษาสุขภาพดีเยี่ยมขนาดไหน ทำงานวิจัยไปด้วย ออกกำลังดูแลสุขภาพไปด้วย
คนระดับศาสตราจารย์ ที่ใช้ช่วงชีวิตผ่านสงครามโลก ปัจจุบันไม่รู้มีกี่คน
ขอบคุณ สำหรับ นวัตกรรม
RIP ครับ
ขอบคุณสำหรับหลายๆสิ่งที่สร้างไว้
Rip
RIP
ขอบคุณที่สร้างสิ่งต่างๆ เปลี่ยนโลกนะครับ
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า