สัปดาห์ที่ผ่านมาทีมวิจัยจากบริษัท Quantum Energy Research Centre ตีพิมพ์รายงานวิจัยแบบไม่ผ่านการตรวจทาน (peer review) ระบุว่าสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) มีคุณสมบัติตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง หาก LK-99 มีคุณสมบัติตามที่อ้างจริงก็นับว่าเป็นความก้าวหน้าของวงการวัสดุศาสตร์อย่างมาก และทางทีมวิจัยระบุว่าจะใช้ LK-99 ในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม
ตอนนี้ห้องปฎิบัติการวิจัยจำนวนมากทั่วโลกกำลังพยายามผลิต LK-99 และตรวจสอบคุณสมบัติของมัน เช่น Argonne National Laboratory ของสหรัฐฯ ก็กำลังผลิต LK-99 และตรวจสอบว่าเป็นตัวนำยิ่งยวดจริงหรือไม่ หลายทีมพยายามทำซ้ำแล้วพบ LK-99 ไม่มีคุณสมบัติตัวนำยิ่งยวดจริง แต่มีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็ก (วิดีโอจาก Huazhong University of Science and Technology)
Michael Norman จาก Argonne National Laboratory ระบุว่าข้อมูลงานวิจัยนั้นดูไม่น่าเชื่อถือนัก แต่ก็ระบุว่ารายงานบอกชัดเจนว่าจะสังเคราะห์ LK-99 ได้อย่างไร เราจึงน่าจะเห็นบทสรุปว่า LK-99 เป็นตัวนำยิ่งยวดได้จริงหรือไม่ในเร็วๆ นี้
ที่มา - Science.org
Comments
เมื่อประมาณ 30 ปีก่อนก็มีข่าวอย่างนี้ มีนักวิจัยประกาศออกมาว่าสามารถสร้างตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้องได้ แต่จนสุดท้ายทุกคนก็ไม่มีใครสามารถทำซ้ำหรือแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่สามารถทำซ้ำได้เช่นเดียวกัน
ผ่านไป 30 ปีการทำตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้องยังไม่สำเร็จเลย
ถ้าทำได้จริงแค่คอมพิวเตอร์ควันตั้มนี่เรื่องสิวๆไปเลย มันทำอะไรได้อีกเยอะแยะมากมาย ของหลายสิ่งหลายอย่างมันย่อขนาดได้เยอะเพราะไม่ต้องสร้างระบบทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆอย่างในปัจจุบันนี้
รอบนี้ที่น่าสนใจคือ มันทำซ้ำได้บางส่วนจริงแล้วครับ ความเป็นแม่เหล็กนี่ค่อนข้างยืนยันแล้ว มันเลยดูใกล้ขึ้นมาก
lewcpe.com, @wasonliw
คือถ้ามันได้จริงมันต้องลง Nature หรือ Science แล้วป่ะ งานดีขนาดนี้ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไปปล่อยที่ arxiv ที่ไม่มีระบบ peer review. arxiv มันเหมาะกับงานที่มีการ cross check กันระหว่างนักวิจัยเอง หรือการทำงานระดับความร่วมมือนานาชาติที่มีทุนวิจัยสูง มันถึงจะดูน่าเชื่อถือนะ
เรื่องปกติของ breakthough research ที่เขาจะลง arxiv ก่อนเพื่อเคลมว่าเป็นคนแรกที่ทำได้แล้วส่ง peer-reveiw ต่อทีหลัง แล้วอีกปีหนึ่งจึงได้ตีพิมพ์เนื่องจากกระบวนการมันช้าเขาเลยเคลมกันก่อน / กลัวโดนขโมยความคิดโดยคนreveiw
EEVblog พึ่งโพสต์วีดีโอ Busted เรื่องนี้ไปไม่กี่วัน เล่นเรื่องเอาแม่เหล็กไปจ่อกับแผ่นทองแดง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
จริงๆการที่ห้องวิจัยทั่วโลกพากันรีบตรวจสอบ/ทดลองซ้ำจากผลการวิจัยที่ยังไม่ได้ผ่าน peer review นี่ก็แปลกพอสมควร
คิดว่าเพราะถ้ามันจริงขึ้นมาจะเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ ครับ แบบเหมือนเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกรอคอย แลปไหนที่ทำได้ก็น่าจะอยากลอง ถ้ามันไม่จริงก็รีบ ๆ Busted มันออกไปจะได้จบ ๆ
เพราะตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิห้องมันเป็น breakthrough ระดับโนเบลที่นักฟิสิกส์ตามหามานานเกือบร้อยปีแล้วครับ
และมันสามารถทำให้เกิดการปฏิวัติวงการอิเล็กทรอนิกส์ได้เลย ถ้ามันไม่ผลิตยากเกินไป
ถ้ามันจริงก็จะมีงานวิจัยเกี่ยวกับมันตามมาอีกเป็นพรวน จับก่อนได้เปรียบครับ
อันนี้ถามเป็นความรู้นิดนึง ตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิห้องในทางทฤษฏีมันเป็นไปได้ใช่ใหมครับ ถึงได้พยายามกัน เพราะถ้าพยายามต่อไปมันต้องทำได้แน่ ใช่หรือเปล่าครับ
ตามทฤษฎีไม่ได้มีความจำกัดอะไรครับ
คือถ้ามันของจริง ก็น่าจะเอามาใช้ทำควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้เลยนี่แหละครับ
เทียบสมัยก่อนคงแนวๆ เอาทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศทำนองนั้น
เทคโนโลยีมันจะพัฒนาการแบบก้าวกระโดดเลย ถ้าเป็นของจริง
ควอนตัมคอมพิวเตอร์คงได้ประโยชน์จากมันบ้างแต่ยังไงก็น่าจะต้องหล่อเย็นจัดเพื่อให้อนุภาคมันนิ่งๆ ลดการรบกวนกันอยู่ดีนะครับ
ไอเดียมันคือไม่มีความร้อน แล้วไม่มีแม่เหล็กรบกวนเลยนี่แหละครับ ที่มันน่าสนใจ
อาจจะต้องมีหล่อเย็นบ้าง แต่น่าจะระดับเดียว server สมัยนี้ ไม่ต้องขนาด -2xx แบบตอนนี้
ผมว่าก็ต้อง -2xx°C อยู่ดีนี่แหละครับเพราะตัว qubit มันโดนความร้อนรบกวน 🥲
แต่ถ้าใช้ LK-99 ทำ qubit ชนิดใหม่ออกมาได้แล้วไม่กระทบกับความร้อนด้วยก็คงดีครับ
Hoverboard ลอยมาแต่ไกลเลย
Hoverboard มันทำงานยังไง ทำไมต้องใช้ Superconductor ด้วยหรอครับ?
SPICYDOG's Blog
ตามหลัก Conservation of Energy ถ้าเรายืนอยู่บน board เฉย ๆ ไม่ได้ลอยสูงขึ้นหรือต่ำลง ก็ถือว่าพลังงานในระบบเท่าเดิม ไม่ต้องมีการป้อนพลังงานจากข้างนอกเข้าไปอยู่เรื่อย
แต่ตอนนี้ขดลวดที่อยู่ในแม่เหล็กไฟฟ้ามีความต้านทาน ทำให้เกิด loss เป็นความร้อน ถึงจะลอยอยู่เฉย ๆ แต่เสียพลังงานไปเรื่อย ๆ อยู่ดี ถ้ามี superconductor ที่ไม่มีความต้านทานไม่มี loss เราก็จะมี board ที่ลอยอยู่เฉย ๆ ได้โดยไม่ต้องคอยใส่พลังงานเข้าไปเติมครับ
แต่แรง g ก็ยังจะกระทำต่อบอร์ดอยู่ไม่ใช่เหรอครับ
ในเหตุผลที่พูดถึงนี่ น่าจะหมายความถึงพวก MAGLEV อะไรอย่างนั้นมากกว่ารึเปล่าครับ
งาน = แรง x ระยะทางครับ ถ้ามีแรงแต่ไม่เกิดระยะทางก็ไม่เกิดงาน ลองคิดว่าเหมือนเอากล่องวางไว้บนสปริงก็ได้ครับ มีแรงจากสปริงยกกล่องตลอด แต่ถ้ากล่องไม่เคลื่อนที่ก็ไม่เกิดงาน กล่องก็มีพลังงานเท่าเดิม
ถ้าเราเอามือกดกล่องให้เตี้ยลงถึงจะเกิดงาน แล้วพลังงานก็จะไปเก็บอยู่ในปริง พอเราปล่อยมือก็ได้พลังงานนั้นกลับมา ถ้าเป็น hoverboard เวลาคนขึ้นไปยืนมันก็จะเตี้ยลง พลังงานก็ถูกเก็บเป็นกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่มี loss มันก็ไม่ได้หายไปไหน พอคนก้าวลงมันก็ลอยกลับขึ้นไปที่ตำแหน่งเดิม กระแสไฟฟ้าก็ลดลงเหลือเท่าเดิม
มีเรื่องจะสารภาพครับ ผมนึกว่าคุณพูดถึง hoverboard แบบใน back to the future
เพิ่งรู้ว่าพวกสองล้อแบบ segway นี่ก็เรียก hoverboard เหมือนกัน 😅
ใช่ครับ พูดถึงแบบ back to the future ที่ลอยจากพื้น
ใน btf มันลอยได้ทุกพื้นผิว ไม่ใช่แบบต้องอาศัย track segment ที่มีสนามแม่เหล็กไม่ใช่เหรอครับ
ผมถึงบอกว่า hoverboard ที่ผมเข้าใจ คือแบบ btf ที่ลอยอยู่เหนือพื้นผิวได้ทุกแบบ
แต่ที่คุณอธิบาย มันคือหลักการคล้ายๆ MagLev น่ะครับ คือต้องมี track segment ที่ให้สนามแม่เหล็ก แล้วใช้ superconductor ลอยอยู่เหนือสิ่งนั้น
สนามแม่เหล็กโลกไหมครับ 😬
(ล้อเล่นนะครับ รู้ว่ามันไม่พอ orz)
ถ้าสนามแม่เหล็กโลกใช้ได้นี่ ลิฟต์อวกาศต้องมาแล้ว
ตอนแรกก็ไม่เข้าใจแต่ไปตามอ่าน Superconductor มันเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ ถ้าทำได้คือการพลิกโลกของจริง อยากให้สำเร็จในช่วงชีวิตนี้จริงๆ
แว่บแรกที่นึกถึงคือตอนมหากาพย์ stemcell
gravity gun (half life) นี่คล้ายกันไหมครับหรือคนละหลักการกัน