ความคืบหน้าของโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ทางประชาชาติธุรกิจอ้างแหล่งข่าวระบุว่ารัฐบาลกำลังหารือกับธนาคารกรุงไทยเพื่อใช้แอปเป๋าตังค์ในการแจกเงินดิจิทัลในโครงการนี้ โดยผู้รับเงินทอดแรกๆ จะไม่สามารถถอนเงินสดออกมาได้ แต่ต้องนำไปซื้อของต่อตามเงื่อนไขจึงนำเงินออกได้
นโยบาย 10,000 บาทดิจิทัลเป็นหนึ่งนโยบายในชุด Blockchain Hub แห่งอาเซียนของพรรคเพื่อไทย และถูกตั้งคำถามถึงความจำเป็นต่อการใช้งาน blockchain เรื่อยมา และพรรคเพื่อไทยเคยระบุว่าการร่วมโครงการนั้นผู้จ่ายเงินใช้เพียงบัตรประชาชนและ QR เท่านั้น จึงไม่ชัดเจนว่า blockchain จะอยู่ตรงไหนของโครงการนี้
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
Comments
เวทีการแถลงนโยบายดูไม่ค่อย "อนาคต" เลยแฮะ มันคุ้นๆ 55555555
คำ "แหล่งข่าว" อีกแล้ว
ถ้าให้ใช้กับแอพพวกลาซาด้าช็อปปี้ได้ ผมจะหันกลับมาเลียเพื่อไทย
ถ้าเป็นร้านที่จดทะเบียนการค้าผมโอเคนะ แต่ถ้าเป็นพวก
รับสินค้าจีนมาขายไม่ผ่าน อย. มอก. หรือร้านที่ขายของ
ไม่ตรงปกแบบนี้ไม่โอเค
ถ้าอยากให้เม็ดเงินมันสะพัด มันต้องมีข้อละเว้นบ้าง "ย้ำว่าบ้าง" ไม่ใช่ละมันทุกอย่าง หรือเข้มงวดทุกอย่าง ตั้งบาร์อย่างสูงจนกลายเป็นเงินไปเข้าธุรกิจขนาดใหญ่หมดครับ
ได้มาหมื่นนึง ซื้อข้าวหน้าเป็ดข้างทางไม่ได้เพราะไม่มีอย. ซื้อของจากร้านคนไทยตามหมู่บ้านที่นำเข้าจากจีน ไม่มีมอก.ไม่ได้ แบบนี้ก็สบายร้านสะดวกซื้อ หรือห้างค้าปลีก ค้าส่งเลยครับ
มันก็ต้องหาวิธีอะครับ ว่าจะทำยังให้เข้าพวกตัวใหญ่น้อยสุด
เพราะทางนั้นก็ต้องการเอาเงินบางส่วนกลับคืนมา แต่คืนมาในรูปรายได้จาก VAT และภาษีเงินได้นิติบุคคล
ซึ่งทางนั้นประเมิณไว้ว่าจะมีเงินคืนกลับมา 10-20% (น่าจะราวนี้ๆ ถ้าจำไม่ผิด)
ถ้าปล่อยให้ฟรี เงินรัฐจะก็จะหายไปไม่มีคืนกลับมาในระบบ
ซึ่งผมเองก็ไม่เห็นด้วยที่จะปล่อยฟรี
การซื้อขายสินค้าจากต่างประเทศหรือร้านแบบชอบปี้ลาซาดาถือว่าเป็นการใช้เงินอัดฉีดเศรษฐกิจที่ล้มเหลวอย่างที่สุดครับ เดิมที่แค่การแจกเงินก็ถือว่าเป็นการจ่ายที่ด้อยกว่าวิธีอื่นอยู่แล้ว เพราะไม่ได้มีการผลิตจริงเกิดขึ้น ยิ่งการจ่ายตรงทีเดียวไปซื้อแบบนี้คือไม่มีผลต่อระบบใดๆทั้งสิ้น ต่อให้คุณจะซื้อสินค้านั้นมาขายก็ตาม ดังนั้นการจำกัดซื้อขายบางอย่างยังต้องมีเอาไว้เพื่อให้เงินหมุนในส่วนบุคคลหรือชุมชนมากที่สุด
ส่วนการซื้อขายร้านคนไทยที่ขายของนำเข้าแม้จะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเพราะต้องนำเงินไปนำเข้าของเพิ่ม แต่ในจำนวนนั้นก็ยังมีกำไรและภาษีที่เกิดขึ้นและนำมาใช้เป็นทอดๆในระบบ
มีข้อขัดแย้งใดๆศึกษาเพิ่มเติมได้จากเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นระดับมหาลัย ในส่วนของเศรษฐกิจมหภาคนะครับ เน้นส่วนของตัวทวีคูน
เรื่องที่ว่าใช้เงินดิจิตอลซื้อร้านช็อปปี้ลาซาด้าคือการอุดหนุนเศรษฐีอันนี้เห็นด้วยครับ ซึ่งผมก็รู้แต่แรกอยู่แล้ว
แต่ผมอยากได้อ่ะ ถึงบอกว่าถ้าทำได้จะหันกลับมาเลียเพื่อไทย เพราะถ้าทำจริงคนด่าแน่
คงกำลังโยนหินถามทาง
เดาว่าเงื่อนไขการถอนเงินต้องมีการหมุนต่อของtoken(เงิน)ขั้นต่ำ xx ต่อและมีระยะเวลา 6 เดือนถึงจะถอนได้
ต้องทำให้ ecology ครบถ้วนไม่งั้นร้านเล็กสายป่านสั้นตายเพราะขายของได้แต่นำไปซื้อวัตถุดิบไม่ได้เพราะไม่มีเงินสำรอง แต่ถ้าทำให้เจ้าใหญ่รับได้(อาจจะกำหนดโควต้าหรือต้องเป็นร้าน tier2 ห้ามคนทั่วไปซื้อตรง) เงินหมุนกันมันแน่
ป.ล.เห็นในข่าวอื่นๆกลัวเงินประชานิยมบลาๆ แต่นโยบายเด่นๆของพรรคอื่นเช่นให้เงินคนแก่เดือนละสามพัน นี่แค่สองปีก็ใช้งบมากกว่านโยบายdigital walletแล้วนะ
เงินคนแก่เขาไม่เอามาใช้จ่ายรึครับ หรือคิดว่าเขาจะสะสมไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน
การใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นการอัดฉีดเงินในระบบส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจเสมอ ปกติแล้วเงินโอนจากรัฐหรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าการแจกจะมีผลน้อยกว่ารูปแบบอื่นเสมอ แต่การจะทำให้เงินนั้นมีประสิทธิภาพยังไงอยู่ที่การกำกับดูแล และการใช้ของประชาชน ตัวอย่างเงิน 3000 สำหรับมุมประชาชนอาจเป็นการแจกเหมือน 10000 แต่สำหรับคนทำนโยบายสามารถทำให้เป็นเงินลงทุนได้ เพราะเงินนี้หากควบคุมการใช้จ่ายให้ถูกต้องทั้งเป้าหมายและการใช้ เป็นการลงทุนให้กับคนในครอบครัวมีเงินเพิ่มขึ้นทดแทนเกือบอาทิตย์จากเดิมที่ต้องออกไปทำงานหาเงินเพิ่มเพื่อให้เกิดรายได้ในการดูแลรักษาผู้สูงอายุ ลดภาระลงมีเวลาให้กับคนสำคัญมากขึ้น แม้การหารายได้เสริมจะหยุดไปแต่ก็เปิดช่องว่างให้คนที่ต้องการงานเข้าไปแทนและสร้างรายได้จุดนี้จะเกิดการผลิตเกิดการสร้างงานขึ้นมา ส่วนการใช้จ่ายให้ถูกที่ก็อาจจะมีการให้ความสะดวกในการจ่ายสินค้าผู้สูงอายุ ยา หรืออาหารได้ง่ายกว่า นอกจากนี้รายได้สามารถเกิดจากการบริหารงบประมาณที่วางเอาไว้เพื่อหนุนเรื่องนี้
อาจจะดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามีการศึกษามาในสาขาของมันควาทเป็นไปได้สูงมาก ผมเองสามารถใช้การจัดการด้านการเงินบริหารเงินในระดับที่หยุดการขาดทุนของกิจการและผ่านโควิทมาได้โดยไม่ได้กู้เงินที่ไหนเลย มีเงินทุนแค่เงินสดหมุนเวียนไม่ถึง 50000 ด้วยซ้ำ เอาแค่การแก้ปัญหาเรื่องเงินทอนงบก็เท่าไรคนทำงานราบการรู้ดี แองค์กรไม่ทุจริตก็ยังทำ คืนงบมันยุ่งยากแถมปีหน้าโดนลดลงบเพราะใช้ไม่ถึงด้วย ส่วนใหญ่เลยไปซื้อของมาเก็บไว้จนกลายเป็นขยะ
แต่ไอ้การสร้างเงินขึ้นมาแบบนโยบายนี้ ที่อ้างว่าไม่ใช้เงินงบแค่นั้นก็เจอปัญหาหลักระดับโลกแล้ว เรื่องการยอมรับในเงินนี้ สำหรับคนนอกมันคือการที่เราพิมพ์เงินมาใช้เอง (อธิบาายสาเหตุมันจะยาวไป)
ตอบรวมๆสองท่านนะครับ 3000 มันภาระงบประมาณระยะยาวครับ
ประชากรที่อายุเกิน 60 ทุกวันนี้มี 13ล้านคน(ตัวเลขปีก่อน) มีข้าราชการบำนาญราวๆ 6แสนคน(ตัวเลขเก่า) ปัดให้กลมๆ หักไปล้านนึงเหลือ 12ล้านคนแจกคนละสามพัน ก็เดือนละ 3.6หมื่นล้าน ปีนึงก็4.32 แสนล้านแล้ว แถมสถิติน่าจะต้องจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่เถียงเรื่องรัฐสวัสดิการควรมี แต่การเติมเงินทีละน้อยๆมันเหมือนประทังชีวิตครับ แค่พอประทังแต่มันไม่ได้บูสเศรษฐกิจเท่าที่ควร แถมคนสูงอายุค่าใช้จ่ายก็มักจะไม่ได้เข้าระบบ ไม่ส่งเสริมเศรษฐกิจมหภาคไม่ต่างจากสมัยคนละครึ่ง ไม่ได้ขยับGDP เลย (แต่ตอนนั้นมันช่วยเรื่องโควิท ก็คนละเรื่องกับปัจจุบัน)
ผมแค่ทักว่า ถ้าคนกลัวว่างบกระตุ้นเศรษฐกิจห้าแสนล้านใช้ครั้งเดียวในสี่ปีเยอะเว่อ โครงการจ่ายคนสูงอายุสามพันใช้งบมหาศาลและระยะยาวมากกว่าเยอะเท่านั้นแหละ ถ้าบอกเงินห้าแสนล้านนี้เป็นไปไม่ได้ งบสามพันบาทคนแก่ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ยิ่งกว่าซะอีก
blockchain มันเป็นแค่ข้ออ้าง เค้าไม่ได้อยาก develop จริงๆ
แต่.. ปัญหามันมาจาก เพื่อไทยไม่มีเงิน 5แสนล้าน เอาไปใส่ app เป๋าตังค์ให้ไปใช้กันจริงๆ (update ตอนนี้ไปกู้รัฐวิสาหกิจมาแทน)
เลยใช้ blockchain เป็นเหยื่อเพื่อที่จะ generate คูปองศูนย์อาหารมาแจก(ทางทฤษฏีจะแจกซัก ล้านๆก็ได้เพราะมันสร้างมาจากอากาศ)
แล้วค่อยมาเงินมาคืนตอนที่ แต่ละร้านเอาคูปองมาแลกเป็นเงิน(หวังว่าจะหัก vat , ภาษี bla..bla..bla ได้ เหมือนมาแลกคืน 100 จ่ายคืนแค่ 90 หลังหักนู้นนี่)
อย่างน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นก็จะแนวๆนี้
กู้ = ดอก = ผลตอบแทนกิจการ = ปันผลผู้ถือหุ้น
ใครบอกว่าไม่มีปัญหานี้หรือตอบแนวว่านี่รัฐวิสาหกิจนะทำเพื่อประชาชนสิ อยากบอกว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมาขนาดการไฟฟ้าไม่ได้ถูกขายหุ้นยังเป็นเครื่องมือนายทุนได้ รัฐวิสาหกิจอื่นที่ขายหุ้นไปแล้วบอกเลยว่าไม่มีทาง
"แจก" ก็เอา แต่อยากเห็นความ "เปลี่ยนแปลง" มากกว่า
แค่แจกใครๆ ก็ทำได้
สูงสุดสู่สามัญ สุดท้ายก็กลับมาที่เดิม (แต่ก็ดีแล้ว ประหยัดเงินค่าพัฒนาแอพใหม่)
จะให้มัน blockchain ยังไง? ไปจ้างเด็กน้อยทำเว็บลง xampp แล้วรันระบบไรงี้เหรอ
มองแบบไม่สนการเมืองนะ นโยบายมันยังขาดรายละเอียดที่สำคัญอีกมาก ประเด็นและข้อกังขาใหญ่ ๆ ยังคงไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็น 1-ซื้อของที่ไหนได้บ้าง 2-เงินจะมาจากไหน 3-4 กม. กลางกรุงเทพ vs อมก๋อย จะยังไงต่อ 4-ขึ้นเงินได้ตอนไหน
คำถามพวกนี้มีคนถามตั้งแต่ตอนหาเสียงแล้ว ก็มีคำตอบคร่าวๆมาแล้ว
ถ้าจำไม่ผิดเรื่องระยะทาง จะพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์จริงอีกที เช่นอ.รอบนอกก็คงขยายสิทธิ์ทั้งอำเภออะไรแบบนี้ เรื่องซื้อที่ไหนได้บ้าง คือร้านค้าต้องเข้าระบบภาษีจดทะเบียนการค้าถึงจะลงทะเบียนรับโอนได้ ไม่ใช่ใครที่ไหนก็รับหรือขายของด้วยเงินนี้ได้(บังคับให้เข้าระบบในตัว) ขึ้นเงินได้ตอนไหนตอนนั้นเหมือนตอบคร่าวๆว่า 6เดือนหลังเริ่มโครงการ(อันนี้ไม่แน่ใจ) โดยเน้นให้มีการหมุนของเงินในระบบแอพก่อน เช่นขายของได้ ก็เอาเงินนี้ไปซื้อวัตถุดิบจากร้านส่ง ฯลฯ จนสุดท้ายค่อยมาขึ้นเงินได้ก็เป็นเทคนิคชะลอการหางบมาจ่ายนั่นแหละ และบังคับให้เงินหมุนเวียนในตัว
ไม่มีอ้างอิงนะแต่จำจากข่าวตอนนั้น แต่จริงๆแนวคิดคือเหมือนให้คูปองไปหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจในระบบนั่นแหละ ไม่ว่าผ่านระบบอะไรก็ตาม แต่ความยากคือตอนขึ้นเงินจะมีเงื่อนไขอะไรแค่ไหน เช่นอาจจะให้เครดิตภาษี หรือต้องบังคับการหมุนไม่ต่ำกว่ากี่ขั้น(เพื่อให้รัฐมีรายได้จากvatหลายต่อ) ที่แน่ๆ จะขายของแล้วดองเงินเฉยๆ6 เดือนร้านเล็กๆคงทำไม่ได้ ต้องหมุนเงินต่อด้วยการไปซื้ออย่างอื่นจากร้านที่รับ
ผมมีคำถามอย่างนึง
ถ้าผมไปซื้อดอกไม้ในตลาดแถวบ้าน (<4km)
แต่แม่ค้าต้องไปซื้อของที่ปากคลองตลาด (>4km)
แล้วพ่อค้าส่งที่ได้เงินตรงนี้ไปเขาจะไปซื้อข้าวกิน (<4km)
ผมว่าเรื่องข้อจำกัดระยะทางมันซับซ้อนกว่าที่คิดเยอะนะ
สู้ไปกำหนดว่า ห้ามห้างใหญ่รับ น่าจะง่ายกว่า
แต่ก็อีกล่ะ แม่ค้าซื้อหมูแมคโครมาขายจะทำยังไง
หรือจริงๆ ก็กำหนดรอบการหมุน ก่อนเอามาขึ้นเงินได้ พวกห้างใหญ่ก็จะต้องหมุนเงินออกมาโดยปริยาย
ถ้าดูย้อนไปถึงจุดประสงค์แรกโดยตัดเรื่องการเมือง คือเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน เลยกำหนดระยะทางในการใช้งานมาแต่แรก แต่ก็จะเกิดช่องโหว่ถ้าชุมชนนั้นไม่มีร้านส่งหรือตัวแทนขายจริงๆนั่นแหละ ซึ่งถ้าเป็นเมืองใหญ่หรือกทม.จะไม่มีปัญหามีร้านส่งแทบทุกหัวถนนอยู่แล้ว แต่พอเป็นอ.เล็กๆอาจต้องกำหนดระยะทางระดับอำเภอเลย
ส่วนถ้าปกติร้านข้ามจังหวัดหรือไปซื้อจากแหล่งใหญ่ไกลๆ ก็อาจใช้ประโยชน์จากเงินนี้ไม่ได้ แต่ถ้ามองย้อนว่าเป้าหลักคือให้เงินสะพัดในชุมชนก่อน แม้ต้นทุนอาจจะเพิ่ม(เพราะร้านส่งใกล้บ้านขายแพงกว่าเจ้าใหญ่)แต่ได้ยอดขายมหาศาลจากเงินส่วนนี้ชดเชยก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้
จริงๆผมว่าช่วงแรกนี่จดทะเบียนร้านหรือกิจการขนาดเล็กเพื่อมาเน้นรับรายได้ตรงนี้ ก็จะเกิดอาชีพใหม่ๆเพียบเลย รวมถึงคนหาทางแก้ช่องโหว่(แบบคคห.ล่างที่มีคนรับโอนข้ามเขตติดกันเป็นทอดๆ)แต่ก็ต้องบริหารภาษีดีๆ เพราะจะต้องนับเป็นรายได้การขายทั้งหมด
อย่าลืม ชุมชนคุณมีกี่คน เพิ่มกำลังซื้อคูณเงินหมื่นเข้าไปมันกระตุ้นงานมหาศาล ยิ่งกว่าสมัยmiyazawa อีก
แต่ถ้ามี ก็จะไปติดประเด็นที่ร้านส่งหรือตัวแทนขายนั่นว่าแล้วรับมาแล้วจะไปใช้ยังไงต่ออีกที
ก็คงต้องผันเงินไปใช้จ่ายอื่นๆในชุมชนครับ เชื่อว่าแม้แต่ร้านส่งก็ต้องมีการใช้จ่ายในพื้นที่ (จริงๆพวกค่าจ้างแรงงาน ก็สงสัยว่าจะมีช่องทางให้ใช้ได้ไหม หรือต้องออกแบบยังไงเพื่อป้องกันการโกง ไม่งั้นผมรับจ้างน้องๆญาติๆผมทำงานส่วนตัวเลยง่ายดี? ถ้าให้เสียภาษีเงินได้ก็ไม่ยากนะ)
ไม่งั้นก็คงต้องรอให้ครบเวลาแล้วไปแลกเงินอีกที ก็เป็นทางเลือกว่าจะรีบใช้(ในชุมชน)หรือว่าจะรอไปเคลมกับภาครัฐ
สุดท้ายก็ต้องรอฟังเงื่อนไขจริงๆครับ
สงสัยอย่าง หลังแจกแล้ว จำได้ว่า โครงการมีอายุราวๆ 6 เดือน จะเกิดอะไรขึ้นกับเงินที่ไม่ได้เกิดการใช้หรือแลกเปลี่ยนออกไป
จากข้อจำกัด 4km อาจจะเกิดอาชีพใหม่ รับโอนเงินเป็นทอดๆจนถึงปลายทาง
blockchain #เพื่อการโฆษณาเท่านั้น (อีกครั้ง?)
WE ARE THE 99%
เขาฝืนจะทำก็มีคนบ่น
เปลี่ยนใจไม่ทำก็มีคนบ่น
เอาใจยากแท้
หลายทอด?
ถ้าจ่ายให้ แมคโคร แล้วทางบริษัทจะใช้ยังไง ให้ผู้จัดการเอาโทรศัพท์บริษัทไปแสกนจ่ายรึเปล่า
พอเข้าบริษัทใหญ่ๆ แล้วจ่ายออกลำบาก ไม่ใช้ก็กลายเป็นขายเงินเชื่อระยะยาวหลายเดือนอีก
พึ่งได้ยินข่าว เรื่อง "หลายทอดก่อนจะเบิกถอนเงินสดได้"
สมมุติถ้าเป็นสินค้าหรือบริการที่มันต้องเสียภาษี 7% หรือ มีนโยบายหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนี่
ถ้าเก็บไป 10 ทอด ปลายทางจะเหลือกี่บาทเชียว...
นั่นคือจุดประสงค์ของเงินอัดฉีดอยู่แล้วนี่ครับ เราคาดหวังแบบนั้นกันมาเสมออยู่แล้ว 😅
ผมฟังสัมภาษณ์แต่แรก เขาคาดหวังvat 7ครั้งนะครับ แล้วชูว่าจริงๆแล้วใช้เงินไม่ถึงห้าแสนล้าน เพราะได้คืนเป็น vatมาเยอะ
ซึ่งถ้าคนทั่วไปอยู่ในระบบอยู่แล้วก็ไม่น่าต้องกังวลอะไร แต่กลัวจะเหมือนสมัยคนละครึ่ง ที่ร้านค้าเจอสอบภาษีแล้วโวยวายกันเพราะหนีภาษีกันมานานมากกว่า
แต่เงื่อนไขต่างๆก็คงต้องรอดูของจริง
นั่นแหล่ะที่เขาต้องการ เขาจะเน้นให้ใช้จ่ายกับธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเพื่อให้รัฐสามารถเก็บภาษี Vat คืนกลับมาได้หลายต่อ เรื่องของเศรษฐศาสตร์มหภาค เราไม่สามารถเอาเศรษฐศาสตร์ทั่วไปไปกำหนดเงื่อนไขได้ เพราะมันไม่ได้ตรงไปตรงมา หน้าที่รัฐคือกระตุ้น แล้วเก็บคืนไม่ใช่จากผู้รับเงิน แต่จากเอกชนที่ขายสินค้า และ Supplier ของเขา ในรูปแบบของ Vat และภาษีอื่นๆ เหมือนให้เอกชนช่วยเก็บภาษีให้นั่นแหล่ะ ถ้าสินค้าตัวนั้นมีห่วงโซ่อุปทานยาว รัฐก็จะยิ่งได้คืนเยอะในรูปแบบภาษีแบบต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในไทยที่ทำได้แล้วไม่ค่อยมีปัญหาเวลาแจกเงินเพราะไทยมีผู้ผลิตสินค้า และผู้ผลิตวัสดุในห่วงโซ่อยู่ในประเทศซะเป็นส่วนใหญ่ มันทำให้เก็บ Vat ได้หลายต่อ แต่ประเทศที่นำเข้าสินค้าเยอะๆ แบบเพื่อนบ้านทำอย่างนี้ยากเพราะห่วงโซ่อุปทานอยู่ต่างประเทศ
ถ้าให้ผมเดาเขาคงเน้นยิงไปที่ภาคท่องเที่ยว สินค้าอุปโภคบริโภคตามห้างค้าปลีก convenience store และผู้ค้าที่อยู่ในระบบภาษี นั่นแหล่ะ เพราะพวกนี้ส่วนใหญ่ห่วงโซ่อยู่ในไทยทั้งหมด
อ่านคอมเม้นต์ในนี้แล้วประเทืองปัญญาดีครับ
ไม่เหมือนในเฟซ อันนั้นเน้นแซะอย่างเดียว
ที่อยู่บ้านอยู่เชียงใหม่ แต่ทำงานกรุงเทพ ต้องบินกลับไปซื้อของในรัศมี 4 กิโลเปล่านะ
ประโยชน์อีกอย่างนึงของโครงการ
ส่งเสริมให้ย้ายทะเบียนบ้านตามมาที่ที่อยู่ปัจจุบัน
ทุกวันนี้มีปัญหาเรื่องทะเบียนบ้านไม่ตรงกับที่อยู่ปัจจุบัน ส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่ไม่ถูกต้อง แทนที่จะสามารถสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลเจาะพื้นที่ต่างๆได้โดยดูจากฐานข้อมูลประชากร ก็กลายเป็นใช้ไม่ได้
ถ้างั้นกรุงเทพคงพอละครับ หนาแน่นเกินไปแล้วเปล่า แต่บางเขตแบบเขต Office กลางวันแน่น กลางคืนโล่งอีก
จริงๆก็ควรจะย้ายทะเบียนบ้านตามจริงครับ เพราะการจัดเก็บภาษีเงินได้ เขายึดตามทะเบียนบ้านที่สังกัด
ผมมาWFHตจว.ก็เกรงใจเทศบาลแถวบ้าน เพราะภาษีจ่ายให้เขตในกทม.ทั้งๆที่สามปีมานี้อยู่กทม.ไม่ถึง1เดือนเลยครับ
ย้ายเข้าหอพัก ห้องเช่า กัน คงวุ่นวายกันน่าดูเลยนะครับ