เมื่อวานนี้หลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวถึงโครงการ Digital Wallet ช่วงหนึ่งในการแถลงระบุถึงเกณฑ์การรับเงินใน Digital Wallet 10,000 บาท ว่าจะตัดสิทธิ์ผู้ที่มีรายได้เกิน 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินในบัญชีทุกบัญชีรวมกันมากกว่า 500,000 บาท โดยแสดงข้อมูลว่ามีผู้มีเงินเดือนเกิน 70,000 บาท อยู่ที่ 1.3 ล้านคน และผู้ที่มีเงินในบัญชีรวมทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท อยู่ที่ 3.5 ล้านคน การตัดกลุ่มนี้ออกทำให้ใช้เงินเหลือ 500,000 ล้านบาท คำถามหนึ่งคือที่มาของข้อมูลชุดนี้จะมาจากไหน และรัฐบาลรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละคนมีเงินฝากรวมมากน้อยเพียงใด
คุณจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยกับ ThairathTV ว่ารัฐบาลมีฐานข้อมูลชุดนี้อยู่ โดยไม่ระบุว่าเป็นหน่วยงานใดที่ได้รับข้อมูลชุดนี้ แต่ยืนยันว่าไม่ผิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลแน่นอน
หน่วยงานหนึ่งที่ได้รับข้อมูลเงินฝากคือกรมสรรพากร ที่บังคับให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยของทุกบัญชีให้กับทางสรรพากรเพื่อคิดภาษีดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2019 หากทางกรมสรรพากรนำข้อมูลไปคิดย้อนก็จากอัตราดอกเบี้ยก็น่าจะมองเห็นเช่นกันว่าแต่ละคนมีเงินฝากเท่าใด
ที่ผ่านมาข้อมูลบัญชีเงินฝากของไทยนั้นมีการเปิดเผยเฉพาะข้อมูลรายบัญชีเท่านั้น ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลว่าคนในประเทศไทยแต่ละคนนั้นมีเงินรวมทุกบัญชีกระจายตัวอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลล่าสุดบนเว็บของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นระบุว่ามีบัญชีที่มีเงินอยู่ในบัญชีเกินกว่า 500,000 บาท ประมาณ 3.584 ล้านบัญชี ใกล้เคียงกับตัวเลขที่นายกรัฐมนตรีระบุ และทางธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันกับ Blognone ว่าไม่มีข้อมูลชุดนี้ในหน่วยงาน
การจะรู้ว่าคนไทยมีมีเงินรวมกันทุกบัญชีเกินห้าแสนบาท ทุกบัญชีทุกธนาคารเป็นจำนวนเท่าใดนั้นจำเป็นต้องมีศูนย์ข้อมูลกลางและให้ทุกธนาคารส่งข้อมูลเงินในธนาคารแยกรายคนส่งให้ศูนย์ข้อมูลกลางไปรวมตามรายคน ไม่ว่าคนนั้นจะมีเงินในแต่ละธนาคารมากน้อยเพียงใด เพราะบางคนอาจจะมีเงินในบัญชีไม่ถึงห้าแสนบาทแต่รวมกันหลายๆ ธนาคารก็เกินห้าแสนบาทได้ ขณะที่คนบางคนอาจจะมีบัญชีที่เกินห้าแสนบาทหลายบัญชีพร้อมกัน
Comments
อยากรู้ว่าที่มั่นใจว่าไม่ผิดกฎหมายนี่ได้ข้อมูลมาจากหน่วยงานไหน อยากให้ท่าน รมช. ชี้แจงให้ละเอียดหน่อย ถ้าบอกว่าได้มาจากสรรพากรนี่วัตถุประสงค์มันอันเดียวกันกับที่จะกำหนดสิทธิ์ของดิจิทัลวอลเล็ตหรอ ไม่ต้องขอ consent ใหม่หรอ? 🤔
DPA? (เดานะ แต่เท่าที่พอรู้ก็มีหลายองค์กรที่น่าจะมีข้อมูลคล้ายๆกัน)
แต่ตอนโครงการชิมช้อปใช้ก็น่าจะเช็คข้อมูลแบบเดียวกันไปแล้ว ไม่น่าจะเพิ่งกังวลกันนะ
ส่วนตัวเลขภาพรวมภาครัฐรวมถึง..ต้องมีอยู่แล้วล่ะไม่งั้นกำหนดนโยบายทางการเงินไม่ได้หรอก แต่จะเอามาใช้รายบุคคลเข้าใจว่าน่าจะขอ consent ตอนกดลงทะเบียนรับสิทธิ์นะ
ตัวเลขภาพรวมมันใช้แบบ anonymized data เพื่อมาประเมินได้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่
แต่ประเด็นคือท่านรมช.ไปให้สัมภาษณ์ว่า ถอนเงินออกไปตอนนี้ก็ไม่ทันแล้ว เพราะรัฐมีข้อมูลอยู่แล้ว แสดงว่าข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้
ต้องรอประกาศcutoff dateนั่นแหละ แต่ขอ consent ตอนรับสิทธิ์เพื่อตรวจดูข้อมูลย้อนหลังรายบุคคล ณ วันที่กำหนดก็ได้ไม่แปลก ข้อมูลมันส่งไปทุกเดือนอยู่แล้ว
อย่างตอนชิมช็อปใช้ก็ประกาศนับตอนสิ้นปี ก็ไม่รู้โครงการนี้นับตอนไหน
คิดจากดอกเบี้ย? บัญชีกระแสรายวันไม่มีดอกก็ถือว่าไม่มีเงินฝากงั้นสิ
แชร์เป็นความรู้รอบโต๊ะครับ: เรื่องประเด็นฐานข้อมูลเช็คยอดเงินรวมในบัญชีเงินฝาก
ส่วนตัวอยากสนับสนุนให้มีระบบฐานข้อมูล check Allบัญชี All Bankได้ครับโดยใช้คำสั่งศาลหรือรัฐ เพราะตอนนี้เมืองไทยมีปัญหา "เรื่องการบังคับคดียืดทรัพย์"
อย่างที่เราเห็นข่าวฟ้องศาลสู้คดีกัน (3ศาล กว่าจะจบ ชั้นต้น-อุทรณ์-ฏีกา)
จนไปถึงจำเลยไม่ชำระหนี้ ศาลออกคำสั่ง กรมบังคับคดียืดทรัพท์ผู้ต้องหา
กรมบังคับคดี ไม่มีหน้าที่สืบทรัพย์ครับ เป็นหน้าที่ประชาชนต้องสืบเอง แล้วมันไม่มีแบบระบบกลางให้เช็ค "ต้องเดาเอาว่าลูกหนี้มีเงินที่แบงค์ไหน"
ต้องไปติดต่อ แต่ละแบงค์เอง มี10แบงค์ก็ต้องเอาหมายบังคับคดีไปเขียนคำร้องเอง ซึ่งแบงค์สาขานั้นๆอาจไม่ให้ก็มี อ้างpdpa ลูกค้า
ที่ดินก็เช่นกัน ต้องเดาเอาลูกหนี้มีที่ดิน จังหวัดอะไร ไม่งั้นคุณต้องเอาหมายไปสืบทรัพย์ ทั้ง76จังหวัดเอาเอง
จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก(หน่อย)ที่ประชาชนทั่วไปที่ถือหมายบังคับคดีจะสืบทรัพย์เอง เพราะระบบมันไม่มี
(...แต่อย่างไรก็ตามก็มี บ. และ ผู้เชียวชาญการสืบทรัพย์ ดำเนินการในส่วนนี้ ขั้นตอนการได้มาซึ่งข้อมูลอาจเหมือนในหนัง หรือที่เราๆดูข่าวทุนจีนสีเทา เจ้าหน้าที่ตำรวจตามยืดทรัพย์)
แถมเผลอๆสืบทรัพย์ไปๆมาๆ ซ่อนถ่ายเท ลูกหนี้เจอข้อหาโกงเจ้าหนี้ จากคดีแพ่ง งอกกลายเป็นอาญาหนักเข้าไปอีกกระทง
เรื่องที่ดินเคยอ่านเจอทนายแนะนำว่าให้เอาหมายไปคัดที่สำเนาที่ดินทั้งประเทศที่กรม เสีย 2 หมื่นบาทเอาทีเดียว
+1
ผมว่ารัฐควรมีข้อมูลนี้ได้นะ แต่ใช่ การจัดเก็บ การปกปิดข้อมูล การเข้าถึงต้องคิดมาดีมาก
บางทีก็คิด นักการเมืองเองน่าจะได้ประโยชน์ในส่วนนี้ เลยไม่ดิ้นรนที่จะพัฒนาระบบให้ดีขึ้น
งง เรื่องยื่นบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน ก่อนดำรงตำแหน่ง เป็นอะไรที่โคตรตลก
ใครมีเงินเก็บ จังหวะนี้คือความฉิบหายเลย
แบบนี้ต้อง Be your own Bank สินะ ความเป็นส่วนตัวในเงินของตัวเอง
ทุกวันนี้คือเราอยู่ในกำมือรัฐทุกอย่าง
มันเป็นนโยบายที่ชัดเจนแล้วว่าท่านมีสติปัญญาแค่ไหน ท่านกำลังทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นโดนไม่ทำให้เกิดการพัฒนาใด ๆ คนรากหญ้าน่ะ เงินเดือนเขาไม่เกิน 15,000 เกินนั้นเป็นผู้พอมีกินแล้ว ส่วนเงินฝากน่ะ รากหญ้าเขาไม่มีจะเก็บ เป็นแค่เงินฝากผ่าน ถ้าจะกำหนดเพดานเงินฝาก เอาแค่ 20,000 ก็เยอะแล้ว ท่านเอาเงินกู้ 500,000 ล้านไปพัฒนาประเทศให้เกิดการต่อยอดทางเศษรฐกิจและสังคมดีกว่าไหม อย่าทำผิดเรื่องเงินคริปโตซ้ำสองเลย
พวกแบกก็ ขอให้เชื่อมันรัฐบาลนี้มีปัญญาหาเงินมาจ่าย ไม่เป็นภาระลูกหลาน
คือ ตั้งแต่เข้ามาทำงาน ผิดคำพูดไปเท่าไหร่ กลืนน้ำลายไปขนาดไหน
และยังมาขอให้เชื่อมั่น
แล้วกู้เงินมาขนาดนี้ ระหว่างเอามากระตุ้นระยะสั้นกับลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว
ตอนหาเสียง ก็ยังชื่นชมนโยบายนี้ เพราะบอกว่าบริหารจัดการได้ ไม่ต้องกู้
แต่พอกู้มาใช้มันคนละเรื่องเลย
แล้วคนบอกไม่กู้ กลับคำมากู้ แล้วบอกจะใช้หนี้เงินกู้เอง
คำพูดมันไม่น่าเชื่อถือแล้ว
ยังไม่นับพวกลูกหาบ พวกตามเชลียร์แต่ละคน คือตรรกะมันพังไปหมด
เป็นผม ผมจะยกเลิกนะ ไหนๆก็ผิดคำพูดมาเยอะละ เอาให้สุด และทำในสิ่งที่ถูก วางแผนใหม่หมด เผลอๆได้คะแนนกลับมาอีก
+1
ได้โอกาสทำงาน ควรแสดงผลงานให้เป็นที่ประจักษ์
ืเพราะที่ผ่านมา มันย้อนไปแก้ไขอะไรไม่ได้ จะแถจะลากกันไปก็เท่านั้น
แต่ถ้าผลงานดี เห็นผลเป็นรูปธรรม ครั้งหน้ายังใช้เป็นจุดขายได้
ก็ลองดู ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยที่จะแจกเลย แต่ถ้าจะแจกควรแจกทุกคน
หรือไม่ มันก็ควรเป็นกุศโลบายประเภท ถ้าอยู่ในวัยทำงานจะแจกเฉพาะคนที่ยื่นภาษีหรืออะไรทำนองนี้ ไหนๆจะใช้เงินแล้วก็ช่วยหาทางตบๆคนให้เข้าสู่ระบบหน่อย ไม่ใช่เลือกข้อกำหนดแบบเหมารวมขอไปที ทำแบบนี้คนเก็บเงินเก่งเป็นคนผิดอะ
เปลี่ยนเป็นเงินสนับสนุนจากทางภาครัฐตอนขอคืนภาษีดูจะมีประโยชน์ในๆหลายๆด้านมากกว่าโครงการแจกเงินเพิ่มหนี้เพิ่มภาระให้ลูกหลานนี่อีก
อยากรู้ว่า 500,000 นี่ ใช้ข้อมูลของวันไหน
(ที่รู้ๆคือ ไม่ใช่ของปีนี้แน่ๆ เพราะรายชื่อผู้ได้สิทธื์ถูก Fixed แล้วเรียบร้อย)
ข้อมูลเดือนกันยายนปี 66
กู้มาแจก เพิ่มหนี้ให้คนเงินเดือนเกิน 25,000
หัวจะปวด
ไหนๆก็กลืนน้ำลายมาขนาดนี้ละ
กลืนอีกทีก็ไม่เป็นไรมั้งครับ
ฟังมาตั้งนานว่าโครงการนี้การแจกทุกคนจะใช้เงิน 5 แสนล้านบาท
หาทางออกกันมาตั้งนาน พอสรุปวิธีที่ลดค่าใช้จ่ายได้แล้วก็บอกใช้เงิน 5 แสนล้านบาท
ถึงกับต้องไปหาดูเลขย่อยว่าต่างกันแค่ไหน 😑
จริงๆตั้งใจแต่แรกแล้วนะว่าถึงแจกทุกคน ผมก็ไม่เอา เพราะไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับโครงการแบบนี้มาตลอด เหมือนจะหาเสียงยังไงก็ได้ แล้วก็หาทางกู้เงินมาใช้เอา
วินัยทางการเงินที่ดีของคนไทยจะไม่เกิด ถ้ารัฐบาลยังคิดจะรักษาฐานคะแนนในการเลือกตั้งรอบหน้าจากนโยบายแบบนี้
ผมว่าเราหลับตา มองข้ามรากฐานและปัญหาที่แท้จริงเรื่องการจัดเก็บรายได้บ้านเราไป เพียงเพราะกลัวกระทบฐานคะแนน การทำให้ทุกคนเข้ามาอยู่ในระบบภาษี จะทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ แต่ทำไมไม่ทำกัน
ไม่ใช่นะโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่สำคัญนะ แต่กับนโยบายนี้ ยังไม่เห็นว่าความคุ้มค่ามันอยู่ตรงไหน กับภาระหนี้สินที่จะเกิดขึ้น
..: เรื่อยไป
แนะนำให้รับมานะครับ เพราะเขาพูดตลอดว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หมายถึงให้เอามาใช้จ่ายเพิ่ม
เช่น เคยใช้เดือนละหกหมื่น ก็ให้ใช้จ่ายเพิ่มเป็นหกหมื่นสอง หกหมื่นเก้า อะไรแบบนั้น ไม่ใช่ใช้จ่ายเท่าเดิมเอาหมื่นที่ได้มาใช้แทน(ทุกฝ่ายเขาก็คิดว่าประชาชนคนรายได้สูงจะทำแบบนี้และคงไม่ได้กระตุ้นอะไร เสียเงินเปล่า)
เห็นหลายคนบ่นไม่ชอบนโยบายแจกเงิน
แต่เท่าที่ดูทุกพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งก็มีนโยบายแจกเงินไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
แม้แต่นโยบายพรรค...ที่อ้างว่าไม่มีประชานิยมก็สอดเรื่องการแจกเงินผ่านนโยบายสวัสดิการสังคมให้เงินคนแก่คนละสามพันบาททุกเดือน ซึ่งถ้านับตัวเลขคนมีสิทธิ์คนอายุเกิน 60ปี 13ล้านคนหักกลุ่มบำนาญ ก็คือรัฐต้องหาเงินเพิ่มมาจ่ายปีละ4แสนล้านบาททุกๆปีตลอดไปและน่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าพรรคนั้นได้เป็นรบ.จริงจะหาเงินจากไหน ลดงบส่วนอื่น(งบส่วนไหนสี่แสนล้าน?) แต่มันก็คงเป็น what if ไปเรื่อยๆ?
ส่วนถ้าบอกว่าใครรวยแล้วก็มีสิทธิ์ไม่รับก็ทำได้เช่นกันรวมถึงนโยบายครั้งนี้
ส่วนใครบ่นว่าตัวเองไม่ได้สิทธิ์แต่ต้องจ่ายภาษีจ่ายหนี้ให้คนที่ได้ มันไม่มีนโยบายไหนครอบคลุมโดยตรงทุกคนทุกเงื่อนไขอยู่แล้วล่ะครับ(แม้แต่นโยบายพวกสุขภาพถ้วนหน้าก็มียกเว้นข้าราชการ/ประกันสังคม) แต่ถ้ามองภาพรวมเงินสะพัดมันกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหนก็คงต้องรอดูผล สมัยจำนำข้าว เงินหมุนเวียนในอำเภอจังหวัดเพิ่มมหาศาล ต่อให้คุณไม่เกี่ยวข้องกับชาวนาเลยก็ได้ผลประโยชน์เพิ่มทางอ้อมครับ
แต่จริงๆนโยบายนี้เป็นการส่งเสริมให้เข้าระบบภาษีโดยตรงเลยนะครับ เพราะร้านค้าที่จะรับเงินต้องลงทะเบียนเข้าระบบภาษีนี่แหละ รอดูสำนักข่าวไปสัมภาษณ์แม่ค้าร้านขนาดกลางที่จะบ่นว่าไม่อยากรับเพราะกลัวโดนภาษี(ปกติหนีภาษี?)กันได้เลย
ส่งเสริมการเข้าระบบภาษีนี่ต่างจากคนละครึ่งอย่างไรหรือครับ เพราะไม่ต้องเข้า VAT เหมือนกัน (และร้านค้าเหล่านั้นก็น่าจะเข้า หรือโดนบังคับเข้า) ไปหมดแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
คนละครึ่งก็ถือว่าสนับสนุนการเข้าระบบนะครับ แต่เข้าใจว่าลงทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาได้ เคยเห็นตอนไปซื้อของร้านใหญ่ในตัวเมือง ชื่อคนรับเป็นชื่อบุคคลไม่ใช่ชื่อร้านครับ มันก็มีโอกาสหยุดได้ง่ายกว่า เช่นร้านแบ่งให้ลูกคนละคนไปลงทะเบียนแยก เพื่อคิดภาษีแยก แยกยอดขาย พอหมดโครงการก็อ้างว่าเลิกทำไปแล้ว ก็ถือว่าบังคับเข้าระบบส่วนหนึ่ง
แต่หลายคนเป็นแค่แผงลอยยอดไม่เยอะ บางทีสรรพากรก็อาจจะไม่ค่อยสนใจ เพราะเสียเวลามาประเมิน(ประเมินแผงลอยคือนั่งนับยอดขายในช่วงเวลาหนึ่งๆเลย เช่นร้านก๋วยเตี๋ยวก็นับจาน) หรือถ้าสรรพากรไม่ว่างมานั่งประเมิน เจ้าของร้านก็อ้างเรื่องต้นทุนได้ตามใจชอบเลยอ้างกำไรน้อยๆได้อีกตะหาก
แต่รอบนี้เงินหมุนเวียนเยอะกว่าเดิมเยอะ ยอดขายน่าจะเพิ่มกว่าเดิมหลายสิบจนถึงร้อยเท่า สรรพากรขยันกว่าเดิมแน่ๆครับ
อำเภอเล็กๆคนหลักหมื่นคน ก็จะมีเงินหมุนเวียนสะพัดหลักร้อยล้าน หรืออำเภอใหญ่ๆก็หลายร้อยล้านจนถึงพันล้านบาทได้เลย
โดยเฉพาะถ้าเงื่อนไขคือจะขึ้นเงินสดได้ ต้องจดvat อันนี้แหละ จะบังคับให้ร้านขนาดกลางและใหญ่ต้องเข้าระบบvat เพราะไม่อยากไปซื้อของต่อจากร้านเล็ก(ที่อาจไม่ก่อเกิดกำไร) ส่วนร้านเล็กก็ต้องไปซื้อของจากร้านใหญ่(ที่อาจจะเข้าระบบvatอยู่แล้ว)เพราะขึ้นเงินเองไม่ได้ ได้แต่token ลอยๆ
แต่จริงๆเงื่อนไขการขึ้นเงินที่ออกข่าวมาก็ยังดูเป็นภาพกว้างๆ รอดูเงื่อนไขละเอียดครับว่ามีหน่วงเวลาหรือเงื่อนไขส่งต่อ5-6ต่อเหมือนที่เคยพูดแต่แรก(แต่ไม่ได้พูดตอนแถลงรอบนี้) จะวิเคราะห์ได้ว่ามีจุดดีหรือช่องโหว่ยังไง
เราจะมั่นใจได้ไงว่าต่อแรกคนจะไม่ไปซื้อของเจ้าสัวโดยตรงเกือบหมด
หรือจะกำหนดว่าต้องหมุนก่อน5ทอดถึงจะแลกเงินได้ แล้วเจ้าสัวที่ได้รับเงินต่อที่2มาเป็นพันล้านเขาจะเอาไปใช้ยังไงอะ
เคยได้คูปองเงินสดพวกห้างไรงี้ไหมครับ? มันจะมีเงื่อนไขอยู่หลังคูปอง แต่เราเดินหลายรอบก็ไม่รู้จะซื้ออะไรจริงๆ เดินวนไปวนมาจนหมดอายุ
ถ้ามันใช้ยากไปก็จะไม่เกิดพายุเศรษฐกิจ ถ้ามันใช้ง่ายไปมันก็เข้ากระเป๋าเจ้าสัวเกือบหมด
ก็ไม่รู้สิ ตอนคนละครึ่งใช้ง่ายกว่านี้ผมยังเหลือคืนเลยอะ นึกไม่ออกจะซื้ออะไร
ผมตอบไม่ได้ครับ จนกว่าจะเห็นเงื่อนไขตอนขึ้นเงินจริงๆ
เงื่อนไขจริงยังไม่ออกก็ได้แต่มโนกันไปครับ ที่ผมพูดก็จากตอนเขาหาเสียง ซึ่งตอนนี้ก็ปรับมาเยอะเพราะโดนขู่เรื่องคดีความกันทุกวัน
ถ้าจะยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงต้องโครงการชิมช็อปใช้ครับ
แจกทางอ้อมมีประโยชน์กว่าครับมันสามารถต่อยอดได้อย่างเช่นโครงการ30บาท ถ้าเอาเงินจำนวนเท่ากันไปแจกคนสมัยนั้นมันก็คงไม่มาถึงวันนี้
แจกเงินคนแก่ผมก็สนับสนุนบ้านเรามันมีค่านิยมกตัญญูถ้าวัยทำงานไม่ต้องมีภาระดูแลคนแก่ก็เหลือเงินใช้ชีวิตกินเที่ยวรัฐก็เก็บภาษีได้
แจกคนแก่คนละสามพัน งบสี่แสนล้านต่อปีหรือ4ปี 1.6ล้านล้านบาทหาจากไหนครับ?
5แสนล้านครั้งเดียวยังดราม่ากันจะตาย ขู่ฟ้องคดีความเยอะแยะ
พูดน่ะมันง่ายครับ แต่ทำให้เกิดขึ้นจริงมันยาก ก็นั่นแหละอีกฝั่งก็คงบอกก็ให้โอกาสเป็นรบ.ก่อนสิจะทำให้ดู บลาๆ ซึ่งตลอดสามสิบปีมานี้มันก็พอจะเห็นอยู่ว่าใครทำนโยบายหาเสียงให้เกิดขึ้นจริงได้มากที่สุดแค่ไหน ก่อนหน้านี้ก็มีพรรคประชาธิปัติย์ครับ ที่หาเสียงเชิงนโยบายและโครงสร้าง และโจมตีนโยบายประชานิยมตลอด(เพิ่งมาเป๋หนักๆตอนไปสนับสนุนรปห.และล้มการเลือกตั้งสองหน)
เอาจริงๆถ้าจะยกตัวอย่าง30บาท ทำระบบสงเคราะห์ผู้สูงอายุในเชิงบ้านพักคนชรา หรืออะไรที่คล้ายๆกันแบบการส่งเสริมให้คนแก่ทำงานแบบที่ญี่ปุ่นโดยมีรัฐสนับสนุน(ช่วยค่าแรง/ลดภาษีกิจการ) ยังดูดีกว่าแจกเงินสดเปล่าๆ ซึ่งหลายคนก็เอาไปซื้อหวยหมดตั้งแต่วันแรกครับ(ช่องโหว่ของการแจกเงินสดคืออาจจะไม่ได้ไปทำอะไรให้เกิดกระตุ้นทางเศรษฐกิจเลยก็ได้)
ประเทศรัฐสวัสดิการที่ชอบยกตัวอย่างเงินให้เปล่าพื้นฐานกันนี่เขาบังคับส่งคล้ายๆกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือประกันสังคมกันหมดนะครับ แบบให้เปล่าเฉยๆโดยไม่ต้องเข้าระบบอะไรเลยชนิดมากเพียงพอไม่มีหรอก จริงๆสามสิบบาทนี่ก็ถือว่าแหวกขนบเยอะเช่นกันเพราะเหมือนรัฐบาลซื้อประกันสุขภาพแจกทุกคน(และโดนแรงต้านเยอะมากโดยเฉพาะฝั่งหมอ ที่โจมตีว่าทำให้คนมาหาหมอเล่นๆ?) แต่มันเป็นเรื่องความเจ็บป่วยที่เลือกไม่ได้ และส่งผลต่อชีวิต ไม่เหมือนการทำงานที่คนส่วนใหญ่ยังทำงานได้ถ้าตั้งใจจะทำ คือผมมองว่าคนไม่ทำงานไม่สมควรมีข้าวกิน ยกเว้นแค่คนเจ็บป่วย แม้แต่คนแก่ถ้าร่างกายยังไหวก็ควรต้องทำงานไม่ใช่อยู่เฉยๆรอเงินสงเคราะห์ รัฐควรจัดหางานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุตะหาก
ถ้าคุณเคยไปญี่ปุ่นในหลายสถานที่จะเจอคนแก่ทำงานเยอะพิเศษเช่นสนามบิน หรือหน่วยงานของรัฐ หลายๆคนแก่กว่าพ่อแม่เราอีก แต่ก็ยังทำงานได้ เป็นงานที่ใช้ทักษะระดับหนึ่งแต่ไม่ใช้แรงมาก(เช่นคอยบอกข้อมูลหรือช่วยสอนวิธีลงทะเบียน) บ้านเรามีความเชื่อว่าแก่แล้วให้ลูกหลานเลี้ยงให้อยู่บ้านเฉยๆ แต่พอลูกหลานหนีหายหมดหรือไม่ยอมเลี้ยงก็ใช้ชีวิตลำบาก(โดยเฉพาะถ้าไม่มีเงินเก็บหรือไม่มีพวกกองทุนที่จ่ายล่วงหน้่า) ผมว่ามันผิดตั้งแต่แนวคิดแล้วล่ะ
ผมพูดในฐานะที่เป็นเดอะแบกของบ้านผมสนับสนุนโครงการนี้แน่นอน มันทำให้คนแก่รู้สึกไม่เป็นภาระลูกหลานและผมก็เหลือเงินไปใช้กินเที่ยวกลับมาเป็นภาษีรัฐ
แน่นอนว่าจะได้กลับมาไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ความเครียดมันลดลงไปแน่ๆและหลายๆประเทศที่เจริญแล้วก็มีเงินดูแลคนแก่ทั้งนั้น จุดคุ้มทุนมันก็มีอยู่ถ้าพิจารณาว่าประชาชนคนนึงเสียภาษีวัยทำงานเป็นเวลา40ปีเทียบกับเงินดูแลวัยแก่20ปี
ประเทศที่เจริญแล้วเขาจ่ายเงินบำนาญจากประกันสังคมครับ โดยเฉพาะถ้าตามที่คุณว่าคือจ่ายภาษี40ปีดูแลตอนแก่20ปี
ไม่นับประเทศแถบยุโรปนะ ภาษีเขาหนักกว่าเยอะ พวกเงินชดเชยว่างงานหรือเงินบำนาญจากรัฐ ได้จากภาษีเงินได้40% นี่แหละ
จะเทียบรัฐสวัสดิการ ก็ต้องเทียบหลายๆด้าน
ผมไม่ปฎิเสธเรื่องการสงเคราะห์ แต่งบประมาณที่ใช้มันมากกว่ามหาศาลครับ
5แสนล้านต่อสี่ปี ต้องกู้เงินอะไรวุ่นวายยังด่ากันขนาดนี้แล้ว4แสนล้านต่อปีหาจากไหน?
บอกไปแล้วครับ พูดน่ะมันง่าย แต่ทำน่ะมันยาก
นโยบายเชิงโครงสร้างขายฝันมีมากกว่า30ปีแล้วครับแต่ไม่มีใครทำได้จริง นอกจากนโยบายประชานิยมที่ทุกคนด่า แต่ดันทำได้จริงเห็นผลจริงนี่แหละ
ถ้าจะเทียบกับญี่ปุ่น บริบทต่างกันเยอะนะ
เพราะที่นั่นคนแก่เดินทางออกจากบ้าน มั่นใจได้ว่าตกเย็นกลับถึงบ้านแน่
แต่บ้านเรา...ไม่แน่
ทั้งเรื่องถนนหนทาง ระบบการจราจร อัตราการก่อาชญากรรม และอื่น ๆ
เอาแค่คนแก่อายุมาก ขึ้นรถเมล์มาทำงานจะรอดมั๊ยก่อน
ขนาดวัยรุ่นขึ้นรถเมล์ เวลาจอด เวลาออกตัว ถ้าไม่เกาะก็มีล้ม
ส่วนนั่งรถไฟฟ้า ถามว่ามีลิฟต์ทุกที่มั๊ย ทางเดินทางเลื่อนต่อเนื่องแค่ไหน
เรามีระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับคนชราแค่ไหน
แค่ฟุตบาตทั่วไป เดินหลบไม่ดี ก็มีน้ำโคลนกระเด็นใส่หน้า
ไม่ต้องพูดถึงว่าคนสูงอายุจะสะดุดล้มมั๊ย
แล้วถ้าเค้าออกไปทำงาน แล้วเจ็บตัวกลับมา
อันนี้งานงอกเลย ค่ารักษาอาจจะมากกว่ารายได้ท้้งปีนะ
เห็นด้วยกับหลักการที่จะส่งเสริมผู้สูงอายุมีรายได้หรือทำงาน
แต่มันต้องควบคู่ไปกันระบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับสังคมสูงวัย
ถ้ายกมาแบบนั้นก็ต้องยกอีกว่า ผู้สูงอายุเสียภาษีตอนหนุ่มๆไปเท่าไรเพียงพอให้รัฐเอามาดูแลตอนแก่ไหม?
ประเทศที่เจริญแล้วเก็บภาษีหนักและประกันสังคมทุกคน มาจ่ายเงินบำนาญตอนแก่นี่แหละ
ส่วนประเทศเราแค่กองทุนการออมฯ ยังแทบเจ๊ง (สำหรับคนนอกระบบประกันสังคม)
อยากเลียนแบบ แต่ไม่ทำตามหมด มันก็ยากนะครับ ถ้าคุณจะยกว่าข้อจำกัดเยอะแยะที่จะไม่ให้คนแก่ทำงาน ผมก็ยกเหมือนกันว่าเราไม่ได้มีเงินภาษีเยอะขนาดมาแจกปีละสี่แสนล้านต่อเนื่องได้ครับ ขนาด 5แสนล้านต่อสี่ปียังด่ากันแทบตาย...
และสิ่งที่คุณว่าเป็นอุปสรรค จริงๆแล้วแก้ไขได้ไม่ยากเลย รัฐจัดหารถรับส่งให้ งบน้อยกว่าแจกเงินแถมสร้างproductivity ได้อีกตะหาก
คนจนคนยากไร้ไม่มีเงินเก็บไม่ค่อยได้แก่หรอกครับ ส่วนใหญ่ตายซะก่อน การที่บอกว่าให้คนแก่ทำงานพูดตรงๆนะในฐานะแก่ด้วยจนด้วย สภาพร่างกายมันเสื่อมไปหมด คนจนเขาไม่มีเงินมาดูแลสุขภาพหรอกนะ สายตาฝ้าฝางแข้งขาที่ขยับลำบากขึ้น ตอนหนุ่มๆกระแทกโดนอะไรก็ไม่มีปัญหาแต่พออายุเยอะบางทีกระแทกขอบโต๊ะนิดเดียวปวดไปหลายวัน ตามธรรมชาติอายุเท่านี้น่าจะตายกันไปหมดแล้วแต่วิทยาการมันช่วยไว้และสังคมยังช่วยเหลือกันเลยอยู่จนแก่มากได้
ประเด็นคือ การแจกเงินคนแก่คนละสามพันใช้งบเพิ่มอีกปีละสี่แสนล้านบาทต่อเนื่องนะครับ ถ้าสี่ปีก็ใช้งบมากถึง1.6ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
ขนาดงบdigital wallet ห้าแสนล้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมต่อสี่ปีรอบเดียวจบยังร่อแร่โดนต้าน หาแหล่งเงินกู้ไมไ่ด้เพราะขู่โดนฟ้อง ฯลฯ
แล้วคิดหรือว่างบสวัสดิการสวยหรูปีละสี่แสนล้านจะเป็นไปได้จริงครับ? ถึงจะเป็นแค่ what if ก็เถอะ แต่นึกไม่ออกจริงๆที่บอกว่าลดงบจากที่อื่น ถามกลับลดจากไหนสี่แสนล้าน ก็ไม่มีใครตอบได้หรอกครับ เพราะตัวเลขสี่แสนล้านต่อปีนี่คนเสนอนโยบายยังไม่เคยพูดถึงเลยว่าใช้งบเยอะขนาดนี้นะ
ถ้าเศรษฐกิจไทยยังแย่ไม่ขยายตัวเท่ายุคทอง20ปีที่แล้ว โครงการสวัสดิการใดๆคงได้แต่ขายฝันครับ
ทุกคนมีความฝันครับ แต่บางครั้งก็ต้องกลับมามองสิ่งที่ทำได้จริงไม่งั้นก็ไม่เกิดการแก้ปัญหาอะไรเลย
การสนับสนุนให้คนแก่ทำงานโดยรัฐเข้าช่วยเหลือหรือทำระบบให้เอื้อ ผมว่าเป็นไปได้จริงมากกว่าจะหวังรบ.ในฝันหาเงินมาแจกได้ทุกคนยันตายแบบยุโรปครับ