รัฐบาลสิงคโปร์ ประกาศแผนยุทธศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ (Singapore National AI Strategy หรือ NAIS) ฉบับที่สอง หลังจากออกแผนฉบับแรกมาตั้งแต่ปี 2019
แผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้มองว่า AI เปลี่ยนสถานะจากสิ่งที่ควรมีมาสู่สิ่งที่จำเป็น (From Opportunity
to Necessity) เปลี่ยนจากโครงการแยกย่อยมาเป็นระบบ (From Projects to Systems) และเปลี่ยนจากเรื่องเฉพาะประเทศมาเป็นเรื่องระดับโลก (From Local to Global)
Lawrence Wong รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ กล่าวเปิดงานว่าก่อนหน้านี้ AI เป็นแค่การตรวจหาแพทเทิร์น แต่ตอนนี้ AI กลายเป็นระบบที่ซับซ้อนขึ้น มีทักษะตอบโต้ได้มากขึ้น และอีกไม่นานเราจะมี AI ที่มีทักษะเหมือนมนุษย์ สามารถตัดสินใจได้เอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์และสังคม
เป้าหมายของ NAIS 2.0 มีอยู่สองข้อ ได้แก่
- Excellence สิงคโปร์จะต้องเป็นประเทศที่เก่งด้าน AI บางเรื่องในระดับยอดเยี่ยมของโลก
- Empowerment สิงคโปร์จะเชิญชวนให้ประชาชนและธุรกิจในประเทศมาใช้ AI ได้อย่างมั่นใจและเชื่อใจ มอง AI เป็นตัวช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
สิ่งที่สิงคโปร์จะทำตามแผน NAIS 2.0 มีด้วยกัน 10 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่ใหญ่
- AI Centres of Excellence เชิญชวนภาคธุรกิจมาตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา AI ในสิงคโปร์ ตัวอย่างบริษัทที่มาตั้งเรียบร้อยแล้วคือ American Express
- นำ AI มาใช้ในระบบไอทีฝั่งรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการทำงานของข้าราชการ แอพชุดนี้ใช้ชื่อว่า Pair โดยเริ่มจากแชทบ็อท Piar Chat ที่ใช้โมเดล LLM ตัวเดียวกับใน ChatGPT
- จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณวิจัย เทมายังโครงการวิจัยด้าน AI มากขึ้น และจับคู่หน่วยงานวิจัยกับบริษัทเอกชน ให้นำ AI มาแก้ปัญหาของภาคเอกชน 100 โครงการ ภาครัฐช่วยสนับสนุนงบประมาณให้ด้วย และรัฐบาลเอกชนจะหาซื้อ GPU มาให้หน่วยงานวิจัยใช้งาน
- เชิญชวนนักวิจัย นักพัฒนา AI ในระดับโลกย้ายมาทำงานที่สิงคโปร์ โดยจะตั้งทีมคัดเลือกและเฟ้นหานักพัฒนาแบบเจาะจง, เพิ่มโครงการอบรมด้าน AI ตั้งเป้ามีผู้ผ่านการอบรมอย่างน้อย 15,000 คน
- พัฒนาเครื่องมือที่ให้ภาคเอกชนประเมินความพร้อมใช้งาน AI (AI Readiness Index - AIRI)
- สร้างศูนย์แลกเปลี่ยนความรู้ด้าน AI ให้ทั้งคนสิงคโปร์และผู้เชี่ยวชาญจากนอกประเทศได้มาเจอกัน ใช้พื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งปี
- เพิ่มปริมาณคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประมวลผล AI ทั้งผ่านความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ บริษัทผู้ผลิตชิป และเร่งเพิ่มจำนวน GPU ในประเทศ
- วางโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีด้านความเป็นส่วนตัว ให้ภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ โดยยังรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานอยู่, เปิดข้อมูลภาครัฐออกมามากขึ้นเพื่อให้แวดวง AI นำไปพัฒนาเป็นบริการเพื่อสาธารณะ
- สร้างแนวทางความปลอดภัย ความเชื่อใจ ความรับผิดชอบของวงการ AI ในสิงคโปร์ โดยรักษาความรวดเร็วของระบบราชการเอาไว้ ไม่ให้กระทบต่อภาคธุรกิจ
- ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้าน AI ในระดับโลก ผ่านความร่วมมือระดับนานาชาติ
ที่มา - NAIS, Channel News Asia
Comments
เคยคุยกับคนในรัฐบาล สป ตอน ChatGPT เปิดตัวหใหม่ๆ หน่วยงานเค้าให้คนลองเล่นแล้วจะเอามาใช้กับงานได้อย่างมีไอเดีย ตอนนี้ยังไม่ทำไม่ได้แล้วอนาคตอะไรประมาณนี้ วางแผนพัฒนา ส่วนพี่ไทยปัจจุบันคนในหน่วยงานไทยยังคิดว่าจะหา Data มา Train เองอยู่เลย
เรามี ThaiSC นะครับ เอาเข้าจริง ผมคิดว่าชุดข้อมูลเปิดสำคัญที่สุดครับ (CC ที่ไม่มี NC กับ ND) ถ้าไม่มีชุดข้อมูลเปิด คงไม่มีทางได้เห็น Open Source LLM ที่มีภาษาไทยที่ทำงานได้ดีเท่ากับภาษาอื่น ๆ หรือ อาจจะเก่งแต่ไม่เก่งเท่าภาษาอื่น ๆ ครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ประเทศที่มีหัวคิดก้าวไกลมาก
เมืองนอก ใช้ ai คนไทยบอก = ก้ามไกลมาก
เมทองไทยใช้ ai คนไทยบอก = เอามาทำไม มันแย่งงานคน
ดีอ่ะ ไม่ต้องวนเวียนคิดว่า จะจับ event ไหนมาเคลมเป็น soft power ดี
WE ARE THE 99%
ดูมีแนวทางชัดเจนดี ไม่ใช่แค่เอา buzz word มาใช้ผสมกันเพื่อความเท่
อิจฉาครับ บอกเลยฮ่าๆ
ฉลาดครับ