คณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ ประกาศสั่งห้ามนายจ้างเซ็นสัญญาห้ามลาออกไปทำงานกับคู่แข่ง (non-compete clause) โดยครอบคลุมพนักงานทุกระดับ ยกเว้นไว้เพียงผู้บริหารระดับสูงที่เซ็นไว้เดิมก่อนหน้านี้ แต่แม้แต่ผู้บริหารระดับสูงก็ห้ามเซ็นสัญญาใหม่อีก
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ มีการจ้างงานที่มีสัญญาข้อนี้ประมาณ 18% หรือ 30 ล้านคน แม้จะไม่ค่อยมีการบังคับใช้นัก หรือที่บังคับบ้างก็มักเป็นพนักงานระดับสูงอยู่แล้ว เมื่อปี 2022 ไมโครซอฟท์ก็เคยออกมายกเลิกสัญญาข้อนี้
FTC คาดว่าโดยรวมการสั่งห้ามนี้จะทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น เกินนวัตกรรม และค่าจ้างโดยรวมของพนักงานเพิ่มขึ้น จนถึงจะเกิดการก่อตั้งบริษัทใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
ที่มา - FTC
Comments
คิดมาตั้งแต่ได้ยินครั้งแรกเมื่อ 20-30ปีก่อนแล้วว่า เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
เพราะเท่ากับบังคับตัดหนทางทำมาหากินลูกจ้างไปเลย เมื่อออกจาก บ.
อันนี้ิเห็นด้วยกับเรื่องการย้ายงานนะ แต่เรื่องของความรับผิดในเรื่องของการเอาข้อมูลของบริษัทหนึ่งไปบอกอีกบริษัทหนึ่งอันนี้ก็อยากให้มีความผิดอยู่ เพราะมันมีเป็นความเป็นได้สูงที่บริษัทคู่แข่งต้องการข้อมูลตรงนี้โดยเฉพาะอย่างเดียวมันก็มี มันควรแฟร์ทั้งสองฝั่ง คนไปก็ต้องไปแค่ตัวกับความรู้เท่านั้น เจ้าของบริษัทเก่าก็สบายใจ วินๆ ทั้งคู่
ประกาศนี้ไม่ได้ห้ามเซ็น NDA ครับ คิดว่าก็เซ็นกันปกติ แต่ภาระพิสูจน์ว่ามีการนำข้อมูลไปใช้ไหมก็ต้องพิสูจน์อีกที ไม่ใช่ว่าเขาแค่ไปทำงานกับคู่แข่งแล้วผิดเลย
ซึ่งก็มีตัวอย่างแบบเคส Microsoft / Intel เมื่อปี 2021 อันนั้นก็ไม่ได้ห้ามย้ายงาน (และที่จริงไม่ใช่คู่แข่งกันด้วย) แต่ก็โดนเรื่องเอาความลับไปใช้อยู่ดี
lewcpe.com, @wasonliw
อีกเคสหนึ่งครับที่อดีตพนักงาน Mashimo เอาข้อมูลบางอย่างไปแล้วเอาไปใช้กับบริษัท Apple ที่ไม่ใช่คู่แข่ง มีข้อพิพาทมาถึงตอนนี้เหมือนยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจะยังไงต่อ ส่วนตัวผมมองว่ายิ่งเป็นคู่แข่งโอกาสมันเกิดความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้
ปรากฎ ย้ายไปบริษัทจีน
จริง ๆ ก็ตลกนะครับสัญญานี้ ลองนึกสภาพดูว่า ถ้าเราจบ Sci หรือ วิศวะ มา 25 ปีที่แล้ว
เข้าไปฝึกงานกับ IBM แถวสะพานควาย เซ็นสัญญานี้ ปั๊ง (มีครับ) แล้วดันซวยได้ทำ OS/2 Warp
ตัดสินใจลาออกนี่ ไปไม่เป็นเลยนะ เพราะ IBM ทำทุกอย่าง ทุก บ. ถ้าไม่ใช่คู่ค้าก็คู่แข่ง
ต๊ายยยเลย เอาจริง คือ เค้าเซ็นไว้เผื่อ ฟ้องทีหลังแหละ ถ้ามันชัดนะ ไม่มีติดคุก ฟ้องเอาเงิน
ซึ่ง ถ้าระดับ บริหารสูงในไทย น่าจะโดนมาแล้ว ผมจำไม่ได้แล้วว่าใคร แต่เคสนั้นชัด
IBM ฟ้องอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ไทย เหตุละเมิดสัญญา ร่วมงานคู่แข่ง
ของไทยมันน่าเกลียดกว่าตรงไปรับเงินมาแล้วยังทำผิดสัญญาแถมไม่คืน
ปกติ non-compete นี่จำกัดเวลานะครับ และมักจะสั้นกว่า NDA มากๆ
lewcpe.com, @wasonliw
เกิ
นนวัตกรรม -> เกิดนวัตกรรมบล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
มันจบแล้วอนาคิน
ไม่รู้เป็นผมคนเดียวที่งงไหมนะ
แต่สำหรับผมแล้ว "สั่งห้ามบังคับเซ็น" (ในหัวข้อ) กับ "สั่งห้ามเซ็น" (ในเนื้อหา) ผมว่าสองประโยคนี้ความหมายแตกต่างกันอยู่นะครับ
สั่งห้ามบังคับเซ็น - สามารถยังเซ็นสัญญานี้ได้และมีผลอยู่ แต่ห้ามบังคับ ลูกจ้างมีสิทธิเลือกที่จะไม่เซ็นได้
สั่งห้ามเซ็น - ห้ามเซ็นไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม ที่เซ็นไปแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลใดๆทั้งนั้น
เท่าที่ไปอ่านต้นทาง เหมือนว่าจะเป็นอย่างหลัง ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะ 😅
ในทางปฏิบัติ แบบไหนที่เรียกว่าองค์ความรู้/ประสบการณ์ แบบไหนคือความลับของบริษัท มีใครสรุปคร่าวๆให้หน่อยได้มั้ยครับ
อยาก code นี่คือความลับแน่ๆ แล้ว logic ล่ะ ผมเองยังตีตรงนี้ไม่แตกเท่าไหร่ เพียงแต่ตัวเองเป็นระดับปลาซิวปลาสร้อย ก็นะ 555
..: เรื่อยไป
โลกความเป็นจริงมันน่าจะมีเส้น (เส้นหนามาก เป็นผืนเลย) ล่ะครับ ว่าระดับไหน อย่างวันก่อนผมก็ได้คุยกับบริษัท AI เขาก็ยกเคส White v. Samsung ที่ซัมซุงโดนฟ้องว่าละเมิดสิทธิ์ publicity ของพิธีกร ทั้งที่จริงๆ ตัวแสดงก็หน้าตาคนละคนแน่ๆ แต่ฉาก+ทรงผมทำให้นึกถึงพิธีกรคนนั้นได้ ก็ถูกฟ้องแถมชนะ ถ้าเป็นผมเอง ผมก็รู้สึกว่าน่าจะทำได้ ไม่ได้ทำ deepfake เอาหน้าเขามาแปะสักหน่อย
lewcpe.com, @wasonliw
555 แบบนี้คือแทบจะวัดการศาลฯอย่างเดียวเลย
..: เรื่อยไป
ได้ฟ้องละเมิดtrade secret กันนัวแน่ๆ
กว่าจะพิสูจน์ได้ว่าใช้ข้อมูลลับไหม ก็ทำลายตลาดไปเรียบร้อย
กฎหมายไทย เหมือนเคยมีคนไปฟ้องศาลแรงงานแล้ว บังคับได้เวลาจำกัดมากๆจำไม่ได้ว่าไม่ควรเกิน6เดือน-1ปีหรือไงนี่แหละ(ตามคำสั่งศาล) รวมถึงสัญญาพวกเวลาส่งไปเทรนตปท.แล้วห้ามลาออก1-2ปี ก็บังคับใช้ได้จำกัดหรืออาจบังคับไม่ได้เลย ถ้าการเทรนนั้นเป็นไปตามการเทรนพนักงานเสมือนการทำงานตามปกติ ไม่ใช่แบบส่งไปเรียนเพิ่มเป็นพิเศษ(sponsor)
ถ้าจะอาศัย trade secret จริงๆ ขนไฟล์ออกไปขายเลยตรงๆ ไม่ต้องรอจ้างงานกัน จริงๆ ไม่ต้องลาออกจากงานเดิมด้วยซ้ำครับ
lewcpe.com, @wasonliw
นวัตกรรมจะน้อยลงหรือเปล่า นักลงทุนกลัวว่าลงทุนไปแล้วจะไปอยู่กับคู่แข่ง
รายใหญ่เงินหนาน่าจะสบายขึ้น โดนรายเล็กนำหน้าก็ซื้อคนมาเลย แล้วอัดโฆษณาการตลาดดีๆ
แวะมาอัพเดต เผื่อมีใครกำลังหาข้อมูล ผมเพิ่งไปเจอว่าประกาศ non-compete ban ของ FTC เพิ่งโดนศาลแขวงที่ Texas ตัดสินสั่ง block คำสั่งนี้ ในคดี Ryan, LLC. v FTC เมื่อ 8/20/2024 ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า "arbitrary and capricious" เลยทำให้ประกาศนี้ถูกระงับใช้ทั้งประเทศ (จากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้เมื่อ 9/4/2024 ที่ผ่านมา) แต่ FTC ประกาศว่าคำตัดสินนี้ไม่มีผลกับการพิจารณาเป็น case-by-case ไป แต่ก็มีหลายฝ่ายออกมาคาการณ์ว่า FTC อาจจะขอยื่นอุทธรณ์ต่อไป Supreme Court
เท่าที่ไปดูมาศาลที่ตัดสินในคดีคือ Ada Brown ซึ่งเจ้าตัวถูกแต่งตั้งโดย Trump และมาจากสาย Republican ก็คงไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไรที่คำตัดสินใจจะออกมาแนวนี้
Ref:
https://www.ftc.gov/news-events/news/press-releases/2024/04/ftc-announces-rule-banning-noncompetes
https://www.whitecase.com/insight-tool/white-case-global-non-compete-resource-center-ncrc
https://www.orrick.com/en/Insights/2024/04/Life-After-the-FTC-NonCompete-Ban-What-Companies-Should-Know