การนำ AI เข้ามาใช้ในองค์กรเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน โดยหนึ่งในความท้าทายที่ทำให้โปรเจ็กต์ AI ขององค์กรไม่สามารถไปถึงฝั่งฝันก็คือโครงสร้างพื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ IBM Power ในมุมของงาน AI ให้มากขึ้นว่าจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร
เมื่อพูดถึงการริเริ่มโครงการ AI ขึ้นในองค์กรนั้น มักมีคำถามเกิดขึ้นเสมอในหลายแง่มุมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีว่า จะสามารถรองรับการประมวลผลได้ทันกับปริมาณข้อมูลหรือไม่ รวมไปถึงอัตราการใช้หน่วยความจำที่สามารถรองรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนวิธีการในการนำโมเดล AI ไป deploy ใช้งานที่เห็นภาพและจับต้องได้
คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นเหตุเป็นผล เนื่องจากเราทราบกันดีแล้วว่าโมเดล AI ที่แม่นยำเป็นความสามารถที่ส่งผลโดยตรงมาจากปริมาณข้อมูล ซึ่งในกรณีที่การใช้งานนั้นต้องเกี่ยวพันกับข้อมูลมหาศาล คำถามของพลังประมวลจึงเกิดขึ้น พร้อมๆกับความต้องการหน่วยความจำที่มากเพียงพอรองรับกับข้อมูลที่จะถาโถมเข้าสู่การเทรนโมเดล
อย่างไรก็ดีนอกจากพลังการประมวลผลแล้วการส่งเสริมให้โปรเจ็กต์ AI เริ่มต้นขึ้นได้ องค์กรควรพิจารณาไปถึงสภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ด้วย เช่น การที่ Vendor สามารถนำเสนอโมเดล AI สำเร็จรูป หรือหน่วยประมวลผลที่สามารถสนับสนุนการคำนวณเมทริกซ์ได้ รวมไปถึงการมีซอฟต์แวร์ช่วยเหลือสำเร็จรูปที่ทำให้ท่านสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันหลักขององค์กรเช่น SAP เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มให้ภาพผังการปฏิบัติการในโปรเจ็กต์ AI ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงคำถามส่วนหนึ่งที่ผู้บริหารมักตั้งข้อสงสัย ซึ่งยังไม่นับรวมถึงประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ความคงทนของระบบ และข้อบังคับระดับองค์กรหรือกฎหมายที่ครอบคลุมธุรกิจ
IBM Power ได้ถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงโจทย์ของโปรเจ็กต์ AI และงานสำคัญในองค์กรอย่างแท้จริง ด้วย 5 ความโดดเด่นดังนี้
1.) มีระบบ Matrix Math Accelerator
IBM Power 10 มาพร้อมกับ Matrix Math Accelerator (MMA) ที่ช่วยในการทำ AI Inferencing ซึ่งนี่คือจุดหลักที่ช่วยลดงานที่โดยปกติแล้วต้องส่งข้อมูลไปให้ GPU ทำงาน โดยรอยต่อเหล่านี้มักนำมาซึ่ง Latency ที่เพิ่มขึ้นและอาจเกิดประเด็นในความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วย
2.) เพิ่มหน่วยความจำได้อย่างจุใจรองรับงาน In-memory
เป็นที่ทราบกันดีว่าการดึงข้อมูลจาก RAM มักทำได้รวดเร็วกว่าดิสก์ และนี่คือคอนเซปต์ของการประมวลผลแบบ In-memory เช่น แอปพลิเคชัน SAP HANA เป็นต้น ประเด็นคือเซิร์ฟเวอร์จะต้องถูกออกแบบมาให้รองรับกับการเชื่อมต่อกับ Memory จำนวนมหาศาลด้วย โดย IBM Power คือคำตอบนั้น โดยชูจุดเด่นกับการทำงานแบบ In-memory อย่าง SAP HANA เช่นกันในงาน AI ที่มีการประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก การคำนวณข้อมูลบน RAM จะช่วยลดเวลาการทำงานได้อย่างมาก
3.) มาพร้อมกับไลบรารี AI มากมายเริ่มต้นได้ทันที
อุปสรรคของงาน AI ไม่จำกัดอยู่แค่โครงสร้างพื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ แต่ยังรวมไปถึงการจัดหาไลบรารีที่เหมาะสมกับงานเข้ามาด้วย และเมื่อได้มาแล้วจะเข้ากันได้กับเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องมีการทดสอบและปรับแต่งให้สามารถนำพลังของเซิร์ฟเวอร์มาใช้ได้อย่างสูงสุด แต่ไม่ใช่ปัญหาของผู้ใช้งาน IBM Power เพราะได้มีการคิดเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว โดย IBM ได้นำเสนอซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไลบรารีต่างๆสำหรับงาน AI เอาไว้ผ่าน RocketCE ที่แพ็กเกจได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้กับ IBM Power ที่สามารถดึงเอาความสามารถจาก Matrix Math Accelerator มาใช้ได้
4.) ผสมผสานการใช้งานได้ทุกรูปแบบด้วย Red Hat OpenShift
IBM Power สามารถจับคู่การทำงานผสานกับระบบเซิร์ฟเวอร์ x86 ทั่วไปได้ด้วยการจัดตั้งคลัสเตอร์การประมวลผลจากความสามารถของ Red Hat OpenShift ซึ่งทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นสำหรับการเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ได้หลายประเภทไม่จำกัดเพียงแค่ IBM โดยอาจจะจัดสรรงานให้กับกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ได้ตามความสำคัญของงานอย่างไร้รอยต่อ
5.) มีฟีเจอร์รักษาความมั่นคงปลอดภัยทางข้อมูลในทุกสถานะ
IBM Power มาพร้อมกับฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเข้มข้นและพร้อมให้ความคุ้มครองข้อมูลในทุกสถานะ เริ่มต้นจากความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างหน่วยความจำและส่วนประมวลผลด้วยฟีเจอร์ Transparent Memory Encryption ที่เกิดขึ้นระดับฮาร์ดแวร์ ดังนั้นการปฏิบัติการจะไม่ส่งผลกระทบต่องานปกติของ CPU
นอกจากนี้ IBM Power ยังนำเสนอความแข็งแกร่งที่พร้อมรับมือกับยุคหลังควอนตัม(Post Quantum Encryption) ที่ข้อมูลจะยังปลอดภัยและไม่ถูกเปิดเผยได้โดยง่ายในอนาคต ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้โดยไม่ต้องถอดรหัสผ่านเทคนิค fully homomorphic encryption ที่เหมาะอย่างมากในงาน AI ที่ต้องการนำข้อมูลมาใช้แบบเปิดเผยข้อมูล
อีกหนึ่งข้อกังวลของโปรเจ็ค AI ในเชิงกลยุทธ์ที่มักถูกถามเสมอคืออำนาจของการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้คลาวด์อาจไม่ใช่คำตอบในทุกอุตสาหกรรม และแน่นอนว่าการเลือกใช้ IBM Power Appliance จะตอบโจทย์นี้ได้ตรงจุดมากกว่า อีกทั้ง IBM ยังมีโมเดลที่ทำให้องค์กรปรับแต่งการใช้งานที่เกิดขึ้นได้ตามจริงด้วยโมเดล Power Private Cloud ที่มีการรวมทรัพยากรและวัดผลการใช้งานแบบรายเดือนได้
อย่างไรก็ดีองค์กรที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจบนคลาวด์หรือมีแผนโยกย้ายนโยบายการทำงานร่วมกับ Cloud ทาง IBM ก็ได้นำเสนอโมเดล IBM Power Virtual Server บน IBM Cloud เพื่อให้ท่านยังคงทำงานกับ IBM Power ในแผน Hybrid Cloud ได้อย่างไร้รอยต่ออีกด้วย
ที่มา - IBM
ท่านใดสนใจโซลูชัน IBM Power สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่าย Computer Union ได้ที่ email: cu_mkt@cu.co.th หรือโทร 02 311 6881#7151, 7156
Comments
เอาใจช่วยนะครับ