สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น หรือ NICT รายงานผลการทดสอบร่วมกับสถาบันอีกหลายแห่ง ในการพัฒนาวิธีส่งข้อมูลผ่านไฟเบอร์ใยแก้วพาณิชย์ ด้วยความเร็วเป็นสถิติใหม่ 402 Tb/s โดยผลทดสอบนี้ถูกนำเสนอในงาน Optical Fiber Communication Conference 2024 ที่แซนดีเอโก
ระยะทางที่ใช้ในการส่งข้อมูลคิดเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร มีการใช้ตัวขยายสัญญาณ 6 ชนิด บนแบนด์วิธว่าง 37 THz เพื่อให้ได้ความเร็วในการส่งข้อมูลที่ระดับ 402 Tb/s ทำให้นอกจากได้ความเร็วที่สูงสุดใหม่ ยังขยายแบนด์วิธส่งข้อมูลเพิ่มอีกด้วย
การนำเสนอนี้ทำให้เห็นแนวทางปรับปรุงโครงข่ายไฟเบอร์ใยแก้วปัจจุบัน ว่ายังสามารถรองรับขนาดแบนด์วิธได้อีกเพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็มีโอกาสที่จะขยายสัญญาณได้เพิ่มเติมอีก หากมีการปรับปรุงโครงข่าย
ที่มา: Tom's Hardware ภาพ Pixabay
Comments
อ่าน Raman ตรง Raman excitation light เป็น Ramen 🥲
+1
iPAtS
พูดถึง Raman excitation light แล้วนึกมาได้ว่า
ช่วงเดือนนี้ ก็ครบประมาณ 10 ปีพอดีแล้วสินะที่ผมโพสเรื่อง
แสงมี 24 มิติ บน JuSci... (โดนลบไปนานแล้ว) เหมือนแป๊บเดียวเอง
(รวมที่นั่งทำงานอยู่ที่เดิมนี่ด้วย)
สมัยนั้นยังเป็น เหมือน Concept ART แต่ตอนนี้ผมเอา QED
ของ รีชาร์ต ฟายแมนมาต้มน้ำได้แล้วนะ ถึงอธิบายมาแล้ว
เหมือนคนบ้าไปหน่อย 555
อย่างเรื่องในกระทู้นี้ จากเดิม จินตนาการว่า
แสงเป็นเม็ดเล็ก ๆ วิ่งจาก แหล่งกำเนิดแสงไปที่ฉากรับ (ตัวแทนแสงแบบม่มีมวล)
ให้จินตนาการเพิ่มว่า
แสงเป็นเม็ดเล็ก ๆ ที่แปะติดอยู่ที่ แหล่งกำเนิดแสง
แล้วลบระยะทางระหว่าง แหล่งกำเนิดแสงและฉากรับจนเหลือระยะทาง = 0
แสงจึงดูเหมือน teleport jump ไปที่ ฉากรับ (ตัวแทนแสงแบบมีมวล)
ถ้าระยะทางจาก แหล่งกำเนิดแสงและฉากรับ ห่างกัน 1 วินาทีแสง
จะได้ metrix [ระยะทาง, ระยะเวลา, gravity] ไปแทน สูตร
(+1, -1, 0) +
(-1, +1, infinity)
= ถ้าไม่นับ gravity ผลรวมจะเท่ากับ perfect 0 เสมอ
ทฤษฏีที่เรียกว่า SuSy ถ้าจะมีแล้วเข้าใจแบบภาษาคนไม่เอา
math อะไรไม่รู้ยากจริงๆ ทุ่มลงไป ต้องได้ออกมาประมาณนี้แหละ