กูเกิลเผยแพร่รายงานประจำปีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Report 2024) โดยรายงานปีนี้มีตัวเลขที่สำคัญคือปริมาณการปล่อยคาร์บอน ซึ่งกูเกิลกำหนดเป้าหมายให้เป็น Net-zero ภายในปี 2023 ที่เป้าหมายนี้ท้าทายขึ้นไปอีก เพราะตัวเลขปี 2023 ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13% และถ้าเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว 2019 ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นถึง 48%
กูเกิลบอกสาเหตุหลักที่การปล่อยคาร์บอนเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลจากการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลที่มากขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการงานประมวลผลด้าน AI เฉพาะการใช้พลังงานไฟฟ้าในศูนย์ข้อมูลของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 17%
ในรายงานกูเกิลบอกว่าศูนย์ข้อมูลปัจจุบัน มีการปรับปรุงให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าศูนย์ข้อมูลทั่วไป 1.8 เท่า ส่วนงานประมวลผล AI กูเกิลได้ใช้หลายแนวทาง ทั้งการใช้ TPU รุ่นล่าสุด Trillium ที่ใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นก่อนหน้า 67%, ปรับปรุงขั้นตอนการเทรน AI ทำให้ลดการใช้พลังงานได้ถึง 100 เท่า
ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับศูนย์ข้อมูลนั้นมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น มีตัวเลขคาดการณ์ว่าในปี 2030 การใช้ไฟฟ้าสำหรับศูนย์ข้อมูลในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นถึง 20%
Comments
หวังว่าถ้ามันฉลาดจนเหนือมนุษย์แล้วจะหาทางแก้ได้นะ
ฉลาดแต่ไม่มีร่างกายก็ทำอะไรไม่ได้โดนชักปลั้กก็จบ
ไม่นับที่ว่าAiทำอะไรได้บ้างเพราะส่วนใหญ่ก็โดนจำกัดไว้อยู่แล้ว
ไอ้ตามหนังไซไฟที่ว่ายึดระบบแล้วควบคุมทุกอย่างนี่อาจจะต้องอีกอย่างน้อยๆอีกสักร้อยปีอาจจะได้เห็นแต่ยุคเรานี่ไม่น่าจะทันไฮเทคได้ขนาดนั้น
เขาอาจจะหมายถึง ฉลาดจนหาทางแก้เรื่องพลังงานได้ เช่นบางจ้าวใช้ ai หาวัสดุชนิดใหม่ทดแทนลิเทียม
ทำไมไม่ทำ data center บนอวกาศบ้างนะ น่าจะช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าใต้ทะเล
ข้างบนไม่ได้เย็นอย่างที่คิดครับ
ยังไงนะครับ รบกวนอธิบายหน่อย ผมลองหาดูละ -273 นี่ไม่เย็นเหรอครับ ในกรณีที่ไม่โดนแสงแดด
-273°C นี่ไม่น่าใช่นะฮะเพราะนั่นมัน 0 Kelvin เลย ถ้าจำไม่ผิดน่าจะแถวๆ -270°C
มันระบายความร้อนได้ยากมากๆ ฮะ ความร้อนถ่าย/พาไปไหนแทบไม่ได้เลยต้องตั้งแผงแผ่รังสีออกเป็นหลัก
อย่าง Widmanstätten pattern นี่เคยอ่านว่าเป็นลวดลายที่เกิดได้จากนอกโลกเท่านั้น คือโลหะหลอมเหลวที่ค่อยๆ ลดอุณหภูมิลงด้วยความเร็ว (ถ้าจำไม่ผิด) ประมาณ 1°C ต่อล้านปีหรืออะไรแถวๆ นั้น แต่รวมแล้วหลายล้านปีในการค่อยๆ เย็นลงจนกลายสภาพเป็นของแข็ง ซึ่งพอมันลอยไปลอยมาในอวกาศที่ถ่ายเทความร้อนได้น้อยมากก็เลยเกิดขึ้นมาได้
e.g. Supercomputer ที่แรงที่สุด