Gergely Orosz วิศวกรซอฟต์แวร์ผู้คร่ำหวอดในซิลิกอนวอลเลย์ และผู้เขียนจดหมายข่าววงการซอฟต์แวร์ The Pragmatic Engineer บรรยายในงาน Craft Conference ถึงความเปลี่ยนแปลงของสายงานโปรแกรมเมอร์ว่ากำลังเข้าสู่ช่วงยากลำบากแบบเดียวกับยุคฟองสบู่ dotcom ที่โปรแกรมเมอร์หางานได้ยาก
Orosz เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ เคยอยู่ในยุคดอกเบี้ยต่ำที่ยาวนานจนมีการลงทุนในสตาร์ตอัพต่อเนื่อง โปรแกรมเมอร์กลายเป็นมนุษย์ทองคำที่นายจ้างหาคนมาทำงานได้ลำบาก แต่หลังจากสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วก็ทำให้บริษัทต่างๆ แม้จะเป็นบริษัทที่มีกำไรสูงพากันปลดพนักงาน และหลังจากนี้โปรแกรมเมอร์จะหางานได้ยากขึ้น โดยยกตัวอย่าง SupplyPike สตาร์ตอัพรายหนึ่งที่พบว่าใบสมัครเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, มีอัตรการสมัครจากโปรแกรมเมอร์บริษัทเทคขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น, ผู้สมัครระดับซีเนียร์จริงจังกับการสมัครงานมากขึ้นจากเดิมที่มักมาลองสมัครเผื่อๆ ไว้, และเงินเดือนที่เรียกร้องก็กลับไปอยู่ระดับ "ปกติ"
ในแง่ของเทคโนโลยีที่ใช้งาน Orosz ระบุว่าบริษัทต่างๆ หันกลับไปเลือกเทคโนโลยีเดิมๆ ง่ายๆ กันมากขึ้น สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ถอยจาก microservices กลับไปสู่ monolith มากขึ้นเพราะคนทำงานอยู่ที่เดิมกันนานขึ้นและไม่ได้ขยายทีมงานเร็วๆ เหมือนเดิม โปรแกรมเมอร์ต้องทำงาน fullstack กันมากขึ้น รวมถึงต้องรับผิดชอบงานส่วนอื่นๆ เช่น QA, SRE, หรือ Ops ด้วยตัวเอง
คำแนะนำของ Orosz หลังจากนี้คือโปรแกรมเมอร์ต้องเข้าใจโมเดลธุรกิจขององค์กรมากขึ้น เตรียมตัวกับการถูกปลด เตรียมพร้อมสำหรับการหางานใหม่ เช่น การสมัครงานแต่เนิ่นๆ, หาบุคคลอ้างอิงในการสมัครงาน ตลอดจนทำความเข้าใจในการใช้ LLM เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา - YouTube: The Pragmatic Engineer
Comments
?
-/\-
lewcpe.com, @wasonliw
ถึงไม่โดนปลด ก็ลาออกเปลี่ยนงานอยู่ดี ประวัติยาว ๆ เงินเดือนขึ้นเร็วกว่า ใช่มะ?
ไม่หรอกครับ บางบริษัทเขาดูจำนวนเวลาที่อยู่ในบริษัทแต่ละบริษัทด้วย โดยเฉพาะงานที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสูง เงินเดือนสูง คงไม่รับคนที่อยู่แต่ละที่ 1-2 ปีแล้วก็ออก เพราะบางงานมันก็ต้องใช้เวลาสอนงานเพื่อให้ทำงานแทนกันได้ สมัยก่อนเพื่อนผมทำแบบที่คุณบอกนี่แหล่ะ เขาสบาย แต่รุ่นน้องที่มารุ่นหลังลำบาก ด่ากันตรึม บริษัทเข้มงวดมากขึ้นในการคัดคนยิ่งพอเห็นว่ามาจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน การสอนงานมันมีต้นทุนมหาศาลมากกว่าหาคนใหม่อีกนะครับเพราะคนที่มาสอนส่วนใหญ่มักมีต้นทุนทางเวลาสูงมาก
ผมเคยเจอคนที่ประวัติยาวๆ แต่อยู่แต่ละที่ไม่เกิน 1 ปี (บางที่ 2-3 เดือน)ถามไปถามมา มีปัญหากับที่ๆ ตัวเองทำงานตลอดเลย
ก็ตามนั้น ทำงานได้จริง เข้าใจในสิ่งที่ทำจริงๆ ผมว่ายังไงก็ยังมีงานรองรับแหละ เว้นแต่อยู่ใน domain ที่การแข่งขันสูงจริงๆ
..: เรื่อยไป
กลุ่มแรกที่โดนปลดออกเลยน่าจะเป็นแผนก DEI
เคยเจอ is แบบตำแหน่งอ่านชื่อแล้วเป็นตำแหน่งล่างสุด
แต่ทุกตำแหน่งในบริษัท ใครมาใครไปต้องมาไหว้สวัสดีครับ แนะนำตัวก่อนเริ่มทำงาน
จะลาออกก็มาสวัสดีครับผมไปแล้วนะครับพี่ คือเค้าอยู่ตั้งแต่สมัยเริ่มระบบ
แล้วรู้ทุกเสี้ยววินาทีของระบบนี้ แบบไม่สามารถถอดออกได้มั้ยหล่ะครับ?
ถ้าคุณตัดสินใจแล้วว่า ชีวิตคุณจะเน้นขายไฮเทค คุณต้องวิ่งให้ทันตลอดเวลานะ
ต้องทำใจก่อนทำงานเลยว่า พรุ่งนี้เปลี่ยนคือ ตกงาน เรียนตัวใหม่ สมัครงานใหม่
เท่านั้นแหละ
จะ microservices ทำไม จะเขียนภาษาใหม่ ก็แยก server ไปเลย ทำ link เข้ามาใหม่ ใช้ได้อีก ยาวๆ
ถึงจะไม่จ้างก็ไม่อยากทำอยู่ดี
งานที่ทำตั้งแต่เช้ามืดยันดึก โอฟรี อยู่ดีๆต้องมาตื่นตี 3 เพื่อมาแก้โปรแกรม
จะลางานไปทำธุระก็ต้องติดโน้ตบุคไปด้วย เสาร์อาทิตย์ก็ไปไหนไม่ได้
ทำงานมามีแต่เสมอตัวโปรแกรมติดบัคโดนด่า
พอแล้ว นึกถึงแล้วซึมเศร้าจะมาเยือน
แล้วทำไมไม่ลาออก
ลาออกไปทำอย่างอื่นมานานแล้วครับ ตอนนี้เอาวิชาไปทำแอพเปิดบอทลดเวลางานลงไปได้เยอะชีวิตดีขึ้นมาก