ประเด็นปัญหาสำคัญของซีพียูดูอัลคอร์คือราคาซอฟต์แวร์ที่มักคิดราคาตามซีพียู โดยแม้จะมีการเรียกร้องให้คิดราคาตามจำนวนซีพียูจริงมากกว่าจำนวนคอร์ข้างใน แต่การทำจริงก็คงเป็นเรื่องยาก เพราะจำนวนคอร์ในซีพียูนั้นดูจะวิ่งสวนทางกับจำนวนซีพียูในเครื่องอย่างรวดเร็ว
ล่าสุดออราเคิลผู้ผลิตซอฟท์แวร์ฐานข้อมูลรายใหญ่ของโลก ก็ออกมาประกาศถึงแนวการทางคิดราคาแบบใหม่แล้ว โดยจากเดิมออราเคิลคิดราคาเป็น 75% ของราคาเต็มในซีพียูคอร์เดียว เป็นการคิดแยกตามตระกูลซีพียู โดยซีพียูอื่นๆ เช่น Power ของ IBM นั้นจะยังใช้อัตรา 75% ต่อคอร์เช่นเดิม แต่หากเป็นตระกูล x86 จะใช้ราคาที่ 50% ต่อคอร์ ส่วน UltraSparc T1 ของซันนั้นจะใช้อัตราราคาที่ 25% ต่อคอร์
งานนี้นับว่าซันได้เฮ เพราะหากนับที่เครื่องขนาด 8 คอร์เท่าๆ กันแล้ว ค่าซอฟต์แวร์ของเครื่องไอบีเอ็ม Power จะอยู่ที่ 6 ไลเซนส์ ส่วนเครื่อง x86 จะอยู่ที่ 4 ไลเซนต์ และสำหรับ UltraSparc T1 นั้นอยู่ที่ 2 ไลเซนส์เท่านั้น
UltraSparc T1 ตัวนี้คือ Niagara ที่เพิ่งเปิดซอร์สโค้ดไป
ที่มา - InformationWeek
Comments
ถ้าจำไม่ผิด SQLServer2005 นับตามตัวนอก(คือไม่นับจำนวน core)อ่ะ
เราก็เถื่อนตามระเบียบ
ที่ไหนก็ใช้ของเถื่อนทั้งนั้นแหละ เพื่อนเรียนที่ NY ยังบอกเลยว่า ใช้ของเถื่อนกันทั้ง Lab
ไม่อยากเห็นก็ลบให้
ผมไม่ได้ซีเรียสอะไรมากนักกับการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยส่วนตัวผมก็มีใช้บ้าง แต่ผมก็มีความคิดอยู่เสมอว่า มันไม่ดีเว้ย หาอะไรใช้แทนได้ก็ควรใช้แทน อะไรยอมยุ่งยากหน่อยก็ยอมนิดนึง แต่สิ่งที่ผมว่าแย่มาก คือการใช้ของผิดลิขสิทธิ์แล้วภูมิใจคิดว่ามันเป็นการกระทำที่ถูก
ผมไม่อยากเห็นความเห็นแบบ comment #2 #3 #4 อีก
หนึ่งเหตุผลที่ผมทำ blognone ขึ้นมา คือ การที่ความคิดหลายอย่างที่ถูกต้องและสมควรทำ ถูกพลังในสังคมกดหัวไว้จนไม่ได้ผุดได้เกิด จนเรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ เค้าทำกัน อย่างเช่น การให้เครดิตเจ้าของบทความ (ลิ่วเขียนไปหลายทีแล้ว)หรือการประชาสัมพันธ์ไซต์โดยใช้ spam mail หว่านไปทั่ว ในเมื่อเราสามารถควบคุมทุกปัจจัยได้เอง ทำไมเราไม่ทำล่ะ เราจะมัวไปด่าคนอื่นเค้าทำไม ถ้าเราไม่เริ่มทำเอง
เรื่องลิขสิทธิ์เป็นหนึ่งในเรื่องเหล่านั้น มาช่วยกันทำให้สังคมบ้านเรามันดีขึ้นเถอะครับ ซักนิดก็ยังดี
และแน่นอนว่าถ้าคุณรับเงื่อนไขเหล่านี้ไม่ได้ ถ้าคุณตามอ่านที่ผมเขียนมาตลอด น่าจะเดาคำตอบของผมได้อยู่แล้วนี่นา
ออกไปจากเว็บของผมเถอะ
ผมเกลียดการใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์รวมถึงซอฟท์แวร์อื่นๆ ที่ผิดกฎหมายอย่างรุนแรง (ถ้าอ่านความคิดผมมาได้พอสมควรจะรู้ว่าผมคิดไปทางไหน)
ในปัจจุบันใน iBook ยังคงมี Software เถื่อนอยู่สามชนิดก็คือ Microsoft Office 2004 (กรณีเอาไฟล์ที่ทำงานมาแก้), iWork (บางงานต้องใช้ Keynote Present ให้ Vendor) และ Photoshop CS2 (กำลังคิดว่าจะเอาออกแล้วไปใช้ Gimp แทน)
ถ้าเป็น Windows ก็จะมีตัว Windows กับ Office 2003 เท่านั้น
ผมเห็นด้วยกับทุกบรรทัดที่ mk บอกมา
ปล. ผมจะซื้อซอฟท์แวร์หรือบริการก็ต่อเมื่อผมคิดว่ามันคุ้มที่ผมลงเงินไป ปล๒. ผมจะยังใช้ซอฟท์แวร์เถื่อน ถ้ามันจำเป็นและผมคิดว่าไม่คุ้มที่จะซื้อ ปล๓. ความจำเป็นใน ปล๒. ก็คือถ้าผมหาฟรีแวร์มาใช้งานไม่ได้
ด้วยความเคารพและขออภัยข้อความในคอมเมนต์ ๔
โดยส่วนตัวก็ใช้ ซอฟแวร์ที่เป็นฟรีแวร์เสียส่วนใหญ่ ยกเว้นในกรณีที่หา ซอฟแวร์ที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงมาใช้งานไม่ได้ หรือมีราคาแพงโคตรๆ
ด้วยความเคารพและขออภัยข้อความในคอมเมนต์ ๒
ม่อน: เทียบเท่าหรือใกล้เคียงนี่มีบรรทัดฐานยังไง ?
ใช้ software ฟรีที่หาได้ทั้งหมด ยกเว้นที่หาที่ต้องการไม่ได้จริงๆ