Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ตำรวจเกาหลีใต้รายงานถึงการจับกุมกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าตั๋วการแสดงในเกาหลีรอบล่าสุด สามารถจับได้ 7 คน หลังจากมีการแก้กฎหมาย Public Performance Act เมื่อปี 2023 ระบุให้การใช้ระบบอัตโนมัติซื้อตั๋วเพื่อนำไปขายต่อนั้นเป็นการกระทำผิดกฎหมาย

ในบรรดากลุ่มผู้ต้องหาที่ถูกจับกุม หญิงอายุ 20-30 ปีรายหนึ่งมีประวัติการซื้อตั๋วไปขายต่อ 331 ใบ ทำกำไรได้ถึง 100 ล้านวอนหรือประมาณ 2.5 ล้านบาท โดยมุ่งการแสดงละครเวทีเรื่องดัง เช่น Dracula ส่วนคนอื่นๆ ทำรายได้ลดหลั่นกันไป

ตำรวจเกาหลีใต้เตือนประชาชนว่ากฎหมายนี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน นอกจากนี้ตำรวจยังอาจจะพิจารณาแจ้งขอหาตามกฎหมายด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม

ที่มา - Korea Harald

No Description

ภาพโดย cottonbro studio

Get latest news from Blognone

Comments

By: zyzzyva
Blackberry
on 6 October 2024 - 23:40 #1324200

เรื่องตั๋วผีนี่แก้ได้ง่ายมากจากต้นทางที่ขายตั๋วแต่ก็ไม่ยอมแก้ซักที แล้วก็มารณรงค์ที่ปลายน้ำว่าห้ามซื้อตั๋วผี

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 7 October 2024 - 00:30 #1324202 Reply to:1324200
lew's picture

ง่ายมากที่ว่านี่ทำอย่างไรหรือครับ เพราะเอาเข้าจริงทุกกระบวนการก็มีปัญหา

  • ห้ามขายต่อ: จำกัดสิทธิ์คนซื้อ วันไปไม่ว่างกลายเป็นเสียโอกาส จะบังคับผู้จัดคืนเงินก็เสี่ยงโดนกลั่นแกล้งกันอีก
  • บังคับลงทะเบียน: เปิดทางคนขายตั๋วเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก เพิ่มความเสี่ยงข้อมูลรั่ว

อย่างเคสนี้ผมว่าตำรวจและกฎหมายก็ระวังพอสมควร ห้ามแค่การใช้สคริปต์+นำมาขายต่อเท่านั้น ยังไม่ได้ห้ามกองทัพมดที่ช่วยกันกดแต่เป็นคนจริงๆ


lewcpe.com, @wasonliw

By: poomsss0
iPhoneUbuntuWindows
on 7 October 2024 - 00:38 #1324203 Reply to:1324202

ห้ามขายต่อจบ
คนที่ไม่เเน่ใจว่าอีกนาน จะว่างใหม ก็อย่าเพิ่งซื้อ เเค่นั้นเอง

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 7 October 2024 - 17:24 #1324273 Reply to:1324203
lew's picture

ถ้าตัดจบแบบนั้น จะตัดจบแบบไม่ทำอะไรเลย ซื้อไม่ทันก็ไม่ต้องดู แค่นั้นเอง ยิ่งง่ายกว่าอีกครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: nuntipat
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 7 October 2024 - 05:44 #1324205 Reply to:1324202
nuntipat's picture

คิดว่าทางออกที่ปิดช่องโหว่ได้หมดทั้งการเอามาขายต่อเกินราคาหรือเอาตั๋วใบเดิมมาวนขายซ้ำให้กับหลายคนคือให้ขายต่อได้ผ่าน platform ของผู้ขายเท่านั้นครับ วิธีการนี้ผู้ซื้อคนแรกจะได้เงินคืนก็ต่อเมื่อมีคนมาซื้อตั๋วที่นั่งของตนเองเท่านั้น (ผู้จัดไม่ต้องคืนเงินไปก่อน ไม่มีปัญหาโดนกลั่นแกล้ง ผู้ซื้อคนแรกก็ยังสามารถช่วยโปรโมตตั๋วที่ตัวเองอยากปล่อยผ่านโซเซียลหรือบอกเพื่อนตัวเองให้มากดซื้อใน platform ผู้ขายแทนการไปซื้อขายกันเอง)

วิธีนี้เหมือนจะมีช่องโหว่ตรงที่ผู้ซื้อคนแรกอาจจะไปตกลงกับคนที่อยากได้ตั๋วให้โอนเงินให้ก่อนเพื่อให้เขาปล่อยตั๋วคืนเข้าระบบให้ แต่พอใช้ระบบนี้คนที่อยากได้ตั๋วก็จะไม่อยากโอนเงินให้ก่อนเพราะว่าเมื่อตั๋วปล่อยกลับเข้าสู่ระบบแล้วอาจจะมีคนอื่นแย่งซื้อไปก่อนอยู่ดี (ในราคาปกติ) ทำให้สุดท้ายคนกักตุนจะมี 3 ทางเลือกคือ 1) ยอมปล่อยตั๋วคืนระบบในราคาเท่าทุน (หรือขาดทุนตามเงื่อนไขในย่อหน้าถัดไป) 2) เก็บไว้และเสียเงินฟรี เคสนี้ผู้จัดอาจจะมีปัญหาที่นั่งว่าง แต่แก้ได้ไม่ยากโดยอาจจะเปิดให้เข้าแถว walk-in ซึ่งคอนใหญ่ๆ น่าจะหาคนที่อยากดูได้ไม่ยาก และเก็บเงินหน้างาน เท่ากับผู้จัดได้รายได้มากขึ้นเพราะขายที่นั่งได้ 2 รอบ 3) โน้มน้าวให้คนที่อยากดูมากยอมโอนให้ก่อน เคสนี้ถ้าผู้ซื้อร่วมมือกันไม่โอน ก็จะบีบให้เกิดสถานการณ์ข้อ 1 หรือ 2 สุดท้ายนี้อาชีพกักตุนจะหายไปครับ ซึ่งในปัจจุบันการรณรงค์ไม่ซื้อตั๋วผีไม่ได้ผลเพราะไม่มีแรงกดดันไปที่ฝั่งคนกักตุน และตัวตั๋วสามารถเปลี่ยนมือได้เองไม่ผ่าน platform ผู้ขายครับ

ในส่วนค่าใช้จ่ายฝั่งผู้ขาย ในกรณีที่มีค่าธรรมเนียม payment gateway รวมในค่าตั๋ว (เช่นบัตรเครดิตตีว่าคิด 3%) ผู้ซื้อคนแรกที่เอาบัตรที่นั่งเดิมมาขายคืนจะได้เงินคืนยอดหลังหักธรรมเนียมนี้ ส่วนผู้ซื้อคนถัดไปที่มาซื้อต่อผู้จัดก็ออกส่วนนี้ให้เหมือนเดิม เท่ากับผู้จัดไม่มีค่าใช้จ่ายต่อ seat เพิ่ม (เสียค่า payment gateway ต่อ 1 seat ครั้งเดียว) สำหรับ platform ที่เก็บค่าธรรมเนียมแยกจากค่าตั๋วอยู่แล้วก็จะไม่มีประเด็นนี้ครับ เท่ากับ cost เดียวที่ผู้ขายต้องเสียเพิ่มคือค่า server เพื่อมาจัดดการการซื้อขายครับซึ่งก็น่าจะไม่ได้เยอะมากเนื่องจากมี infrastructure สำหรับการขายตั๋วอยู่แล้ว

ในส่วนผู้ซื้อที่มาไม่ได้จริงๆ ด้วยเหตุผลต่างๆ จะมี cost แค่ส่วนของค่าธรรมเนียมการจ่ายเงินที่จะไม่ได้คืน ซึ่งยอดไม่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าตั๋ว (น่าจะสิบหรือหลักร้อยต้นๆ) ก็ถือว่าเป็นค่าเปลี่ยนใจที่ผู้ซื้อน่าจะยอมรับได้ครับ

ทีนี้การ implement สามารถใช้ตั๋วกระดาษหรือออนไลน์ก็ได้ครับ แต่ที่ตั๋วต้องมีชื่อและเทียบบัตรประชาชนตอนเข้างาน ซึ่งจะเปลี่ยนได้ผ่านระบบของผู้ขายที่อธิบายไปในย่อหน้าแรกครับ ตรงนี้อาจจะมองว่าเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลแต่ก็เก็บแค่ชื่ออย่างเดียว ไม่ต้องมีเบอร์โทร เลขบัตรประชาชน ฯลฯ และถ้าอยากลดจุดนี้จริงๆ สามารถเก็บแค่ 3 ตัวหน้าของชื่อและ 3 ตัวแรกของนามสกุลก็ได้ครับ ซึ่งก็จะลดความเป็นไปได้ในการเอาไปให้คนอื่นใช้เพราะชื่อและสกุล 3 ตัวหน้าต้องเหมือนกันซึ่งก็ค่อนข้างยากครับ

ระบบนี้จะต่างกับแค่ใส่ชื่อในตั๋วเพราะว่าระบบนี้ไม่ได้ไปจำกัดสิทธิ์คนซื้อในการขายต่อในกรณีที่มาไม่ได้จริงๆ ส่วนถ้าใส่ชื่อในตั๋วแล้วให้กด transfer ได้โดยไม่มีระบบซื้อขายที่ว่ารองรับก็จะเป็นการเปิดช่องให้ขายตั๋วเกินราคาเหมือนในปัจจุบันครับ ฉะนั้นคิดว่าทางออกคือต้องใส่ชื่ออย่างน้อยสัก 3 ตัวและมีระบบขายคืนรองรับครับ

By: pd2002 on 7 October 2024 - 01:54 #1324204 Reply to:1324200

ขอไอเดียหน่อยครับที่ว่า "แก้ง่ายมาก" อยากรู้ว่าทำยังไงบ้าง

By: whitebigbird
Contributor
on 7 October 2024 - 10:03 #1324216 Reply to:1324204
whitebigbird's picture

ชื่อคนซื้อกับคนเข้างานตรงกัน มั้ง อันนี้ไอเดียผม

เพิ่มเติม นึกออกอีกอันคือผู้จัดจำหน่ายใช้ระบบซื้อคืนมาขายต่อในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อคนถือบัตร แต่ยังมีช่องว่างให้จ่ายหลังฉากอ่ะนะ

By: wisidsak
AndroidIn Love
on 7 October 2024 - 10:18 #1324219 Reply to:1324204
wisidsak's picture

ไอเดียผมก็ คนซื้อ = คนเข้าชม ครับ
จริงๆบ้านเราก็ขายตั๋วงานแสดงล่วงหน้ากันหลายเดือนนะครับ จะอ้างว่าวันนั้นไม่ว่าง ก็ควรจะเป็นธุระเร่งด่วนแล้ว คนป่วย คนตาย อุบัติเหตุ จริงๆ อุบัติเหตุ ก็มีการให้ซื้อประกันนะ กรณีของ TTM

หรือถ้าจะมีระบบคืนตั๋วก็ได้ครับ ยิ่งคืนไวก็หักน้อย คืนใกล้ก็หักมาก ผู้จัดก็เอาตั๋วไปขายเต็มราคาได้ต่ออีก
ปล. ก็ไม่รู้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดมั้ยนะครับ

By: waroonh
Windows
on 7 October 2024 - 12:42 #1324247 Reply to:1324204

มันได้เงินกันทุกคนเลยแก้ยากครับ
จัดคอนขายบัตรหมดแน่ๆ
บอทต่อแถวได้ตังแน่ๆ
ขายต่อได้ตังแน่ๆ
แฟนคลับเอาเงินทุ่มได้ตั๋วแน่ๆ
แก้ยากนะ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 8 October 2024 - 11:11 #1324321 Reply to:1324247

จริงๆถ้ามองภาพรวม ค่ายเจ้าของวงไม่น่าชอบระบบรีเซลนะครับ เพราะแม้จะได้กระแสข่าวว่าตั๋วขายหมดไว แต่ก็ไม่ได้เงินเพิ่ม(เข้ากระเป๋าคนresale)และทำให้ฐานแฟนลด

เพราะถ้าตั๋วปั่นไปราคาแพง แฟนคลับหน้าใหม่ก็จะไม่อยากจ่ายแพงๆเพราะยังไม่ทันคลั่งวงขนาดนั้นและเบื่อหน่ายที่แย่งตั๋วไม่เคยทันจนหันเหไปตามวงอื่น เหลือแต่พวกแฟนเดนตายที่ทุ่มจ่ายไม่ว่าแพงแค่ไหน ซึ่งกลุ่มแฟนเดนตายนี่แม้จะเปย์เยอะ แต่ก็มักยึดติดมากๆ ระยะยาววงจะไม่รอดถ้าหาฐานแฟนใหม่ๆไม่ได้ครับ โดยเฉพาะแฟนคลับเด็กๆที่กำลังซื้อน้อยกว่าแฟนคลับวัยทำงาน

แต่ถ้ามองแค่ผู้จัดซึ่งถ้าเป็นคอนตปท.ก็มักจะแยกออกจากค่ายเป็นแค่ agency ก็อาจจะไม่สน เพราะมองแค่ขายตั๋วหมดได้เงินก็พอ

By: gamoman
AndroidWindows
on 7 October 2024 - 07:06 #1324206

คนจัดไม่เดือดร้อน ยังไงบัตรก็ขายหมด เขาคงไม่แก้ไขอะไร
คนขายต่อ ถ้ายังมีคนซื้อต่อ ก็จะมีคนขายต่อไป

คนที่เดือดร้อนคือคนซื้อจริง แต่อยากจะให้ official ตำรวจ หรือแม้แต่องค์กร ไปช่วย แก้ปัญหาให้ เขาจะทำให้ไหม
หยุดซื้อต่อจากคนขายที่ไม่ใช่ official น่าจะทำให้คนซื้อมาขายต่อจุกแล้วเลิกทำต่อไหม official น่าจะจุกต่อถ้ามีระบบคืนบัตรได้ แบบนี้ official ก็จะมีมาตรการมาจัดการละ

เหมือนตอน Graphic Card ราคาขายต่อแพงมากเพราะพี่ ๆ เขารับมาแพง
สุดท้ายคนส่วนใหญ่ไม่ซื้อ ซื้อไม่ไหว ตอนนี้พี่ ๆ นอนกอด Card กันหลายคนเลย

By: KuroNeko_Hiki
AndroidUbuntuWindows
on 7 October 2024 - 07:33 #1324207
KuroNeko_Hiki's picture

ขายตั๋วแบบสุ่มกาชา และส่งต่อไม่ได้

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 7 October 2024 - 07:45 #1324209 Reply to:1324207
KuLiKo's picture

โดนหาว่าฮั้วกันกับพ่อค้าคนกลาง ไม่มีความโปร่งใสอีก 😅

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 7 October 2024 - 08:11 #1324210 Reply to:1324207

บางคนอยากไปดูกับเพื่อน กับแฟน กับครอบครัว ได้คนเดียวไม่อยากไป เจอสุ่มก็ลำบาก


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: deaknaew on 7 October 2024 - 10:36 #1324223 Reply to:1324207

ญี่ปุ่นชอบทำเลยครับ สุดท้ายก็ยังเป็นประเทศที่ resell หนักอยู่ดี

By: rainhawk
AndroidWindows
on 7 October 2024 - 09:13 #1324211
rainhawk's picture

คงต้องระบุชื่อที่นั่งแบบเปลี่ยนคนไม่ได้
ได้แต่คืนเงิน
แต่ไม่รู้มีปัญหากับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลไหม!

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 7 October 2024 - 09:41 #1324212

แบบญี่ปุ่นค่อนข้างแฟร์สุดแต่ก็ลำบากในหลายๆความหมาย

-ขายตั๋วแบบสุ่ม lottery โดยต้องใช้เบอร์มือถือในประเทศในการลงสุ่ม มือถือญี่ปุ่นสมัครยาก เลยป้องกันลงสุ่มหลายๆaccount ไปในตัว แถมเบอร์ญี่ปุ่นไม่รองรับ roaming ซะส่วนใหญ่(รวมถึงwifi calling) ทำให้ใช้เบอร์จากนอกประเทศได้ยาก อันนี้ของไทยอาจจะทำยากเพราะซื้อเบอร์ใหม่ง่าย อาจจะต้องใช้keyระดับเลขบัตรประชาชน/passport number
-ล็อคชื่อตอนซื้อตั๋ว ตรวจ IDกับบัตรประจำตัวที่มีรูปตอนเข้างาน (แต่อันนี้ได้ยินว่าบางที่ก็ดราม่าว่าตรวจมั่ว แต่ก็เคยได้ยินข่าวการแจ้งตำรวจเรื่องการให้ยืมบัตรประจำตัวจากคนขายตั๋วผี แต่โดยส่วนตัวใช้ passport ต้องอธิบายคนตรวจทุกครั้งเพราะกรอกชื่อสกุลได้ไม่ครบเพราะจำกัดแค่อย่างละแปดตัวอักษร ซึ่งไม่ค่อยพอสำหรับชื่อหรือนามสกุลคนไทยแบบภาษาอังกฤษ)
-ถ้าไปไม่ได้ ก็ต้องฝากขายตั๋วผ่านแอพพวก ticket exchange/ticket plaza ที่จะขายแบบสุ่มเช่นกัน คนซื้อต่อไปลงชื่อแล้วสุ่มว่าจะได้ไหม เลือกที่นั่งไม่ได้เห็นแค่โซน และราคาซื้อขายจะเท่ากับราคาหน้าตั๋ว ห้ามอัพเพิ่ม แต่จำไม่ได้ว่าคนซื้อหรือคนขายต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แอพ อันนี้เป็นข้อเสียคือถ้าสุดท้ายขายต่อไม่ได้ ก็ต้องทิ้งตั๋วrefund อะไรไม่ได้เลยส่งต่อให้ญาติหรือเพื่อนไปดูแทนไม่ได้

ข้อเสียอีกอย่างคือลงสุ่ม/ซื้อได้พร้อมกันสูงสุดแค่ทีละสองใบ(ได้ที่นั่งติดกัน) ไปกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ไม่ได้ และสุ่มที่นั่งอีกตะหากลุ้นเอาตอนไปออกตั๋วก่อนเริ่มงานประมาณสัปดาห์นึง

แต่เขาก็มีรอบขายทั่วไปที่แย่งชิงกันด้วยความพยายาม เวบล่มโหดกว่าบ้านเราอีกแม้แต่หน้า park ก่อนเข้าคิวก็ยังล่ม แต่ที่นั่งรอบนี้มักจะโซนไกลๆ(ดอย)และรอบนี้ขายก่อนวันแสดงแค่ไม่กี่วัน ลำบากสำหรับคนต่างชาติที่คิดจะบินไปดูโดยไม่ได้วางแผนไว้ก่อน

แต่ระบบที่ว่ามาก็มีช่องโหว่ เช่นขายต่อโดยให้ยืม ID (ญี่ปุ่นไม่บังคับให้มีบัตรประชาชน ใช้ ID อื่นๆทดแทนได้ โดย ID บางชนิดไม่มีรูปด้วย แค่เพศเดียวกันใช้ ID สองใบแบบไม่มีรูปไปยืนยันตัวหลอกคนตรวจได้) หรือซับซ้อนกว่าคือขายที่นั่งดีๆ เช่นที่นั่งอารีน่า แต่คนซื้อต่อต้องซื้อที่นั่งโซนปกติไปด้วย เหมือนจ่ายเงินเพื่อupgradeที่นั่ง คือต่างคนต่างเข้าไปแล้วไปแลกตั๋วกันข้างในโดม เพราะเขาไม่ได้ตรวจชื่อตรงที่นั่งแล้ว(แต่ส่วนใหญ่คือคนขายไม่ได้เข้าไปจริงๆด้วยให้ตั๋วไปล่วงหน้า) หรือการลงสุ่มแบบพ่วงสลับกัน (A ลงพ่วง B อีก account ใช้ B ลงพ่วง A)แต่ผู้ให้บริการก็ขู่ว่าระบบตรวจจับได้ และจะแบนแบบไม่แจ้งให้รู้ตัว

อ้อ เหมือนญี่ปุ่นมีกฎหมายคุมเรื่องการขายตั๋วโดยเฉพาะเลย
https://www.japaneselawtranslation.go.jp/en/laws/view/3356/en

ป.ล. เพิ่มเติมของญี่ปุ่นยุคหลังมีดราม่าเรื่อง e-ticket เพราะคนไทยและคนต่างชาติบางคนไม่เข้าใจว่าเบอร์ account e-ticketมันผูกกับเบอร์มือถือนะ ไปจ้างหรือฝากคนอื่นซื้อ แต่ถ้าไม่ได้เบอร์มือถือเขาไปด้วย(ต้องมีซิม)โดนย้ายตั๋วไปง่ายๆเลย เพราะเขาไม่ค่อยตรวจเอกสารอื่นแล้วเพราะถือว่ายืนยันตัวตนด้วยแอพในมือถือที่ผูกกับซิมโดยตรง บางทีเขาให้OTPมาให้เราloginครั้งแรกมันก็จำในเครื่อง(บางแอพมันใช้แค่OTPแต่บางแอพมันตรวจว่าต้องมีซิมในเครื่องเลย) แต่คนขายไปloginเครื่องอื่นใหม่ด้วยซิมของเขาตั๋วก็ย้ายไปเครื่องใหม่(อาจจะตั้งใจโกงหรือไม่ตั้งใจเพราะไม่รู้?) สำหรับคนต่างชาติตั๋วกระดาษก็ยังดูสะดวกสุดล่ะครับ(กรณีฝากคนอื่นซื้อก็ให้เขากรอกชื่อคนเข้าร่วมตามpassportเรา)

By: aeksael
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 7 October 2024 - 20:02 #1324280
aeksael's picture

ว้าว... ปัญหานี้ลึกกว่าที่คิดแฮะ

หรือจริงๆ​ ก็แค่ไปซื้อตั๋วหน้างาน...
โอเค​พ่อค้ารีเซลมันก็คงมานอนต่อคิวอีกแหละ​ เราก็แค่ไม่สนับสนุนไม่ซื้อต่อจากพวกนี้


The Last Wizard Of Century.