NASA รายงานถึงเหตุความผิดปกติของยาน Voyager 1 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังทีมงานสั่งเปิดฮีตเตอร์เพื่ออุ่นระบบแต่กลับทำให้ระบบป้องกันความผิดพลาดทำงาน และสัญญาณก็หายไป ทีมงานรู้ว่ามีปัญหาแน่นอนในวันที่ 18 ตุลาคม เมื่อหาสัญญาณตอบกลับไม่พบ แต่ก็พบว่าที่จริงยานยังส่งสัญญาณอยู่ แต่ส่งในแบนวิดท์ต่ำมากๆ ในโหมดฉุกเฉิน แต่เมื่อหาสัญญาณได้เพียงวันเดียวก็หายไปอีก
ทีมงานคาดว่าระบบป้องกันทำงานซ้ำอีกสองรอบจนทำให้ระบบปิดวิทยุ X-band ความถี่หลักไปเลย แล้วไปเปิดวิทยุสำรอง S-band ที่ใช้พลังงานต่ำกว่า โมดูลนี้ใช้งานครั้งสุดท้ายในปี 1981 หรือ 43 ปีที่แล้ว (ตอนนั้นยานออกจากโลกไปแล้ว 4 ปี) ที่ผ่านมาทีมงานไม่เคยรู้ว่า S-band ใช้สื่อสารทางไกลขนาดนี้ได้หรือไม่ แต่หลังจากส่งคำสั่งกลับไป ตอนนี้ก็ยืนยันแล้วว่ายังสื่อสารกันได้อยู่
ตอนนี้ทีมงานตัดสินใจสำรวจความผิดปกติและสื่อสารด้วย S-band ไปก่อน และจะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะทำอย่างไรให้ยานกลับมาทำงานปกติอีกครั้ง
ที่มา - NASA
Comments
คุณปู่สู้ชีวิตสุดๆ
สุดจริงยานลำนี้
คนดีไซน์และสร้างโคตรเก่ง
ทีมงานเด็กใหม่ที่ดูแลก็เก่งนะครับ (อาจจะไม่เด็กแล้วด้วย) ที่เรียนรู้และแกะการทำงานของเก่าๆ ให้ maintenance ให้ใช้ได้ต่อยาวๆ เนี่ย
ต้องให้รางวัลอะไรดีกับทีมสร้างยาน Voyager ทั้งสองลำ เก่งจริงๆ
..: เรื่อยไป
จริงครับ ถ้าพูดกันเรื่อง concept design และ engineering คือปิดประตูปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้แบบเฉียบแหลมมากครับ เรียกได้ว่าระดมสมองเพื่อให้แก้ปัญหาได้ทุกปัญหาที่คิดเอาไว้ว่าต้องเกิด
Redundant กันทุกอย่างแถมระบบก็ทนอึดจริงๆ ยานสมัยนี้จะทนแบบสมัยก่อนไหมเนี่ย
+1 นั่นสิ
แก่กว่าผมอีก
ชัวร์ใช่มั้ยครับ
😂
ใส่มีมทนายธรรมราช
Voyager 1 is a space probe launched by NASA on September 5, 1977.
ตอนนี้ก็ผ่านมา 47 ปีแล้ว
โห ขอชื่นชมเลยครับ
ใช้แบตยังไงเหรอครับ
หรือว่าชาร์จแสงอาทิตย์
RTGs (แบตนิวเคลียร์ Radioisotope Thermoelectric Generators) ฮะ เอาความร้อนส่งเข้า thermocouples แล้วได้ไฟฟ้าจากความต่างอุณหภูมิ themoelectric effect
ยานไปไกลมากจนพลังงานแสงอาทิตย์น้อยมากแล้ว และอายุก็มากจนแผงแสงอาทิตย์ก็น่าจะเสื่อมหนักเหมือนกัน
แต่ RTGs เองก็มีทั้งเชื้อเพลิงลดลงตามเวลา (ธาตุกัมมันตรังสีสลายตัวจนเหลือน้อยลง) จนได้ความร้อนน้อยลงและ thermocouples เสื่อมลงจนแปลงความร้อนเป็นไฟฟ้าได้น้อยลงเหมือนกัน
43 ปีของโลกแต่สำหรับยานอาจจะน้อยกว่านั้นหรือเปล่านะด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ที่ว่าถ้าอยู่บนยานที่มีความเร็วเข้าใกล้แสงก็จะมีเวลาที่ช้ากว่าเวลาบนโลก
ยานที่มนุษย์ส่งไปยังไม่ใกล้ถึงความเร็วแสงเลยครับ ยานที่ถึงความเร็วสุดตอนนี้ก็น่าจะ Parker Solar Probe ครับแรงโน้มถ่วงส่งช่วยเข้าใกล้ดวงอาทิตย์สุดๆ ถ้ากูเกิลไม่ผิดก็ราวๆ 0.064% ของความเร็วแสง เวลาคงไม่ห่างเท่าไร
เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจมาก
สมมุติว่าถ้ายานวิ่งเร็วใกล้แสง และส่ง heartbeat ping ทุกๆ 1 วินาที ทางโลกอาจจะสังเกตได้ว่าแต่ละ ping มันจะเกิน 1 วินาทีนิดหน่อย
แต่ก็อยู่ที่ความโน้มถ่วงน้อยกว่าผิวโลกด้วยนะฮะ
ส่วน Starliner นั้นยังไปสถานีอวกาศแล้วกลับมาให้มันครบ ๆ ซักรอบไม่ได้ซักที
จุดสูงสุดของวิศวกรรมแห่งยุคสมัยเลย
มี Backup และ Plan B อัดแน่นทุกฟังขั่น