คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปหรือ European Commission (EC) ประกาศเริ่มการสอบสวน Corning ว่าอาจมีพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันในตลาดกระจกหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
EC อ้างข้อมูลประกอบการสอบสวนว่า Corning มีข้อกำหนดกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ให้เปิดคำสั่งซื้อกระจกแบบ Alkali-Aluminosilicate ที่บริษัทผลิต คราวละทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่มี โดยบริษัทจะให้ส่วนลดเพิ่มเติม นอกจากนี้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต้องให้ข้อมูลกับ Corning หากได้รับข้อเสนอจากผู้ผลิตกระจกหน้าจอรายอื่นด้วย และห้ามรับข้อเสนอเหล่านั้นเว้นแต่ Corning ไม่สามารถทำราคาสู้ได้
นอกจากนี้ EC ยังบอกว่า Corning ทำข้อตกลงคล้ายกับฝั่งซัพพลายเออร์วัตถุดิบกระจก ให้รับคำสั่งซื้อทั้งหมดจากบริษัทโดยมีผลตอบแทนเพิ่ม
EC บอกว่าได้แจ้ง Corning และคณะกรรมการดูแลการแข่งขันเพื่อเริ่มการสอบสวนในประเด็นนี้แล้ว โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา
ที่มา: European Commission
Comments
จุ้นน คลั่งไปเรื่อย
ก็เป็นเรื่องของบ้านเค้านะจะไปว่าเค้าจุ้นทำไม ถ้าอยากวิจารณ์จริงๆก็น่าจะบอกเหตุผลมาบ้างว่าทำไมEUไม่ควรทำอย่างโง้นอย่างงี้
พฤติกรรมบางอย่างสมควรโดนลงโทษ
ชอบที่เค้าก็พยายามหาอะไรที่มันดูผูกขาดมาได้เรื่อยๆ ซึ่งมันก็มองได้สองมุมอะนะ...
เหมือนจะเป็นเรื่องที่เกินไป แต่ถ้ามองอีกหลายๆ มุม ถ้าพูดถึงเรื่องอื่น อย่างเรื่องซิป พวกนี้บางครั้งอยากจะใช้ซิป 3 2 1 0.5 นาโนเมตรแม่งต้องไปซื้อกับค่ายนั้น ค่ายนี้เจ้าเดียว มันก็เหมือนโดนกดให้ไปซื้อของๆ แบรนด์นั้นอย่างเดียว มันก็ดี แย่ปนกันไป มีออกมามันก็ดีเทคโนโลยีใหม่ๆ จะได้กระจายไปทั่วๆ ไม่ใช่ไปกระจุกที่ที่เดียว
บางทีที่ผูกขาดก็เพราะคู่แข่งมันห่วยเอง จะให้ทำยังไง แบ่งเทคโนโลยีให้ใช้งี้หรอ
ปัญหามันอยู่ตรงนี้
โดยเฉพาะตรงตัวหนาที่ถ้าเป็นการ bid ทั่วไปจะไม่มีใครทำ (บังคับให้คนทำ bid เอาข้อมูลราคาที่คนเข้า bid ไปให้ Corning ตัดราคา) แต่ Corning บอกว่าถ้าไม่ให้ข้อมูลตรงนี้ก็ไม่ขายให้ ทำให้คนที่จะซื้อต้องซื้อกระจกจาก Corning เท่านั้นหรือไม่ซื้อเลย แทนที่จะมีโอกาสพิจารณาความคุ้มค่าครับ
ไปเอาสัญญาภานในกันได้มาจากไหนเนี่ย
แถมสั่งปรับเค้ากี่บาทก็ได้ เอาเงินเค้ามากินเปล่าๆอีก นักกรรโชกทรัพย์ระดับทวีป
ปัญหาเรื่อง vendor lock-in เป็นปัญหาที่คนไม่ได้ทำงานที่โดน regulator มาคอยตรวจสอบจะไม่เข้าใจ สัญญาต่างๆ ในมุม regulator ก็ขอดูได้ตามอำนาจหากมีการร้องเรียน
ในมุม regulator การที่บริษัทในกำกับดูแล เจอปัญหา vendor lock-in ต้องลงมาช่วยจัดการ เพราะถือเป็นความเสี่ยง (risk) ในการแข่งขันให้เป็นธรรมของบริษัทในกำกับดูแลด้วย ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีในการผลิตสินค้า มันก้าวเลยไปถึงการดำเนินธุรกิจของบริษัทผลิตวัตถุดิบกระจก และสัญญาระหว่างการเลือกใช้กระจกของตัวเองและคู่แข่งด้วย
ในเคสนี้อาจจะเข้าข่ายสัญญ่กีดกันทางการค้าได้หรือไม่ ก็มาลุ้นกันอีกที เพราะก็สุ่มเสี่ยงอยู่เหมือนกัน
ไม่น่ารอดอีกเช่นกัน
That is the way things are.