Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เยาวชนชายอายุ 17 ปีและปู่ย่าที่อาศัยอยู่ด้วยกันในจังหวัดอุดรธานีตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลังจากคนร้ายสามารถแจ้งอายัดบัญชีและปิดการใช้งานแอปธนาคารได้สำเร็จ หลังจากนั้นจึงโทรหาผู้เสียหายเพื่อแจ้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและสั่งให้โอนเงินไปตรวจสอบ

ปู่และย่าของเหยื่อหลงเชื่อจึงโอนเงินพยายามโอนเงินทั้งหมดไปให้ แม้แต่บัญชีที่ไม่ได้ผูกไว้กับแอปพลิเคชั่นออนไลน์ คนร้ายก็สั่งให้ไปปิดบัญชีมาโอน รวมความเสียหาย 3,412,642 บาท

ที่มา - กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 December 2024 - 10:47 #1328996

ประเด็นคือการขู่ให้โอนเงินไปตรวจสอบมันไม่ควรหลงเชื่อได้ อาจจะเพราะบ้านเราชินชาหรือคุ้นเคยกับระบบการให้สินบน เลยหลงเชื่อขั้นตอนเหล่านี้?(จริงๆโอนเงินไปพักให้ตรวจสอบนี่ผมไม่ค่อยเชื่อผู้เสียหายนะครับ อาจจะเป็นการขู่ให้จ่ายสินบนมากกว่า? กลัวเป็นเหมือนเคสอ้างว่าแค่รับสายก็โดนhack ทั้งๆที่จริงกดลงแอปเถื่อนโอนให้เอง) แม้จะรู้ข่าวแก๊งcall center ที่ออกเป็นประจำก็ตาม แต่เพราะความกลัวความผิดทำให้คิดว่าอาจจะเป็นเรื่องจริงเลยยอมทำตาม?

แต่บัญชีโดนอายัด ทำไมไม่โทรหาธนาคาร เพราะถ้าจนท.ตำรวจทำหนังสืออายัดจริง ธนาคารก็จะตอบได้ว่าอายัดจากหนังสือจากจนท.ตำรวจ และจะให้เบอร์ติดต่อสภ.ต้นทางโดยตรง ยกเว้นว่าทำหนังสือจนท.ตำรวจปลอม? แต่ในข่าวเป็นเคสปลอมเป็นเจ้าของไปแจ้งอายัดเอง ถ้าแบบนั้นธนาคารก็น่าจะตอบได้ว่าเจ้าของแจ้งอายัดเอง

สุดท้ายการรู้เท่าทันทางกฎหมายและรู้สิทธิทางกฎหมายของตัวเองจะเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันเหตุพวกนี้ได้ดีที่สุด แม้จะยากที่สุดก็ตาม

ส่วนจะโทษธนาคารว่าทำไมอายัดได้จากการสวมรอย ก็เป็นปัญหาเรื่องการแจ้งอีก เพราะถ้ามิจฉาชีพรู้ข้อมูลส่วนตัวหมดก็สวมรอยได้ ถ้าธนาคารจะเพิ่มการkyc ที่ยุ่งยากมากขึ้นกันการสวมรอย ก็อาจจะเป็นช่องให้อายัดได้ช้าจนอาจโดนมิจฉาชีพชิงสิทธิ์เข้าถึงไปได้ก่อนในกรณีมือถือหาย หรือโดนจี้ไปแทน?

By: iqsk131 on 16 December 2024 - 11:45 #1329003 Reply to:1328996

คนในครอบครัวผมโดนอยู่ครับ มีอัดเสียงระหว่างพูดคุยโทรศัพท์ด้วย ซึ่งผมนั่งฟังแล้ว หลักๆเลยก็คือขู่ให้กลัวนี่แหละครับ แถมหลอกล่อว่าให้หาที่คุยคนเดียวห้ามใครได้ยินห้ามปรึกษาใครด้วย (แต่หลอกล่อให้ทำตามจนกระทั่งโอนเงินและเพิ่มวงเงินนี่ไม่แน่ใจนะ เพราะคนร้ายล่อให้ไปคุยต่อใน Line call ซึ่งไม่ได้อัดเสียงไว้)

ซึ่งวิธีการหลอกลวงที่ว่ามา ทางบ้านผมเองก็คอยย้ำคอยเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่สุดท้ายถ้าทำให้กลัวได้ก็ทำให้สติในการรับมือลดลงอยู่ดี ถึงตอนนั้นความรู้เท่าทันที่มีก็กระเจิงหมด เพราะงั้นที่ยากกว่าให้ความรู้ก็คือทำให้เหยื่อมีสตินี่แหละครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 December 2024 - 13:08 #1329012 Reply to:1329003

ถ้าไม่แน่ใจจริงๆก็ให้ออกหมายเรียกนั่นแหละครับคือพื้นฐาน ก็อย่างที่ว่าความกลัวทำให้ตัดสินใจได้แย่ลง และด้วยสังคมแบบไทยๆทำให้มักจะคิดไปในทางวิธีลัดมากกว่าจะวิธีตามกฎหมายปกติ(อย่างการขู่ให้กระทำการใดๆ ถ้าฉุกคิดอีกนิดว่ามันไม่น่าจะถูกต้องตามกฎหมายปกติได้?)

แต่ก็เข้าใจว่ามักจะปลอมตัวอ้างว่าโทรจากจากสภ.จังหวัดไกลๆทำให้ไม่อยากไปแสดงตัวด้วยตัวเอง แต่มันก็พอมีช่องให้ติดต่อโดยตรงกับสภ.ก่อนเพื่อสอบถามคดี(เบอร์ตรงสภ.ตจว.ส่วนใหญ่โทรติดง่ายกว่าในกทม.นะครับ ไม่ต้องกลัวเคยโทรแล้ว)

ป.ล. จริงๆเมื่อก่อนจนท.ตำรวจก็จะทำเรื่องอายัดบัญชี หรือหาเบอร์ติดต่อเจ้าของบัญชีจากระบบส่วนกลางแล้วโทรไปสอบถามโดยตรงจริงๆโดยใช้เบอร์มือถือส่วนตัวซะอีก ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ทำไง

ป.ล. มีเคสหมายศาลปลอมด้วยนะครับ แต่ตรวจสอบได้

By: madcatzz
Windows
on 16 December 2024 - 16:02 #1329024 Reply to:1328996

กฏหมายอาญาเรามีปัญหาด้วยครับ ที่ใช้ระบบติดคุกก่อนถามทีหลัง ทำให้คนกลัวจนยอมจ่ายเงินแทนที่จะไปขึ้นศาล

อีกส่วนคือมีแผลติดตัวกันมาก่อน ถ้าโดนตรวจสอบก็กลัวจะโดนคดีอื่นไปด้วย
จึงเลือกทางให้สินบน มากกว่าจะทำเรื่องให้ตรงไปตรงมา

คนมีเงินหลักล้านให้หลอก คงไม่โง่ขนาดนั้น โดยมากมักจะมีเหตุอื่นร่วมด้วย

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 December 2024 - 22:39 #1329048 Reply to:1329024

พูดกลับกันครับ ต้องบอกว่าเพราะระบบสินบนมันเคยใช้ได้ คนเลยจดจำและเคยตัว มองหาทางลัดในขั้นตอนทางกฎหมายเสมอๆจนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเลยตัดข้อสงสัยว่าเป็นการหลอกลวงมากกว่า

ส่วนเรื่องแผลติดตัวอาจมีส่วนจริง คือblackmail แบบปลอมๆที่โอนจ่ายจริง แต่เชื่อว่าหาข้อเท็จจริงได้ยากเพราะผู้เสียหายก็คงไม่บอกความจริงทั้งหมด แต่เราก็อาจจะเอ๊ะได้ในหลายๆกรณี โดยเฉพาะเคสที่อ้างเรื่องภาษีหรือเรื่องที่ดิน...

By: docterdoom
iPhoneWindows
on 16 December 2024 - 11:38 #1329000
docterdoom's picture

พวกข้อมูลส่วนตัวของประชาชนที่หลุดๆไปนี่ หน่วยงานที่ควบคุมมีขั้นตอนจัดการยังไงบ้างครับ เห็นมีแต่ข่าวว่าข้อมูลหลุด แต่ไม่เคยเห็น action จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลย

แล้วก็ขั้นตอนในการอายัติ บช. ตอนนี้ต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง แค่เลขบัตร ปชช. / วดป เกิด / เบอร์โทรศัทพ์ มั้ยครับ ถ้ามีแค่นี้ผมว่า ธ. เองก็ควรต้องมีมาตรการยืนยันตัวตนที่รัดกุมกว่านี้ เพราะทุกวันนี้ข้อมูลพวกนี้มันดูหาได้ไม่ยากเท่าไรครับ

By: deaknaew on 16 December 2024 - 11:46 #1329004 Reply to:1329000

ล่าสุดโทรไป ธ.นึง ถามละเอียดอยู่นะ ไม่บอกว่าอะไรและกัน
แต่ต้องการข้อมูลที่เจ้าของบัญชี ควรจะรู้คนเดียว(ยกเว้นธนาคาร)

ส่วนตัวเคยเห็นเหตุการณ์คล้ายกันคือ app account autolock จากระบบเอง แต่บัญชีไม่โดนอายัติ
ไม่รู้ว่าคนร้ายเข้าถึง logic การ lock ได้ยังไงนะ
เคยถามกลับไปที่ ธ. คือบอกว่าล๊อคเพราะมีการใช้งานต้องสงสัย

**app account lock กับ บัญชีโดนอายัติ คนละเรื่องกัน
app account lock น่าจะเกิดขึ้นก่อน จาก logic อะไรซักอย่าง ที่คนร้ายทำให้มันเกิดขึ้นได้
---------เดาล้วนๆ คนร้ายอาจจะ spam อะไรซักอย่างเข้า app หรือยิง api อะไรซักเส้นเป็นข้อมูลผิดหลายๆรอบจนapp account lock--------

กรณีบัญชีโดนอายัติ เหตุนี้จะตามมาทีหลัง เนื่องจากมีการโอนเงินเข้าบัญชีต้องสงสัย น่าจะเป็นระบบอัตโนมัติเหมือนกัน
(เจ้าของบัญชีโอนตังเข้าบัญชีโจรนั้นแหละ เลยโดนอายัติ)

By: dragonfairy
AndroidWindows
on 16 December 2024 - 13:00 #1329010

เคสนี้ธนาคารผิดด้วยนะ ให้อายัติได้ไง

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 December 2024 - 13:06 #1329011 Reply to:1329010

ก็ต้องสอบสวนขั้นตอนอายัดบัญชี ว่าให้ข้อมูลครบหรือไม่?น่าจะมีบันทึกของทางฝั่งธนาคารอยู่แล้ว หรือคำถามลับมีมากพอตามมาตรฐานกลางหรือไม่? แต่จะบอกว่าบางคำถามลับมันเดาตามคนส่วนใหญ่ก็ตรงซะ 90% แล้วล่ะครับ สำหรับถ้ามิจฉาชีพได้ข้อมูลชื่้อที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประชาชน เลขบัญชี ไปครบแล้วที่เหลือเดาซะก็ไม่ยาก

แต่ถ้าจะให้ยืนยันตัวยากๆ ก็มีประเด็นนะครับ ถ้าเกิดเหตุมือถือหาย บัตรATM บัตรเครดิตหาย แต่แจ้งอายัดยากมากเกินไปก็จะกลายเป็นเปิดช่องอาชญากรรมมากขึ้นซะอีก?

By: madcatzz
Windows
on 16 December 2024 - 14:01 #1329016 Reply to:1329010

ผมเห็นต่างนะ

ส่วนตัวเคยโดนhackบัญชีที่ผูกไว้ที่นึง
ลองนึกสภาพที่ต้องเห็น noti ตัดเงินซื้อของเด้งมาเรื่อยๆ
แล้วธนาคารมัวแต่ยืนยันตัวตนซิครับ

คือคุณช่วยรีบๆอายัดให้ผมก่อน แล้วค่อยมาถามสารทุกข์สุกดิบได้ไหม

By: dragonfairy
AndroidWindows
on 16 December 2024 - 18:53 #1329031 Reply to:1329016

แบบนี้ก็ง่ายเกินไปครับ ต้องคิดเสมอครับว่าคนร้ายรู้ข้อมูลเราหมดแล้ว แล้ววิธียืนยันแค่ถามตอบมันจะไปมีประโยชน์อะไร ต้องแก้วิธีครับ ผมก็ไม่รู้หรอกว่าแก้ยังไง 2factor หรือต้องไปสาขา หรือใช้แอพธนาคาร อะไรก็ได้แต่ต้องแก้

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 December 2024 - 22:42 #1329049 Reply to:1329031

พูดงี้แสดงว่าไม่เคยทำบัตร ทำมือถือหาย หรือโดนโจรปล้น

ถ้าการอายัดบัตรหรือบัญชีต้องเดินทางไปธนาคารยุ่งยากมาก ก็คือการส่งเสริมอาชญากรรมนะครับ อย่าลืมว่าเคสกระเป๋าเงินหาย มันไม่เหลือบัตรหรือเอกสารอะไรให้ยืนยันตัวมากนักหรอก

อีกอย่างต้องมองว่าการอายัดบัญชี ทำให้ธุรกรรมไม่ได้ แม้จะผิดพลาดแต่ความเสียหายก็น้อยกว่าการแจ้งอายัดไม่ได้หรือล่าช้า

By: dragonfairy
AndroidWindows
on 17 December 2024 - 00:11 #1329052 Reply to:1329049

ไม่เคยครับที่หายทั้งกระเป๋าและโทรศัพท์ แต่ถ้าไม่เหลืออะไรให้ยืนยันขนาดนั้นก็ต้องเอาตัวเป็นๆไปยืนยันแทนไงครับ คือตอนนี้มิจฉาชีพจะอายัติใครก็ทำได้เลยตอนนี้นะครับ ไม่คิดว่ามันแปลกหรอ สุดท้ายวิธีที่ง่ายสุดก็คือเอาตัวเองไปยืนยัน อาจจะแก้ไขให้ไปยืนยันที่ธนาคารไหนก็ได้อะไรงี้ แต่ต้องเลิกครับวิธีถามตอบแล้วอายัติเลย

By: mskmktx on 16 December 2024 - 13:57 #1329014

ความน่ากลัวอีกอย่างคือ คนที่โดนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินอื่นได้ แทนที่จะโดนแค่ไม่เท่าไหร่ กระจายไปคนรอบตัว

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 16 December 2024 - 16:12 #1329025
Ford AntiTrust's picture

เมื่อก่อนการอายัดบัญชีใครสักคน มันยากมาก ไม่ใช่อยู่ ๆ โทรศัพท์เข้า CC แล้วอายัดบัญชีใครก็ได้

จนกระทั้งมีเคสบัญชีม้า และมีมาตรการอายัดบัญชีผ่าน CC ได้ เพื่อให้ยังพอเรียกเงินคืนกลับมาได้

ปัญหาใหม่คือ โจรก็ย้อนเกล็ดด้วยการอายัดบัญชีเหยื่อแล้วก็มาหลอกเหยื่อที่โดนอายัดบัญชีแทน

ทีนี้ เราจะทำยังไงกับการอายัดบัญชีให้รวดเร็ว และเหมาะสม

รวมไปถึงมาตรการในการปลดล็อคการอายัดบัญชี (ผู้บริสุทธิ์) โดยผู้ไม่หวังดี ได้กลับมาใช้งานได้ปรกติ

ซึ่งคราวนี้แหละ เป็นเรื่องของหน่วยงานกำกับดูแล และสถาบันการเงินแล้วหล่ะจะทำยังไง (คือระดับโดน ปปง. ก็ไม่สนุก)

By: churos
ContributorAndroidWindows
on 16 December 2024 - 17:14 #1329029

ตามพ.ร.ก.ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2566
ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง สามารถติดต่อแจ้งเหตุภัทางการเงินจากมิจฉาชีพเพื่อระงับบัญชีได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง

แต่ถ้าคนร้ายย้อนรอยโอนเงินให้เหยื่อนิดหน่อย แล้วแจ้งว่าบัญชีเหยื่อเป็นบัญชีม้า ทีนี้เหยื่อจะโดนระงับทุกบัญชีละ ใครเป็นเหยื่อโดนขู่ก็น่าจะเชื่อ

งานนี้ลำบาก แยกคนร้าย แยกเหยื่อ ลำบากกว่าเดิม
ทำไงละทีนี้

By: max212
AndroidRed HatSUSEUbuntu
on 16 December 2024 - 20:03 #1329034
max212's picture

ธนาคารต้องรับผิดชอบแล้วครับแบบนี้ ไม่ใช่ตัวจริงแต่อายัดได้ ทำให้เป็นผลตามมา และ ถ้าธนาคารไม่รับผิดชอบ ผู้คนอาจคิดได้ว่ามีเจ้าหน้าที่ธนาคารร่วมขบวนการด้วย

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 16 December 2024 - 20:24 #1329037 Reply to:1329034
Ford AntiTrust's picture

คือข้อกำหนดแจ้งอายัดบัญชีมิจฉาชีพ ผู้เสียหายสามารถขอให้ธนาคารอายัดบัญชีปลายทางได้ทันทีนาน 72 ชั่วโมงครับ

ฉะนั้นมิจฉาชีพ ก็ใช้ช่องทางนี้ในการอายัดได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของบัญชีครับ อาจจะทำทีโอนเงินเข้าบัญชีเป้าหมายแล้วโทรไปอายัดบัญชีได้เลย

ทีนี้คนไม่ทราบว่าว่าหากไม่มีพยานเอกสาร(ตราครุฑ)ภายใน 7 วันส่งเข้าธนาคารเพิ่มเติม ธนาคารก็จะปลดอายัดบัญชีให้เอง