Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ประเด็นการหลอกลวงโอนเงินรูปแบบต่างๆ จนเกินความเสียหายต่อประชาชนเป็นวงกว้างเป็นปัญหาในหลายประเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ออกแนวทางให้ธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือร่วมรับผิดชอบ (Shared Responsibility Framework - SRF) แม้จะเป็นแนวทางที่ดูจะช่วยให้ธนาคารต้องมารับผิดชอบมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงประกาศนี้ไม่ได้ทำให้เหยื่อสามารถเรียกร้องจากธนาคารได้ไปหมด รวมถึงกรณีส่วนใหญ่ก็น่าจะไม่สามารถเรียกร้องได้ด้วย

เอกสารของ MAS ยกตัวอย่าง 15 กรณีที่ลูกค้าถูกหลอก และอธิบายถึงความรับผิดชอบเอาไว้

สถานการณ์ ผู้รับผิดชอบ เหตุผล
ลูกค้าถูกหลอกลงทุน โอนเงินให้บริษัทลงทุนปลอม ได้รับ SMS แจ้งเตือนถูกต้อง ลูกค้า อยู่ในขอบเขตการทำธุรกรรมที่ถูกต้อง ลูกค้าตัดสินใจเอง
ลูกค้าถูกตำรวจปลอมโทรขอรหัสผ่านและ OTP ลูกค้า อยู่นอกขอบเขตการคุ้มครองช่องทางดิจิทัล ลูกค้าให้ข้อมูลเอง
ลูกค้าคลิกลิงก์โฆษณาเฟอร์นิเจอร์ปลอม คนร้ายใช้ OTP ล็อกอินและโอนเงิน ลูกค้า คนร้ายปลอมตัวเป็นองค์กรอื่น ลูกค้าให้ OTP เอง
ลูกค้าติดตั้งแอปดูดเงินและถูกดูดเงิน ลูกค้า ไม่มีการล็อกอินใหม่บนแพลตฟอร์มปลอม ลูกค้าติดตั้งแอปเอง
ลูกค้าล็อกอินเว็บธนาคารปลอม ไม่ได้รับ SMS แจ้งเตือน เนื่องจากเคยตั้งเพดานการส่ง SMS ไว้สูงกว่ายอดที่คนร้ายโอน ลูกค้า ธนาคารทำตาม SRF แล้ว
ลูกค้าล็อกอินเว็บธนาคารปลอมจ่ายค่าปรับตำรวจปลอม ระบบธนาคารล่ม แต่ระบบของธนาคารมีปัญหาจนแจ้งเตือนช้าไปสองวัน เมื่อลูกค้าได้รับแจ้งเตือนก็โทรหาธนาคารแต่ไม่ติดเนื่องจากคู้สายไม่ว่าง ธนาคาร ธนาคารไม่สามารถแจ้งเตือนทันทีและรับคำสั่งล็อกบัญชีได้
ลูกค้าล็อกอินเว็บธนาคารปลอม คนร้ายใช้รหัส/OTP ลงแอปใหม่ ธนาคารไม่หน่วงเวลาธุรกรรมเสี่ยงสูง ธนาคาร ธนาคารไม่ทำตาม SRF เรื่องการหน่วงเวลาธุรกรรมเสี่ยงสูง (เช่น เพิ่มวงเงิน)
ลูกค้าคลิกลิงก์เว็บธนาคารปลอม ระบบธนาคารมีปัญหาไม่ส่ง SMS แจ้งเตือน คนร้ายแก้ไขข้อมูลให้ส่ง SMS ไปที่คนร้ายแทน ธนาคาร ธนาคารไม่ได้แจ้งเตือนลูกค้า
ลูกค้าคลิกลิงก์เว็บปลอม ล็อกอิน คนร้ายโอนเงิน 10 ครั้ง ธนาคารส่ง SMS 9 ครั้ง (ระบบมีปัญหา) ธนาคาร (เฉพาะครั้งที่ไม่ได้ส่ง SMS) ธนาคารรับผิดชอบเฉพาะความเสียหายจากการโอนครั้งที่ไม่ได้ส่ง SMS
ได้รับ SMS ปลอมชื่อ "DBS Bank" กดลิงก์และล็อกอิน ได้รับ SMS แจ้งโอนเงิน 10,000 ดอลลาร์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ปล่อยให้คนร้ายปลอมตัวเป็นธนาคาร
ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือไม่บล็อค SMS ปลอมตัวเป็นธนาคารหลอกรีเซ็ตรหัสผ่าน ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ไม่บล็อค SMS ปลอม
SMS ปลอมตัวเป็นบริษัทในสิงคโปร์ ระบบแสดง "Likely-SCAM" แต่ลูกค้ายังหลงเชื่อ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ แม้จะแสดง "Likely-SCAM" แต่ไม่ได้สแกนและบล็อคข้อความปลอมตัวเป็นธุรกิจในสิงคโปร์
ได้รับ SMS ปลอม ล็อกอิน คนร้ายโอนเงิน ธนาคารมีปัญหาไม่ส่ง SMS แจ้งเตือน ธนาคาร ธนาคารรับผิดชอบตาม SRF แม้จะมีส่วนผิดพลาดจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
ได้รับ SMS ปลอมชื่อ "OCBC Bank" ล็อกอินเว็บปลอม คนร้ายโอน 5 ครั้ง ระบบธนาคารไม่ส่ง SMS แจ้งเตือน 2 ครั้งหลัง ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (3 ครั้งแรก) และ ธนาคาร (2 ครั้งหลัง) แม้ SMS ต้นทางผิดพลาดจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ แต่ธนาคารรับผิดชอบก่อนเสมอในส่วนที่ระบบมีปัญหาไม่ส่ง SMS
ได้รับ SMS ปลอมตัวเป็นบริษัทขนส่ง แสดง "Likely-SCAM" ลูกค้าหลงเชื่อล็อกอิน แต่โทรล็อกบัญชีทันที ธนาคารอายัดบัญชี ลูกค้า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและธนาคารทำตามความรับผิดชอบครบถ้วนแล้ว

แนวทางเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าแม้ประกาศจะระบุว่าให้ธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือร่วมรับผิดชอบ แต่ความรับผิดชอบนี้ก็มีขอบเขตชัดเจน เมื่อหน่วยงานเหล่านี้ทำตามเงื่อนไขแล้วก็จะไม่ต้องรับผิดชอบอีก

ที่มา - MAS: Consultation Paper on Proposed Shared Responsibility Framework

Get latest news from Blognone

Comments

By: Mikamura
AndroidUbuntuWindows
on 16 December 2024 - 20:32 #1329039

ถ้าเป็นบ้านเราคงต้องถามว่าธนาคารมีวิธีการหน่วงธุรกรรมความเสี่ยงสูงอย่างไร การบังคับให้สแกนหน้าก่อนโอนเงินปริมาณสูงถือว่าพอไหม หรือจะต้องให้ธนาคารโทรกลับมาถามทุกครั้งกรณีที่มีการโอนเงินปริมาณสูงผิดปกติ? แต่พวก SMS ปลอม Operator บ้านเราน่าจะเหนื่อย เพราะพวกยังเอา Mobile Simbox วิ่งส่ง SMS ปลอมกันได้ ถ้าจะเล่นข้อนี้คงต้องปราบตัว Cellsite เถื่อนก่อน

By: ravipon
iPhoneWindows
on 16 December 2024 - 21:52 #1329041 Reply to:1329039
ravipon's picture

คือจะเอาความสะดวกหรือปลอดภัยละครับ เอาปลอดภัยจัดไปเลย T+3 หน่วงไปเลย 3 วันแบบสมัยก่อน

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 16 December 2024 - 22:27 #1329044 Reply to:1329039

เท่าไรคือสูงล่ะครับ ยุคนี้โอนเงินหลักหมื่นหลักแสนเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับหลายๆคน ถ้าจะให้หน่วงเวลาไม่ต้องทำงานหรือค้าขายกันพอดี ยกเว้นธุรกรรมความเสี่ยงสูงเช่นการเพิ่มวงเงิน กดดูข้อมูลบัตร ทุกวันนี้ของไทยเองก็ต้อง scan หน้าอยู่แล้ว อันนี้ไม่ว่ากัน แต่ถ้าจะมองเรื่องตัวเงินมันไม่ใช่เหมารวมได้

บางคนพูดเว่อๆให้กันเงินไว้สามวันถึงจะถอนได้(ไม่ได้ว่าท่านบนนะครับ สื่อหรือแกนนำการเมืองบางเจ้าเขียนชี้นำแบบเว่อๆ) ย้อนเวลาไประบบclearing house สามสิบกว่าปีที่แล้วพอดี?พูดเหมือนยังอยู่ยุคสงครามเย็น

หรือจะให้default ของบัญชีเริ่มต้นที่โอนเงินผ่านแอพใช้เวลาสามวัน แล้วต้องไปปรับเองในแอพ ก็มีประเด็นว่าโจรก็หลอกให้กดเปลี่ยนoption ได้อยู่ดีและเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็จะแก้optionนี้ไม่งั้นscanจ่ายร้านน้ำปากซอยไม่ได้(สุดท้ายก็จะวนมาเรื่องวงเงินในการโอน/scan ซึ่งมันก็มีอยู่แล้ว)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 16 December 2024 - 23:07 #1329050 Reply to:1329044
lew's picture

ความเสี่ยงสูง = ปรับวงเงิน หรือลงเครื่องใหม่ (enrolll new device) ครับ

  • กดปรับวงเงิน = ถูกแจ้งเตือน + รอคำสั่งมีผล 12-36 ชั่วโมง
  • ลงเครื่องใหม่ = ถูกแจ้งเตือน + เปิดใช้งานอย่างจำกัด (วงเงินกลับเป็นค่าเริ่มต้นวันละ 50,000?) แล้วรอ cool down peroid 12-36 ชั่วโมง

lewcpe.com, @wasonliw

By: marryboomz
Windows
on 16 December 2024 - 21:03 #1329040

ส่วนตัวเห็นด้วยเรื่องติดตั้งแอพเถื่อน เพราะลูกค้าเต็มใจเองเพราะกว่าจะติดตั้งไม่ง่ายเลยเพราะมันต้องผ่านหลายขั้นตอนมาก บางแอพแค่ Bypass Android /Google Play Protect ยังไม่พอต้องติดตั้ง VPN อีก ซึ่งกว่าจะผ่านไปถึงขั้นนั้นมันต้องเอ๊ะแล้วหล่ะ