Tags:
Node Thumbnail

NASA กำลังมีภารกิจส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ชื่อยาน Blue Ghost ตอนนี้อยู่ระหว่างเดินทางไปดวงจันทร์ มีกำหนดลงจอด 2 มีนาคม 2025

ยานลำนี้ผลิตและบริหารจัดการโดยบริษัท Firefly Aerospace มีเป้าหมายส่งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ 10 ชิ้นไปลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยด้านต่างๆ

ระหว่างที่ยานยังเดินทางไปไม่ถึงดวงจันทร์ มีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ตัวหนึ่งเริ่มทำงานแล้วคือ Lunar GNSS Receiver Experiment (LuGRE) หน้าที่ของมันคือตรวจจับสัญญาณดาวเทียมนำทางในระบบ GNSS (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Global Navigation Satellite System นับรวมดาวเทียม 4 ระบบคือ GPS ของอเมริกา, Galileo ของยุโรป, GLONASS ของรัสเซีย, BeiDou ของจีน) จากพื้นที่บริเวณดวงจันทร์ว่ามีสัญญาณไปถึงหรือไม่

ตอนนี้เราได้คำตอบแล้วว่า LuGRE สามารถจับสัญญาณดาวเทียม GNSS ที่บินอยู่รอบโลกได้ แม้อยู่ห่างจากโลกไปไกลถึง 246,000 ไมล์ (ราว 4 แสนกิโลเมตร) แปลว่าในอนาคตเราสามารถใช้ระบบนำทางบนพื้นผิวดวงจันทร์ โดยอาศัยสัญญาณดาวเทียม GNSS ที่บินวนอยู่รอบโลกได้

LuGRE เป็นความร่วมมือของ NASA กับ Italian Space Agency และหลังจากยาน Blue Ghost ลงจอดแล้ว จะยังตรวจจับสัญญาณ GNSS จากพื้นผิวดวงจันทร์ต่อไปอีก 14 วัน

ที่มา - NASA

ภาพเรนเดอร์ยาน Blue Ghost ใช้อุปกรณ์ LuGRE รับสัญญาณ GNSS จากโลก

No Description

หน้าตาของยาน Blue Ghost ของจริง

No Description

ตารางภารกิจ Blue Ghost Mission 1

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 24 February 2025 - 11:29 #1334323
TeamKiller's picture

ปกติน่าจะหันเสาส่งพวกระบบ GPS ลงไปทีโลก หรือสัญญาณมันสะท้อนหรือปล่อยแบบรอบตัวไปเลยละเนี่ย

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 24 February 2025 - 13:20 #1334334 Reply to:1334323

สัญญาณสะท้อนไม่น่าจะเอามาใช้ในระบบนำทางได้นะ
ส่วนตัวคิดว่า ถึงจะส่งเป็นแบบdirectional แต่สัญญาณก็น่าจะออกมาเป็นomni แต่แค่สัญญาณนอกทิศทางน่าจะอ่อนมาก
ไม่ก็โลกเป็นทรงกลม มันก็มีสัญญาณที่หลุดขอบรอบออกมาได้จากดาวเทียมอีกฝากของโลก

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 24 February 2025 - 15:36 #1334346 Reply to:1334323

เค้าเรียกว่า High-Altitude GPS ครับ
ปกติพวกดาวเทียมระบุตำแหน่งจะอยู่วงโคจรระดับ MEO (ประมาณ 2,000 กม.เหนือระดับพื้นดินขึ้นไป) และใช้ Primary Signal Lobe สำหรับหันเข้าหาโลก (ที่เราๆ ใช้งานกัน)
แต่พอดาวเทียมหรือยาวอวกาศที่เลย MEO ขึ้นไป มันจะรับสัญญาณ Side Lobes แทน (สัญญาณที่ไม่ได้หันเข้าโลก แต่หันออกไปนอกอวกาศ) เพื่อระบุตำแหน่ง

ทีนี้สัญญาณ Side Lobes จะอ่อนมากๆ เมื่อไปไกลๆ เช่น ดวงจันทร์ มันต้องมี Tracking Algorithms เฉพาะพิเศษมาช่วยอีกทีครับ

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 24 February 2025 - 14:32 #1334340
btoy's picture

ต่อไป ยานแม่ก็จะถูกใช่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณในลักษณะนี้ล่ะ 😅


..: เรื่อยไป

By: มายองเนสจัง
iPhone
on 24 February 2025 - 15:57 #1334347
มายองเนสจัง's picture

เดอะบลูทูธ ดีไวท์ เอ็กซ์รีดี้ ทรูแพว