เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) 2025 แก้ไขข้อจำกัดการต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์แบบเดิมๆ และเพิ่มแนวทางให้ผู้ให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ทำตามมาตรฐานต่างๆ ครบถ้วนแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ของกฎหมายนี้คือการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอท.) เป็นศูนย์กลางรับแจ้งอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีอำนาจในการต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์รูปแบบต่างๆ เช่น
ศปอท. จะใช้คนจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, ธนาคารแห่งประเทศไทย, ก.ล.ต., กสทช., และหน่วยงานอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ประเด็นหนึ่งที่กฎหมายนี้ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างนอกจากการตั้ง ศปอท. ก็คือการให้ธนาคารและค่ายโทรศัพท์มือถือร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายเหมือนมาตรการของสิงคโปร์ แต่พ.ร.ก. ฉบับนี้เขียนในมาตรา 8/10 ให้ครอบคลุมขึ้น ด้วยการรวมทั้งสถาบันการเงิน, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม, ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์, และผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ยกเว้นว่าจะพิสูจน์ได้ว่าได้ปฎิบัติตามมาตรฐานป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีไว้ครบแล้ว
กฎหมายมีผลแล้ววันนี้ แต่ประกาศหลักเกณฑ์จำนวนมากยังต้องรอการประกาศต่อไป
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
Comments
🙏
WE ARE THE 99%
เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว
เห็นด้วย โฆษณาจากมิจฉาชีพเพียบเลย แต่จะทำได้จริงไหมคงต้องรอดูกันต่อไป
มีรางวัลนำจับ และช่องทางแจ้งแบบง่าย ๆ ด้วยมั้ย
👏
ผมว่าต้องให้เจ้าของแพลตฟอร์มสำรองจ่ายเงินเยียวยาผู้เสียหายไปก่อน แล้วค่อนฟ้องร้องเอาคืนจากผู้ก่อเหตุ แพลตฟอร์มจะได้กระตือรือล้นในการรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้งานยิ่งขึ้น
เจอโฆษณาใน fb -> รายงาน -> รอไปเหอะ -> เราไม่ได้ลบโฆษณาออก
yes
ผมรายงานภาพโป๊ไป มันยังไม่ลบเลย งงมาก
ต่อสู้่ > ต่อสู้
ฟอกเงิย -> ฟอกเงิน
เก่งแต่ออกก็หมาย จะใช้ได้จริงหรือเปล่านะ อย่างที่ห็น ๆ ก่อนหน้านี้ DPA (Personal Data Protection Act) เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เอาผืดใตรได้บ้างหรือยัง นี้จะเอาไปผิด FB ขนาด เคลือค่ายมือถือในบ้นตัวเองยังจัดดารเรื่อง แก๊ง call center ไม่ได้เลย
เก่งแต่ออกก็หมาย จะใช้ได้จริงหรือเปล่านะ อย่างที่ห็น ๆ ก่อนหน้านี้ DPA (Personal Data Protection Act) เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เอาผืดใตรได้บ้างหรือยัง นี้จะเอาไปผิด FB ขนาด เคลือค่ายมือถือในบ้นตัวเองยังจัดดารเรื่อง แก๊ง call center ไม่ได้เลย
จุดสำคัญมันไม่ใช่การให้รับผิดชอบร่วมครับ มันคือการบังคับ ให้ทำตามมาตรการ ถ้าไม่ยอมทำก็ต้องร่วมรับผิดชอบ ตามข้อความนี้
“ยกเว้นว่าจะพิสูจน์ได้ว่าได้ปฎิบัติตามมาตรฐานป้องกันอาชญากรรมทาง ทางเทคโนโลยีไว้ครบแล้ว”
ทางสมาคม กับ regulator เขาก็จะออกมาตรการว่า ต้องทำ 1,2,3,4 ซึ่งทุกเจ้าก็จะต้องทำตามอย่างไว เพราะถ้าเกิดเหตุตอนที่มาตรการยังไม่ถูกปฏิบัติตาม ก็ต้องรับผิดชอบ
สุดท้าย มันจะไม่มีเคสที่ ผปก มาจ่ายค่าชดเชยเท่าไหร่หรอก เพราะมาตรการเหล่านี้มันก็ทำได้แค่ “หน่วงเวลา” หรือ “ให้ความรู้” หรือ “แสดงคำเตือน” แบบพวกตู้ atm ธนาคารนั่นแหละ