สหภาพยุโรปหรือ EU ออกระเบียบใหม่ให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ต้องติดฉลากพลังงาน มีผลสำหรับสินค้าที่ขายตั้งแต่ 20 มิถุนายน เป็นต้นไป
รูปแบบฉลากนั้นคล้ายกับฉลากประหยัดพลังงานในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีข้อมูลคะแนนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (มีคะแนนเป็น A-G), ตัวเลขระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรีต่อหนึ่งรอบการชาร์จ, คะแนนทนต่อการตกกระแทก, ความทนทานของแบตเตอรีแต่ละรอบ, คะแนนการซ่อมแซมอุปกรณ์ และระดับการป้องกันฝุ่น-น้ำ
EU ยังกำหนดเงื่อนไข Ecodesign ให้เป็นพื้นฐานของอุปกรณ์ที่เป็นขั้นต่ำ เช่น ทนต่อการตก, มีความสามารถป้องกันฝุ่น-น้ำ, แบตเตอรีรองรับการชาร์จอย่างน้อย 800 รอบ ไปจนถึงมีอัปเดตซอฟต์แวร์สนับสนุนอย่างน้อย 5 ปี เป็นต้น
Comments
ไอ้อัพเดทสนับสนุน5ปีนี้นับตัวแอนด๋อย หรือ ของค่ายมือถือเอง ? (ออกแพทง่อยๆก็ถือว่านับสินะ)
ของยี่ห้อมือถือนั้นๆ ต้องมีอัพเดทให้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี
ข่าวเก่า EU เตรียมออกกฎ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต้องอัพเดตแพตช์-อะไหล่นาน 5 ปี เยอรมนีอาจกำหนด 7 ปี
อย่างนี้อัพเดทแอพเงินกู้ฝังใน System ก็นับใช่ไหมเนี่ย
ต้นทาง EU ระบุว่า OS upgrade เลยครับ แล้วต้นทาง The Verge ก็เพิ่มเติมว่าต้อง OS Update ภายใน 6 เดือนหลังจาก Source Code เผยแพร่แล้วด้วย (แต่ในต้นทาง EU ผมหาอันนี้ไม่เจอแฮะ)
เพราะงั้นเท่าที่เข้าใจคือน่าจะต้องตัว Android เลยครับ
HMD ไม่ถูกใจสิ่งนี้ (3 ปี made in EU)
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
อันนี้ดี เหมือนมีแต่ EU ที่พยายามปกป้องผู้บริโภคโดยการกดดันผู้ผลิตแบบจริงๆ
เพิ่มต้นทุนไหมนั้นต้องทดสอบเพิ่มเติมอีก
ความทนทานของแบตเตอรีแต่ละรอบ .. คืออะไรยังไง ?
คงหมายถึงแบตไม่หมดเร็วมั้งครับ ไม่ใช่ใช้แปปๆแบตหมด
เป็นอย่างที่หลายๆ คนชอบบอกเอาไว้ , รึป่าวนะ ? .. ว่า อียุ ชอบตั้งเกณฑ์หยุมหยิมแปลกๆ มาใช้อ้างปรับบริษัทต่างๆ เพื่อหารายได้เข้าตัว , ทั้งที่บริษัทเค้าก็ดำเนินกิจการเพื่อลุกค้ากันตามปกติ กำไรของบริษัทแทบไม่มีอยู่แล้วแต่ยังต้องมารับต้นทุนเพิ่มจากสารพัดเกณฑ์อีก ทำให้ลุกค้าต้องจ่ายแพงโดยไม่จำเปนในส่วนที่ไม่ต้องการไม่มีประโยชน 🤔
ผมเห็นต่างนะอย่างกฏนี้มันเพื่อผู้บริโภคแล้วก็ช่วยลดขยะด้วย สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันมันซ่อมยาก หลายๆอย่างก็ใช้กาวในการประกอบทำให้เสื่ยงพังมากกว่าเดิมที่จะซ่อมเอง อย่างระบบคะแนนในข่าวนี่เห็นด้วยมากจะได้เลือกได้ง่ายขึ้นกับความต้องการ