Tags:
Node Thumbnail

เกิดเหตุไฟดับเป็นวงกว้างในสเปนและโปรตุเกสจนเกิดความวุ่นวายทั่วพื้นที่ เนื่องจากระบบพื้นฐานเช่นขนส่งมวลผลต้องหยุดให้บริการ, การจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตใช้งานไม่ได้, สนามบินให้บริการได้อย่างจำกัดเนื่องจากใช้ไฟฟ้าจากระบบสำรอง, และกระทบถึงอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ติดๆ ดับๆ

ไฟฟ้าเริ่มดับตั้งแต่เวลา 6 โมงเย็นตามเวลาในประเทศไทย โดยสาเหตุที่ไม่แน่ชัด แต่หลังจากนั้นโรงงานไฟฟ้าบางส่วนก็เริ่มกลับมาเดินเครื่องได้ อย่างไรก็ตามกระบวนการเดินระบบส่งไฟฟ้าอีกครั้งกลับใช้เวลานาน โดย Red Eléctrica ผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้าประกาศว่าจะค่อยๆ เปิดโรงจ่ายไฟฟ้าย่อยที่ละโซน

Cloudflare รายงานถึงความผิดปกติของการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปริมาณการใช้งานวูบหนักทั้งสองประเทศ

ที่มา - BBC

No Description

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: Azymik on 28 April 2025 - 22:40 #1339079

เปิดโรงจ่ายไฟฟ้าย่อยที่ละโซน

เปิดโรงจ่ายไฟฟ้าย่อยทีละโซน

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 29 April 2025 - 11:54 #1339104 Reply to:1339079
panurat2000's picture

ขนส่งมวลผลต้องหยุดให้บริการ

ขนส่งมวลผล => ขนส่งมวลชน

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 April 2025 - 01:57 #1339085
hisoft's picture

หืมมม แล้วเป็นพร้อมกัน 2 ประเทศด้วย

HTTP bytes ของ Spain เริ่มพุ่งสูงขึ้นก่อนวูบด้วยแฮะ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 29 April 2025 - 08:01 #1339093
TeamKiller's picture

ที่ Datacenter ไฟสำรองเอาอยู่ไหมนะ ตัดไฟพวกระบบ AI ก่อนเลยไหม

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 29 April 2025 - 11:25 #1339102
btoy's picture

น่าสนใจมากที่ดับพร้อมกันสองประเทศ ตอนนี้ยังไม่รู้สาเหตุ มองแบบง่ายๆ แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าน่าจะมีส่วนที่แชร์กันด้วยรึเปล่านะ


..: เรื่อยไป

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 April 2025 - 13:45 #1339115 Reply to:1339102
hisoft's picture

กลุ่มประเทศยุโรปทำ interconnect power grid และมี frequency synchronous กันครับ ซึ่งแยกเป็น 2 เรื่องคือเรื่องส่งพลังงานกับเรื่องความเสถียรของความถี่

อย่างอันนี้เป็นแผนที่ของตลาด Nordpool ที่รวมทั้ง AC และ DC มีการประมูลซื้อ/ขายพลังงานกันวันต่อวัน (แบบแยกรายชั่วโมงตอนยื่นอีกที)

ส่วนเรื่อง frequency synchronization นี่ประเทศกลุ่มบอลติก 3 ประเทศเพิ่ง desync จากรัสเซียมา sync กับกลุ่มยุโรปสำเร็จเมื่อต้นปีนี้เองครับ

ทั้งสองเรื่องนี่แยกขาดจากกันได้พอควร (แบบเอสโตเนียที่ซื้อขายพลังงานอยู่ตลาด Nordpool แต่ sync กับ continental Europe เพราะสายที่ลากกับฟินแลนด์เป็น DC) เพราะอย่างเอสโตเนียคือเลิกซื้อพลังงานจากรัสเซียมานานแล้วไปใช้สายส่งที่เชื่อมฟินแลนด์แทนแต่ยัง sync ความถี่กับรัสเซียมาจนต้นปีที่ผ่านมา (เค้าบอกเป็นเรื่องยากสุดที่ทำมาในศตวรรษนี้ และพยายามกันมา 17 ปีแล้ว) (ซึ่งเอาจริง ผมเพิ่งรู้จักการ sync ความถี่ข้ามประเทศตอนมีข่าวนี้นี่แหละ) ตอนตามๆ ข่าวก็เห็นแพลนเค้าตั้งแต่ตอน de-sync ตอนรัน island mode กัน (ว่าถ้ามีอะไรขึ้นมาจะรันกันเองโดยไม่ sync กับภายนอกได้มั้ย) จนมา sync กับทวีปยุโรป เป็นเรื่องใหญ่ระดับนึงเหมือนกัน มีประกาศว่าสำรองน้ำ/อาหารไว้บ้างนะ (แต่ไม่ต้องเยอะ) และมีประกาศจุดที่จะให้ไปถ้าไฟดับ จนถึงเครื่องปั่นไฟฟ้าด้วยน้ำมันนี่ให้เช่า/ขายดีกันอยู่พักนึง แต่ทั้งหมดผ่านไปได้โดยไม่มีการจ่ายไฟฟ้าสะดุดเลย

จริงๆ เห็นข่าวผมก็เสียวแว่บนึงเหมือนกันว่าจะลามมาถึงมั้ย แต่อยู่คนละฟากกันเลยพวกระบบป้องกันคงต้องทำงานได้แหละ ยิ่งระบบใหม่ๆ เพิ่งขึ้นไม่กี่เดือนนี่เองด้วย 😂 ถ้ามันลามทีเดียวทั้งทวีปได้นี่ผมว่ามันจะไม่ปลอดภัยเกินไปแล้ว

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 29 April 2025 - 15:17 #1339124 Reply to:1339115
btoy's picture

โอ้​ ความรู้​ใหม่เลยครับ​ ขอบคุณ​มากๆ


..: เรื่อยไป

By: IDCET
Contributor
on 29 April 2025 - 12:07 #1339107

Power-grid หรือไม่ก็ตัวโรงไฟฟ้าเองที่มีปัญหา


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: EGFriday on 29 April 2025 - 13:25 #1339113

ใดๆ เลย Cloudflare นี่คือ the Watcher ที่แท้ทรู

By: bankbook555
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 29 April 2025 - 13:53 #1339117

โดยปกติ ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างมักจะเกิดจากการที่ระบบส่งจ่ายส่วนกลางขัดข้อง หรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ขัดข้อง จนทำให้ปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการกำลังไฟฟ้า ทำให้ความถี่ตก และเพื่อป้องกันไม่ให้โรงไฟฟ้าเสียหายจากการที่ความถี่ตก จึงปลดตัวเองออกจากระบบโดยอัตโนมัติ เมื่อโรงไฟฟ้าปลดตัวเองออกอัตโนมัติ กำลังการผลิตในระบบก็ยิ่งลดลงไปอีก ความถี่ก็ตกมากขึ้นอีก

ผู้ให้บริการจึงต้องปลดการจ่ายไฟฟ้าออกทั้งหมดก่อน(ลดความต้องการไฟฟ้าลงก่อน) เพื่อให้ความต้องการไฟฟ้ากับกำลังการผลิตกลับมาบาลานซ์กัน แล้วทยอยคืนระบบโรงไฟฟ้าที่ปลดไปกลับมา จากนั้นจึงค่อยๆจ่ายไฟฟ้าให้แต่ละพื้นที่แบบค่อยเป็นค่อยไป
ซึ่งถ้าเป็นแค่ฟอลต์ชั่วขณะ เช่นฟ้าผ่า ก็อาจจะคืนกลับมาได้ในชั่วโมงสองชั่วโมง ดังที่เคยเกิดในไทย แต่ถ้าฟอลต์ค้าง เช่นสายขาด ก็ต้องซ่อมกันไปยาว