Pocketpair ผู้สร้างเกม Palworld โพสต์ข้อความใน X เปิดเผยว่าจำเป็นต้องออกแพตช์ปรับลดฟีเจอร์ของเกม เนื่องจากคดีฟ้องร้องกับนินเทนโด
แม้คนส่วนใหญ่มองว่า Palworld เลียนแบบสไตล์มอนสเตอร์ของเกม Pokemon ซึ่งละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่จริงๆ แล้ว ประเด็นที่นินเทนโดยื่นฟ้อง Palworld เป็นการฟ้องสิทธิบัตรด้านเกมเพลย์ โดยอาศัยสิทธิบัตรที่นินเทนโดเคยจดเอาไว้ ส่งผลให้ Palworld จำเป็นต้องถอดฟีเจอร์เกมเพลย์บางอย่างในระหว่างสู้คดี
Palworld เปิดเผยว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 เคยต้องออกแพตช์เพื่อถอดฟีเจอร์เรียกมอนสเตอร์ (Pal) ออกมาจากหิน Pal Spheres (เทียบได้กับ Pokeball) เปลี่ยนวิธีการเรียก Pal มายืนอยู่ข้างผู้เล่นแทน
ล่าสุด Palworld จะต้องออกแพตช์เวอร์ชัน 0.5.5 ที่ปรับลดฟีเจอร์เกาะมอนสเตอร์ที่บินได้แล้วร่อน (gliding) ไปบนท้องฟ้า โดยเกมจะปรับลดเหลือการใช้เครื่องร่อน (glider) เพียงอย่างเดียวแทนแทน
ที่มา - @Palworld_EN
[Regarding the lawsuit, changes to Palworld and the future]We would like to express our sincere gratitude and appreciation for the continued support of our fans over the past few months. We apologize for not being able to share as much information as we would like, but we trust…
— Palworld (@Palworld_EN) May 8, 2025
Comments
เกมไม่โดนฟ้องทั้งเกมนี่ก็ถือว่าเก่งเหมือนกันนะ
เราไม่ได้ละเมิดเกมนิน
แต่เราจะอัพเดทแพทแก้ส่วนที่ลอกออก
เกมยุคใหม่เขาเดินหน้าแล้วปู่นิน ต่อให้เตะตัดขายังไงเขาก็เดินหน้าต่อคนเล่นก็สนับสนุนแน่นอน ยุคนี้ใครย่ำอยู่กับที่หรือถอยหลัง ตายหมด
รักษาสิทธิ์มันกลายเป็นเตะตัดขาได้ไงล่ะครับ หรือต้องให้นินปล่อยคนก๊อปแบบไม่ทำอะไรถึงจะพอใจกัน
รักษาสิทธิ์กับเตะขัดขา มันเป็นการกระทำแบบเดียวกัน แต่ต่างกันที่เจตนาครับ
ถ้าตามคำอ้างของ Palword ที่ว่าสิทธิบัตรที่ฟ้องนั้น มีหลายเกมที่ทำกัน (เพราะมันไม่ใช่ระบบเกมที่ซับซ้อน ซึ่งนี่คือจุดต่างของกฎหมายสิทธิบัตรญี่ปุ่นกับประเทศอื่นๆ) แต่ Nintendo เลือกที่จะฟ้องเจ้าเดียว มันก็อาจถูกมองได้ว่าเป็นการเตะขัดขามากกว่าครับ แน่นอนว่าถูกกฎหมายนะ
รักษาสิทธิ์อะไร จดสิทธิบัตรย้อนหลังแล้วมาฟ้อง
การ รักษาสิทธ์ของตัวเอง มันเป็นการย้ำอยู่กับที่ หรือ ถอยหลังไปได้ยังไงนะ หลายๆบริษัท มันก็ฟ้องปกติ
มันมีความต่างของกฎหมายสิทธิบัตรที่ญี่ปุ่นกับประเทศอื่นๆอยู่ครับ
ถ้าเข้าใจไม่ผิด ไอเดียระบบเกมนั้นสามารถถูกจดสิทธิบัตรที่ญี่ปุ่นได้ ต่างจากประเทศอื่นๆที่ถ้าจะจดได้ต้องเจาะจงในด้านเทคนิคด้วย (ก็คือสามารถสร้างระบบแบบที่ให้ผลลัพท์แบบเดียวกันแต่คนละเทคนิคได้ ต่างจากญี่ปุ่น)
ซึ่งไอเดียระบบเกมที่ถูกจดนั้น หากไม่ใช่ระบบที่ซับซ้อน ก็มีโอกาสสูงที่จะมีโอกาสซ้ำกันได้โดยบังเอิญ และถ้าหากโดนฟ้องและห้ามใช้ไอเดียพวกนี้บ่อยๆ มันก็จะทำให้เกมพัฒนายากขึ้น
ในความเป็นจริง วงการเกมอินดี้ของญี่ปุ่นก็ตามประเทศอื่นๆไม่ทันจริง ซึ่งหลายคนวิเคราะห์กันว่าสิทธิบัตรพวกนี้คือหนึ่งในสาเหตุนั้น (อันนี้คือเขาว่ากันมานะ)
ผมไม่ได้อ่านสิทธิบัตรที่ Nintendo ฟ้องโดยละเอียด แต่ถ้าอิงจากข่าวที่ว่าระบบที่ฟ้องคือการปาลูกบอลเรียกมอนกับระบบร่อนด้วยมอน โดยส่วนตัวผมมองว่าระบบเหล่านี้เป็นระบบที่ค่อนข้างไม่ซับซ้อน (ย้ำว่าความเห็นส่วนตัวนะครับ บางคนอาจจะเห็นต่างออกไปก็ได้) หากนำสิทธิบัตรนี้ไปฟ้องบ่อยๆก็อาจจะไม่ส่งผลดีกับวงการเกมก็เป็นได้ครับ
เผื่อเข้าใจผิด ผมย้ำครับว่าสิ่งที่ Nintendo ทำนั้นถูกต้องตามกฎหมาย แต่มันจะส่งผลดีหรือส่งผลเสียต่อวงการนั่นคืออีกเรื่องนึงครับ
สิทธิบัตรด้านการออกแบบ ก็เป็นแบบนี้หมดนะ อย่างที่ Apple จดเรื่องทรงสี่เหรี่ยมของiphone
แล้วการฟ้องร้องสิทธิบัตรวงการเกมในญี่ปุ่นก็มีน้อยมากๆ รวมเคสPalworldก็มีแค่4เคส
2ใน4 รวมPalworld คือเคสก๊อปแบบหน้าด้านไปหน่อย
อีก2เคสที่เหลือคือ coloplไปฟ้องบ.เกมอินดี้เรื่องระบบอินพุดในเกมมือถือ เรื่องค่อนข้างใหญ่ เพราะเกมมือถือใช้ระบบคล้ายๆกันเป็นจำนวนมาก แล้วNintendoที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย ฟ้องcolopl จบที่coloplแพ้นิน แล้วคงจะไปตกลงอะไรกันทำให้ colopl ถอนฟ้องบ.เกมอินดี้ ทำให้ระบบที่ืทัชจอ แล้วเหมือเป็นอนาลอคสติกในจอยคอน สามารถใช้กันได้ทั่วไปในปัจจุบัน
ส่วนPalworld คิดว่าน่าจะเพราะช่วงเปิดตัวแหล่ะ ที่เจาะจงโปรโมท แบบแสดงท่าทีก๊อปปี้แบบสุดๆ
ก็อปสไตล์มันฟ้องไม่ได้ไงถ้าได้คงฟ้องไปแล้วเคยเล่นแมคคานิคแทนซึ่งอันนี้ผมว่าน่าเกลียดอยู่ แมคคานิคที่ฟ้องถูกใช้มาก่อนจดหลายเกมมันไม่ควรจดได้แล้วด้วยซ้ำแถมเล่นอัพเดตตัวสิทธิบัตรแม่แทนที่แยกออกไปเลยก็น่าจะเรื่องเวลาด้วยจะได้เอามาเล่นงาน Palworld ได้
จุดสำคัญไม่ได้ใช่การที่มีการฟ้องบ่อยแค่ไหน แต่คือการที่มีสิทธิบัตรที่ครอบคลุมค่อนข้างกว้างและสามารถใช้ฟ้องได้จริงครับ
เพราะการฟ้องมันคือขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ในความเป็นจริง ก่อนจะถึงการฟ้อง อาจจะเกิดการเจรจาระหว่างบริษัทเบื้องหลังเกิดขึ้น หรืออาจจะมีการพูดคุยภายในบริษัทให้เลี่ยงไม่ใช้ระบบเกมต่างๆที่สามารถโดนฟ้องได้ ซึ่งเราไม่รู้ว่าเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน (ผมก็ไม่รู้)
สิทธิบัตรมันคือดาบสองคมครับ ต้องบาลานซ์มันให้ดี ถ้าน้อยเกินไปคนคิดก็ไม่เผยแพร่ไอเดียออกไปส่งผลให้นวัตกรรมไม่ถูกนำไปต่อยอด ถ้ามากเกินไปคนที่ทุนไม่หนาพอก็ไม่สามารถคิดค้นต่อยอดนวัตกรรมอะไรได้
เรื่องนินเทนโดใช้สิทธิได้ถูกต้องตามกฎหมายก็เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องที่กฎหมายได้ทำหน้าที่ของมันตามวัตถุประสงค์หรือไม่ก็อีกเรื่องนึงครับ