Tags:
Node Thumbnail

ทุกวันนี้เยอรมันมีกฏหมายเก็บข้อมูลล็อกการสื่อสารเช่นข้อมูลโทรศัพท์และ อีเมลไว้เป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าตรวจสอบเมื่อจำเป็น กฏหมายดังกล่าวมีประชาชนต่อต้านไม่น้อยจนมีการร่วมกลุ่ม 35,000 คนเข้าชื่อเพื่อส่งฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ (Bundesverfassungsgericht) นับแต่กฏหมายนี้ผ่านสภาออกมาได้ เวลาผ่านไปสองปีคำค้านก็เป็นผล ทำให้กฏหมายนี้หมดสภาพบังคับ และผู้ให้บริการทั้งหมดต้องลบข้อมูลการสื่อสารออกทันทีที่เป็นไปได้

คำพิพากษาระบุว่าการเก็บข้อมูลการสื่อสารที่กฏหมายบังคับนั้นไม่มีการเก็บอย่างรัดกุมเพียงพอ อีกทั้งยังไม่มีการระบุเหตุผลของการเข้าถึงจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามการเก็บข้อมูลเช่นนี้ทำได้แต่ต้องมีเงื่อนไขที่หนาแน่นกว่านี้ และผ่านการพิจารณาเป็นกรณีเพื่อขอหมายศาล อีกทั้งการประมวลข้อมูลเหล่านั้นต้องทำอย่างเป็นความลับ

ที่มา - Spiegel Online

Get latest news from Blognone

Comments

By: jirayu
ContributorWindows PhoneBlackberrySymbian
on 2 March 2010 - 21:57 #159866

35000 รายชื่อ Blognone มีพอหรือเปล่าเอ่ย ?


By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 2 March 2010 - 22:06 #159870 Reply to:159866
Perl's picture

จะ 3.5 ล้านชื่อก็ค้านอะไรไม่ได้กับพี่ไทย (= ="

By: jaturont
AndroidUbuntuWindows
on 3 March 2010 - 13:19 #160038 Reply to:159870
jaturont's picture

พี่ไทยอย่าว่าแต่ log เลย ..ขนาด sniff ยังพยายามจะทำ -_-"

By: nblue
Android
on 2 March 2010 - 22:58 #159894
nblue's picture

ถ้าฟ้องศาล ไม่ต้อ 35,000 ชื่อก็ได้
ขอแค่คำร้องฟังขึ้นพอ

บ้านเรา จะมีใครทำอะไรได้มั้ยน๊อ

By: Lightwave
iPhoneAndroidWindows
on 3 March 2010 - 15:52 #160075 Reply to:159894

แกล้งบ้าก็โดนลดหย่อนละ อิอิ

By: Sikachu
ContributoriPhoneIn Love
on 2 March 2010 - 23:10 #159898
Sikachu's picture

เราต้องการนักกฎหมาย ที่มีความรู้ด้าน Internet อย่างลึกซึ้ง ;)


บล็อกของผม: http://sikachu.com

By: neogravity
ContributorAndroidUbuntu
on 3 March 2010 - 10:44 #160010 Reply to:159898

เห็นด้วยอย่างแรง

By: lingjaidee
ContributoriPhoneAndroid
on 2 March 2010 - 23:21 #159902
lingjaidee's picture

ไม่ต้องเป็นห่วง ใครทำผิดเรามี GT200 ใส่การ์ด Hacker ตรวจจับได้ -_-'


my blog

By: oakyman
ContributorAndroid
on 3 March 2010 - 00:40 #159936

ต้องขอหมายศาลก่อนเก็บ แล้วมันจะเก็บทันเหรอ?

By: invisibleMind on 3 March 2010 - 06:33 #159969

ประเทศไทยของเรา ศาลรัฐธรรมนุญ ประชาชนจะมีความไว้วางใจหรือเปล่า? อันนี้ผมไม่ทราบนะ .....

By: jaturont
AndroidUbuntuWindows
on 3 March 2010 - 13:25 #160039 Reply to:159969
jaturont's picture

ก็ต้องดูว่ามีบัญญัติไว้ในพจนานุกรมหรือยัง
ศาลท่านจะได้เอามาเปิดตัดสิน(อีก)
เอ่อ คือ .. เชื่อได้ว่า
555

By: ikkyu
Windows PhoneAndroid
on 3 March 2010 - 07:22 #159976

ไมได้เรียนทางกฏหมาย
แต่รู้สึกว่าประเทศเรามันเพี้ยนๆ
ที่เอาศาลรัฐธรรมนูญ มาวินิจฉัยว่า "ใคร" ผิดรัฐธรรมนูญ
แทนที่จะทำหน้าที่วินิจฉัยว่า "กฏหมายข้อใด" ขัดรัฐธรรมนูญ

หรือว่า ที่จริงมันเพี้ยนตั้งแต่รัฐธรรมนูญที่ยาวหลายร้อยข้อแล้ว
(ที่จริงของอินเดียยาวกว่าเรา มี 395 มาตรา ของเรามี 309 มาตรา)
แทนที่จะมีเพียงกฏที่เอาไว้ควบคุมกฏหมายอื่นอีกที
กลับพยายามบรรจุกฏหมายประเภท "ใครถูกใครผิด" ลงไป
เลยต้องมีการฉีกกันบ่อยๆ เวลาใครจะทำผิดรัฐธรรมนูญ

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 3 March 2010 - 10:04 #160001 Reply to:159976
McKay's picture

+1


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: jaturont
AndroidUbuntuWindows
on 3 March 2010 - 13:32 #160046 Reply to:159976
jaturont's picture

ลดจาก 336มาตรา เหลือ 309มาตรา แต่ไหงหนากว่าเดิมซะงั้น จากเดิมใส่สมุดไทย 252พับ กลายเป็น 296พับ ..แบบนี้ ลดมาตรา แต่ร่ายซะยาวกว่าเดิม

By: aomnaruk
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 4 March 2010 - 09:58 #160163 Reply to:159976

+1


"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.

By: Izen on 3 March 2010 - 14:33 #160059

ตามคำวินิจฉัยของศาลคิดว่ารัฐสภาเยอรมันคงผ่านกฏกมายใหม่ที่รัดกุมกว่าเข้ามาแทนอยู่ดี ซึ่งเมื่อถึงที่สุดจะไม่อาจหาคำคัดค้านได้อีก

ปัญหาแบบนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจในการออกกฏหมายเฉพาะซึ่งความเห็นระหว่างความก้าวหน้า ความเป็นส่วนตัว และความมั่นคงซึ่งขัดแย้งในตัวเอง เพราะคนแต่ละกลุ่มคนยอมมีความรู้ในทางของตนเองซึ่งมักจะมองแต่ในส่วนของตน(เช่น ผู้ดูแลระบบ จะยุ่งยากรึเปล่า ประชาชน ขอมูลจะไปอยู่กับคนไม่ดีรึเปล่า เจ้าหน้าที่ มันเป็นโจรรึเปล่า)แต่เมื่อออกมาแล้วทุกคนต้องทำตาม

อีกปัญหาที่กฏหมายในหลายประเทศต้องเจอส่วนใหญ่กลับเป็นประชาชนในประเทศนั้นเองในประเทศที่ประชาชนมีความรับผิดชอบประชาชนจะมอบงานที่ตนไม่รู้(เช่น กฏหมาย)ให้กับผู้ที่รู้(ทนาย)ทำหน้าที่แทนแต่ในหลายๆประเทศนอกจะจะไม่รู้ไม่ใส่ใจไม่ศึกษาแล้วพอมีปัญหากลายเป็นว่ากฏมันผิดวะแต่ข้าไม่คัดค้านและขอไม่ทำตามแบบนี้บั่นปลายก็ไปนอนคุกซิครับแล้วก็มาบอกเยอะมั่งยุ่งยากมั่งไม่ยุติธรรมมั่งไม่รู้มั่ง(ก็ไม่รู้ก็ให้คนที่รู้ทำซะสิ)มีบ้างที่อยากศึกษาก็ทำแบบฟังปากต่อปาก เขาว่ามา ได้ยินมาว่า แล้วคุณก็เชื่อทั้งที่บางทีฟังมาไม่หมดหรือถ้าเป็นเข้าใจผิดก็ผิดกันทั้งยวงแถบบางทีคนที่เรียนมาจะอธิบายให้เข้าใจถูกเถียงอีก

แล้วมาดูเยอรมัน เมื่อไม่มั่นใจก็เสนอคัดค้าน แล้วทำไมการคัดค้านถึงเป็นผล กรณีข้างต้นใช้เวลากว่า2ปีแต่คนเยอรมันรอได้เพราะอะไร

ผมจึงรู้สึกตลกทุกครั้งที่มีข่าวกฏหมายและทุกครั้งที่ได้อ่านความคิดเห็นในข่าวประเภทนี้
ตรงที่ว่าจะมีการเปรียนเทียบกฏหมายกับประเทศไทยเสมอทั้งที่ประเทศอื่นก็มีกฏหมายเหมือนๆประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้เข้าใจได้ว่าคุณภาพของคนสำคัญกว่าความรัดกุมของกฏหมาย

ในการเรียนนิติศาสตร์ในเยอรมันนับจากจบมัธยม(ซึ่งจำได้ว่ามี13เกรดไม่ใช่12เหมือนที่อื่น)ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 8-10 ปี กรรีนศ.จากต่างประเทสมาศึกษาอาจใช้เวลาถึง13ปีเพราะเยอรมันบังคับให้ศึกษาพื้นฐานต่างๆอย่างน้อย1ปี

ศาลรัฐธรรมนูญไทยนำแบบอย่างมาจากศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันกรณีใดที่เคยมีในไทย(เช่นยุบพรรค)เคยเกิดขึ้นแล้วในเยอรมัน (ยกเว้นกรณีพิจารณาผู้นำประเทศแต่มีตราบัญญัติหลักเกณการรับพิจารณาไว้) กฏหมายเยอรมันมีมากกว่ากฏกมายไทยไม่ว่าจำนวนหรือความครอบคุม ในสหรัฐศาลสูงสุดแห่งสหรัฐเทียบได้กับศาลรัฐธรรมนูญและเป็นหนึ่งในวิธีการถอดถอนผู้นำ เห็นประเทศอื่นก็ทำกันครับผมเลยไม่แน่ใจว่าถ้าเพี้ยนมันเพี้ยนกันทั้งโลกรึเปล่า

การกระทำใดหากเข้าหหลักเกณหรือบทบัญญัติแห่งกฏหมายให้เป็นไปตามนั้นผู้วินิจฉัยคือศาล

เรื่องมันก็ง่ายนะ

หวังว่าจะทำให้เข้าใจกันมากขึ้น(มั้ง)

By: Thaina
Windows
on 3 March 2010 - 21:28 #160117 Reply to:160059

ปัญหาคือ

นักกฏหมายรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ดีเท่าคน IT มั้ยครับ?
คน IT รู้เรื่องกฏหมายเท่านักกฏหมายมั้ยครับ?
แล้วหน้าที่ในการออกกฏหมาย IT ควรเป็นของใครกันแน่???

จริงๆแล้วมันก็รวมถึงกฏหมายร้อยแปดพันเก้าประการแหละ นักกฏหมายรู้เรื่องกฏหมายดี แต่ออกกฏหมายมาแล้วมันไปกระทบอะไรบ้าง เคยสนใจกันบ้างหรือไม่

ผมเห็นต่างประเทศออกกฏหมายกันที มีหน่วยวิเคราะห์ผลกระทบอะไรกันเป็นเรื่องเป็นราว
จำได้ดีว่าอเมริกามี สถาบันวิจัยอนาคต ที่จะทำนายอนาคตว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะมีอะไรบ้าง อาจเกิดปัญหาอะไรได้บ้าง กฏหมายวันนี้มีข้อไหนจะส่งผลกระทบต่ออนาคตได้หรือไม่ และควรจะออกกฏแบบไหนมารองรับจัดการปัญหาเหล่านี้ในอนาคต ไว้ล่วงหน้า

แต่ดูเหมือนกฏหมายบ้านเรา โดยเฉพาะกฏหมาย IT ที่เป็นของใหม่ พัฒนาเร็ว ดูจะสักแต่ออกกันมามั่วๆ ไม่ค่อยมีกฏหมาย IT ที่ออกมาแล้วเข้าท่าเลย ทักท้วงร้องเรียนก็ไม่ค่อยจะยอมฟัง

อย่าให้พูดถึงศาลเลยว่าบางทีท่านต้องตัดสินโดยไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ท่านจะเข้าใจหลักการและเทคโนโลยีในปัจจุบันรึเปล่า
กฏหมายบางทีสักๆแต่ออกมา คนในสังคมก็เชื่อว่าเป็นกฏหมายที่ดี ออกมาแล้วจะมีประโยชน์ แต่ถ้าคนในวงการจริงๆถึงจะรู้ว่ามันเป็นกฏหมายที่ออกมาโดยไม่ได้มีความรู้ หลักการทำงานต่างๆมันไม่ใช่อย่างที่คนออกกฏหมายจินตนาการไว้ เรื่องบางเรื่องมันไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ตามกฏหมาย

ศาลก็ต้องตัดสินตามกฏหมาย แต่ถ้ามันผิดตั้งแต่ตัวกฏหมายล่ะ?
คนที่โดนตัดสินก็โดนตราหน้าว่าทำผิดกฏหมายไปแล้ว มีใครรับผิดชอบให้ได้บ้าง?

By: Izen on 4 March 2010 - 00:20 #160137 Reply to:160117

ตามขั้นตอนครับ ไม่งั้นมันจะกลายเป็นตามใจตัวเอง

By: Thaina
Windows
on 4 March 2010 - 01:00 #160140 Reply to:160137

"ขั้นตอน" ที่สั่งให้ต้องตามเป็นขั้นตอนที่ดีหรือยังครับ? และ ใครเป็นคนเขียนครับ?

ผมจะพูดบ้างได้่มั้ยว่านักกฏหมายที่อยู่ๆก็เขียนกฏหมายขึ้นมา เป็นการเขียนกฏหมายตามใจตัวเอง
ถ้าว่าตามหลักการ Design มันควรจะตามอำเภอใจใครมากกว่ากัน ถ้านับว่าคนนึงรู้ในเรื่องนั้นๆลึกซึ้งมากกว่า

เปรียบสภาพตอนนี้ก็เหมือนมารับจ้างทำเว็บนั่นแหละครับ พอต้องการเว็บก็ไปจ้างคน IT มาทำ บางทีนายจ้างไม่ได้เรื่อง ก็เจ้ากี้เจ้าการ นึกอะไรแผลงๆ โดยไม่ได้มีความรู้อะไรเลยซักอย่าง
คนทำก็เป็นฝ่ายซวย ทำตามแล้วออกมาไม่ได้เรื่องก็เจ๊ง ไม่ทำตามก็ผิดอีก
นี่หนักกว่าอีกว่าค่าจ้างก็ไม่ได้ แล้วพอทำไม่ได้หรือไม่ทำก็โดนจับ

ให้ประชาชนเขียนกฏหมายให้นักกฏหมายใช้บ้างดีมั้ย? อย่างเช่นกฏหมายข้อไหนถูกยกเลิกในอนาคต คนเขียนหรือคนออกกฏหมายข้อนั้นต้องโดนปรับเงินเข้าแผ่นดิน ถ้าคนเขียนตายแล้วให้ไปเอากับลูกหลานแทน

By: Izen on 4 March 2010 - 01:57 #160144 Reply to:160140

อยากจะเขียนแบบนั้นก็ไม่มีใครว่าครับถ้ากฏหมายมีผลบังคับก็เป็นไปตามนั้น

ลองทำดูครับ แต่อย่าลืมทำให้มันมีผลบังคับนะครับเพราะถ้าเป็นกฏผมทำตามอยู่แล้ว

ที่สุดแล้วหากไม่มีใครเห็นด้วยกับคุณเวลานี้ผมแนะนำศึกษาของเก่าก่อนนะครับ

By: prugsadee on 3 March 2010 - 18:35 #160096

+ล้านจ้า