บริการค้นหาของกูเกิลเรื่องหนึ่งที่ต่างจากเสิร์ชเอนจินรุ่นเก่าๆ คือมีปุ่มดูหน้าที่เก็บไว้ในกูเกิลได้ด้วย ซึ่งประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่หลายคนให้ความเห็นว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์กันหรือไม่ เพราะแม้ในอเมริกาจะมีกฏหมาย Fair Use ที่เปิดโอกาสให้มีการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาได้ในบางกรณี แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงถึงการใช้งานจริงเพราะยังไม่มีคดีเกี่ยวกับกรณีเช่นนี้มากนัก
คดีที่เกิดขึ้นล่าสุดคือการที่นาย Blake Field ซึ่งเป็นทนายได้ยื่นฟ้องต่อกูเกิลข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเว็บของเขา ซึ่งกรณีนี้ศาลได้ตัดสินแล้วว่ากรณีของกูเกิลนั้นเข้าข่ายการใช้งานในกรณีของกฏหมายมาตรา 512(b) ของสหรัฐฯ
หลายคนให้ความเห็นว่าส่วนหนึ่งที่กูเกิลชนะคดีนี้เป็นเพราะนาย Field นี้สร้างเว็บขึ้นมาเตรียมฟ้องกูเกิลเอาซะจริงๆ ซึ่งผมอ่านเว็บเขาดูแล้วเห็นแต่คำว่า Copyright เต็มไปหมดก็คงจะจริงอย่างเขาว่า
ที่มา - Electronic Frontier Foundation
Comments
มองอีกมุมนะ
Google อาจจะรู้ว่าCase นี้จะเกิดขึ้นในอนาคต
จึงจ้างทนายคนนี้ให้ฟ้อง ด้วยเรื่อง Fair Use
เพื่อ เป็นการสร้างมาตรฐาน
เนื่องจากกฏหมายของอเมริการต่างจากบ้านเรา
ของเราจะอิงตัวบทกฏหมาย เป็นตัวหนังสือ
ส่วนของเขาจะอิง คำพิพากษาที่ตัดสินมา
ก็อาจเป็นไปได้ว่าต้องการสร้างกฏมาเอง